สุหนัต

คีตาน (อาหรับ: ختان; อังกฤษ: Khitan) คนไทยมักเรียกว่า สุหนัต[1][2] (สุ-หนัด) หมายถึง พิธีการขริบหนังหุ้มปลายตามข้อกำหนดในศาสนายูดาห์และศาสนาอิสลาม คำว่า สุหนัต มาจากคำว่า "ซูนัต" ในภาษามลายู ซึ่งมาจากคำว่า "ซุนนะฮ์" ในภาษาอาหรับ ซึ่งหมายถึงแบบแผนการปฏิบัติของนบีมุฮัมมัด[3] พิธีสุหนัตเกิดขึ้นครั้งแรกในศาสนายูดาห์[4] ซึ่งเริ่มทำพิธีนี้ครั้งแรกในสมัยของอับราฮัม

การเรียกว่า "เข้าสุนัต" มาจากวลี "มาซุก ญาวี" หรือ "มะโซะยาวี" (แปลว่า เข้าญาวี) ในภาษามลายู หมายถึง เข้า (ศาสนาของ) คนญาวี (มลายูมุสลิม) ด้วยการขริบหนังที่ปลายอวัยวะเพศ

การขริบหนังองคชาตเป็นประเพณีของชาวยิว ชาวมุสลิม และคริสต์ศาสนิกชนบางนิกาย เช่นเดียวกับเผ่าหลายเผ่าในแอฟริกา ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นนิยมขริบเนื่องจากเหตุผลทางสุขภาพ

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุงเทพพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556, หน้า 1248
  2. หนังสือปฐมกาล, พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011
  3. แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง (2552). ทักษะวัฒนธรรม (PDF). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. p. 143. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-08-31. สืบค้นเมื่อ 2015-05-17.
  4. หนังสือปฐมกาล, พระคริสต์ธรรมคัมภีร์ ฉบับมาตรฐาน 2011

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!