2008 ซิงเกิลโดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
"เฟียร์เลส" (อังกฤษ: Fearless) เป็นเพลงแนวคันทรีป็อปของนักร้องนักแต่งเพลงชาวอเมริกัน เทย์เลอร์ สวิฟต์ เพลงเขียนโดยสวิฟต์ ร่วมกับลิซ โรส และฮิลลารี ลินด์ซีย์ และผลิตโดยนาธาน แชปแมน "เฟียร์เลส" ออกจำหน่ายวันที่ 3 มกราคม ค.ศ. 2010 ผ่านสังกัดบิกแมชีนเรเคิดส์ เป็นซิงเกิลที่ห้าและซิงเกิลสุดท้ายจากสตูดิโออัลบั้มที่สอง เฟียร์เลส (2008) สวิฟต์แต่งเพลงนี้ขณะกำลังเดินทางทัวร์คอนเสิร์ตสนับสนุนอัลบั้มแรก เทย์เลอร์ สวิฟต์ (2006) เธอเขียนเพลง "เฟียร์เลส" ถึงความไม่เกรงกลัวการตกหลุมรัก และในที่สุดก็ตั้งชื่อให้เป็นชื่อสตูดิโออัลบั้มที่สองด้วย ดนตรีมีคุณสมบัติความเป็นดนตรีป็อปร็อก และเนื้อเพลงเกี่ยวกับรักครั้งแรกที่สมบูรณ์แบบ
"เฟียร์เลส" เป็นที่พอใจแก่นักวิจารณ์ ส่วนใหญ่ชื่นชมเพลงเนื่องจากมีเสน่ห์ดึงดูดคนกลุ่มอายุหลายกลุ่ม ในสหรัฐอเมริกา "เฟียร์เลส" เปิดตัวและขึ้นสูงสุดอันดับที่ 9 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 และได้รับการรับรองระดับแพลตินัมจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) กลายเป็นซิงเกิลแรกที่ออกจำหน่ายหลังจากได้รับการรับรองระดับทองคำจากสมาคม "เฟียร์เลส" เข้าชาร์ตในประเทศแคนาดา และสเปน สวิฟต์แสดงเพลงนี้ในหลายงาน หนึ่งในนั้นคือในเฟียร์เลสทัวร์ (2009–10) มิวสิกวิดีโอเป็นวิดีโอที่รวบรวมจากการแสดงในเฟียร์เลสทัวร์ กำกับโดยทอดด์ แคสเซตตี วิดีโอมีทั้งภาพทัวร์และเบื้องหลัง
เบื้องหลัง
"เฟียร์เลส" เขียนโดยสวิฟต์ ร่วมมือกับลิซ โรส และฮิลลารี ลินด์ซีย์ และผลิตโดยนาธาน แชปแมน และสวิฟต์ด้วย สวิฟต์คิดแนวคิดของเพลงได้ขณะกำลังทัวร์คอนเสิร์ตเป็นนักร้องเปิดคอนเสิร์ตเพื่อส่งเสริมอัลบั้มแรกของเธอเทย์เลอร์ สวิฟต์ (2006)[1] ขณะเธอเขียนเพลงนี้ เธอไม่ได้คบหากับใคร หรือ "ไม่ได้แม้แต่เริ่มสานสัมพันธ์กับใคร"[1] เธอเขียนเพลงนี้หลังจากเธอวิเคราะห์แนวคิดว่าเดทแรกคืออะไร ขณะกำลังทำเพลง "เฟียร์เลส" สวิฟต์อธิบายกระบวนการเขียนเพลงว่า "ฉันคิดว่า บางครั้ง เมื่อคุณกำลังเขียนเพลงรัก คุณไม่ต้องเขียนถึงสิ่งที่คุณกำลังประสบพบเจอในขณะนั้น แต่คุณอาจเขียนถึงสิ่งที่คุณอยากประสบพบเจอก็ได้"[1] เพลงถูกแต่งด้วยแนวคิดสองแนวคิด สวิฟต์เล่าแนวคิดหลักของเพลงว่าเกี่ยวกับ "ความไม่กลัวการตกหลุมรัก" (the fearlessness of falling in love) และ "ไม่ว่าคุณจะเจ็บมากี่ครั้ง คุณก็จะตกหลุมรักอีก" แนวคิดที่สองเกี่ยวข้องกับเดทแรก ซึ่งสวิฟต์กล่าวว่าเธอไม่ได้ประสบเหตุเช่นนั้นขณะเขียนเพลง "เฟียร์เลส" หลังจากทำเพลงเสร็จ สวิฟต์ให้คำจำกัดความของคำว่า "ไม่เกรงกลัว" (fearless)[2] สำหรับเธอแล้ว "ไม่เกรงกลัว ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่กลัวเลย และไม่ได้หมายความว่าคุณแข็งแกร่ง แต่มันหมายความว่าคุณมีความกลัว แต่คุณก็กระโดดได้อยู่ดี" ทำให้เธอตั้งชื่ออัลบั้มว่า เฟียร์เลส[2] เพลงออกจำหน่ายครั้งแรกเป็นซิงเกิลวิทยุจากอัลบั้มเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม ค.