อำเภอทองแสนขัน

อำเภอทองแสนขัน
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันAmphoe Thong Saen Khan
บ่อเหล็กน้ำพี้เป็นแหล่งแร่เหล็กทางธรรมชาติที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ และเป็นสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้
บ่อเหล็กน้ำพี้เป็นแหล่งแร่เหล็กทางธรรมชาติที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ และเป็นสถานที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านน้ำพี้ ตำบลน้ำพี้
คำขวัญ: 
เหล็กน้ำพี้กล้าแกร่ง แหล่งถ้ำค้างคาว
ภูเขาหินอ่อน ลือกระฉ่อนผ้าทอ
แผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เน้นอำเภอทองแสนขัน
แผนที่จังหวัดอุตรดิตถ์ เน้นอำเภอทองแสนขัน
พิกัด: 17°28′31″N 100°20′1″E / 17.47528°N 100.33361°E / 17.47528; 100.33361
ประเทศ ไทย
จังหวัดอุตรดิตถ์
พื้นที่
 • ทั้งหมด745.4 ตร.กม. (287.8 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)
 • ทั้งหมด31,130 คน
 • ความหนาแน่น41.76 คน/ตร.กม. (108.2 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 53230
รหัสภูมิศาสตร์5309
ที่ตั้งที่ว่าการที่ว่าการอำเภอทองแสนขัน หมู่ที่ 9 ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน จังหวัดอุตรดิตถ์ 53230
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ทองแสนขัน เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นที่ตั้งของบ่อเหล็กน้ำพี้ซึ่งเป็นแหล่งแร่เหล็กที่มีคุณภาพดีที่สุดของประเทศไทย เพื่อใช้ในการศึกสงครามมาตั้งแต่สมัยโบราณ ดังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาตร์มากมายถึงความสำคัญของเหล็กน้ำพี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเชื่อมาแต่โบราณว่าเหล็กจากแหล่งเหล็กน้ำพี้มีความแข็งแกร่ง ความศักดิ์สิทธิ์และอาถรรพ์ในตัว[1] โดยจัดให้เหล็กน้ำพี้อยู่ในโลหะธาตุตระกูลเดียวกับ เหล็กไหล[2]

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอทองแสนขันมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังนี้

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านบ่อเหล็กน้ำพี้
บ่อพระแสง เป็นบ่อดินขนาดใหญ่ ลึก 10 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 20 เมตร เป็นบ่อที่มีคุณภาพของสินแร่ดีกว่าบ่ออื่นๆ ในบริเวณแหล่งแร่น้ำพี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบ่อนี้สงวนไว้สำหรับทำพระแสงดาบถวายสำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น จึงได้ชื่อว่า "บ่อพระแสง"

ประวัติ

จากตำนานพื้นบ้านเล่าว่า เคยมีชาวมอญมาตั้งรกรากอยู่ใกล้ ๆ บ้านแสนขัน ได้หนีมาจากขอมที่บุกรุก จากนั้นมาขอมก็ตามมารบกับมอญอีก ชาวมอญจึงมาหลบอยู่ที่บ้านแสนขัน เพราะว่าก่อนหน้านี้เขตบ้านแสนขันจะเป็นป่าทั้งหมด แต่ทั้งขอมและมอญก็อยู่ไม่ได้จึงได้หนีไป ปล่อยให้ที่บริเวณนี้เป็นที่ร้างอีก จากนั้นมาก็มีชาวไทยเดิมจากเวียงจันทน์ ได้ผ่านมาและเห็นว่าที่ดินบริเวณแห่งนี้มีดินที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน ทำเลดี เหมาะที่จะตั้งรกรากทำมาหากิน จึงกลับไปชวนเพื่อนบ้าน 6–7 ครอบครัวเพื่อมาตั้งรกรากอยู่ที่นั่น โดยขณะนั้นยังไม่มีการเรียกชื่อหมู่บ้าน

หลังจากนั้นชาวหล่มสัก (เพชรบูรณ์) เลย นครไทย (พิษณุโลก) ทราบข่าวว่าที่อุตรดิตถ์จะมีการสร้างพระแท่นศิลาอาสน์ จึงได้เก็บเงินเรี่ยไรจากชาวบ้านได้เงินเป็นจำนวนแสนขัน แล้วจึงได้บรรทุกเงินแสนขันนั้นแบกใส่หลังช้าง ม้า วัว ควายมาตาม ๆ กัน และในขบวนนี้ก็จะมีหัวหน้าอยู่หนึ่งคน เดินทางล่วงหน้าไปก่อนถึงบ้านบ่อทอง และทราบว่าวัดพระแท่นศิลาอาสน์นั้นได้สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้กลับไปบอกพรรคพวกที่บรรทุกทองมาให้นำไปฝังไว้ที่บ้านบ่อทอง ปัจจุบันได้ตั้งชื่อว่า "ทองแสนขัน" แต่ชาวบ้านได้เรียกสั้น ๆ ว่า "บ้านแสนขัน" มาจนถึงปัจจุบันนี้

