การละทิ้งศาสนาอิสลาม หรือ การสิ้นสภาพจากการเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม (อาหรับ : ردة , ริดดะฮ์ หรือ ارتداد , อิรดิดาด ) หมายถึงการที่ผู้ที่นับถือศาสนาอิสลาม ได้ละทิ้งศาสนาอิสลามไปยึดมั่นในการปฏิเสธด้วยความเต็มใจ โดยสามารถเป็นการปฏิเสธทางกาย ทางจิตใจ หรือทางวาจา การละทิ้งศาสนาอิสลาม มีชื่อเรียกตามภาษาอาหรับ และศัพท์ในศาสนาอิสลาม ว่า มุรตัด (مرتدّ )[ 1] [ 2] [ 3] [ 4] [ 5] กรณีนี้ไม่ได้มีเพียงผู้ที่ละทิ้งศาสนาอิสลามอย่างเปิดเผยด้วยการเปลี่ยนเข้ารับศาสนาอื่น [ 1] หรือไม่นับถือศาสนา เพียงเท่านั้น[ 1] [ 6] [ 7] แต่ยังรวมถึงการดูหมิ่นศาสนา หรือมิจฉาทิฐิ[ 8] ด้วยการกระทำหรือคำพูดใดที่ส่อให้เห็นถึงความไม่ศรัทธา ซึ่งรวมถึงบรรดาผู้ปฏิเสธ "หลักการพื้นฐานหรือความเชื่อ " ของศาสนาอิสลาม[ 9]
ในขณะที่นิติศาสตร์อิสลามแบบดั้งเดิม เรียกร้องให้ประหารชีวิต ผู้ที่ไม่ขออภัยโทษจากการละทิ้งศาสนาอิสลาม[ 10] คำจำกัดความของการกระทำนี้และผู้ที่กระทำควรได้รับโทษหรือไม่นั้น ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิชาการอิสลาม[ 11] [ 7] [ 12] และได้รับเสียงคัดค้านอย่างรุนแรงทั้งจากมุสลิมและผู้มิใช่มุสลิมที่สนับสนุนสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ และเสรีภาพทางศาสนา [ 13] [ 14] [ Note 1]
ณ ค.ศ. 2021 มีประเทศที่มีประชากรมุสลิมเป็นประชากรส่วนมาก 10 ประเทศที่มีโทษประหารชีวิตแก่ผู้ที่ละทิ้งศาสนาอิสลาม[ 17] และอีก 13 ประเทศที่มีบทลงโทษทางแพ่ง เช่น จำคุก จ่ายค่าปรับ หรือสูญเสียสิทธิการดูแลเด็ก[ 18]
ศัพทมูลวิทยา
การละทิ้งศาสนามีชื่อเรียกว่า อิรติดาด (หมายถึง กลับสภาพเดิม หรือ ถดถอย) หรือ ริดดะฮ์ ในศัพท์ทางศาสนาอิสลาม[ 19] การละทิ้งศาสนายังมีอีกชื่อเรียกว่า มุรตัด ซึ่งหมายถึง 'ผู้ที่หันหลัง' ให้กับอิสลาม[ 20] (Oxford Islamic Studies Online – ให้คำนิยาม มุรตัด ว่า "ไม่ใช่เพียงแค่กาฟิร (ผู้ปฏิเสธศรัทธา)" แต่เป็น "ประเภทที่เลวทรามเป็นพิเศษ")[ 21] ริดดะฮ์ ในทางการเมืองหมายถึง การแยกตัวออก [ 22]
อ้างอิงในหนังสือ
อัลกุรอาน
อัลกุรอาน กล่าวถึงการละทิ้งศาสนาในหลายโองการ โดยแสดงความโกรธของพระเจ้า การลงโทษที่ใกล้เข้ามา และการปฏิเสธที่จะยอมรับการกลับใจต่อผู้ที่ละทิ้งศาสนา ตามธรรมเนียม โองการเหล่านี้ "ดูเหมือนจะให้ความชอบธรรมต่อการบีบบังคับและการลงโทษอย่างรุนแรง" สำหรับผู้ละทิ้งศาสนา (ตามรายงานจาก Dale F. Eickelman )[ 23] รวมทั้งโทษประหารชีวิตตามแบบดั้งเดิม มีดังนี้:[ 24]
แท้จริงบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาหลังจากที่พวกเขาได้ศรัทธากัน แล้วยังได้ทวีการปฏิเสธศรัทธาขึ้นอีกนั้น การสำนึกผิดกลับเนื้อกลับตัวของพวกเขาจะไม่ถูกรับเป็นอันขาด และชนเหล่านี้แหละคือผู้ที่หลงทาง
— อัลกุรอาน 3:90
