เทศบาลนครในประเทศไทย
ในประเทศไทย เทศบาลนคร เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสำหรับเมืองขนาดใหญ่ที่มีประชากรตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไปและมีรายได้พอเพียงต่อการให้บริการสาธารณะตามหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติไว้ การจัดตั้งเทศบาลนครกระทำโดยประกาศกระทรวงมหาดไทยยกฐานะเป็นเทศบาลนครตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 (ฉบับล่าสุด) ปัจจุบันมีเทศบาลนครอยู่ 31 แห่งทั่วประเทศ (ไม่นับรวมกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา) เทศบาลนครแห่งแรกของไทย 3 แห่งคือเทศบาลนครกรุงเทพ เทศบาลนครธนบุรี และเทศบาลนครเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2478 ต่อมาเทศบาลนครกรุงเทพและเทศบาลนครธนบุรีได้ถูกยุบรวมกันเป็นเทศบาลนครหลวงใน พ.ศ. 2514 และใน พ.ศ. 2515 เทศบาลนครหลวงได้ถูกยุบพร้อมกับจังหวัดนครหลวงกรุงเทพธนบุรีเพื่อจัดตั้งกรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นเทศบาลนครจึงเหลือแต่เพียงเทศบาลนครเชียงใหม่ ซึ่งเป็นเทศบาลนครแห่งแรกในส่วนภูมิภาค จนกระทั่ง พ.ศ. 2537 จึงมีการจัดตั้งเทศบาลนครแห่งที่สองในส่วนภูมิภาคคือเทศบาลนครนครศรีธรรมราช และเทศบาลนครอื่น ๆ มาตามลำดับ
เทศบาลนครประกอบด้วยนายกเทศมนตรีทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารและสภาเทศบาลที่มีสมาชิกจำนวน 24 คนมาจากการเลือกตั้งของราษฎรในเขตเทศบาลทำหน้าที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ นายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของราษฎรในเขตเทศบาลและมีรองนายกเทศมนตรีมาจากการแต่งตั้งของนายกเทศมนตรี นอกจากนี้ยังมีสำนักงานเทศบาลนครซึ่งมีปลัดเทศบาลเป็นหัวหน้าพนักงานเทศบาล ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการและหน่วยงานให้บริการประชาชนภายใต้การบังคับบัญชาของนายกเทศมนตรี
รายชื่อ
อันดับของเทศบาลนครในประเทศไทยตามจำนวนประชากรเป็นดังนี้
อันดับ ที่ |
ชื่อเทศบาล |
จังหวัด |
เนื้อที่ เฉพาะพื้นดิน (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร เมื่อสิ้นปี 2567 (คน)[1] |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม) |
วันที่ได้รับการจัดตั้ง
|
1 |
เทศบาลนครนนทบุรี |
นนทบุรี |
38.90 |
241,183 |
6,200.08 |
25 กันยายน พ.ศ. 2538[2]
|
2 |
เทศบาลนครปากเกร็ด |
นนทบุรี |
36.04 |
188,863 |
5,240.37 |
20 เมษายน พ.ศ. 2543[3]
|
3 |
เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ |
ชลบุรี |
276.98 |
160,582 |
579.76 |
1 พฤษภาคม พ.ศ. 2556[4]
|
4 |
เทศบาลนครหาดใหญ่ |
สงขลา |
21.00 |
140,851 |
6,707.19 |
25 กันยายน พ.ศ. 2538[5]
|
5 |
เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี |
สุราษฎร์ธานี |
68.97 |
130,885 |
1,897.71 |
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2550[6]
|
6 |
เทศบาลนครอุดรธานี |
อุดรธานี |
47.70 |
113,960 |
2,389.10 |
25 กันยายน พ.ศ. 2538[7]
|
7 |
เทศบาลนครเชียงใหม่ |
เชียงใหม่ |
40.22 |
113,529 |
2,822.70 |
1 เมษายน พ.ศ. 2479[8]
|
8 |
เทศบาลนครนครราชสีมา |
นครราชสีมา |
37.50 |
113,184 |
3,018.24 |
25 กันยายน พ.ศ. 2538[9]
|
9 |
เทศบาลนครขอนแก่น |
ขอนแก่น |
46.00 |
99,917 |
2,172.11 |
25 กันยายน พ.ศ. 2538[10]
|
10 |
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช |
นครศรีธรรมราช |
22.56 |
95,331 |
4,225.66 |
8 ตุลาคม พ.ศ. 2537[11]
|
11 |
เทศบาลนครแหลมฉบัง |
ชลบุรี |
88.59 |
93,666 |
1,057.30 |
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2553[12]
|
12 |
เทศบาลนครรังสิต |
ปทุมธานี |
20.80 |
85,324 |
4,102.12 |
29 เมษายน พ.ศ. 2554[13]
|
13 |
เทศบาลนครเชียงราย |
เชียงราย |
60.85 |
78,488 |
1,289.86 |
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547[14]
