เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน

เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน
มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน
เจ้าชายฮุซัยน์ในปี พ.ศ. 2564
มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน
ดำรงพระอิสริยยศ2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 - ปัจจุบัน
(15 ปี 175 วัน)
ก่อนหน้าเจ้าชายฮัมซะฮ์ บิน อัลฮุซัยน์
พระราชสมภพ28 มิถุนายน พ.ศ. 2537 (30 พรรษา)
กรุงอัมมาน, ประเทศจอร์แดน
คู่อภิเษกราชวา อัล ซาอีฟ
(เสกสมรส ค.ศ. 2023)
พระราชบุตรเจ้าหญิงอีมาน บินต์ ฮุซัยน์
พระนามเต็ม
ฮุซัยน์ บิน อับดุลลอฮ์ บิน ฮุซัยน์ บิน เฏาะลาล
ราชวงศ์ฮัชไมต์
พระราชบิดาสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 แห่งจอร์แดน
พระราชมารดาสมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน
ศาสนาศาสนาอิสลาม
ลายพระอภิไธย
ธรรมเนียมพระยศของ
เจ้าฟ้าชายมกุฎราชกุมาร
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลHis Royal Highness (ใต้ฝ่าละอองพระบาท)
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับYour Royal Highness (พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ)

เจ้าชายฮุซัยน์ บิน อับดุลลอฮ์ (อาหรับ: الحسين بن عبد الله, Ḥusayn ibn ʿAbdullāh; พระราชสมภพ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2537) ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ พระรัชทายาทแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 และราชินีรานยา เมื่อทรงบรรลุนิติภาวะแล้วในปีพ.ศ. 2555 เจ้าชายฮุซัยน์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์หลายต่อหลายครั้ง

เจ้าชายฮุซัยน์ ปัจจุบันทรงดำรงพระยศทางการทหารระดับร้อยโทในกองทัพจอร์แดน และในปีพ.ศ. 2559 พระองค์ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ ในสาขาวิชาประวัติศาสตร์สากล นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เจ้าชายฮุซัยน์ได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์อยู่หลายครั้ง และเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระราชบิดาในการเยือนทั้งในและต่างประเทศ พระองค์ได้ทรงจัดตั้งมูลนิธิในพระราชูปถัมภ์ (Crown Prince Foundation) ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของมหาวิทยาลัยเทคนิคและโครงการด้านวิทยาศาสตร์และมนุษย์ธรรม

ในปี พ.ศ. 2558 เมื่อทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา เจ้าชายฮุซัยน์ทรงเป็นผู้ที่อายุน้อยที่สุดในการเป็นประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หลังจากทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิร์ตซ์ ในปี พ.ศ. 2560 พระองค์มีพระราชดำรัส ณ การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายน

นักสังเกตการณ์คาดการณ์ว่าพระองค์จะเริ่มมีบทบาทมากขึ้นทั้งในจอร์แดนและต่างประเทศ

พระชนม์ชีพช่วงต้น

พระราชสมภพ

เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2537 ณ กรุงอัมมาน เป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2และสมเด็จพระราชินีรานยาแห่งจอร์แดน เป็นพระราชนัดดาในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดนและเจ้าหญิงมูนา อัลฮุซัยน์ อดีตพระวรราชชายาชาวอังกฤษ ทรงเป็นสมาชิกราชวงศ์ฮัชไมต์[1]และเป็นลูกหลานรุ่นที่ 42 ของผู้เผยพระวจนะอิสลาม มุฮัมมัด[2] โดยสืบเชื้อสายจากลูกสาวของท่านศาสดานบีฟาฏิมะฮ์และสามีของนาง อะลี[3]

พระนาม "ฮุซัยน์" นั้น นำมาจากพระนามของสมเด็จพระบรมอัยกาธิราช[2]