ศ. 2008 เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เคาต์ดาวน์ทูเฟียร์เลส ของร้านไอทูนส์[3] ต่อมาเพลงได้เป็นซิงเกิลที่ห้าและซิงเกิลสุดท้ายจากอัลบั้มเฟียร์เลส เมื่อวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 2010[4]
การจัดวางองค์ประกอบเพลง
ตัวอย่างเพลง "เฟียร์เลส" ความยาว 24 วินาที โดยเทย์เลอร์ สวิฟต์
"เฟียร์เลส" มีความยาวสี่นาที หนึ่งวินาที[5] อเล็กซิส เพทริดิส จากเดอะการ์เดียน บรรยายประเภทของเพลงว่าเป็น "ป็อปร็อกสมบูรณ์แบบแบบทันตกรรมจัดฟัน" (kind of orthodontically perfect pop rock) เขากล่าวว่าส่วนที่เป็นแนวคันทรีที่สุดในเพลงคือเนื้อเพลงที่กล่าวถึง "one horse town"[6] เพลงอยู่ในอัตราจังหวะ 4 4 (Common time) และมีความเร็วปานกลาง 100 จังหวะต่อนาที ด้วยคีย์เอฟเมเจอร์ (F major) และเสียงร้องของสวิฟต์กว้างสองช่วงอ็อกเทฟ ตั้งแต่ F3 ถึง C5 เพลงบรรเลงด้วยคอร์ดดังนี้ F-C-Gm-B♭-C[7] ทอม โรนัลด์ จากช่องเกรตอเมริกันคันทรี ตีความเพลงว่า ข้อความในเพลงเล่าถึง "การใช้ความกล้าไปกับวงจรการออกเดท" (taking courage on the dating circuit)[8] ร็อบ เชฟฟิลด์ จากนิตยสารเบลนเดอร์ มีมุมมองแตกต่างกัน กล่าวว่า เนื้อเพลงที่ว่า "And I don't know why but with you / I'd dance in a storm in my best dress, fearless" อธิบายว่าสวิฟต์มีความสุขกับการตีโพยตีพายเพียงใด เขาเสริมว่าเธอจะไม่สวมใส่ "สิ่งใดเพื่อไปเต้นรำในพายุอีก"[9]
การตอบรับ
"เฟียร์เลส" ได้รับคำสรรเสริญถึงการเชื่อมโยงเข้ากับกลุ่มอายุกลุ่มต่าง ๆ ลีอาห์ กรีนแบล็ตต์ จากนิตยสารเอนเตอร์เทนเมนต์วีกลี กล่าวว่าเสียงร้องของสวิฟต์เข้ากับทำนองเพลงและเครื่องดนตรีได้ดี ซึ่งเธอกล่าวว่า "ลื่นไหล" (slick) และ "เป็นมิตรกับสถานีวิทยุ" (radio-friendly)[10] เฮเธอร์ แฟส์ จากออลมิวสิก เลือกให้เพลงเป็นหนึ่งในเพลงที่ดีที่สุดในอัลบั้ม เฟียร์เลส[11] อลิซ ฟิชเชอร์ จากนิตยสารดิออบเซิร์ฟเวอร์ ยินดีกับเพลง "เฟียร์เลส" ที่ได้เป็นหนึ่งใน "เพลงยอดเยี่ยมที่มีเนื้อเพลงเกี่ยวกับความจริงสากลที่คนทุกวัยสามารถมีความสุขด้วยได้" ของสวิฟต์[12] จิม แฮร์ริงตัน จากหนังสือพิมพ์ซานโฮเซเมอร์คิวรีนิวส์ เชื่อว่า "เฟียร์เลส" มีเสน่ห์ดึงดูดคนทุกกลุ่มอายุ "แม่และลูกสาว รวมถึงกลุ่มวัยรุ่นและคู่รักที่ออกเดทกลางคืน [สามารถร้องเพลง] ด้วยกันด้วยความเพลิดเพลิน"[13]
