คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
ชื่อย่อUNSC
ก่อตั้ง24 ตุลาคม 1945; 79 ปีก่อน (1945-10-24)
ประเภทเสาหลัก
สถานะตามกฎหมายดำเนินการอยู่
สํานักงานใหญ่นครนิวยอร์ก สหรัฐ
สมาชิก
ประธาน
แอลจีเรีย (มกราคม 2025)
องค์กรปกครอง
สหประชาชาติ
เว็บไซต์un.org/securitycouncil
  รัฐแอฟริกัน (3)
  รัฐเอเชีย-แปซิฟิก (3)
  รัฐยุโรปตะวันออก (2)
  รัฐละตินอเมริกาและแคริบเบียน (2)
  รัฐยุโรปตะวันตกและรัฐอื่น ๆ (5)

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Security Council; UNSC) เป็นหนึ่งใน 6 เสาหลักของสหประชาชาติ และเป็นองค์กรในสหประชาชาติที่มีอิทธิพลรองลงมาจากสมัชชาใหญ่ เป็นองค์กรที่มีอำนาจในการเรียกระดมพลจากรัฐสมาชิกในสหประชาชาติเพื่อจัดตั้งเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติหน้าที่รักษาสันติภาพในประเทศและสงครามต่าง ๆ และยังมีอำนาจในการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อประเทศต่าง ๆ

สมาชิก

คณะมนตรีนี้ประกอบด้วยสมาชิกถาวร (Permanent members) 5 ประเทศ คือ จีน ฝรั่งเศส รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐ และสมาชิกไม่ถาวร (Non-permanent members) 10 ประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้ง โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี และไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งซ้ำได้ในทันทีเมื่อหมดวาระ

สมาชิกถาวร

รัฐชาติ รัฐผู้แทนในปัจจุบัน รัฐผู้แทนในอดีต
จีน ประเทศจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน (ตั้งแต่ 1971) ไต้หวัน สาธารณรัฐจีน (1945–1949,
1949–1971)
ฝรั่งเศส ประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5 (ตั้งแต่ 1958) ประเทศฝรั่งเศส รัฐบาลชั่วคราวแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (1945–1946)
ประเทศฝรั่งเศส สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 4 (1946–1958)
รัสเซีย รัสเซีย สหพันธรัฐรัสเซีย (ตั้งแต่ 1991) สหภาพโซเวียต สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (1945–1991)
บริติช สหราชอาณาจักร สหราชอาณาจักร (ตั้งแต่ 1945)
อเมริกัน สหรัฐอเมริกา สหรัฐอเมริกา (ตั้งแต่ 1945)

สมาชิกไม่ถาวร

ประเทศสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติในปัจจุบัน

การเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC จะแบ่งตามกลุ่มภูมิภาค 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเอเชียและหมู่เกาะแปซิฟิก กลุ่มแอฟริกา กลุ่มลาตินอเมริกาและแคริบเบียน (GRULAC) กลุ่มยุโรปตะวันออก (EES) และ กลุ่มยุโรปตะวันตกและประเทศอื่น (WEOG) โดยกลุ่มเอเชีย-แปซิฟิกได้รับการจัดสรรที่นั่ง 2 ที่ กลุ่มแอฟริกา 3 ที่ กลุ่ม GRULAC 2 ที่ กลุ่มยุโรปตะวันออก 1 ที่ และกลุ่ม WEOG 2 ที่

โดยการเลือกตั้งสมาชิกไม่ถาวร UNSC จะมีขึ้นในช่วงสมัยการประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งมีการประชุมหลัก ๆ ในช่วงเดือนกันยายน ถึงธันวาคมของทุกปี โดยประเทศที่จะได้รับการเลือกตั้งจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุม UNGA โดยเป็น การลงคะแนนลับ ทั้งนี้ สมาชิก UNSC ที่ได้รับการเลือกตั้งใหม่ จะเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 1 มกราคม ของปีถัดไป

วาระ แอฟริกา เอเชียแปซิฟิก ยุโรปตะวันออก ละตินอเมริกา
และแคริบเบียน
ยุโรปตะวันตก
และอื่นๆ
2022  กาบอง  กานา  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์  แอลเบเนีย  บราซิล
2023  โมซัมบิก  ญี่ปุ่น  เอกวาดอร์  มอลตา   สวิตเซอร์แลนด์
2024  แอลจีเรีย  เซียร์ราลีโอน สาธารณรัฐเกาหลี  สโลวีเนีย  กายอานา
2025  โซมาเลีย  ปากีสถาน  ปานามา  เดนมาร์ก  กรีซ

