ยะดะยา (พม่า: ယတြာ ยตฺรา, ออกเสียง: [jədəjà]; มาจากสันสกฤต ยนฺตร) เป็นพิธีกรรมเชิงเวทมนตร์เพื่อชะลอ ปัดเป่า หรือแก้ความโชคร้าย มีปฏิบัติทั่วไปในประเทศพม่า ธรรมเนียมเหล่านี้มีที่มาจากคติในศาสนาพราหมณ์ โหรจะเป็นผู้ "สั่ง" การทำยะดะยาไว้โดยโดยใช้ทั้งการคำนวณทางคณิตศาสตร์และโหราศาสตร์[1] เข้าใจกันว่าผู้นำของพม่ายุคใหม่ทั้งอู้นุ, เนวี่น และต้านชเว ไปจนถึงนโยบายของรัฐบาลหลายนโยบายได้รับอิทธิพลจากพิธีกรรมยะดะยา[2][3] ในหมู่ชาวพม่าพุทธ ยะดะยาถูกเชื่อมโยงเข้ากับการทำบุญ และพิธีกรรมยะดะยาบางส่วนยังรวมถึงพิธีกรรมทางพุทธ ราวกับทำไปเพื่อหลีกหนีกรรมไม่ดี ทั้ง ๆ ที่ในคำสอนของศาสนาพุทธไม่มีการหนีกรรมเช่นนี้[4] ยะดะยาสัมพันธ์ใกล้ชิดมากกับตัวเลขโดยเฉพาะเลข 9 นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่ายะดะยามีมาตั้งแต่สมัยพุกาม มีปฏิบัติโดยพระสงฆ์ในนิกายอะยีซึ่งเป็นนิกายของพุทธที่มีปฏิบัติในพม่ามาก่อนการเข้ามาของเถรวาท[5]
หนึ่งในรูปแบบที่รู้จักดีของยะดะยาคือการก่อสร้างเจดีย์ เช่น การที่อู้นุสร้างเจดีย์ถึง 60,000 องค์ในปี 1961[6] หรือการที่รัฐตัดสินใจเปลี่ยนระบบการเดินรถจากซ้ายไปขับทางขวาโดยไม่ชี้แจงเหตุผลในปี 1970 (แม้รถแทบทุกคันในพม่าจะเป็นรถสำหรับขับทางซ้าย) ก็ว่ากันว่าได้รับอิทธิพลมาจากยะดะยาเพื่อป้องกันการโจมตีทางการเมืองจากกลุ่มฝ่ายขวา[7][8]
เมื่อไม่นานมานี้ การที่ต้านชเวและนายพลในกองทัพสวมโลนจี (โสร่ง) ลายอะเชะ (ซึ่งตามธรรมเนียมดั้งเดิมเป็นลายของสตรี) ในงานสาธารณะรวมถึงงานฉลองวันสหภาพเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2011 และในงานต้อนรับบัวสอน บุบผาวัน นายกรัฐมนตรีลาว ในเดือนมิถุนายน 2011 ก็เข้าใจกันว่าเป็นการทำยะดะยาเพื่อต้านทานอำนาจสตรีของอองซานซูจี[9][10]
อ้างอิง
- ↑ Charney, Michael W. (1993). Arakan, Min Yazagyi and the Portuguese (PDF) (วิทยานิพนธ์ M.A). SOAS. สืบค้นเมื่อ 2010-09-15.
- ↑ Matthews, Bruce (1998). "The Present Fortune of Tradition-Bound Authoritarianism in Myanmar". Pacific Affairs. University of British Columbia. 71 (1): 19–20. doi:10.2307/2760820. JSTOR 2760820.
- ↑ Sudha Ramachandran, Swe Win (2009-06-18). "Instant karma in Myanmar". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-20. สืบค้นเมื่อ 2010-09-15.
{{cite news}}
: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์) CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
- ↑ Matthews, Bruce (1999). "Burma/Myanmar" (PDF). The Round Table. Routledge. 88 (349): 78–79. doi:10.1080/003585399108289.
- ↑ Arkar Moe (July 2009). "Pagoda Power". The Irrawaddy. สืบค้นเมื่อ 2010-09-15.
- ↑ Seekins, Donald M. (2006). Historical dictionary of Burma (Myanmar). Rowman & Littlefield. p. 483. ISBN 978-0-8108-5476-5.
- ↑ "Burma Makes Road Switch". The New York Times. 7 December 1970. สืบค้นเมื่อ 22 May 2010., New York Times, 07 Dec 1970, p.6
- ↑ Fink, Christina (2001). Living silence: Burma under military rule. Zed Books. p. 41. ISBN 978-1-85649-926-2.
- ↑ Horn, Robert (2011-02-24). "Why Did Burma's Leader Appear on TV in Women's Clothes?". TIME. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 1, 2011. สืบค้นเมื่อ 8 March 2011.
- ↑ WAI MOE (2011-02-17). "Than Shwe Skirts the Issue". The Irrawaddy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-14. สืบค้นเมื่อ 8 March 2011.