พวกท่านอย่าแก้ตัวเลย แท้จริงพวกท่านได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว หลังจากการมีศรัทธาของพวกท่าน หากเราจะอภัยโทษให้แก่กลุ่มหนึ่งในหมู่พวกเจ้า เราก็จะลงโทษอีกกลุ่มหนึ่ง เพราะว่าพวกเขาเป็นผู้กระทำความผิด
— อัลกุรอาน 9:66
ผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัลลอฮ์หลังจากที่เขาได้รับศรัทธาแล้ว (เขาจะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์) เว้นแต่ผู้ที่ถูกบังคับทั้งๆ ที่หัวใจของเขาเปี่ยมไปด้วยศรัทธา แต่ผู้ใดเปิดหัวอกของเขาด้วยการปฏิเสธศรัทธา พวกเขาก็จะได้รับความกริ้วจากอัลลอฮ์ และสำหรับพวกเขาจะได้รับการลงโทษอย่างมหันต์
— อัลกุรอาน 16:106
...และการปฏิเสธการศรัทธาต่อพระองค์ และการกีดกัน อัล-มัสยิดิลฮะรอมตลอดจนการขับไล่ชาวอัล-มัสยิดิลฮะรอมออกไปนั้นเป็นสิ่งใหญ่โตยิ่งกว่า ณ ที่อัลลอฮ์...
— อัลกุรอาน 2:217
บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย ผู้ใดในหมู่พวกเจ้ากลับออกจากศาสนาของพวกเขาไปอัลลอฮฺ ก็จะทรงนำมาซึ่งพวกหนึ่ง ที่พระองค์ทรงรักพวกเขาและพวกเขาก็รักพระองค์ เป็นผู้นอบน้อมถ่อมตนต่อบรรดามุมิน ไว้เกียรติแก่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา...
— 5:54
แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธาแล้วปฏิเสธศรัทธาแล้วศรัทธา แล้วปฏิเสธศรัทธา แล้วเพิ่มการปฏิเสธศรัทธายิ่งขั้นนั้น ใช่ว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขาก็หาไม่ และใช่ว่าพระองค์จะทรงแนะนำทางใดให้แก่พวกเขาก็หาไม่
— 4:137
... และผู้ใดเปลี่ยนเอาการปฏิเสธไว้แทนการศรัทธาแล้วไซร้ แน่นอนเขาได้หลงทางอันเที่ยงตรงเสียแล้ว
— 2:108
เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา นอกจากผู้ที่ผินหลังให้และปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น อัลลอฮฺจะทรงลงโทษเขาซึ่งการลงโทษอันมหันต์
— 88:22–24
แล้วหากพวกเขาสำนึกผิดกลับตัว และดำรงไว้ซึ่งการละหมาด และชำระซะกาตแล้วไซร้ก็เป็นพี่น้องของพวกเจ้าในศาสนา และเราจะแจกแจงบรรดาโองการไว้แก่กลุ่มชนที่รู้ และถ้าหากพวกเขาทำลายคำมั่นสัญญาของพวกเขา หลังจากที่พวกเขาได้ทำสัญญาไว้ และใส่ร้ายในศาสนา ของพวกเจ้าแล้วไซร้ ก็จงต่อสู้บรรดาผู้นำแห่งการปฏิเสธศรัทธา เถิด แท้จริงพวกเขานั้นหาได้มีคำมั่นสัญญาใด ๆ แก่พวกเขาไม่ เพื่อว่าพวกเขาจะหยุดยั้ง
— 9:11–12
พวกเขาชอบหากว่า พวกเจ้าจะปฏิเสธศรัทธา ดังที่พวกเขาได้ปฏิเสธ พวกเจ้าจะได้กลายเป็นผู้ที่เท่าเทียมกัน ดังนั้นจงอย่าได้ยึดเอาใครในหมู่พวกเขาเป็นมิตร จนกว่าพวกเขาจะอพยพไปในทางของอัลลอฮฺ แต่ถ้าพวกเขาผินหลังให้ก็จงเอาพวกเขาไว้ และจงฆ่าพวกเขา ณ ที่ที่พวกเจ้าพบพวกเขา และจงอย่าเอาใครในหมู่พวกเขาเป็นมิตรและเป็นผู้ช่วยเหลือ
— อัลกุรอาน 4:89