เจ้าชายฮุซัยน์มีพระขนิษฐาและพระอนุชาสามพระองค์[4] คือ เจ้าหญิงอีมาน, เจ้าหญิงซัลมา และเจ้าชายฮาเชม[2]พระอนุชาพระองค์เล็ก

การศึกษา

ทรงสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติชูอูฟาทและโรงเรียนนานาชาติอัมมาน

ทรงสำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายจากโรงเรียนคิงส์ อะคาเดมี่ ปีพ.ศ. 2555

ทรงสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยจอร์จทาว์น กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐ สาขาวิชาประวัติศาสตร์สากล ปีพ.ศ. 2559

ทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนต์เฮิร์ตซ์ สหราชอาณาจักร ปีพ.ศ. 2560[5]

พระรัชทายาท

พระรัชทายาทในรัชกาลของสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์

เจ้าชายอับดุลลอฮ์มิได้คาดว่าจะได้ขึ้นครองบัลลังก์ แม้จะทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์แห่งจอร์แดน เนื่องจากพระราชบิดาได้ทรงสถาปนาเจ้าชายฮัสซัน พระปิตุลาของพระองค์เป็นพระรัชทายาทแล้วตั้งแต่ปีพ.ศ. 2508

ไม่นานก่อนที่สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์จะเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ทรงสถาปนาเจ้าชายอับดุลลอฮ์ขึ้นเป็นพระรัชทายาทแทนเจ้าชายฮัสซัน

พระรัชทายาทในรัชกาลของสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2

เนื่องด้วยพระประสงค์ของพระราชบิดา สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ได้ทรงสถาปนาเจ้าชายฮัมซา พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ ประสูติแต่สมเด็จพระราชินีนูร์ พระอนุชาต่างพระชนนีขึ้นเป็นพระรัชทายาทในรัชกาลของพระองค์[6]

วันที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ได้ทรงถอดถอนเจ้าชายฮัมซาออกจากตำแหน่งมกุฎราชกุมาร แม้ว่าตำแหน่งมกุฎราชกุมารจะถูกเว้นว่างไว้ก็ตาม[7] รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดนได้ให้สิทธิของบุตรหัวปีในการสืบราชบัลลังก์ หมายความว่าพระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในสมเด็จพระราชาธิบดีจะทรงเป็นลำดับที่หนึ่งโดยอัตโนมัติในลำดับการสืบราชสันตติวงศ์จอร์แดน[8] เจ้าชายฮุซัยน์จึงทรงเป็นพระรัชทายาททันทีที่พระปิตุลาของพระองค์สูญเสียตำแหน่งมกุฎราชกุมาร นักวิเคราะห์คาดหวังอย่างมากว่าสมเด็จพระราชาธิบดีจะทรงพระราชทานพระราชอิสริยยศอย่างเป็นทางการให้กับเจ้าชายฮุซัยน์[9][10]

วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ได้ทรงออกพระราชกฤษฎีกาสถาปนาเจ้าชายฮุซัยน์ พระชันษา 15 ปีขึ้นเป็นพระรัชทายาท ทรงดำรงพระราชอิสริยยศ มกุฎราชกุมารแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน[7][11]

พระราชกรณียกิจ

เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดนและสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 ในระหว่างการพบปะกับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ นายจอห์น เคอร์รี่, 27 กันยายน พ.ศ. 2558

บทบาทขององค์มกุฎราชกุมารนั้นแตกต่างจากสมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 อย่างชัดเจน เนื่องจากทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจโดยอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญและมิทรงใช้พระราชอิสริยยศของพระองค์ในตำแหน่งทางการเมืองใดๆ[12] เจ้าชายฮุซัยน์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจครั้งแรกอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2553 เมื่อพระองค์ทรงเป็นผู้แทนพระราชบิดาในการเฉลิมฉลองวันครบรอบการปฏิวัติอาหรับและวันกองทัพจอร์แดน[13]

