โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล

โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
Udon Pittayanukoon School
ตราประจำโรงเรียน
ที่ตั้ง
แผนที่
77 ถนนศรีสุข ตำบลหมากแข้ง อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 41000
ข้อมูล
ชื่ออื่นอ.พ. / UP
ประเภทโรงเรียนสังกัด สพฐ.
โรงเรียนประจำจังหวัด
โรงเรียนประเภทสหศึกษา
โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ
คติพจน์นตฺถิ ปญฺญา สมาอาภา
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี
ก่อตั้ง21 กันยายน พ.ศ. 2444
(พ.ศ. 2445 ถ้านับตามสากล) (ข้อผิดพลาด: แม่แบบ:อายุปีและวัน รองรับเฉพาะปีพุทธศักราช หากใช้เป็นคริสต์ศักราช กรุณาใช้ แม่แบบ:Age in years and days)
ผู้ก่อตั้งพันเอก มหาอำมาตย์ตรี พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา
ผู้อำนวยการโรงเรียนดร.ลำเพย พิเคราะห์แนะ
ครู/อาจารย์235 คน[1]
ระดับปีที่จัดการศึกษามัธยมศึกษาตอนต้น - มัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนนักเรียน4,516 คน
ปีการศึกษา 2564[2]
ภาษาที่ใช้เป็นสื่อการสอนภาษาที่มีการเรียนการสอนในโรงเรียน
ไทย ภาษาไทย
สหราชอาณาจักร ภาษาอังกฤษ
ญี่ปุ่น ภาษาญี่ปุ่น
จีนภาษาจีน
เวียดนาม ภาษาเวียดนาม
สี   น้ำเงิน-ชมพู
เพลงมาร์ชโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
คติพจน์อุดรพิทย์คือผืนนา ลูกศิษย์ลูกหาคือต้นกล้า มวลประชา ครูอาจารย์ ลูกจ้าง คือน้ำและปุ๋ย
ต้นไม้ประจำโรงเรียนตะแบก
เว็บไซต์www.Udonpit.ac.th

โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล (อังกฤษ: Udon Pittayanukoon School) เป็นโรงเรียนประจำจังหวัดอุดรธานี ประเภทสหศึกษา ระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ที่ถนนศรีสุข ตรงข้ามสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี บนถนนเส้นเดียวกับโรงเรียนอนุบาลอุดรธานี โรงเรียนสตรีราชินูทิศ และโรงเรียนบ้านหมากแข้ง ด้านหลังติดกับถนนศรีชมชื่น มีชื่อเรียกอย่างย่อว่า อุดรพิทย์ อักษรย่อ อ.พ. หรืออักษรย่อภาษาอังกฤษ UP

แผนการเรียน

มัธยมศึกษาตอนต้น

  • โครงการส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์ (สคว.ม.ต้น)
  • โครงการเรียนโดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อ (EP : English Program)
  • ห้องเรียนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ(ม.ต้น)
  • ห้องเรียนปกติ

มัธยมศึกษาตอนปลาย

  • โครงการส่งเสริมความสามารถทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (สควท.)
  • ห้องเรียนโครงการวิทยาศาสตร์พลังสิบ(ม.ปลาย)
  • แผนการเรียนเน้นความสามารถทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ (แผน 1 / แผนวิทย์-คณิต)
  • แผนการเรียนเน้นความสามารถทางคณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ (แผน 2 / แผนอังกฤษ-คณิต)
  • แผนการเรียนเน้นความสามารถทางภาษาอังกฤษและภาษาจีน (แผน 3 / แผนจีน)
  • แผนการเรียนเน้นความสามารถทางภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น (แผน 4 / แผนญี่ปุ่น)

ประวัติโรงเรียน[3]

พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา

ชื่อ "อุดรพิทยานุกูล" มีปรากฏครั้งแรกในใบบอกมณฑลอุดรที่ 121/1207 ลงวันที่ 9 ตุลาคม ร.ศ.121 ที่พระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา ข้าหลวงเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลอุดร กราบทูลสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย เรื่องขอถวายพระราชกุศลในการจัดสร้างโรงเรียนหนังสือไทยบ้านหมากแข้ง