นักวิชาการอีกกลุ่มชี้ให้เห็นว่า ในอัลกุรอานไม่มีการกล่าวถึงความจำเป็นในการบังคับผู้ละทิ้งศาสนาให้กลับมานับถือศาสนาอิสลาม หรือการลงโทษทางร่างกายเฉพาะใด ๆ ที่จะใช้กับผู้ละทิ้งศาสนาในโลกนี้ [ 25] [ 26] [ 27] [ Note 2] – นับประสาอะไรกับคำสั่งให้สังหารผู้ละทิ้งศาสนา – ไม่ว่าจะเปิดเผยหรือโดยนัยก็ตาม[ 30] [ 31]
ความจริงแล้ว โองการอื่น ๆ เน้นความเมตตา และไม่มีการบังคับในหลักความเชื่อ:[ 33]
ไม่มีการบังคับใด ๆ (ให้นับถือ) ในศาสนา อิสลาม แน่นอน ความถูกต้องนั้นได้เป็นที่กระจ่างแจ้งแล้วจากความผิด ดังนั้นผู้ใดปฏิเสธศรัทธาต่ออัฎ-ฎอฆูต และศรัทธาต่ออัลลอฮฺแล้ว แน่นอนเขาได้ยึดห่วงอันมั่นคงไว้แล้ว โดยไม่มีการขาดใด ๆ เกิดขึ้นแก่มัน และอัลลอฮฺนั้นเป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้
และจงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) สัจธรรมนั้นมาจากพระผู้เป็นเจ้าของพวกเจ้า ดังนั้น ผู้ใดประสงค์ก็จงศรัทธา และผู้ใดประสงค์ก็จงปฏิเสธ แท้จริง เราได้เตรียมไฟนรกไว้สำหรับพวกอธรรมซึ่งกำแพงของมันล้อมรอบพวกเขา และถ้าพวกเขาร้องขอความช่วยเหลือ ก็จะถูกช่วยเหลือด้วยน้ำเสมือนน้ำทองแดงเดือดลวกใบหน้า มันเป็นน้ำดื่มที่ชั่วช้าและเป็นที่พำนักที่เลวร้าย
และหากพระเจ้าของเจ้าจงประสงค์แน่นอนผู้ที่อยู่ในแผ่นดินทั้งมวลจะศรัทธา เจ้าจะบังคับมวลชนจนกว่าพวกเจ้าจะเป็นผู้ศรัทธากระนั้นหรือ?
ดังนั้นจงตักเตือนเถิด เพราะแท้จริงเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น เจ้ามิใช่ผู้มีอำนาจเหนือพวกเขา
เขา (นูหฺ) กล่าวว่า "โอ้หมู่ชนของฉันเอ๋ย พวกท่านเห็นแล้วใช่ไหมว่า หากฉันมีหลักฐานอันแจ้งชัดจากพระเจ้าของฉัน และพระองค์ทรงประทานแก่ฉันซึ่งความเมตตาจากพระองค์ แล้วได้ถูกทำให้มืดมนแก่พวกท่าน3 เราจะบังคับพวกท่านให้รับมันทั้ง ๆ ที่พวกท่านเกลียดชังมันกระนั้นหรือ?
แท้จริงบรรดาผู้ที่ศรัทธาแล้วปฏิเสธศรัทธาแล้วศรัทธา แล้วปฏิเสธศรัทธา แล้วเพิ่มการปฏิเสธศรัทธายิ่งขั้นนั้น ใช่ว่าอัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเขาก็หาไม่ และใช่ว่าพระองค์จะทรงแนะนำทางใดให้แก่พวกเขาก็หาไม่
ฮะดีษ
หมายเหตุ
อ้างอิง
↑ 1.0 1.1 1.2 Schirrmacher, Christine (2020). "Chapter 7: Leaving Islam" . ใน Enstedt, Daniel; Larsson, Göran; Mantsinen, Teemu T. (บ.ก.). Handbook of Leaving Religion . Brill Handbooks on Contemporary Religion. Vol. 18. Leiden and Boston : Brill Publishers . pp. 81–95. doi :10.1163/9789004331471_008 . ISBN 978-9004330924 . ISSN 1874-6691 .
↑ Adang, Camilla (2001). "Belief and Unbelief: choice or destiny?". ใน McAuliffe, Jane Dammen (บ.ก.). Encyclopaedia of the Qurʾān . Vol. I. Leiden : Brill Publishers . doi :10.1163/1875-3922_q3_EQCOM_00025 . ISBN 978-9004147430 .