เจ้าชายฮุซัยน์เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระราชบิดาทั้งแบบเป็นทางการและการทหาร และได้ปฏิบัติพระราชกรณียกิจในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในช่วงที่สมเด็จพระราชาธิบดีอับดุลลอฮ์ที่ 2 เสด็จออกนอกประเทศ[12]

เจ้าชายฮุซัยน์ได้ทรงจัดตั้งมูลนิธิในพระราชูปถัมภ์(Crown Prince Foundation) ซึ่งรับผิดชอบในเรื่องของมหาวิทยาลัยเทคนิคและโครงการด้านวิทยาศาสตร์และมนุษย์ธรรม[14] มูลนิธิดังกล่าวได้ริเริ่มโครงการ Haqiq ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นอาสาสมัครในโครงการฝึกงานของนาซา โครงการ MASAR เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมเทคโนโลยีอวกาศและโครงการ Hearing Without Borders ซึ่งมอบเงินทุนประสาทหูเทียมสำหรับชาวจอร์แดนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน[15] ผู้ฝึกงานจากโครงการนาซ่าได้สร้างคิวบ์ (ดาวเทียมขนาดเล็ก) ชื่อ JY1 ซึ่งเป็นดาวเทียมดวงแรกของจอร์แดนที่มีกำหนดจะเปิดตัวในปีพ.ศ. 2561 โครงการ cubesat นั้นตั้งชื่อตามสายสัญญาณวิทยุสมัครเล่นของสมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์[16]

ในปีพ.ศ. 2556 ทรงเข้าร่วมการฝึกซ้อมกับสมาชิกกองกำลังพิเศษจอร์แดน กองกำลังต่อต้านการก่อการร้าย 71st[17]

วันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เจ้าชายฮุซัยน์ เสด็จพระราชดำเนินไปที่ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระราชาธิบดีฮุซัยน์ในอัมมาน ที่ซึ่งชาวปาเลสไตน์ที่ได้รับบาดเจ็บจากการหลบหนีฉนวนกาซาได้รับการรักษา[18]

วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558 เมื่อทรงมีพระชนมายุ 20 พรรษา เจ้าชายฮุซัยน์ทรงเป็นผู้ที่อายุน้อยที่สุดในการเป็นประธานการประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ[19] ในระหว่างการประชุมพระองค์ทอดพระเนตรการอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการป้องกันไม่ให้คนหนุ่มสาวเข้าร่วมกลุ่มหัวรุนแรง[20] นายบัน คี-มูน เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวถึงเจ้าชายฮุซัยน์ว่า "ทรงมีพระชนมายุไม่ถึง 21 พรรษา แต่พระองค์คือผู้นำในศตวรรษที่ 21"[19]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560 เจ้าชายฮุซัยน์มีพระราชดำรัสต้อนรับในช่วงการประชุมเศรษฐกิจโลกซึ่งจัดขึ้นที่ชายฝั่งจอร์แดนของทะเลเดดซี[12] เมื่อทรงสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิร์ตซ์ พระองค์มีพระราชดำรัส ณ การประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติในเดือนกันยายน ปีเดียวกัน[12]

ชีวิตส่วนพระองค์

บัญชีอินสตาแกรมส่วนพระองค์ของเจ้าชายฮุซัยน์มีผู้ติดตามมากกว่า 2 ล้านคนในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ทรงโพสต์พระรูปเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจทั้งแบบเป็นทางการและการทหารของพระองค์ ซึ่งรวมถึงการทรงพระอักษร ทรงกีฬาฟุตบอล ทรงรถจักรยานยนต์และทรงเครื่องดนตรีกีตาร์[21]

เจ้าชายฮุซัยน์ทรงงานร่วมกับองค์กรจิ๊กซอว์ในเครือของบริษัทกูเกิล ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน[22]

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • ฮิสรอยัลไฮเนส เจ้าชายฮุซัยน์ บิน อับดุลลอฮ์แห่งจอร์แดน (28 มิถุนายน พ.ศ. 2537 – 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547)
  • ฮิสรอยัลไฮเนส มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 – ปัจจุบัน)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จอร์แดน

