มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์
Universiti Nasional Singapura (มลายู)
新加坡国立大学 (จีน)
சிங்கப்பூர் தேசிய பல்கலைக்கழகம் (ทมิฬ)
คติพจน์อังกฤษ
Towards a Global Knowledge Enterprise
ประเภทมหาวิทยาลัยรัฐบาล
สถาปนาพ.ศ 2523
ปริญญาตรี27,972
บัณฑิตศึกษา9,997
ที่ตั้ง,
เครือข่ายACU, APRU, ASAIHL, AUN
เว็บไซต์www.nus.edu.sg

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (อังกฤษ: National University of Singapore : NUS) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของสิงคโปร์ และเป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของสิงคโปร์ จากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ (King Edward VII College of Medicine) ในปี พ.ศ. 2448 และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ในปี พ.ศ. 2523 ปัจจุบันมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำในเอเชีย[1] จากการศึกษาของคอกโครัลลีไซมอนส์อยู่ในลำดับที่ 12 ของโลก และลำดับ 1 ในทวีปเอเชีย[2]

ประวัติ

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ ก่อตั้งในสมัยที่สิงคโปร์ยังเป็นส่วนหนึ่งของอาณานิคมอังกฤษ (British Malaya) โดยในช่วงปี ค.ศ.1900 มีการจัดตั้งโรงพยาบาลแพทย์แผนฝรั่งหลายแห่งในปีนังและสิงคโปร์ และเริ่มมีการเปิดโรงเรียนการแพทย์ในเวลาต่อมาเพื่อรองรับการขาดแคลนบุคลากรทางการแพทย์และการขยายตัวของประเทศจนพัฒนาเป็นวิทยาลัยแพทย์ (King Edward VII Medical College of Medicine) ในปี ค.ศ.1905 ส่วนวิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) เป็นวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์นั้น ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1928 เพื่อเปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชาทางภาษาและมีความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยจากประเทศอังกฤษอีกด้วย ระหว่างช่วงปี ค.ศ.1938-1949 เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อจากภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางรัฐบาลอังกฤษ British Malaya Government ได้มีการริเริ่มที่จะสร้างมหาวิทยาลัยของชาวมาเลเซียขึ้นมา โดยมีการส่งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมของอังกฤษ และอีกหลายท่านมาศึกษากระบวนการพัฒนาและความเป็นไปได้ จนกระทั่งในปี ค.ศ.1949 ได้มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยมาลายาขึ้นมาเป็นผลสำเร็จจากการรวม วิทยาลัยแพทยศาสตร์ (King Edward VII Medical College of Medicine) และวิทยาลัยราฟเฟิลส์ (Raffles College) ในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ.1949 ณ ประเทศสิงคโปร์ ในปี ค.ศ.1959 มหาวิทยาลัยถูกแบ่งออกเป็น 2 มหาวิทยาลัยอันเนื่องจากมีวิทยาเขตหนึ่งอยู่ในกัวลาลัมเปอร์และอีกวิทยาเขตหนึ่งอยู่ในสิงคโปร์ และมติเป็นเอกฉันท์ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ.1962 มหาวิทยาลัยที่กัวลาลัมเปอร์จะใช้ชื่อมหาวิทยาลัยมาลายา ส่วนมหาวิทยาลัยในสิงคโปร์จะใช้ชื่อมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์

ศูนย์วัฒนธรรมของมหาวิทยาลัย

คณะสาขาวิชาที่เปิดสอน

ในปัจจุบันเปิดสอนทั้งสิ้น 16 คณะ/วิทยาลัย/สำนักวิชา[3]

  • คณะศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ (Faculty of Arts and Social Sciences)
  • สำนักวิชาบริหารธุรกิจ (NUS Business School)
NUS Business School
  • สำนักวิทยาการคอมพิวเตอร์ (NUS School of Computing)
  • คณะทันตแพทย์ศาสตร์ (Faculty of Dentistry )
  • สำนักวิชาการออกแบบและสิ่งแวดล้อม (The School of Design and Environment)
  • บัณฑิตวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ Duke-NUS (Duke-NUS Graduate Medical School Singapore)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ (Faculty of Engineering)
  • บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาศาสตร์บูรณาการและวิศวกรรม (Graduate School for Integrative Sciences and Engineering)
  • คณะนิติศาสตร์ (Faculty of Law)
  • สำนักวิชาแพทย์ศาสตร์ Yong Loo Lin (Yong Loo Lin School of Medicine)
  • วิทยาลัยดนตรี Yong Siew Toh (Yong Siew Toh Conservatory of Music)
  • สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ Saw Swee Hock (Saw Swee Hock School of Public Health)
  • สำนักนโยบายสาธารณะ ลี กวน ยิว (Lee Kuan Yew School of Public Policy)
  • คณะวิทยาศาสตร์ (Faculty of Sciences)
  • The University Scholars Programme (USP)
  • Yale-NUS College

อ้างอิง

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!