ธรรมเนียมพระยศของ เจ้าฟ้ามกุฎราชกุมาร |
---|
ธงประจำพระอิสริยยศ |
ตราประจำพระองค์ |
การทูล | His Royal Highness (ใต้ฝ่าละอองพระบาท) |
---|
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
---|
การขานรับ | your Royal Highness (พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ) |
---|
เจ้าชายโฮกุน[1][2] มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ (พระนามเต็ม โฮกุน มักนุส, พระราชสมภพ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ณ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์) พระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ กับสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ พระองค์มีพระเชษฐภคินีคือ เจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอ
พระราชประวัติ
เจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์ เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2516 ณ โรงพยาบาลแห่งชาตินอร์เวย์ กรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์ เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระราชาธิบดีฮารัลด์ที่ 5 แห่งนอร์เวย์ กับสมเด็จพระราชินีซอนยาแห่งนอร์เวย์ พระองค์มีพระบิดาและพระมารดาอุปถัมภ์คือ สมเด็จพระราชาธิบดีโอลาฟที่ 5 แห่งนอร์เวย์, เจ้าชายคาร์ล เบอร์นาดอตต์, สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน, เจ้าหญิงแอนน์ พระวรราชกุมารี เนื่องจากพระองค์ได้สืบเชื้อสายมาจากสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 แห่งสหราชอาณาจักร พระองค์จึงอยู่ในลำดับที่ 16 ของการสืบราชบัลลังก์แห่งสหราชอาณาจักร และถือเป็นพระญาติชั้นที่สามของเจ้าชายชาลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์
อย่างไรก็ตามใน พ.ศ. 2533 ได้มีการเปลี่ยนแปลงกฎมนเทียรบาลขึ้น เพื่อให้สิทธิแก่พระบุตรองค์แรก แต่กฎมนเทียรบาลดังกล่าวกลับไม่มีผลย้อนหลัง พระเชษฐภคินีเพียงพระองค์เดียวคือเจ้าหญิงมาร์ธา ลุยเซอ จึงอยู่ลำดับสืบราชสมบัติต่อจากพระบุตรของมกุฎราชกุมาร และเจ้าชายโฮกุนจึงดำรงตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมารต่อไป
การศึกษา
มกุฎราชกุมารโฮกุนได้เข้าศึกษาในกองทัพเรือนอร์เวย์โดยได้รับศึกษาขั้นต้นจากสถาบันกองทัพเรือนอร์เวย์ ในเรื่องของขีปนาวุธและอื่น ๆ ต่อมาพระองค์ได้ศึกษาต่อยังต่างประเทศ โดยได้ศึกษาในระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ใน พ.ศ. 2542 ภายหลังจากการสำเร็จการศึกษา มกุฎราชกุมารโฮกุนได้ทรงเข้าร่วมปาฐกถาที่มหาวิทยาลัยออสโล ใน พ.ศ. 2544 ต่อมาพระองค์ได้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเศรษฐศาสตร์ลอนดอนในระดับปริญญาโทด้านการพัฒนาและความเชี่ยวชาญด้านการค้าระหว่างประเทศและแอฟริกา
ชีวิตส่วนพระองค์
มกุฎราชกุมารโฮกุนทรงได้รู้จักกับสตรีสามัญชนชื่อ เม็ตเตอ-มาริต เช็สเซิม เฮออิบี (Mette-Marit Tjessem Høiby) ผ่านทางเพื่อนของทั้งสองฝ่ายใน พ.ศ. 2542[3] เธอเป็นบริกรหญิงที่มีลูกติดอายุ 4 ขวบ จากความสัมพันธ์กับชายคนหนึ่งที่ต้องโทษในคดียาเสพติด[4][5] และมีข่าวลือว่าเม็ตเตอ-มาริต "ที่ผ่านมาเธอเป็นที่รู้จักในนามของนักเต้นออสโลและมีเรื่องราวเกี่ยวกับยาเสพติด" เธอได้เข้ารับการรักษาเพื่อบำบัดสารเสพติดและมีประวัติว่าเป็นนักเที่ยวหนัก[4][6]
อย่างไรก็ตามทั้งสองได้มีพิธีหมั้นขึ้น ท่ามกลางความรู้สึกของชาวนอร์เวย์ที่คิดว่ามกุฎราชกุมารทรงเลือกพระคู่หมั้นไม่เหมาะสม[7] เนื่องจากว่าพระคู่หมั้นนั้นผ่านการมีบุตรมาแล้ว รวมไปถึงปัญหายาเสพติด นอกจากนี้บิดาของบุตรที่เธอเลี้ยงนั้นได้รับโทษในเรือนจำเนื่องจากปัญหายาเสพติด[7] โดยในงานแถลงข่าวเปิดใจของว่าที่มกุฎราชกุมารี เธอได้กล่าวว่า อดีตที่ผ่านมาในช่วงวัยรุ่นของเธอมันทำให้เธอเข้มแข็งมากกว่าวัยรุ่นทั่วไป[7]
ทั้งคู่ได้อภิเษกสมรสกันเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2544 โดยจัดขึ้นในกรุงออสโล[5] พิธีล่าช้าไปหนึ่งชั่วโมงเนื่องจากเจ้าสาวร้องไห้ตลอดทั้งพิธี[5] นางสาวเม็ตเตอ-มาริตสวมชุดคลุมผ้าไหมสีขาวยาว 20 ฟุต ส่วนมกุฎราชกุมารฉลองพระองค์ด้วยเครื่องทรงทหาร สายสะพายและเหรียญ[4] โดยมกุฎราชกุมารเฟรเดอริกแห่งเดนมาร์ก เป็นเพื่อนเจ้าบ่าว[3] เบตินา และเอมิลี สวันสตรอม, คามิลลา และแอนนิเคน เบอร์เนย และตูวา เฮออิบี เป็นเพื่อนเจ้าสาว[8] นางสาวเม็ตเตอ-มาริต ได้รับการสถาปนาเป็น มกุฎราชกุมารีแห่งนอร์เวย์[4] ทั้งมกุฎราชกุมารและมกุฎราชกุมารี พร้อมด้วยเด็กชายมาริอุส โอรสนอกสมรสในมกุฎราชกุมารี ได้ปรากฏตัวบริเวณระเบียงของพระราชวังท่ามกลางการยิงสลุต และวงดนตรีเล่นเฉลิมฉลอง[9] ทั้งสองพระองค์มีพระราชโอรส-ธิดา ด้วยกัน 2 พระองค์ ได้แก่
- เจ้าหญิงอิงกริด อเล็กซันดรา ประสูติเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2547
- เจ้าชายสแวร์เรอ มักนุส ประสูติเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2548
ลำดับพงศาวลี
พงศาวลีของเจ้าชายโฮกุน มกุฎราชกุมารแห่งนอร์เวย์
|
|
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
|
รุ่นที่ 1 | | |
---|
รุ่นที่ 2 | |
---|
รุ่นที่ 3 | |
---|
รุ่นที่ 4 | |
---|
|
---|
แอฟริกา | |
---|
เอเชีย | |
---|
ยุโรป | |
---|
อเมริกา | |
---|
โอเชียเนีย | |
---|
|
---|
นานาชาติ | |
---|
ประจำชาติ | |
---|
ศิลปิน | |
---|
ประชาชน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|