↑ Frank Griffel, "Apostasy", in (Editor: Gerhard Bowering et al.) The Princeton Encyclopedia of Islamic Political Thought , ISBN 978-0691134840 , pp. 40–41
↑ Diane Morgan (2009), Essential Islam: A Comprehensive Guide to Belief and Practice , ISBN 978-0313360251 , pp. 182–183
↑ Ghali, Hebatallah (December 2006). "Rights of Muslim Converts to Christianity" (PhD Thesis) . Department of Law, School of Humanities and Social Sciences . The American University in Cairo, Egypt. p. 2. เก็บ (PDF) จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2014. Whereas an apostate (murtad) is the person who commits apostasy ('rtidad) , that is the conscious abandonment of allegiance or ... renunciation of a religious faith or abandonment of a previous loyalty.
↑ "No God, not even Allah" . The Economist . 24 November 2012. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2017. สืบค้นเมื่อ 9 January 2018 .
↑ 7.0 7.1 Peters, Rudolph; Vries, Gert J. J. De (1976). "Apostasy in Islam". Die Welt des Islams . 17 (1/4): 1–25. doi :10.2307/1570336 . JSTOR 1570336 . By the murtadd or apostate is understood as the Moslem by birth or by conversion, who renounces his religion, irrespective of whether or not he subsequently embraces another faith
↑ Hashemi, Kamran (2008). "Part A. Apostasy (IRTIDAD)". Religious Legal Traditions, International Human Rights Law and Muslim States . Brill. p. 21. ISBN 978-9047431534 . สืบค้นเมื่อ 15 January 2021 .
↑ Peters, Rudolph; Vries, Gert J. J. De (1976). "Apostasy in Islam". Die Welt des Islams . 17 (1/4): 2–4. doi :10.2307/1570336 . JSTOR 1570336 .
↑ Poljarevic, Emin (2021). "Theology of Violence-oriented Takfirism as a Political Theory: The Case of the Islamic State in Iraq and Syria (ISIS)". ใน Cusack, Carole M. ; Upal, M. Afzal (บ.ก.). Handbook of Islamic Sects and Movements . Brill Handbooks on Contemporary Religion. Vol. 21. Leiden and Boston : Brill Publishers . pp. 485–512. doi :10.1163/9789004435544_026 . ISBN 978-9004435544 . ISSN 1874-6691 .
↑ Abdelhadi, Magdi (27 March 2006). "What Islam says on religious freedom" . BBC News . เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2017. สืบค้นเมื่อ 14 October 2009 .
↑ Friedmann, Yohanan (2003). "Chapter 4: Apostasy" . Tolerance and Coercion in Islam: Interfaith Relations in the Muslim Tradition . Cambridge University Press. pp. 121–159. ISBN 978-1139440790 .
↑ Ibrahim, Hassan (2006). Abu-Rabi', Ibrahim M. (บ.ก.). The Blackwell Companion to Contemporary Islamic Thought . Blackwell Publishing. pp. 167 –169. ISBN 978-1405121743 .
↑ Human Rights Diplomacy . Psychology Press. 1997. p. 64. ISBN 978-0415153904 .
↑ Wood, Asmi (2012). "8. Apostasy in Islam and the Freedom of Religion in International Law". ใน Paul Babie; Neville Rochow (บ.ก.). Freedom of Religion under Bills of Rights . University of Adelaide Press. p. 164. ISBN 978-0987171801 . JSTOR 10.20851/j.ctt1t3051j.13 . สืบค้นเมื่อ 9 January 2021 .
↑ Brems, Evams (2001). Human Rights : Universality and Diversity . Springer. p. 210. ISBN 978-9041116185 . สืบค้นเมื่อ 11 December 2020 .
↑ "Death sentence for apostasy in nearly a dozen countries, report says" . National Secular Society (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2021-11-16. สืบค้นเมื่อ 2022-12-16 .
↑ Marshall, Paul; Shea, Nina. 2011. Silenced. How Apostasy & Blasphemy Codes are Choking Freedom Worldwide . Oxford: Oxford University Press. p. 61 [ไอเอสบีเอ็น ไม่มี ]
↑ Schirrmacher, Christine (2020). "Leaving Islam". ใน Enstedt, Daniel; Larsson, Göran; Mantsinen, Teemu T. (บ.ก.). Handbook of Leaving Religion (PDF) . Brill. p. 81. สืบค้นเมื่อ 6 January 2021 .
