มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปางThammasat University Lampang Center |
|
ชื่อย่อ | มธ.ศูนย์ลำปาง |
---|
ประเภท | วิทยาเขต |
---|
สถาปนา | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 (28 ปี) |
---|
สถาบันหลัก | มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ |
---|
รองอธิการบดีฯ | สุปรียา แก้วละเอียด |
---|
ที่อยู่ | |
---|
มาสคอต | ตึกโดมแก้ว |
---|
เว็บไซต์ | lampang.tu.ac.th |
---|
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง แต่เดิมตั้งอยู่ที่ อาคารศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ถนนบุญวาทย์ อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เมื่อปีการศึกษา 2546 ได้ย้ายไปยังเลขที่ 248 หมู่ 2 ถนนลำปาง–เชียงใหม่ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ประมาณ 15 กิโลเมตร ไปตามถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายลำปาง–เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่จากการบริจาคของบุญชู ตรีทอง มีพื้นที่ 364 ไร่ 3 งาน 79 ตารางวา เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีอาคารเรียนรวมหลังแรกชื่อ "อาคารสิรินธรารัตน์"
ประวัติ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีปณิธานที่มุ่งจะจัดการศึกษาสำหรับประชาชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า ทุกชนชั้น จึงได้เริ่มขยายโอกาสทางการศึกษาออกสู่ส่วนภูมิภาคในจังหวัดลำปาง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2535 โดยคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมมือกับสถาบันราชภัฏลำปาง ได้ขยายการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาการเมืองการปกครอง มายังจังหวัดลำปางเป็นครั้งแรก ทำให้ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เล็งเห็นถึงความพร้อม และความเหมาะสมของจังหวัดลำปางในฐานะที่จะเป็นศูนย์กลางการพัฒนาการศึกษาในเขตภาคเหนือได้
ต่อมาใน พ.ศ. 2537 เมื่อทบวงมหาวิทยาลัยมีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคอย่างมีคุณภาพ โดยส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทางวิชาการขยายการจัดการศึกษาสู่ภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้ตามโครงการดังกล่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาคมชาวลำปางให้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรีขึ้นในจังหวัดลำปาง เพื่อเป็นการขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เยาวชนในเขตภาคเหนือ จะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพเท่าเทียมกับเยาวชนในกรุงเทพมหานคร จึงได้เริ่มโครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 โดยมหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2541 และหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ ในปีการศึกษา 2542
ในระยะแรกเนื่องจากข้อจำกัดในด้านงบประมาณและสถานที่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงได้รับความอนุเคราะห์จากกระทรวงมหาดไทยให้ใช้ศาลากลางจังหวัดหลังเดิมเป็นอาคารเพื่อจัดการเรียนการสอนชั่วคราว โดยดำเนินการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2539 – พ.ศ. 2546 อย่างไรก็ดี ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดหาพื้นที่ก่อสร้างอาคารถาวรสำหรับจัดการศึกษา เพื่อรองรับการเรียนการสอนและจำนวนนักศึกษาที่ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
ในการนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้รับความอนุเคราะห์จากนายบุญชู ตรีทอง ซึ่งได้มอบที่ดินและทุนทรัพย์ในการก่อสร้างอาคารเรียนรวม ณ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร โดยเมื่อการก่อสร้าง แล้วเสร็จได้รับพระราชทานพระราชานุญาตจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ให้ใช้พระนาม "สิรินธรารัตน์" เป็นนามอาคาร และโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้อัญเชิญอักษรพระนามาภิไธย "ส.ธ" ประดับที่อาคาร อีกทั้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารดังกล่าว เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้ย้ายสถานที่จัดการเรียนการสอนมายังอาคาร "สิรินธรารัตน์" มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ณ ตำบลปงยางคก อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2546 เป็นต้นมา
