นิกายอะยี (พม่า: အရည်းဂိုဏ်း, ออกเสียง: [əjí ɡáɪ̯ɰ̃]) หรือ ศาสนาพุทธแบบอะยี (อังกฤษ: Ari Buddhism) เป็นนิกายหนึ่งที่เคยปฏิบัติในประเทศพม่าก่อนที่พระเจ้าอโนรธามังช่อจะทรงปฏิรูปศาสนาพุทธในพุกามเป็นพุทธนิกายเถรวาท ช่วงศตวรรษที่ 11
นิกายอะยีเกิดขึ้นช่วงศตวรรษที่ 7 จากการติดต่อค้าขายกับอินเดียหรือทิเบต[1] วัตรปฏิบัติส่วนใหญ่ใกล้เคียงกับลัทธิตันตระ มีการบูชานะ การนับถือนาค การใช้เวทมนตร์ และรับอิทธิพลศาสนาฮินดูอย่างสูง[2] นักบวชครองจีวรสีน้ำตาลเข้มและสวมหมวกทรงกรวย และจะทำหน้าที่เป็นแม่งานในการบูชานะด้วยการบูชายันต์สัตว์นับร้อย[3]
นักวิชาการบางคนอ้างว่านิกายอะยีมีความสัมพันธ์กับศาสนาพุทธในอาณาจักรน่านเจ้าและต้าหลี่ที่ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของมณฑลยูนนาน ประเทศจีน ขณะที่นักประวัติศาสตร์คนอื่น ๆ เป็นต้นว่าต้านทู่น (Than Tun) อธิบายว่านิกายอะยีคือพระอรัญวาสีที่มีวัตรปฏิบัติต่างจากภิกษุนิกายเถรวาทโดยเฉพาะด้านวินัยสงฆ์ ที่นักบวชนิกายอะยีสามารถฉันน้ำจัณฑ์ เสพสังวาส และฉันหลังเที่ยงได้ ซึ่งในรัชกาลพระเจ้าอโนรธาทรงปฏิรูปพระศาสนาให้นิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำรัฐตามคำแนะนำของภิกษุมอญนามว่าพระชินอรหันต์ (Shin Arahan) กอรปกับทรงไม่พอพระทัยที่นักบวชอะยีประพฤติตนไม่เหมาะควรให้เลื่อมใส[4] กระนั้นพระเจ้าอโนรธาก็ยังสนับสนุนการนับถือนิกายมหายานดังเดิม ดังปรากฏในเหรียญเงินประจำรัชกาลที่ใช้ภาษาสันสกฤตมากกว่าบาลี[5]
{{cite book}}
|access-date=
|url=
{{cite web}}
|accessdate=
บทความศาสนาพุทธนี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล