อัสซัดด์ชื่อเต็ม | สโมสรกีฬาอัสซัดด์ |
---|
ฉายา | Al Zaeem (เดอะบอส) Al Dheeb (เดอะวูล์ฟ) Malik Al Qulub (คิงออฟฮาตส์) |
---|
ชื่อย่อ | SAD |
---|
ก่อตั้ง | 21 ตุลาคม 1969 (55 ปีก่อน) (1969-10-21) |
---|
สนาม | สนามกีฬาญาซีม บิน ฮะมัด |
---|
ความจุ | 12,946 |
---|
ประธาน | มุฮัมมัด บิน เคาะลีฟะฮ์ อัษษานี |
---|
ผู้จัดการ | ฆวนมา ลิโย |
---|
ลีก | กาตาร์สตาส์ลีก |
---|
2023–24 | กาตาร์สตาส์ลีก อันดับที่ 1 (ชนะเลิศ) |
---|
เว็บไซต์ | เว็บไซต์สโมสร |
---|
|
|
|
สโมสรกีฬาอัสซัดด์ (อาหรับ: نادي السد الرياضي,) เป็นสโมสรกีฬาของประเทศกาตาร์ ตั้งอยู่ที่เขตอัสซัดด์ เมืองโดฮา โดยกีฬาที่โดดเด่นที่สุดของสโมสรคือฟุตบอล แข่งขันในกาตาร์สตาส์ลีก ลีกฟุตบอลระดับสูงสุดในกาตาร์ ในท้องถิ่นเป็นที่รู้จักกันในชื่อเล่น "Al Zaeem" ซึ่งแปลว่า "เดอะบอส" เป็นที่รู้จักในฐานะทีมที่ดีที่สุดในกาตาร์และเป็นทีมเดียวจากกาตาร์ที่คว้าแชมป์เอเอฟซีแชมเปียนส์ลีกในเอเชีย นอกจากฟุตบอลแล้ว สโมสรยังมีทีมกีฬาแฮนด์บอล บาสเก็ตบอล วอลเลย์บอล เทเบิลเทนนิส และกรีฑาอีกด้วย[1] อัสซัดด์เป็นสโมสรกีฬาที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในประเทศ และมีสถิติการแข่งขันฟุตบอลระดับประเทศถึง 57 รายการ[2]
จุดเริ่มต้นของแนวคิดในการก่อตั้งสโมสรมาจากนักเรียนของอัลอัตติยาห์ที่เก่งด้านฟุตบอล แต่ไม่ต้องการเข้าร่วมสโมสรฟุตบอลใด ๆ ที่มีอยู่ หลังจากปรึกษาหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเยาวชนและกีฬาแล้ว ครอบครัวอัลอัตติยาห์ตัดสินใจสร้างทีมกาตาร์ที่ชื่อว่าอัสซัดด์ อาลี บิน ฮะมัด อัลอัตติยาห์ ก่อตั้งสโมสรเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1969 ในเมืองหลวงของกาตาร์ เขาตั้งชื่อสโมสรนี้ว่าอัสซัดด์ เพราะเขาเกิดและเติบโตที่นั่น
ในฤดูกาล 1989 พวกเขาเป็นสโมสรจากอาหรับสโมสรแรกที่คว้าชัยชนะในการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเชีย โดยเอาชนะ Al Rasheed สโมสรจากอิรักด้วยกฎประตูทีมเยือน ยี่สิบสองปีต่อมา พวกเขาคว้าแชมป์เอเชียนแชมเปียนส์ลีก 2011 และได้เข้าไปเล่นในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2011 ซึ่งจบอันดับสาม และยังได้เข้าไปเล่นในฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 2019โดยอัตโนมัติในฐานะสโมสรเจ้าภาพ ซึ่งจบอันดับที่หก
อ้างอิง
|
---|
แชมป์ 4 สมัย | | |
---|
แชมป์ 3 สมัย | |
---|
แชมป์ 2 สมัย |
- กว่างโจว (2013, 2015)
- ช็อนบุกฮุนไดมอเตอส์ (2006, 2016)
- ซูว็อนซัมซุงบลูวิงส์ (2001, 2002)
- อัลอิน (2003, 2024)
- อุลซันฮุนได (2012, 2020)
- เอสเทกลอล (1970, 1990)
- ซ็องนัม (1995, 2010)
- อัลอิตติฮาด (2004, 2005)
- อัสซัดด์ (1989, 2011)
- ธนาคารกสิกรไทย (1994, 1995)
- มัคคาบีเทลอาวีฟ (1969, 1971)
|
---|
แชมป์สมัยเดียว | |
---|