มหาวิทยาลัยปักกิ่ง(อังกฤษ: Peking University) (北大; Chinese: 北京大学, pinyin: Běijīng Dàxué) Bei-Da) นิยมเรียกกันว่าเป่ยต้า เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของจีน 1 ใน 9 (C9 League) เช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยชิงหฺวา เป็นมหาวิทยาลัยเก่าแก่ชั้นนำของรัฐที่มีชื่อเสียง มีสถาปัตยกรรมแบบจีนที่โดดเด่น มหาวิทยาลัยปักกิ่งมีบทบาทต่อการเคลื่อนไหวเชิงสัญลักษณ์ทางการเมืองในปี พ.ศ 2532 ในปัจจุบันมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยชั้นนำที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจีน[1] และจากการจัดลำดับโดยคอกโครัลลีไซมอนส์ มหาวิทยาลัยปักกิ่งอยู่ในลำดับที่ 22 ของโลก และลำดับ 5 ในเอเชีย[2]
ประวัติ
ก่อตั้งขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2441 ในชื่อมหาวิทยาลัยจักรวรรดิ์ปักกิ่ง ต่อมาเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติซินไฮ่ ในปี พ.ศ. 2454 ราชวงศ์ชิงถูกล้มล้างอันเป็นจุดสิ้นสุดของจักรวรรดิจีนอายุกว่า 2,000 ปี เริ่มต้นของการปกครองแบบสาธารณรัฐของจีน[3]มหาวิทยาลัยแห่งชาติปักกิ่ง (National Peking University) ก่อตั้งโดยพรรคชาตินิยมจีน (ก๊กมินตั๋ง) ในปี พ.ศ. 2463 มหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นมหาวิทยาลัยแรกที่รับนักศึกษาหญิงเข้ามาศึกษาในระดับอุดมศึกษาสมัยใหม่ของจีน
และเมื่อพรรคก๊กมินตั๋งพ่ายแพ้สงครามกลางเมืองจีน เมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ประกาศตั้ง สาธารณรัฐประชาชนจีนมหาวิทยาลัยแห่งชาติปักกิ่งสูญเสียสถานะความเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชาติที่แต่งตั้งโดยพรรคก๊กมินตั๋ง และต้องย้ายวิทยาเขตออกจากในเมืองไปอยู่บริเวณชานเมือง (วิทยาเขตเดิมอยู่บริเวณพระราชวังต้องห้าม) แต่มหาวิทยาลัยยังคงเป็นมหาวิทยาลัยที่ดึงดูดปัญญาชนจากทั่วแผ่นดินจีน จากเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมินโดยมีนักศึกษาและปัญญาชนจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งเป็นแกนนำ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่มีชื่อเสียงลำดับต้นๆของแผ่นดินใหญ่[4] เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ(National Key Universities) ที่มีอัตราการสอบแข่งขันเข้าศึกษามากที่สุดในแผ่นดินจีน[5][6]
สาขาวิชาที่เปิดสอน
วิทยาลัย/ภาควิชา/สำนักวิชา/สถาบัน/ศูนย์ ที่เปิดสอนในหลักสูตรปริญญาตรี[7]
- ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
- สำนักวิชาการปกครอง
- สำนักความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
- ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ
- วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและวิศวกรรม
- วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์
- สถาบันการศึกษาขั้นสูง เพื่อการศึกษาสหวิทยาการ
- บัณฑิตวิทยาลัยศึกษาศาสตร์
- ศูนย์จีนเพื่อการวิจัยเศรษฐกิจ
- สำนักวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิทยาการคอมพิวเตอร์
- วิทยาลัยหยวนเป่ย
- ภาควิชาพละศึกษา
- สำนักวิชามาร์กซิส(ลัทธิ)
- สำนักวิชาภาษาต่างประเทศ
- ภาควิชา ภาษาและวรรณคดีอังกฤษ
- ภาควิชาสังคมวิทยา
- ภาควิชาสารสนเทศเพื่อการจัดการ
- โรงเรียนกฎหมาย
- วิทยาลัยการบริหารGuanghua
- สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์
- สำนักวิชาการศึกษานานาชาติ
- ภาควิชาปรัชญา
- สำนักวิชาโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์วิทยา
- ภาควิชาประวัติศาสตร์
- สำนักวิชาวารสาร และการสื่อสารมวลชน
- ภาควิชาจิตวิทยา
- สำนักวิชาผังเมืองและ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
- สำนักวิชา โลกและอวกาศ
- วิทยาศาสตร์สุขภาพ
- วิทยาลัยเคมี
- ภาควิชาภาษาจีนและวรรณคดี
- สำนักวิชาฟิสิกส์
- สำนักวิชาวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
ศิษย์เก่าชาวไทยที่มีชื่อเสียง
อ้างอิง