ช่วงที่ 1 : จากโรงเรียนหนังสือไทย สู่ โรงเรียนประจำมณฑล

โรงเรียนหนังสือไทยที่แต่เดิมพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม (ในขณะนั้น) ทรงสร้างไว้นั้นเกิดเพลิงไหม้ การฝึกสอนนักเรียนต้องอาศัยสอนอยู่ที่เรือนพักข้าราชการ พระองค์เจ้าวัฒนาจึงได้โปรดให้พนักงานจัดสร้างโรงเรียนขึ้นที่ด้านเหนือที่ว่าการมณฑลข้างวัดมัชฌิมาวาส เป็นอาคารหนึ่งหลัง ยาว 10 วา 2 ศอก กว้าง 4 วา พื้นกระดาน ฝากระดานมุงแฝก

ครั้นวันที่ 20 กันยายน ร.ศ.121 พระองค์ได้อาราธนาพระสงฆ์ 7 รูป เจริญพระพุทธมนต์ แล้วในวันรุ่งขึ้น ได้เสด็จไปทรงบาตรเป็นการฉลองโรงเรียน โดยพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนา ได้ประทานนามโรงเรียนนี้ว่า "โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล" และได้เปิดสอนนักเรียน ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน ร.ศ.121 (พุทธศักราช 2445) เป็นต้นมา

ในโอกาสเดียวกัน ข้าราชการ พ่อค้า ราษฎร ได้พร้อมใจกันออกเงินบำรุงอุดหนุนซื้อเครื่องเล่าเรียน วัสดุใช้สอยในโรงเรียน และเป็นค่าจ้างครูสำหรับสอนนักเรียน รวมเงิน 1,146 บาท 24 อัฐ ผู้ที่ออกทรัพย์ได้พร้อมใจกันขอพระราชทานถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 และพระองค์ทรงอนุโมทนาในการกุศลนี้ และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 19 หน้า 739 ฉบับวันที่ 14 ธันวาคม ร.ศ. 121 นอกจากนี้ ยังปรากฏหลักฐานที่มีการออกทรัพย์และบริจาคทรัพย์เพื่อบำรุงโรงเรียนเรื่อยมา ทั้งใน ร.ศ. 126 ร.ศ. 129 และใน พ.ศ. 2469 เป็นต้น

ช่วงที่ 2 (พ.ศ. 2477 - 2510) : ศรีสุขสุขีแล้ว เพริศแพร้วพิทยา

เวลาล่วงเลยมาจนถึงต้นปีพุทธศักราช 2477 โรงเรียนอุดรพิทยานุกูลได้รับอนุญาตให้เปิดสอนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 7 และ 8 ถือเป็นโรงเรียนแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เปิดสอนระดับดังกล่าว ทั้งนี้ ก็โดยการผลักดันของ ม.ล.มานิจ ชุมสาย ศึกษาธิการภาคและครูใหญ่ในขณะนั้น

เมื่อเวลาผ่านไปสถานที่เรียนเริ่มคับแคบจึงได้ย้ายมาอยู่ที่ตั้งปัจจุบันนี้

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2478 มีการสร้างอาคารเรียนหลังแรก เป็นอาคารไม้ใต้ถุนโล่ง ลักษณะเป็นรูปตัวอี สร้างอาคารไม้ 2 ชั้นจำนวน 8 ห้องเรียน โรงฝึกพลศึกษา อาคารห้องสมุด อาคารสังคม และดนตรี หอประชุม และโรงอาหาร (ทั้งหมดนี้รื้อถอนไปหมดแล้วในช่วงต่อมา)