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
- รองศาสตราจารย์ ดร.สุปรียา แก้วละเอียด (รองอธิการบดีฝ่ายบริหารศูนย์ลำปางและกฎหมาย)
- อาจารย์ ดร.ณัฐกรณ์ ชูช่วย (ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายบริหารและวิชาการ ศูนย์ลำปาง)
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิมพ์ฉัตร รสสุธรรม (ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสื่อสารองค์กร ศูนย์ลำปาง)
คณะที่เปิดสอน
อาคารสถานที่ภายในมหาวิทยาลัย
- อาคารเรียน
- อาคารสิรินธรารัตน์ (ตึกโดม)
- กองบริหารศูนย์ลำปาง
- ห้อง Self–Access Learning Center (SALC)
- ห้องเรียนต่างระดับ
- ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์
- ศูนย์ปฏิบัติการกล้องวงจรปิด
- อาคารเรียนรวม 4 ชั้น
- Seven Eleven
- ห้องจัดแสดงผลงานของศิลปกรรมศาสตร์
- ห้องปฏิบัติการศิลปกรรมศาสตร์
- ห้องเรียนและห้องพักอาจารย์
- ห้องประชุม
- อาคารเรียนรวม 5 ชั้น
- สำนักงานคณะนิติศาสตร์
- สำนักงานคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
- สำนักงานวิทยาลัยสหวิทยาการ
- ห้องอาเซียนศึกษา
- ห้องเรียนและห้องพักอาจารย์
- ห้องประชุม
- อาคารบุญชูปณิธาน
- สำนักงานคณะสาธารณสุขศาสตร์
- สำนักงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- สำนักงานสถาบันภาษา
- ห้องเรียนและห้องพักอาจารย์
- ห้องประชุม
- อาคารอเนกประสงค์และสนามกีฬาในร่ม
- ฝ่ายการนักศึกษาฯ
- ห้องประชุมและห้องชมรม/ชุมนุมต่างๆ
- ห้อง Fitness
- Wellness center
- สนามบาสเกตบอล แบดมินตัน วอลเลย์บอล
- อาคารนวัตกรรมบริการ
- ห้องสมุดบุญชู ตรีทอง
- ศูนย์หนังสือแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- TU Craft Space (Co–Working Space)
- ห้องประชุม 1000 ที่นั่ง
- อาคารปฏิบัติการศิลปกรรมศาสตร์
- โรงอาหารกลาง
- บ้านพัก และหอพักบุคลากร
- สนามฟุตบอลและลู่วิ่ง
- อาคารเก็บของ
การพักอาศัยของนักศึกษา
การพักอาศัยของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง มีลักษณะคล้ายกับท่าพระจันทร์ และศูนย์รังสิต โดยคนที่มีภูมิลำเนาหรือมีญาติพี่น้องอยู่ในอำเภอเมืองห้างฉัตร หรือใกล้เคียง ก็จะพักอาศัยกับครอบครัวหรือบ้านคนรู้จัก สำหรับนักศึกษาที่มีภูมิลำเนาอยู่ต่างจังหวัดจะพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย หรือหอพักเอกชนในตัวเมืองจังหวัดลำปาง
ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีหอพักสวัสดิการสำหรับนักศึกษา ณ ศูนย์ลำปาง[1] โดยมีรูปแบบคล้ายคลึงกับกลุ่มอาคารหอพักใน ณ ศูนย์รังสิต
- ปัจจุบันมีหอพักในมหาวิทยาลัยจำนวน 3 อาคาร คือ
- หอพักนักศึกษาโดม 1 เขลางค์นคร
- หอพักนักศึกษาโดม 2 อุดมธรรมจักร
- หอพักนักศึกษาโดม 3 ถิ่นนักปราชญ์
- ปัจจุบันในปี พ.ศ. 2563 เริ่มมีการวางแผนในการจัดการก่อสร้างอาคารหอพักนักศึกษาโดม 4
อ้างอิง
- ↑ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2553). ประกาศ รายชื่อผู้มีสิทธิเข้าพักในหอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง ภาคการศึกษา 1/2553 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 4) และการจัดห้องพัก . [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1][ลิงก์เสีย]. (เข้าถึงเมื่อ: 26 สิงหาคม 2553).
|
---|
สัญลักษณ์ | | |
---|
ศูนย์ | |
---|
คณะ | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
หน่วยงานวิจัย และบริการวิชาการ | |
---|
วันสำคัญ | |
---|
คณะบุคคล | |
---|
สวัสดิการและบริการ | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|