แอร์อินเดีย (ฮินดี: एअर इंडिया) เป็นสายการบินประจำชาติของประเทศอินเดีย โดยมีฐานการบินหลักที่ท่าอากาศยานนานาชาติอินทิรา คานธีในนิวเดลี และมีสำนักงานใหญ่ในคุรุคราม[1] แอร์อินเดียให้บริการเที่ยวบินสู่จุดหมายปลายทาง 102 แห่งในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ ออสเตรเลียและแอฟริกา สายการบินนับเป็นสายการบินที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 16 ของทวีปเอเชีย แอร์อินเดียเป็นสมาชิกของพันธมิตรทางสายการบินสตาร์อัลไลแอนซ์
ประวัติ
แอร์อินเดียก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1932 โดยจาฮังกีร์ ราตันจี ดาดับ ทาทาภายใต้ชื่อในขณะนั้นว่า "ทาทาแอร์ไลน์" ซึ่งเป็นบริษัทหนึ่งในกลุ่มบริษัททาทากรุ๊ป[2] โดยในวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1932 เป็นวันเริ่มให้บริการครั้งแรก โดยการขนส่งพัสดุไปรษณีย์ ระหว่างเมืองการาจีสู่เมืองมุมไบ โดยผ่านเมืองอาห์เมราบัด และบินกลับสู่เมืองมัทราส (เจนไน) ผ่านเมืองเบลลารี โดยนักบินอดีตทหารอากาศกองทัพสหราชอาณาจักร
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง ธุรกิจการบินพาณิชย์ในอินเดียกลับมาให้บริการอีกครั้ง ทาทาแอร์ไลน์ถูกแปรรูปเป็นบริษัทมหาชนในวันที่ 29 กรกฎาคม ค.ศ. 1948 และเปลี่ยนชื่อเป็น "แอร์อินเดีย" ในปี 1948 ภายหลังอินเดียได้รับเอกราช รัฐบาลอินเดียได้เข้ามาถือหุ้นในสายการบิน 51% ทำให้แอร์อินเดียมีสถานะเป็นสายการบินแห่งชาติอินเดีย โดยมีชื่อว่า "แอร์อินเดีย อินเตอร์แนชันแนล" และได้เริ่มเปิดเส้นทางการบินระหว่างประเทศขึ้น โดยในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ได้เปิดเส้นทางบินจากมุมไบสู่ลอนดอน ผ่านเมืองไคโรและเจนีวา โดยใช้เครื่องบิน ล็อกฮีด คอนสเตลเลชัน แอล-749A (VT-CQP) นับเป็นเที่ยวบินระยะไกลระหว่างประเทศเที่ยวแรก และในปี 1950 เปิดเส้นทางสู่ไนโรบี โดยผ่านเมืองเอเดน
ต่อมาในวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1953 รัฐบาลอินเดียได้เข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของสายการบิน ซึ่งรัฐบาลอินเดียพิจารณว่าเป็นธุรกิจที่สำคัญและต้องการที่จะเป็นผู้ควบคุมอุตสาหกรรมการบินอินเดียในขณะนั้น ขณะเดียวกันนั้นการบริการเที่ยวบินภายในประเทศของแอร์อินเดียได้ถูกโอนไปให้อินเดียนแอร์ไลน์ และในปี ค.ศ. 1954 ได้สั่งซื้อเครื่องบิน แอล-1049 ซูเปอร์คอนสเตลเลชัน และเปิดเส้นทางการบินสู่ กรุงเทพ ฮ่องกง และสิงคโปร์
ปี 1960 แอร์อินเดียอินเตอร์แนชันแนลได้เข้าสู่ยุคไอพ่นเมื่อได้รับมอบโบอิง 707-420 และเปิดเส้นทางการบินสู่เมืองนิวยอร์กผ่านเมืองลอนดอน และเปลี่ยนชื่อเป็นแอร์อินเดียดังเช่นปัจจุบัน ในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1962 และในวันที่ 11 มิถุนายน ปีเดียวกัน แอร์อินเดียเป็นสายการบินแรกในโลกที่ให้บริการโดยเครื่องบินไอพ่นทั้งหมด
จุดหมายปลายทาง
พันธมิตรทางการบิน
แอร์อินเดียเป็นสมาชิกของพันธมิตรทางการบินสตาร์อัลไลแอนซ์ลำดับที่ 27 ในวันที่ 11 กรกฎาคม ค.ศ. 2011[3][4]
ข้อตกลงการบินร่วม
ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 แอร์อินเดียมีข้อตกลงการทำการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไปนี้:[5]
ข้อตกลงระหว่างสายการบิน
ณ เดือนธันวาคม ค.ศ. 2023 แอร์อินเดียมีข้อตกลงระหว่างสายการบินดังต่อไปนี้:
ฝูงบิน
ฝูงบินปัจจุบัน
ณ เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2024 แอร์อินเดียมีเครื่องบินประจำการในฝูงบินดังนี้:[9]
แอร์อินเดียมีอายุฝูงบินเฉลี่ย 9.4 ปี
อุบัติเหตุและอุบัติการณ์สำคัญ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
สมาชิกปัจจุบัน | สมาชิกแรกก่อตั้ง | |
---|
สมาชิกปัจจุบัน | |
---|
สมาชิกในเครือ | |
---|
| |
---|
สมาชิกขนส่งระหว่างรูปแบบ | |
---|
สมาชิกคอนเน็กติง | |
---|
อดีตสมาชิก | |
---|