ช่วงที่ 3 (พ.ศ. 2511 - 2520) : สู่ความทันสมัย ก้าวไกลการศึกษา พัฒนาวิชาชีพ

ช่วงนี้โรงเรียนเริ่มใช้หลักสูตรโครงการโรงเรียนมัธยมแบบประสม - Comprehensive School(คมส.) แบบ 1 รุ่นที่ 2 (ปีการศึกษา 2511) ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามโครงการพัฒนาการของกระทรวงศึกษาธิการ ทำให้ได้รับงบประมาณเพื่อก่อสร้างและปรับปรุงอาคารสถานที่ ให้เอื้อต่อการเรียนการสอนทางด้านวิชาชีพ มีการสร้างอาคารเพิ่ม เช่น อาคารวิทยาศาสตร์และห้องสมุด (อาคาร 5 เดิม) อาคารธุรกิจศึกษา (อาคาร 2) โรงฝึกพลศึกษา โรงฝึกงานช่างทั่วไป ช่างเขียนแบบ ช่างไฟฟ้าวิทยุ ช่างยนต์และช่างกล (กลุ่มอาคารโรงฝึกงานในปัจจุบัน) รวมทั้งบ้านพักครูและเจ้าหน้าที่ นอกจากนี้ มีการสร้างห้องสุขาเพิ่มเติม และปรับปรุงรั้วและประตูโรงเรียนอีกด้วย มีการสร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 24 ห้องเรียน (อาคาร 4 ในปัจจุบัน) โดยได้ดำเนินการก่อสร้างเป็น 2 ตอน ครึ่งแรกสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2518 ครึ่งหลังสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2520

โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2518 นี้เองโรงเรียนได้รับความกรุณาจากกระทรวงมหาดไทยยกที่ดินบริเวณบ้านพักอัยการพิเศษประจำ เขต 4 เนื้อที่ 6 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา ด้านทิศตะวันตกของโรงเรียน เพื่อขยายบริเวณที่จะปรับปรุงเป็นสนามกีฬาระดับมาตรฐาน จากนั้น ได้ปรับปรุงและสร้างสนามบาสเก็ตบอล อัฒจันทร์เชียร์ และสร้างหลังคาสำหรับทางเดินเชื่อม ระหว่างอาคารเรียนตามลำดับ

ช่วงที่ 4 (พ.ศ. 2521 - 2542) : ยุคแห่งพระกรุณา คุณธรรมนำหน้า วิชาตามหลัง

ได้ดำเนินการสร้างอาคารสหกรณ์โดยได้รับการอนุเคราะห์เงินบริจาคสมทบส่วนหนึ่งจากคณะครู-อาจารย์ และ ผู้ปกครองนักเรีย รวมทั้งอาคารธรรมสถาน หลวงปู่ขาว อนาลโย ซึ่งเป็นอาคารธรรมสถานหลังแรกของประเทศไทยที่สร้างในสถานศึกษาตามนโยบายนำวัดและศาสนาเข้ามาสู่โรงเรียน โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบแปลนให้แก่ทางโรงเรียน และพระราชทานนามพระพุทธรูปองค์ประธานแห่งธรรมสถานนี้ว่า "พระพุทธศรีอุดรมงคล ทศพลธรรมะประภัสสร"

ในช่วงนี้มีการสร้างอาคาร "รัตนโกสินทร์สมโภช 2525" ขึ้น และได้มีการจัดสร้างสนามหญ้าและสวนหย่อมขนาดใหญ่หน้าอาคารรัตนโกสินทร์สมโภชฯ ในบริเวณอาคารไม้รูปตัว อี ที่ถูกรื้อถอนย้ายไปปลูกสร้างใหม่ (อาคาร 3 ในปัจจุบัน) และได้จัดสร้างอาคารอเนกประสงค์เพื่อใช้ เป็นอาคารห้องสมุดและหอประชุม แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2531

ช่วงนี้มีการสร้างอัฒจรรย์ขนาดใหญ่ด้านทิศตะวันตก และติดตั้งหลอดไฟสปอตไลท์รอบสนามฟุตบอล สร้างทางเดินระหว่างอาคารเพิ่มเติม พ.ศ. 2533 ได้งบประมาณก่อสร้างอาคารอาคาร 6 ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกตามแนวรั้วโรงเรียน ด้านถนนอุดรพิทย์ ท้ายที่สุดของช่วงนี้ ได้ก่อสร้างอาคารศูนย์กีฬาแบบมาตรฐาน ในบริเวณอาคารเกษตรและอาคาร คหกรรมเดิม

ช่วงที่ 5 (พ.ศ. 2543 - ปัจจุบัน) : ศตวรรษแห่งปัญญา อนุสรณ์แห่งประชา อุดรพิทยานุกูล

