สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ

สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ
ก่อตั้ง1945; 79 ปีที่แล้ว (1945)
ประเภทเสาหลัก
สถานะตามกฎหมายดำเนินการอยู่
เลขาธิการ
อังตอนียู กูแตรึช
รองเลขาธิการ
เอมินา เจ. โมฮัมเหม็ด
เว็บไซต์un.org/secretariat

สำนักเลขาธิการสหประชาชาติ (อังกฤษ: United Nations Secretariat) เป็นฝ่ายบริหารและหนึ่งในเสาหลักในระบบสหประชาชาติ มีบทบาทสำคัญในการกำหนดวาระหารือต่าง ๆ ตลอดจนการจัดตั้งหน่วยงานของสหประชาชาติ โดยมีเลขาธิการสหประชาชาติซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่เป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการ[1]

ในสำนักเลขาธิการ มีเจ้าหน้าที่พลเรือนซึ่งมาจากนานาชาติทำงานอยู่กว่า 44,000 คน ซึ่งทำหน้าที่ปรึกษาหารือหัวข้อเกี่ยวกับพลเรือนโลกตามขอบเขตอำนาจของสหประชาชาติ ตามกฎบัตรสหประชาชาติแล้ว เลขาธิการสหประชาชาติเป็นผู้ที่มีอำนาจแต่เพียงผู้เดียวในการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ในสำนักเลขาธิการและอาจโอนไปทำงานในองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาติ ซึ่งสถานะของเจ้าหน้าที่นั้นมีทั้งเจ้าหน้าที่ถาวรและเจ้าหน้าที่ชั่วคราวขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเลขาธิการ[2] ในการคัดเลือกเจ้าหน้าที่เข้าทำงานในสำนักเลขาธิการนั้น ความหลากหลายของสัญญาติและถิ่นกำเนิดก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการได้รับคัดเลือก

การจัดองค์การ

สำนักเลขาธิการแบ่งออกเป็นสำนักงานและแผนกต่าง ๆ ลำดับชั้นภายในแต่ละรายการมีดังนี้:

  • สำนักงาน: ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงอย่างน้อย 20 คนภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ D-2 (หัวหน้าแผนก) หรือในบางกรณีเป็นผู้ช่วยเลขาธิการหรือภายใต้เลขาธิการทั่วไป
  • แผนก: ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงอย่างน้อย 15 คนภายใต้การดูแลของเจ้าหน้าที่ D-2 (หัวหน้าแผนก)
  • หน่วยบริการ: ผู้เชี่ยวชาญระดับสูงอย่างน้อย 8 คนภายใต้การดูแลของพนักงาน D-1 (ผู้ดูแลระบบทั่วไป)
  • ส่วน: ผู้เชี่ยวชาญอย่างน้อย 4 คนภายใต้การดูแลของพนักงาน P-4 (ประสบการณ์ 8–12 ปี) หรือพนักงาน P-5 (ประสบการณ์ 13–17 ปี)
  • หน่วย: อย่างน้อย 4 ตำแหน่งภายใต้การกำกับดูแลของหัวหน้า

สำนักงาน

ทบวง

สำนักงานอื่น ๆ

คณะกรรมการระดับภูมิภาค

อ้างอิง

  1. "UN Secretariat". United Nations. United Nations. สืบค้นเมื่อ 9 April 2015.
  2. "UN Staff Regulations - 2003" (PDF).

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!