กาหลง เป็นต้นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นดอกไม้ประจำจังหวัดสตูล ปลูกขึ้นง่ายในดินร่วนทั่วไป ที่มีความชื้นและอุดมสมบูรณ์ นิยมปลูกเป็นปลูกเป็นไม้ประดับ ทางสมุนไพรมีฤทธิ์เป็นยาแก้เสมหะ[1]
กาหลงมีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ กาแจ๊ะกูโด (มลายู-นราธิวาส), ส้มเสี้ยว (ภาคกลาง), เสี้ยวน้อย (เชียงใหม่), เสี้ยวดอกขาว[2]
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
กาหลงเป็นไม้พุ่ม สูง 1–3 เมตร ใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่หรือเกือบกลม ปลายเว้าลงมาสู่เส้นกลางใบลึกเกือบครึ่งแผ่นใบ ปลายแฉกทั้งสองข้างแหลม ปลายเส้นกลางใบมีติ่งเล็กแหลม ผลัดใบในฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนธันวาคม และจะแตกใบใหม่ราวเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ดอกออกหลังจากใบใหม่แตกออกมาแล้ว ดอกสีขาว มีลักษณะเป็นช่อดอกสั้น ๆ ออกตรงข้ามกับใบที่อยู่ตอนปลายกิ่ง มี 3–10 ดอก ฝักแบน คล้ายรูปขอบขนาน ปลายและโคนฝักสอบแหลม ปลายฝักมีติ่งแหลม ขอบฝักเป็นสันหนา มี 5–10 เมล็ด เมล็ดเล็กคล้ายรูปขอบขนาน
การกระจายพันธุ์
เราไม่สามารถบอกได้ว่ากาหลงมีถิ่นกำเนิดมาจากไหนเพราะมีการปลูกเลี้ยงกันอย่างกว้างขวาง มันอาจมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศมาเลเซีย, อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์[3] กาหลงนิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันอย่างแพร่หลายทั่วเขตร้อน อาจทำให้มีบางส่วนหลุดรอดจากพื้นที่ปลูกเลี้ยงในบางพื้นที่จนกลายเป็นต้นไม้ตามธรรมชาติในคาบสมุทรเคปยอร์ก (Cape York Peninsula) ออสเตรเลีย[4]
กาหลงในวรรณกรรม
ภาพ
-
ค้นอ่อน
-
ดอก
-
ฝักเขียวอ่อน
-
ฝัก
-
กลุ่มใบ
-
เกสรตัวผู้, ก้านเกสรเพศเมีย, ยอดเกสรเพศเมีย, ก้านชูอับเรณู
-
ฝักแก่
-
ดอกและดอกไม้ตูมใน
รัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย
-
ดอกและฝักบนพุ่มไม้ในประเทศอินเดีย
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
พรรณไม้ดอกไม้ประดับ ที่กล่าวถึงในเพลง อุทยานดอกไม้ เรียงตามลำดับการกล่าวถึง |
---|
|