พ.ศ. 2544 โรงเรียนจัดงานฉลอง "100 ปี อุดรพิทยานุกูล" อย่างยิ่งใหญ่ มีการสร้างอาคารโรงอาหารแห่งที่สอง บริเวณหลังโรงฝึกพลศึกษา

พ.ศ. 2547 ก่อสร้างอาคารเรียนสามชั้น บริเวณสนามเทนนิสด้านทิศเหนือ ให้ชื่อว่า "อาคาร 100 ปี อุดรพิทยานุกูล" โดยศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ร่วมกันสมทบทุนก่อสร้าง หลังจากนี้ ได้มีการรื้อถอนอาคาร 5 และสร้างอาคารเรียนสามชั้น เป็นอาคารวิทยาศาสตร์ เริ่มใช้ปีการศึกษา 2549 นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงทางเดินระหว่างอาคาร ถนนทางเข้า-ออกโรงเรียน และสร้างที่จอดรถเพิ่มเติม รวมทั้งปรับปรุงภูมิทัศน์ศาลพระภูมิประจำโรงเรียน

พ.ศ. 2550-2551 ได้ปรับปรุงโรงอาหารใหม่ให้เป็นโรงอาหารสองชั้น ปรับปรุงอัฒจรรย์เชียร์และปะรำพิธีบริเวณสนามฟุตบอลแล้ว และล่าสุด ในปี 2552 ก็ได้จัดสร้างอาคารเรียนหลังใหม่ คืออาคาร 8 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา) ตั้งอยู่หลังอาคาร 5 ทางประตูด้านทิศตะวันออก บนสระมรกตเดิม เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่มากขึ้นในปัจจุบัน และสร้างอาคารเพิ่มเติมข้างอาคารอเนกประสงค์ แทนที่ร้านค้าสหกรณ์โรงเรียน เพื่อใช้เป็นสำนักงานของสหกรณ์ออมทรัพย์เสมาธรรมจักร

พ.ศ. 2556 โรงเรียนจัดงานฉลอง "111 ปี อุดรพิทยานุกูล" อย่างยิ่งใหญ่และได้จัดตั้งมูลนิธิ "111ปีอุดรพิทย์เพื่อการศึกษา"ภายใต้การนำของ ฯพณฯ อำนาจ ผการัตน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายประยูร ธีระพงษ์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล และนายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนอุดรพิทยานุกูลในขณะนั้น

