สภาสามัญชนแคนาดาแห่งแคนาดา
House of Commons of Canada Chambre des communes du Canada
สมัยที่ 44 ประเภท ประเภท ผู้บริหาร ประธาน
ผู้นำฝ่ายค้าน
ผู้นำพรรค ฝ่ายรัฐบาล
ผู้นำพรรค ฝ่ายค้าน
โครงสร้าง สมาชิก 338 คน กลุ่มการเมืองใน สภาสามัญชน
ฝ่ายรัฐบาล
ฝ่ายค้าน
พรรคการเมืองอื่นๆ
บล็อก เกเบกัว (32)
กรีน (2)
อิสระ (5)
ว่าง (1)
เงินเดือน CA$ 182,600.00 (เบี้ยประชุมเริ่มบังคับใช้ เมื่อ 1 เมษายน ค.ศ. 2020)[ 1] การเลือกตั้ง ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด การเลือกตั้งสมาชิกสภาสามัญชนครั้งล่าสุด
20 กันยายน พ.ศ. 2564 การเลือกตั้งสมาชิกสภาสามัญชนครั้งหน้า
การเลือกตั้งสหพันธรัฐครั้งที่ 45 ที่ประชุม ห้องประชุมสภาสามัญชน, อาคารตะวันตก , พาร์เลียเมนต์ฮิล , ออตตาวา , ออนแทรีโอ , แคนาดา เว็บไซต์ www .ourcommons .ca ข้อบังคับ กฎข้อบังคับในสภาสามัญชน (ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส)
สภาสามัญชนแคนาดา (อังกฤษ : House of Commons of Canada , ฝรั่งเศส : Chambre des communes du Canada ) เป็นสภาล่าง ในรัฐสภาแคนาดา ซึ่งประกอบกับพระมหากษัตริย์ (โดยผู้สำเร็จราชการ เป็นอุปราช ผู้แทนพระองค์โดยตำแหน่ง) และวุฒิสภา [ 2] ที่ประชุมสภาสามัญชนมีห้องประชุมชั่วคราวที่ปีกตะวันตกของอาคารรัฐสภาที่พาร์เลียเมนต์ฮิลล์ ออตตาวา รัฐออนแทรีโอ โดยห้องประชุมสภาสามัญชนซึ่งโดยปกติตั้งอยู่ที่ปีกกลางนั้นปิดปรับปรุงเป็นระยะเวลาสิบปี[ 3]
สภาสามัญชนเป็นสภาที่มีสมาชิกมาจากการเลือกตั้งโดยระบอบประชาธิปไตย ประกอบไปด้วยสมาชิกสภาสามัญชนหรือสมาชิกรัฐสภา (MPs) ซึ่งมาจากการเลือกตั้งทุกสี่ปี ในปัจจุบันมีสมาชิกสภาจำนวน 338 ที่นั่ง จากการแบ่งเขตเลือกตั้งในปีค.ศ. 2015 โดยมีจำนวนผู้แทนเพิ่มขึ้นถึง 30 ที่นั่งจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้า[ 2] [ 4] [ 5] [ 6] โดยมีสมาชิกมาจากการเลือกตั้ง ในระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด จากเขตเลือกตั้ง ทั้งหมดทั่วแคนาดา ซึ่งเรียกว่า "Ridings"[ 7] สมาชิกรัฐสภาสามารถดำรงตำแหน่งจนกว่าจะมีการยุบสภาและตามรัฐธรรมนูญจะต้องมีวาระการดำรงตำแหน่งไม่เกิน 5 ปีภายหลังจากการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามทางประวัติศาสตร์นั้นวาระจะสิ้นสุดลงก่อนกำหนดเนื่องจากจะมีการยุบสภาภายในระยะเวลาสี่ปีเพื่อทำการเลือกตั้งใหม่ตามจารีตรัฐธรรมนูญที่มีมายาวนาน อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติรัฐสภาที่บังคับใช้ในสมัยปัจจุบันบัญญัติให้มีวาระของสภาสามัญชน
การแบ่งที่นั่งภายในสภานั้นแบ่งสรรปันส่วนคร่าวๆ ตามสัดส่วนประชากรในแต่ละรัฐในแคนาดา แต่ยังมีเขตเลือกตั้งบางเขตที่มีจำนวนประชากรมากกว่าอีกหลายๆ เขตเลือกตั้ง
สภาสามัญชนแคนาดาก่อตั้งขึ้นเมื่อปีค.ศ. 1867 เมื่อพระราชบัญญัติอเมริกาเหนือ ค.ศ.1867 (ในปัจจุบันคือพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1867) มีผลเพื่อก่อตั้งประเทศแคนาดาในเครือจักรภพ และให้มีการจัดตั้งสภาสามัญชนตามระบบเวสมินสเตอร์ ของสหราชอาณาจักร
สภาสามัญชนถึงแม้จะเป็นสภาล่าง ในรัฐสภา แต่ในทางปฏิบัติมีอำนาจมากกว่าสภาสูง (วุฒิสภา ) ถึงแม้ว่าการนิติบัญญัตินั้นจำเป็นจะต้องได้รับการเห็นชอบจากทั้งสองสภา แต่วุฒิสภานั้นแทบจะไม่ตีตกร่างกฎหมายใดๆ ที่ได้ผ่านโดยสภาสามัญชน (ถึงแม้ว่าในบางโอกาสจะทำการถ่วงเวลาพิจารณาโดยยืดวาระออกไป) นอกจากนี้คณะรัฐมนตรียังต้องมีความรับผิดชอบเพียงต่อสภาสามัญชนเท่านั้น นายกรัฐมนตรี จะสามารถดำรงตำแหน่งอยู่ได้ตราบที่ยังได้รับความไว้วางใจจากสภาสามัญชน
อ้างอิง
↑ "Indemnities, Salaries and Allowances" . Parlinfo . Parliament of Canada. สืบค้นเมื่อ 14 June 2020 .
↑ 2.0 2.1 Guide to the Canadian House of Commons (PDF) . Library and Archives Canada Cataloguing in Publication . House of Commons of Canada. 2009. ISBN 978-0-662-68678-1 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2013-12-20. สืบค้นเมื่อ September 29, 2007 .
↑ " "Parliament of Canada" " . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-07-26. สืบค้นเมื่อ 2015-06-03 .
↑ "Members of the House of Commons – Current List – By Name" . Parliament of Canada . Government of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ September 25, 2007. สืบค้นเมื่อ September 25, 2007 .
↑ "Members of Parliament" . Parliament of Canada . Government of Canada. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ เมษายน 24, 2011. สืบค้นเมื่อ กันยายน 25, 2007 .
↑ Thandi Fletcher (ธันวาคม 16, 2011). "Crowded House: Parliament gets cozier as 30 seats added" . Canada.com . Postmedia News. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ มีนาคม 14, 2013. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 19, 2011 .
↑ "Elections Canada On-Line" . Electoral Insight . November 21, 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ March 8, 2008. สืบค้นเมื่อ September 29, 2007 .