บนชาร์ตเพลง
หลังจากจำหน่ายเป็นซิงเกิลวิทยุแล้ว ในสัปดาห์ของวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 เพลง "เฟียร์เลส" เปิดตัวที่อันดับที่ 9 บนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ด้วยยอดดาวน์โหลด 162,000 ครั้ง กลายเป็นเพลงที่ขึ้นสิบอันดับแรกเป็นเพลงที่สามติดต่อกัน[14] ในสัปดาห์ต่อมา เพลงตกไปที่อันดับ 38 และหลังจากอยู่ในชาร์ตอีก 4 สัปดาห์ เพลงก็ตกชาร์ตไป[15][16] หลังจากเพลงได้เป็นซิงเกิล ซิงเกิลกลับเข้ามาที่อันดับ 94 ในสัปดาห์ของวันที่ 13 มีนาคม ค.ศ. 2010[17] ตำแหน่งสูงสุดที่ทำได้ในฐานะซิงเกิลคืออันดับที่ 76 เมื่อสัปดาห์ของวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 2010[18] เพลงนี้เป็นหนึ่งใน 13 เพลงจากอัลบั้มเฟียร์เลสที่ติด 40 อันดับแรกบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100 ทำลายสถิติเพลง 40 อันดับแรกมากที่สุดในอัลบั้มเดียว[19] "เฟียร์เลส" ใช้เวลา 15 สัปดาห์ในการไต่ขึ้นและลงบนชาร์ตบิลบอร์ดฮอต 100[15] "เฟียร์เลส" ขึ้นสูงสุดอันดับที่ 10 บนชาร์ตฮอตเพลงคันทรี กลายเป็นเพลงที่สิบติดต่อกันที่สามารถติด 10 อันดับแรก แต่เป็นซิงเกิลที่ติดอันดับต่ำสุด และติดอันดับที่ 18 บนชาร์ตป็อป 100[15][20] ซึ่งปัจจุบันปิดตัวลงแล้ว ซิงเกิลได้รับการรับรองระดับทองคำจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา (RIAA) จากยอดขาย 500,000 ดาวน์โหลด[21] ดังนั้นจึงกลายเป็นซิงเกิลแรกที่ออกจำหน่ายหลังได้รับการรับรองจากสมาคม เป็นผลมาจากยอดดาวน์โหลด[8] นับถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 2012 "เฟียร์เลส" ขายได้มากกว่า 1,000,000 ซิงเกิลในสหรัฐอเมริกา และได้รับการรับรองระดับแพลตินัมจากสมาคมตั้งแต่นั้นมา[21]
ในสัปดาห์ของวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 "เฟียร์เลส" เปิดตัวและขึ้นสูงสุดอันดับที่ 69 ในแคนาดา ใช้เวลาในชาร์ตนาน 5 สัปดาห์[15] เพลงขึ้นอันดับที่ 32 ในสเปนด้วย[22]
การแสดงสด
สวิฟต์แสดงเพลง "เฟียร์เลส" สดทางโทรทัศน์ครั้งแรกในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 ในรายการเลตโชว์วิดเดวิด เลตเทอร์แมน[23] เธอแสดงเพลงนี้ต่อในรายการดิเอลเลน ดีเจนเนอเรสโชว์ และรายการสตริปส์ของบริษัทเคลียร์แชนเนิลคอมมิวนิเคชันส์[23] สวิฟต์ร้องเพลงในทัวร์คอนเสิร์ตครั้งแรกของเธอ เฟียร์เลสทัวร์ ตั้งแต่เดือนเมษายน ค.ศ. 2009 ถึง กรกฎาคม ค.