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียน

ทำเนียบผู้บริหารโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล
ลำดับ รายนาม วุฒิการศึกษา ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง ตำแหน่ง
1 นายสุข นิจมานพ - พ.ศ. 2445 - 2446 ครูใหญ่
2 ขุนบำรุงนิการกิจ - พ.ศ. 2447 - 2448 ครูใหญ่
3 นายทอง อนงค์ไทย - พ.ศ. 2449 - 2450 ครูใหญ่
4 พระสิมมา - พ.ศ. 2451 - 2451 ครูใหญ่
5 นายเจิม - พ.ศ. 2452 - 2454 ครูใหญ่
6 ขุนดรุณการวรสาสน์ - พ.ศ. 2455 - 2457 ครูใหญ่
7 นายทัด วีระกุล - พ.ศ. 2458 - 2459 ครูใหญ่
8 ขุนอักษรสรรค์ (เฮง สีตะธนี) - พ.ศ. 2460 - 2463 ครูใหญ่
9 ขุนชำนาญขบวนสอน - พ.ศ. 2464 - 2465 ครูใหญ่
10 ขุนประสมคุรุการ - พ.ศ. 2466 - 2470 ครูใหญ่
11 นายวงศ์ พิรานนท์ - พ.ศ. 2471 - 2472 ครูใหญ่
12 นายเอื้อ จันทรวงศ์ - พ.ศ. 2473 - 2473 ครูใหญ่
13 ขุนวิจักษ์จรรยา - พ.ศ. 2474 - 2476 ครูใหญ่
14 หม่อมหลวงมานิจ ชุมสาย - พ.ศ. 2477 - 2479 ครูใหญ่
15 นายเทือก กุสุมา ณ อยุธยา ป.ม., อ.บ. พ.ศ. 2480 - 2482 ครูใหญ่
16 นายกนก มาณวิท ป.ม., อ.บ. พ.ศ. 2483 - 2483 ครูใหญ่
17 นายแบน ตุงคะสมิต ป.ม. พ.ศ. 2484 - 2486 ครูใหญ่
18 นายเดช เดชกุญชร ป.ม. พ.ศ. 2487 - 2489 ครูใหญ่
19 นายวิศาล ศิวารัตน์ ป.ม. พ.ศ. 2490 - 2491 ครูใหญ่
20 นายผ่อน ชีวะประเสริฐ ป.ม. พ.ศ. 2492 - 2495 ครูใหญ่
21 นายสิทธิ์ บัณฑิตวงศ์ ป.ม. พ.ศ. 2496 - 2502 อาจารย์ใหญ่
22 นายแก้ว อุปพงศ์ ป.ม. พ.ศ. 2503 - 2510 อาจารย์ใหญ่
23 นายประยูร ธีระพงษ์ พ.ม., น.บ., Grad., Dip., Ed. (Alta) พ.ศ. 2511 - 2516 อาจารย์ใหญ่
23 นายประยูร ธีระพงษ์ พ.ม., น.บ., Grad., Dip., Ed. (Alta) พ.ศ. 2517 - 2521 ผู้อำนวยการ
24 นายสนิทพงษ์ นวลมณี กศ.บ., น.บ. พ.ศ. 2522 - 2526 ผู้อำนวยการ
25 นายดิลก วัจนสุนทร M.Ed. พ.ศ. 2527 - 2527 ผู้อำนวยการ
26 นายอนันต์ มาศยคง พ.ม., ศศ.บ. พ.ศ. 2527 - 2529 ผู้อำนวยการ
27 นายมงคล สุวรรณพงศ์ นบ.ท., Grad., Dip., Ed. (Admin) พ.ศ. 2529 - 2532 ผู้อำนวยการ
28 นายคำพันธุ์ คงนิล กศ.บ., Grad., Dip., Ed. (Alta) พ.ศ. 2532 - 2536 ผู้อำนวยการ
29 นายประดิษฐ์ ศรีวรมาศ พ.ม., กศ.บ., พบ.ม. พ.ศ. 2536 - 2537 ผู้อำนวยการ
30 นายวิเชียร ชูประยูร วท.บ., พ.ม., ค.บ. (เกียรตินิยม (จุฬา) พ.ศ. 2537 - 2540 ผู้อำนวยการ
31 นายมณเฑียร ศรีภูธร พ.ม., วท.บ., น.บ., นศ.บ., ศษ.บ., รป.บ., ค.ม. (บริหารการศึกษา) พ.ศ. 2540 - 2543 ผู้อำนวยการ
32 นายณรงค์ ชาติภรต กศ.บ., น.บ. พ.ศ. 2543 - 2552 ผู้อำนวยการ
33 นางสาวนิวรณ์ สุทธิบุญ - พ.ศ. 2553 - 2553 ผู้อำนวยการ
34 นายวันชัย วิเศษโพธิศรี - พ.ศ. 2554 - 2555 ผู้อำนวยการ
35 นายวัชรินทร์ ศรีบุรินทร์ - พ.ศ. 2555 - 2556 ผู้อำนวยการ
36 นายประมวล โสภาพร - พ.ศ. 2556 - 2557 ผู้อำนวยการ
37 นายสุจินต์ ขาวแก้ว - พ.ศ. 2557 - 2560 ผู้อำนวยการ
38 ว่าที่ร้อยตรี บรรจง มูลตรีแก้ว - พ.ศ. 2561 - 2563 ผู้อำนวยการ
39 นายธวัช ทุมมนตรี - พ.ศ. 2563 - 2566 ผู้อำนวยการ
40 นายสุวิทูรย์ ภักดีสมัย - พ.ศ. 2566 - 2567 ผู้อำนวยการ
41 ดร.ลำเพย พิเคราะห์แนะ - พ.ศ. 2567 - ปัจจุบัน ผู้อำนวยการ

บุคคลจากโรงเรียนอุดรพิทยานุกูล

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!