เขตปกครองคณะสงฆ์ไทย มีการแบ่งการปกครองตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 มาตรา 20 กำหนดให้คณะสงฆ์ต้องอยู่ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม และการจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎมหาเถรสมาคม
กฎหมายที่ให้อำนาจจัดระบบการปกครองคณะสงฆ์นั้น ได้กำหนดให้ถือว่าผู้ปกครองคณะสงฆ์และไวยาวัจกรเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา พระสังฆาธิการทุกรูป จึงต้องมีฐานะเป็นเจ้าพนักงานพระราชบัญญัติคณะสงฆ์
การปกครองคณะสงฆ์ตามรูปแบบที่จัดอยู่ในปัจจุบัน นั้น มี 2 ส่วน คือ
- การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง
- การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง
การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง ได้แก่การดำเนินกิจการคณะสงฆ์และการพระศาสนาในส่วนกลาง มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด โดยมหาเถรสมาคมเป็นองค์กรควบคุมนโยบายหลัก และมีการแบ่งการปกครองแยกย่อยออกมาเป็น หน และ คณะ แยกตามส่วนแห่งนิกายสงฆ์ โดยมีเจ้าคณะใหญ่เป็นผู้บังคับบัญชา
คณะสงฆ์มหานิกาย
แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 หน แต่ละหนมีเจ้าคณะใหญ่ปกครอง
- เขตปกครองคณะสงฆ์หนกลาง มีเจ้าคณะใหญ่หนกลางเป็นผู้บังคับบัญชา ปกครอง 6 ภาค ได้แก่ ภาค 1, ภาค 2, ภาค 3, ภาค 13, ภาค 14 และภาค 15
- เขตปกครองคณะสงฆ์หนเหนือ มีเจ้าคณะใหญ่หนเหนือเป็นผู้บังคับบัญชา ปกครอง 4 ภาค ได้แก่ ภาค 4, ภาค 5, ภาค 6 และภาค 7
- เขตปกครองคณะสงฆ์หนตะวันออก มีเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกเป็นผู้บังคับบัญชา ปกครอง 5 ภาค ได้แก่ ภาค 8, ภาค 9, ภาค 10, ภาค 11 และภาค 12
- เขตปกครองคณะสงฆ์หนใต้ มีเจ้าคณะใหญ่หนใต้เป็นผู้บังคับบัญชา ปกครอง 3 ภาค ได้แก่ ภาค 16, ภาค 17 และภาค 18
คณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย
การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค
ตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561 ได้กำหนดการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค ให้จัดแบ่งเขตปกครองเป็น
- ภาค
- จังหวัด
- อำเภอ
- ตำบล
และมาตรา 22 ได้กำหนดให้มีพระภิกษุเป็นผู้ปกครองตามชั้นตามลำดับ ดังต่อไปนี้
- เจ้าคณะภาค
- เจ้าคณะจังหวัด
- เจ้าคณะอำเภอ
- เจ้าคณะตำบล
เขตปกครองคณะสงฆ์ระดับภาค
ตามข้อ 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยอำนาจและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคกำหนดให้มีจำนวนภาค 18 ภาค และให้รวมเขตปกครองจังหวัดต่าง ๆ เป็นเขตปกครองภาค ดังต่อไปนี้[1]
มหานิกาย
คณะสงฆ์
|
จำนวนจังหวัด
|
จังหวัดในเขตปกครอง
|
ภาค 1 |
4 จังหวัด |
กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ
|
ภาค 2 |
3 จังหวัด |
พระนครศรีอยุธยา, อ่างทอง, สระบุรี
|
ภาค 3 |
4 จังหวัด |
ลพบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี
|
ภาค 4 |
4 จังหวัด |
นครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, เพชรบูรณ์
|
ภาค 5 |
4 จังหวัด |
สุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, ตาก
|
ภาค 6 |
5 จังหวัด |
ลำปาง, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน
|
ภาค 7 |
3 จังหวัด |
เชียงใหม่, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน
|
ภาค 8 |
6 จังหวัด |
อุดรธานี, หนองคาย, เลย, สกลนคร, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ
|
ภาค 9 |
4 จังหวัด |
ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด
|
ภาค 10 |
6 จังหวัด |
อุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, นครพนม, ยโสธร, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ
|
ภาค 11 |
4 จังหวัด |
นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์
|
ภาค 12 |
4 จังหวัด |
ปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว
|
ภาค 13 |
4 จังหวัด |
ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด
|
ภาค 14 |
4 จังหวัด |
นครปฐม, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, สมุทรสาคร
|
ภาค 15 |
4 จังหวัด |
ราชบุรี, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์
|
ภาค 16 |
3 จังหวัด |
นครศรีธรรมราช, ชุมพร, สุราษฏร์ธานี
|
ภาค 17 |
5 จังหวัด |
ภูเก็ต, ตรัง, กระบี่, พังงา, ระนอง
|
ภาค 18 |
6 จังหวัด |
สงขลา, พัทลุง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส
|
ธรรมยุติกนิกาย
ในคณะธรรมยุตกำหนดให้เขตภาคบางเขตอยู่ใต้การปกครองของเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน ดังนี้[2]
ลำดับที่ |
ภาคที่มีเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน |
จำนวนจังหวัดในเขตปกครอง
|
1 |
ภาค 1, ภาค 2, ภาค 3 |
9 จังหวัด 24 เขต/อำเภอ 50 แขวง/ตำบล
|
2 |
ภาค 4, ภาค 5 |
5 จังหวัด 21 อำเภอ 69 ตำบล
|
3 |
ภาค 6, ภาค 7 |
4 จังหวัด อำเภอ ตำบล
|
4 |
ภาค 8 |
5 จังหวัด 48 อำเภอ 206 ตำบล
|
5 |
ภาค 9 |
4 จังหวัด 38 อำเภอ 150 ตำบล
|
6 |
ภาค 10 |
6 จังหวัด 28 อำเภอ 106 ตำบล
|
7 |
ภาค 11 |
4 จังหวัด 20 อำเภอ 78 ตำบล
|
8 |
ภาค 12, ภาค 13 |
7 จังหวัด อำเภอ ตำบล
|
9 |
ภาค 14, ภาค 15 |
6 จังหวัด 8 อำเภอ 18 ตำบล
|
10 |
ภาค 16 |
3 จังหวัด อำเภอ ตำบล
|
11 |
ภาค 17, ภาค 18 |
4 จังหวัด 22 อำเภอ 34 ตำบล
|
เขตปกครองคณะสงฆ์ระดับจังหวัด
เขตปกครองคณะสงฆ์ระดับจังหวัด เป็นเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคชั้นที่ 2 ซึ่งเป็นเขตปกครองพื้นที่จำกัดเฉพาะจังหวัด มีเจ้าคณะจังหวัดเป็นผู้บังคับบัญชา ซึ่งจังหวัดนั้นหมายถึง กรุงเทพมหานคร และจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร โดยพื้นที่ทั้งราชอาณาจักรมี 77 จังหวัด รวมกรุงเทพมหานครอยู่ในจำนวนนี้ด้วย ตามความในข้อ 5 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยจำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค กำหนดไว้ชัดเจนว่า จำนวนและเขตปกครองจังหวัด ให้อนุโลมตามจำนวนและเขตบริหารราชการแห่งราชอาณาจักร คือ
- คณะมหานิกาย มี 77 จังหวัด ครบตามจำนวนจังหวัดแห่งราชอาณาจักร
- คณะธรรมยุต มี 59 จังหวัด บางจังหวัดอนุโลมตามเขตบริหารราชการแห่งราชอาณาจักร บางจังหวัดต้องรวมหลายจังหวัดเข้าเป็นหนึ่งจังหวัด การรวมหลายจังหวัดเข้าเป็นหนึ่งจังหวัดนั้น เป็นไปตามมติมหาเถรสมาคม
เขตปกครองคณะสงฆ์ระดับอำเภอ
เขตปกครองคณะสงฆ์ระดับอำเภอ เป็นเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคชั้นที่ 3 ซึ่งหมายถึงเขตในกรุงเทพมหานครและอำเภอในจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร มีเจ้าคณะอำเภอเป็นผู้บังคับบัญชา จำนวนและเขตปกครองคณะสงฆ์ชั้นอำเภอนั้น คณะสงฆ์ต้องเป็นผู้กำหนด แม้ทางราชอาณาจักรมีพระราชกฤษฎีกายกกิ่งอำเภอขึ้นเป็นอำเภอแล้ว อำเภอนั้นเป็นอำเภอทางราชอาณาจักรเท่านั้น หาเป็นอำเภอทางคณะสงฆ์ไม่ ตามความในข้อ 5 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) และในระเบียบมหาเถรสมาคม กำหนดจำนวนและเขตการปกครองอำเภอ พ.ศ. 2573
เขตปกครองคณะสงฆ์ระดับตำบล
เขตปกครองคณะสงฆ์ระดับตำบล เป็นเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคชั้นที่ 4 ซึ่งหมายถึงแขวงในกรุงเทพมหานคร และตำบลในจังหวัดนอกจากกรุงเทพมหานคร มีเจ้าคณะตำบลเป็นผู้บังคับบัญชา จำนวนและเขตปกครองตำบลนั้น คณะสงฆ์เป็นผู้กำหนด แม้ทางราชอาณาจักรจะมีประกาศกระทรวงมหาดไทยตั้งตำบลแล้วก็ตาม ตำบลนั้นเป็นตำบลทางราชอาณาจักรเท่านั้น หาเป็นตำบลทางคณะสงฆ์ไม่ ตามความในข้อ 5 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) และในระเบียบมหาเถรสมาคม กำหนดจำนวนและเขตปกครองตำบล พ.ศ. 2573
อ้างอิง
การจัดแบ่งเขตพื้นที่ในประเทศไทย |
---|
เขตการปกครอง | |
---|
เขตพื้นที่ | |
---|
เขตการปกครองในอดีต | |
---|