  •  จอร์แดน: เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาราแห่งจอร์แดน ชั้นอัศวิน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ

  •  บาห์เรน: เครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งยุคฟื้นฟู สมเด็จพระราชาธิบดีฮาหมัด ชั้นที่หนึ่ง (5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562)[23]
  •  นอร์เวย์: เครื่องราชอิสริยาภรณ์เซนต์โอลาฟ ชั้นอัศวินแกรนด์ครอส (2 มีนาคม พ.ศ. 2563)[24]

พระยศทางทหาร

พ.ศ. 2555: ร้อยตรี[25]

พ.ศ. 2561: ร้อยโท[26]

อ้างอิง

  1. "Crown Prince turns 19". The Jordan Times. Amman. 27 มิถุนายน 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มิถุนายน 2013. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2013.
  2. 2.0 2.1 2.2 "His Royal Highness Crown Prince Al Hussein bin Abdullah II". The Embassy of the Hashemite Kingdom of Jordan, Washington D.C. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-01. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
  3. "The Hashemites". Official Website of the Jordanian Monarchy. 29 May 2012. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
  4. Royal Ark
  5. https://petra.gov.jo/Include/InnerPage.jsp?ID=16866&lang=en&name=en_news
  6. Jordan crown prince loses title, BBC News, 29 November 2004. Retrieved 3 June 2008.
  7. 7.0 7.1 "Jordan's king names son, 15, as crown prince". Reuters. 3 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-30. สืบค้นเมื่อ 2017-05-04.
  8. "The Constitution of the Hashemite Kingdom of Jordan". Official website. 21 April 2012. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
  9. Jordan crown prince loses title, BBC News, 29 November 2004. Retrieved 3 June 2008.
  10. "Jordan: U.S. Relations and Bilateral Issues" (PDF). The Library of Congress. 14 July 2006.
  11. "Jordan's King Abdullah names teenage son as heir". Haaretz. Associated Press. 2 July 2009.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 "Jordan's young crown prince makes global debut in UN speech". Associated Press. abcnews. 22 กันยายน 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2017. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2017.
  13. "Crown Prince joins Army Day celebration". Ammon News. 11 June 2010. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
  14. "Al Hussein Technical University seeks to prepare graduates with 'quality technical skills'". The Jordan Times. 27 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
  15. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ bio
  16. "NASA-trained young Jordanian develops, with team, nanosatellite 'CubeSat'". The Jordan Times. 23 May 2017. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
  17. "Crown Prince trains with the 71st Special Battalion". Royanews (ภาษาอาหรับ). 1 October 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-23. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
  18. "Regent visits injured Palestinians at Al Hussein Medical Center". Jordan News Agency (Petra). 14 July 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2014. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
  19. 19.0 19.1 "Jordanian prince, 20, becomes youngest to chair UN Security Council meeting". Associated Press. Fox News. 23 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
  20. "Security Council unanimously adopts Jordan-proposed resolution on youth". The Jordan Times. 9 December 2015. สืบค้นเมื่อ 23 September 2017.
  21. https://emirateswoman.com/10-things-prince-hussein/
  22. "Google's Jigsaw Was Supposed to Save the Internet. Behind the Scenes, It Became a Toxic Mess". Motherboard. 2 July 2019. สืบค้นเมื่อ 26 October 2019.
  23. https://jordantimes.com/news/local/crown-prince-receives-order-renaissance-bahraini-king
  24. https://www.kongehuset.no/tildelinger.html?tid=28028&sek=27995&q=&type=27117&aarstall=2020/
  25. https://www.jordantimes.com/news/local/crown-prince-caps-another-stage-his-academic-life-military-career
  26. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-21.
ก่อนหน้า เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน ถัดไป
ไม่มี
ลำดับการสืบราชสันตติวงศ์จอร์แดน
เจ้าชายฮาเชม

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!