↑ Heffening, W. (1993). "Murtadd" . ใน C.E. Bosworth; E. van Donzel; W.P. Heinrichs; และคณะ (บ.ก.). Encyclopaedia of Islam . Vol. 7. Brill Academic Publishers. pp. 635–636. doi :10.1163/1573-3912_islam_SIM_5554 . ISBN 978-9004094192 .
↑ Adams, Charles; Reinhart, A. Kevin. "Kufr" . Oxford Islamic Studies Online . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2019-03-22. สืบค้นเมื่อ 2 January 2021 .
↑ Lindholm, Charles. The Islamic Middle East . p. xxvi.
↑ Dale F. Eickelman (2005). "Social sciences". ใน Jane Dammen McAuliffe (บ.ก.). Encyclopaedia of the Qurʾān . Vol. 5. p. 68. Other verses nonetheless appear to justify coercion and severe punishment for apostates, renegades and unbelievers...
↑ O'Sullivan, Declan (2001). "The Interpretation of Qur'anic Text to Promote or Negate the Death Penalty for Apostates and Blasphemers" . Journal of Qur'anic Studies . 3 (2): 63–93. doi :10.3366/jqs.2001.3.2.63 . JSTOR 25728038 . สืบค้นเมื่อ 21 January 2021 .
↑ McAuliffe, Jane Dammen (2004). Encyclopaedia of the Qur'an, Vol. 1 . Leiden: Brill Academic Publishers. p. 120. ISBN 978-9004123557 .
↑ Campo, Juan Eduardo (2009). Encyclopedia of Islam . Infobase Publishing. pp. 48 , 174. ISBN 978-0816054541 .
↑ Asma Afsaruddin (2013), Striving in the Path of God: Jihad and Martyrdom in Islamic Thought , p. 242. Oxford University Press . ISBN 0199730938 . Quote: "He [Al-Banna] notes that the Qur'ān itself does not mandate any this-worldly punishment for religious apostasy but defers punishment until the next (cf. Qur'ān 2:217)."
↑ Wael Hallaq (2004). "Apostasy". ใน Jane Dammen McAuliffe (บ.ก.). Encyclopaedia of the Qur'an . Vol. 1. Leiden: Brill Academic Publishers. p. 122. ISBN 978-9004123557 .
↑ A.C. Brown, Jonathan (2014). Misquoting Muhammad: The Challenge and Choices of Interpreting the Prophet's Legacy . Oneworld Publications. pp. 186–89 . ISBN 978-1780744209 .
↑ Taha Jabir Alalwani (2003), La 'ikraha fi al-din: 'ichkaliyat al-riddah wa al-murtaddin min sadr al-Islam hatta al-yawm , pp. 93–94. ISBN 9770909963 .
↑ Safi, Louay M. (31 March 2006). "Apostasy and Religious Freedom" . Islamicity . สืบค้นเมื่อ 13 December 2020 .
อ่านเพิ่ม
Ahmad, Mirza Tahir (1968). Murder in the Name of Allah . Guildford : Lutterworth Press . ISBN 978-0718828059 . OCLC 243438689 .
Cottee, Simon (2015). The Apostates: When Muslims Leave Islam . Hurst. p. 288. ISBN 978-1849044691 .
Johnstone, Patrick; Miller, Duane Alexander (2015). "Believers in Christ from a Muslim Background: A Global Census" . Interdisciplinary Journal of Research on Religion . 11 : 3–19.
Peters, Rudolph; De Vries, Gert J. J. (1976). "Apostasy in Islam" (PDF) . Die Welt des Islams . 17 (1/4): 1–25. doi :10.1163/157006076X00017 . JSTOR 1570336 . S2CID 162376591 .
Schirrmacher, Christine (2020). "Chapter 7: Leaving Islam" . ใน Enstedt, Daniel; Larsson, Göran; Mantsinen, Teemu T. (บ.ก.). Handbook of Leaving Religion . Brill Handbooks on Contemporary Religion. Vol. 18. Leiden : Brill Publishers . pp. 81–95. doi :10.1163/9789004331471_008 . ISBN 978-9004330924 . ISSN 1874-6691 .
Jabir Alalwani, Taha (2011). Apostasy in Islam: A Historical and Scriptural Analysis . แปลโดย Nancy Roberts. International Institute of Islamic Thought (IIIT) . ISBN 978-1565643635 .
Subhani, M. E. Asad (2005). Apostasy in Islam . Global Media. p. 65. ISBN 978-8188869114 .
แหล่งข้อมูลอื่น