เดิมท้องที่ที่เป็นอำเภอทองแสนขันรวมอยู่กับอำเภอตรอน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2517 ทางอำเภอตรอนต้องการที่จะแยกท้องที่ดังกล่าวเพื่อตั้งเป็นกิ่งอำเภอขึ้นอีกแห่งหนึ่ง จึงขอแยกท้องที่ตำบลป่าคายซึ่งเป็นตำบลใหญ่ออกเป็น 2 ตำบล โดยเรียกชื่อตำบลที่แยกออกมาว่า "ตำบลบ่อทอง"[3] เมื่อกระทรวงมหาดไทยอนุมัติให้แยกตำบลได้แล้ว ทำให้อำเภอตรอนซึ่งเดิมประกอบด้วยเขตการปกครองตำบล 7 ตำบล คือ ตำบลบ้านแก่ง ตำบลหาดสองแคว ตำบลน้ำอ่าง ตำบลวังแดง ตำบลน้ำพี้ ตำบลผักขวง ตำบลป่าคาย เพิ่มขึ้นเป็น 8 ตำบล เข้าหลักเกณฑ์ที่ขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอได้

ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2523 จึงได้รายงานขอแยกท้องที่ คือ ตำบลผักขวง ตำบลน้ำพี้ ตำบลป่าคาย และตำบลบ่อทอง ออกจากอำเภอตรอนขอตั้งเป็นกิ่งอำเภอ และกระทรวงมหาดไทยได้มีประกาศลงวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเรียกว่า กิ่งอำเภอทองแสนขัน[4] และต่อมากระทรวงมหาดไทยได้พิจารณาเห็นว่า กิ่งอำเภอทองแสนขันมีท้องที่กว้างขวางมีชุมชนการค้าหนาแน่น มีสภาพเจริญขึ้นกว่าเดิมมากสมควรยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ ดังนั้น เพื่อประโยชน์แก่การปกครองการให้บริการของรัฐบาลและความสะดวกของประชาชนและส่งเสริมท้องที่ให้เจริญยิ่งขึ้นจึงตราพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2533 จัดตั้ง อำเภอทองแสนขัน[5] โดยให้มีฐานะเป็นอำเภอตั้งแต่วันถัดไป

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอทองแสนขันแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 49 หมู่บ้าน ได้แก่

ลำดับ อักษรไทย อักษรโรมัน จำนวนหมู่บ้าน จำนวนประชากร
(ธันวาคม 2565)[6]
1. ผักขวง Phak Khuang
16
8,556
2. บ่อทอง Bo Thong
15
11,470
3. ป่าคาย Pa Khai
9
5,487
4. น้ำพี้ Nam Phi
9
5,362

การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอทองแสนขันประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่

  • เทศบาลตำบลทองแสนขัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทอง เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–3, 9–10, 12
  • องค์การบริหารส่วนตำบลผักขวง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลผักขวงทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อทอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ่อทอง เฉพาะหมู่ที่ 4–8, 11, 13–15 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–3, 9–10, 12
  • องค์การบริหารส่วนตำบลป่าคาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าคายทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพี้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำพี้ทั้งตำบล

สถานที่ท่องเที่ยว

อ้างอิง

  1. สมิธ, เฮอร์เบิร์ท วาริงตัน. (2544). บันทึกการเดินทางสู่แม่น้ำโขงตอนบนประเทศสยาม. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร. หน้า 21-22
  2. ประภาพร พูลสุข. รายงานฐานข้อมูลท้องถิ่นอุตสาหกรรมเหล็กน้ำพี้และแหล่งท่องเที่ยวบ่อเหล็กน้ำพี้ โปรแกรมวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์. อุตรดิตถ์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, ๒๕๕๐
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 96 (189 ง): 4166–4169. วันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2522
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอทองแสนขัน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (109 ง): 2134. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-04-27. สืบค้นเมื่อ 2008-04-25. วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2526
  5. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอวังวิเศษ อำเภอคลองหาด อำเภอป่าบอน อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังโป่ง อำเภอควนเนียง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม และอำเภอทองแสนขัน พ.ศ. ๒๕๓๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (83 ก พิเศษ): 1–4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-18. สืบค้นเมื่อ 2008-04-25. วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2533
  6. "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!