ประเทศที่สมัครเป็นสมาชิกถาวร

กลุ่มจี4ซึ่งประกอบด้วย บราซิล, อินเดีย, เยอรมนี และ ญี่ปุ่น
ประเทศสมาชิกภายใต้ฉันทามติร่วม

กลุ่มจี4 ได้เสนอให้มีการเพิ่มจำนวนสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจากปัจจุบัน 15 ประเทศ เป็น 25 ประเทศ โดยให้เพิ่มสมาชิกถาวรหกประเทศ และสมาชิกไม่ถาวรสี่ประเทศ รวมทั้งจากเอเชีย แอฟริกา และละตินอเมริกา ซึ่งทางด้านสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสได้ให้การสนับสนุนข้อเสนอของกลุ่มจี4 ส่วนด้านสหรัฐอเมริกาก็เห็นด้วยกับการเพิ่มจำนวนสมาชิกทั้งประเภทถาวรและไม่ถาวรในปริมาณจำกัด และต้องการให้มีการคัดเลือกสมาชิกถาวรใหม่โดยพิจารณาจากการเข้ามีส่วนร่วมในการรักษา สันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และทางด้านรัสเซียและจีนก็ได้แสดงการสนับสนุนการเพิ่มจำนวนสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคง แต่ต้องการให้เพิ่มจำนวนเพียงจำกัดและอย่างค่อยเป็นค่อยไป และขึ้นอยู่กับความเห็นชอบในวงกว้างที่สุดในหมู่บรรดาสมาชิกสหประชาชาติ

การลงคะแนนเสียง

ข้อ 27 ของกฎบัตรสหประชาชาติกำหนดวิธีการลงคะแนนเสียงข้อมติ คือ แต่ละประเทศสมาชิกฯ มีคะแนนเสียงหนึ่งคะแนนเท่ากัน โดยคำวินิจฉัยของ UNSC ในทุกเรื่องจะต้องกระทำด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบของสมาชิกอย่างน้อย 9 ประเทศ โดยต้องรวมคะแนนเสียงเห็นพ้องของประเทศสมาชิกถาวรทั้ง 5 ประเทศ ด้วย (เป็นที่มาของคำว่า “สิทธิยับยั้ง” (veto) อย่างไรก็ดี ไม่มีคำว่า veto ปรากฏในกฎบัตรฯ) ยกเว้นในกรณีพิจารณาความ (procedural matters) ต้องการเสียงเห็นชอบจากสมาชิกประเภทใดก็ได้จำนวนอย่างน้อย 9 ประเทศ

บทบาทและหน้าที่

  1. ธำรงรักษาสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศตามวัตถุประสงค์และหลักการของสหประชาชาติ
  2. สอบสวนเกี่ยวกับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ใด ๆ ซึ่งอาจนำไปสู่การกระทบกระทั่งระหว่างประเทศ
  3. เสนอแนะวิธีที่จะใช้กรณีพิพาทเช่นว่านั้น หรือ เงื่อนไขที่ให้มีการตกลงปรองดองกัน
  4. วางแผนเพื่อสถาปนาระบบการควบคุมกำลังอาวุธ
  5. ค้นหาและวินิจฉัยว่ามีภัยคุกคามต่อสันติภาพ หรือ เป็นการกระทำที่รุกรานหรือไม่ แล้วเสนอแนะว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร
  6. เรียกร้องให้สมาชิกประเทศทำการลงโทษในทางเศรษฐกิจ และใช้มาตรการอื่น ๆ ที่ไม่ถึงขั้นทำสงคราม เพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือหยุดยั้งการรุกราน
  7. ดำเนินการทางทหารตอบโต้ฝ่ายที่รุกราน
  8. เสนอให้รับประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์ ในการที่จะเข้าเป็นภาคีตามกฎหมายของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
  9. ทำหน้าที่ให้ภาวะทรัสตีของสหประชาชาติ ในเขตที่ถือว่ามีความสำคัญทางยุทธศาสตร์
  10. เสนอแนะให้สมัชชาสหประชาชาติ แต่งตั้งตัวเลขาธิการและร่วมกับสมัชชาในการเลือกตั้งผู้พิพากษาศาลโลก
  11. ส่งรายงานประจำปีและรายงานพิเศษต่อสมัชชาสหประชาชาติบรรดาประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ ต่างตกลงยินยอมที่จะปฏิบัติตามข้อมติใด ๆ ของคณะมนตรีความมั่นคง ทั้งยังรับรองที่จะจัดกำลังกองทัพของตนให้แก่คณะมนตรีความมั่นคงหากขอร้อง รวมทั้งความช่วยเหลือและและอุปกรณ์อื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพ และความมั่นคงระหว่างประเทศ

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!