ศ. 2010 ในการแสดงแต่ละครั้ง สวิฟต์เดินนำหน้าชุดสีเงินประกายแวววาวและรองเท้าบูตสีดำ และเล่นกีตาร์โปร่ง ขณะที่มีกลีบดอกไม้ที่มาพร้อมกับผีเสื้อโบนบินยื่นออกมาบนเวที[24] อลิซ ฟิชเชอร์ จากนิตยสารดิออบเซิร์ฟเวอร์ เข้าชมคอนเสิร์ตวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ที่เวทีเชปเพิร์ดบุชเอ็มไพร์ ในลอนดอน ประเทศอังกฤษ และกล่าวว่าขณะที่ตัวเธอเดินออกมาในระหว่างการแสดง มัน "ดูสมเหตุสมผลชัดเจนต่อผู้ชมผู้หญิง"[12] โจซีลีน วีนา จากเอ็มทีวีนิวส์ รายงานว่า ผู้ชมร้องเพลงเสียงดังในขณะเล่นเพลง "เฟียร์เลส" ที่คอนเสิร์ตวันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 2009 ที่เมดิสันสแควร์การ์เดน ในนครนิวยอร์ก เพลงยังถูกนำไปแสดงในทัวร์คอนเสิร์ตสปีกนาวเวิลด์ทัวร์ด้วย[25][26][27]
ภาพการแสดงทัวร์หลายครั้งกลายเป็นหนึ่งในมิวสิกวิดีโอเพลง "เฟียร์เลส" กำกับโดยทอดด์ แคสเซตตี วิดีโอเผยแพร่ครั้งแรกวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 ทางช่องซีเอ็มที[24] วิดีโอเริ่มต้นที่สวิฟต์พูดคุยกับวงดนตรีของเธอก่อนจะเดินขึ้นเวทีว่า "พวกคุณ ทัวร์นี้จะเป็นประสบการณ์ที่ดีที่สุดในชีวิตทั้งชีวิตของฉัน" วิดีโอเป็นการผสมผสานวิดีโอจากทัวร์คอนเสิร์ต มีแฟนคลับชูป้ายให้สวิฟต์ด้วยความตื่นเต้น กับวิดีโอเบื้องหลังของสวิฟต์และวงดนตรีของเธอขณะเดินทางทัวร์เฟียร์เลสทัวร์ วิดีโอจบที่นักร้องโบกมือลาขณะที่เธอเดินลงเวที[28] หลังจากชมวิดีโอ วีนาตีความว่าเป็น "จดหมายรักของสวิฟต์ถึงแฟนเพลง" เนื่องจากมันแสดงให้เห็น "มุมมองด้านในของสิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างทัวร์"[28] จนถึงปัจจุบัน วิดีโอมียอดผู้ชมในยูทูบมากกว่า 23 ล้านครั้ง
รายชื่อเพลง
- ซิงเกิลดาวน์โหลดในสหรัฐอเมริกา
- "เฟียร์เลส" (ซิงเกิล) - 4:01
- ซีดีซิงเกิลในสหรัฐอเมริกาและยุโรป
- "เฟียร์เลส" (วิทยุ) - 4:01
ชาร์ตเพลง
ชาร์ตสิ้นปี
ชาร์ต (2010)
|
ตำแหน่ง
|
US Hot Country Songs[33]
|
55
|
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Swift, Taylor. "Cut By But". Bigmachinerecords.com. Big Machine Records. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-27. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ 2.0 2.1 Vena, Jocelyn (November 11, 2008). "Taylor Swift Says She 'Owed It' To Her Fans To Be Open About Joe Jonas Breakup". MTV News. Viacom. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ "Countdown to Fearless". iTunes Store. Apple, Inc. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ "R&R :: Going For Adds :: CHR/Country". Gfa.radioandrecords.com. Radio & Records. January 4, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-16. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ "Fearless > Overview". Allmusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ March 18, 2010.