|
14 |
เทศบาลนครนครสวรรค์ |
นครสวรรค์ |
27.87 |
75,502 |
2,709.08 |
25 กันยายน พ.ศ. 2538[15]
|
15 |
เทศบาลนครภูเก็ต |
ภูเก็ต |
12.00 |
71,284 |
5,940.33 |
13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547[14]
|
16 |
เทศบาลนครเกาะสมุย |
สุราษฎร์ธานี |
252.00 |
69,689 |
276.54 |
14 กันยายน พ.ศ. 2555[16]
|
17 |
เทศบาลนครอุบลราชธานี |
อุบลราชธานี |
29.04 |
68,575 |
2,361.40 |
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2542[17]
|
18 |
เทศบาลนครนครปฐม |
นครปฐม |
19.85 |
65,814 |
3,315.57 |
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[18]
|
19 |
เทศบาลนครพิษณุโลก |
พิษณุโลก |
18.26 |
60,827 |
3,331.16 |
9 มีนาคม พ.ศ. 2542[19]
|
20 |
เทศบาลนครระยอง |
ระยอง |
16.95 |
58,614 |
3,458.05 |
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[20]
|
21 |
เทศบาลนครยะลา |
ยะลา |
19.00 |
58,450 |
3,076.32 |
25 กันยายน พ.ศ. 2538[21]
|
22 |
เทศบาลนครสงขลา |
สงขลา |
9.27 |
53,956 |
5,820.50 |
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[22]
|
23 |
เทศบาลนครตรัง |
ตรัง |
14.77 |
53,945 |
3,652.34 |
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[23]
|
24 |
เทศบาลนครอ้อมน้อย |
สมุทรสาคร |
30.40 |
53,914 |
1,773.49 |
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553[24]
|
25 |
เทศบาลนครสมุทรสาคร |
สมุทรสาคร |
10.33 |
53,221 |
5,152.08 |
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[25]
|
26 |
เทศบาลนครบุรีรัมย์ |
บุรีรัมย์ |
75.44 |
50,525 |
669.74 |
31 ตุลาคม พ.ศ. 2567[26]
|
27 |
เทศบาลนครสกลนคร |
สกลนคร |
54.54 |
49,752 |
912.21 |
8 มีนาคม พ.ศ. 2555[27]
|
28 |
เทศบาลนครลำปาง |
ลำปาง |
22.17 |
47,764 |
2,154.44 |
11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542[28]
|
29 |
เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา |
พระนครศรีอยุธยา |
14.84 |
47,059 |
3,171.09 |
16 ธันวาคม พ.ศ. 2542[29]
|
30 |
เทศบาลนครสมุทรปราการ |
สมุทรปราการ |
7.33 |
44,935 |
6,130.29 |
24 มีนาคม พ.ศ. 2542[30]
|
31 |
เทศบาลนครแม่สอด |
ตาก |
27.20 |
42,874[# 1] |
1,576.25 |
28 มกราคม พ.ศ. 2553[31]
|
เทศบาลนครในอนาคต
ลำดับ ที่ |
ชื่อเทศบาล |
จังหวัด |
เนื้อที่ เฉพาะพื้นดิน (ตร.กม.) |
จำนวนประชากร เมื่อสิ้นปี 2566 (คน)[1] |
ความหนาแน่น (คน/ตร.กม) |
วันที่ได้รับการจัดตั้ง
|
1 |
เทศบาลนครหัวหิน |
ประจวบคีรีขันธ์ |
86.36 |
64,202 |
743.42 |
28 มีนาคม พ.ศ. 2568[32]
|
หมายเหตุ
- ↑ ขณะที่กำลังยื่นเรื่องขอเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลนคร ในเขตเทศบาลเมืองแม่สอดมีจำนวนราษฎรเฉพาะจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร (ของกรมการปกครอง) ไม่ถึงเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 กำหนดไว้ แต่มีการตีความหมายของคำว่า "ราษฎร" ในพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวให้ครอบคลุมถึงบุคคลที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีสิทธิ์เลือกตั้งที่อาศัยอยู่ในเขตเทศบาลอย่างถูกกฎหมายด้วย เป็นผลให้มีจำนวน "ราษฎร" ทั้งหมดเกินห้าหมื่นคน ประกอบกับมีการพิจารณาความเหมาะสมด้านอื่น ๆ แล้วเข้าเกณฑ์ที่จะยกฐานะเป็นเทศบาลนครได้ [1] ในที่นี้จะระบุจำนวนราษฎรตามฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรเท่านั้น เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกับข้อมูลของเทศบาลนครแห่งอื่น ๆ
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
|
---|
เทศบาลนคร | |
---|
อปท. รูปแบบพิเศษ | |
---|
การจัดแบ่งเขตพื้นที่ในประเทศไทย |
---|
เขตการปกครอง | |
---|
เขตพื้นที่ | |
---|
เขตการปกครองในอดีต | |
---|
|
|