- ↑ Petridis, Alexis (March 6, 2009). "Taylor Swift: Fearless". The Guardian. Guardian Media Group. สืบค้นเมื่อ May 30, 2010.
- ↑ "Digital sheet music - Taylor Swift - Fearless". Musicnotes.com. Alfred Publishing.
- ↑ 8.0 8.1 Roland, Tom (December 17, 2009). "Taylor Swift "Fearless"-ly Sets A New Precedent". Great American Country. Scripps Networks Interactive. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ Sheffield, Rob (November 11, 2008). "Fearless". Blender. Alpha Media Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-28. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ Greenblatt, Leah (November 5, 2008). "Fearless (2008)". Entertainment Weekly. Time Warner, Inc. สืบค้นเมื่อ March 12, 2010.
- ↑ "Fearless > Review". Allmusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ 12.0 12.1 Fisher, Alicer (May 10, 2009). "Enough to make you scream". The Observer. Guardian Media Group. สืบค้นเมื่อ May 21, 2010.
- ↑ Harrington, Jim (April 12, 2010). "Review: Taylor Swift at HP Pavilion". The San Jose Mercury News. MediaNews Group. สืบค้นเมื่อ May 26, 2010.
- ↑ Cohen, Jonathan (October 23, 2008). "T.I. Returns To No. 1 On The Hot 100". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 "Fearless - Taylor Swift". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ "Taylor Swift - Fearless - Music Charts". aCharts.us. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ "US Singles Top 100 - March 13, 2010". aCharts.us. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ "US Singles Top 100 - April 10, 2010". aCharts.us. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ Pietroluongo, Silvio (November 12, 2009). "Rihanna's 'Roulette' Lands In Hot 100's Top 10". Billboard. Nielsen Business Media, Inc. สืบค้นเมื่อ January 3, 2010.
- ↑ 20.0 20.1 "Taylor Swift > Charts & Awards > Singles". Allmusic. Rovi Corporation. สืบค้นเมื่อ May 19, 2010.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 "RIAA - Gold & Platinum: "Taylor Swift songs"". RIAA.com. Recording Industry Association of America. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ 22.0 22.1 "Taylor Swift - Fearless (Song)". Spanishcharts.com. Productores de Música de España. สืบค้นเมื่อ May 25, 2010.
- ↑ 23.0 23.1 "Taylor Swift - Body By Milk". About.com. The New York Times Company. November 6, 2008. สืบค้นเมื่อ May 31, 2010.
- ↑ 24.0 24.1 "Taylor Swift - 'Fearless'". CMT. Viacom. สืบค้นเมื่อ May 30, 2010.
- ↑ "Taylor Swift shimmers in Omaha". Coffey, Kevin. Omaha World-Herald. 28 May 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-05. สืบค้นเมื่อ August 19, 2011.
- ↑ Herrero, Javier (19 March 2011). "Taylor Swift encandila a unos 4.000 madrileños con su country edulcorado" [Taylor Swift dazzle some 4,000 locals sweetened country]. La Rioja (ภาษาสเปน). Grupo Vocento. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-28. สืบค้นเมื่อ 19 August 2011.
- ↑ Sträter, Andreas (13 March 2011). "Blaue Augen, süße Songs: Taylor Swift in Oberhausen" [Blues, sweet songs: Taylor Swift in Overhausen]. Soester Anzeiger (ภาษาเยอรมัน). สืบค้นเมื่อ 19 August 2011.
- ↑ 28.0 28.1 Vena, Jocelyn (February 18, 2010). "Taylor Swift's 'Fearless' Video A Love Letter To Her Fans". MTV News. Viacom. สืบค้นเมื่อ May 30, 2010.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Canadian Hot 100)". Billboard.
- ↑ "Chart Log UK: DJ S - The System Of Life". Zobbel.de. สืบค้นเมื่อ 2012-06-17.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Hot 100)". Billboard.
- ↑ "Taylor Swift Chart History (Hot Country Songs)". Billboard.
- ↑ "Year End Charts - Hot Country Songs - Issue Date: 2010". Billboard. Prometheus Global Media. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-12. สืบค้นเมื่อ August 15, 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น