วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

วิทยาลัยสหวิทยาการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
College of Interdisciplinary Studies,
Thammasat University
ตราประจำมหาวิทยาลัย
สถาปนา5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 (21 ปี)
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน สุเอียนทรเมธี
ที่อยู่
วารสารวารสารสหวิทยาการ
สี  สีเทามิลเลนเนียม
  สีแดงเลือดหมู
มาสคอต
นกฮูก
เว็บไซต์[1]

วิทยาลัยสหวิทยาการ เป็นส่วนราชการไทยระดับคณะ สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดสอนในหลากหลายสาขาวิชาทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาแรก ๆ ของประเทศไทยที่จัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการศาสตร์ความรู้ลักษณะสหวิทยาการ โดยเปิดการเรียนการสอน 3 ศูนย์การศึกษา ได้แก่ ท่าพระจันทร์ ศูนย์ลำปาง และศูนย์รังสิต

ประวัติ

ในสมัยที่ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิรี เป็นอธิการบดี กลุ่มศิษย์เก่าอาวุโส เตรียมมธก. และผู้ที่จบการศึกษาหลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิตเดิม ได้นำเสนอให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์รื้อฟื้นการจัดการเรียนการสอน ธรรมศาสตรบัณฑิต ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในเวลานั้นผู้บริหารมหาวิทยาลัยหลายท่านได้ให้ความสนใจและศึกษาความเป็นไปได้ที่จะยกร่างหลักสูตรที่มีลักษณะบูรณาการองค์ความรู้สาขาต่าง ๆ ทางสังคมศาสตร์ ซึ่งอาจตอบสนองความต้องการของสังคมไทยสมัยใหม่ ต่อมาในสมัย รศ.นรนิติ เศรษฐบุตร เป็นอธิการบดี รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนการขยายการจัดการศึกษาออกสู่ภูมิภาคภายใต้โครงการเปิดวิทยาเขตสารสนเทศ ประกอบกับกระแสการเรียกร้องของประชาคมในจังหวัดลำปางให้มหาวิทยาลัยจัดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี เพิ่มเติมจากที่มีการสอนในระดับปริญญามหาบัณฑิตโดยคณะรัฐศาสตร์อยู่แล้วเป็นเวลาหลายปี

รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการในขณะนั้น ได้เรียนเชิญท่านอธิการบดีพบปะกับประชาคมลำปาง เพื่อปรึกษาหารือความเป็นไปได้ในการขยายการจัดการรียนการสอนขึ้นที่จังหวัดลำปางแนวคิดเดิมเกี่ยวกับหลักสูตรธรรมศาสตรบัณฑิตจึงถูกนำมาพัฒนาเป็นหลักสูตรแบบสหวิทยาการอีกครั้ง โดยมหาวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะทำงานชุดหนึ่งมี รศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์, รศ.ดร.สายทิพย์ สุคติพันธ์ และ ผศ.พรชัย ตระกูลวรานนท์ เป็นแกนนำในการทำประชาพิจารณ์และพัฒนาหลักสูตร สหวิทยาการสังคมศาสตร์ขึ้น ซึ่งต่อมาในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ ได้รับการพิจารณากลั่นกรองจากที่ประชุมคณบดี และในวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2542 ได้รับการอนุมัติเห็นชอบหลักสูตรจากสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หลักสูตรได้เริ่มจัดการเรียนการสอนครั้งแรกในปีการศึกษา 2542 ภายโตรงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และบริหารหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ

วิทยาลัยสหวิทยาการได้จัดตั้งขึ้นตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่าด้วยการบริหารศูนย์ลำปาง ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 มีสถานะเป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยมีหน้าที่จัดการศึกษา การวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม ตลอดทั้งส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมภายใต้การบริหารงานของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2547 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2547) หลักสูตรอนุปริญญาสาขาสหวิทยาการสังคมศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2547) ได้รับความเห็นชอบจากสำนักมาตรฐานและประเมินผลอุดมศึกษาสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

วิทยาลัยสหวิทยาการ ได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เมื่อมหาวิทยาลัยฯ ได้จัดโครงสร้างการบริหารใหม่ ตามระเบียบมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าด้วยการบริหารงานวิทยาลัยสหวิทยาการ พ.ศ. 2549 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 กำหนดให้วิทยาลัยสหวิทยาการแยกการบริหารงานเป็นอิสระออกจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง และตัดโอนภารกิจงบประมาณและบุคลาคลกรของโครงการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตสหวิทยาการสังคมศาสตร์ และ โครงการปริญญาเอกสหวิทยาการ และตัดโอนบุคลากรและงบประมาณจากสำนักงานบัณฑิตศึกษา มาอยู่ภายใต้โครงสร้างวิทยาลัยสหวิทยาการ

หลักสูตร

วิทยาลัยสหวิทยาการ ปัจจุบันมีการเรียนการสอนรวม 7 หลักสูตร โดยเปิดการเรียนการสอนทั้ง 3 ศูนย์การศึกษาของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่

ปริญญาตรี

  • ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ ศึกษา ณ มธ.ศูนย์ลำปาง
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาสหวิทยาการ ศึกษา ณ มธ.ศูนย์รังสิต
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ศึกษา ณ มธ.ท่าพระจันทร์ และ มธ.ศูนย์ลำปาง
  • ศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาปรัชญา การเมือง และเศรษฐศาสตร์ ศึกษา ณ มธ.ท่าพระจันทร์
  • วิทยาศาสตรบัณฑิต (โครงการพิเศษ) สาขาวิทยาศาสตร์เเละนวัตกรรมข้อมูล ศึกษา ณ มธ.ศูนย์รังสิต

ปริญญาโท

  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรี เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา ศึกษา ณ มธ.ท่าพระจันทร์
  • ศิลปศาสตรและวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ ศึกษา ณ มธ.ท่าพระจันทร์

ปริญญาเอก

  • ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ ศึกษา ณ มธ.ท่าพระจันทร์

รายนามคณบดีวิทยาลัยสหวิทยาการ

วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รายนามคณบดี (ตำแหน่งทางวิชาการขณะดำรงตำแหน่ง) วาระการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ เล็ก สมบัติ พ.ศ. 2547 – พ.ศ. 2550
2. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทนา รณเกียรติ พ.ศ. 2550 – พ.ศ. 2553
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฬาพร เอื้อรักสกุล พ.ศ. 2553 – พ.ศ. 2556
4. ศาสตราจารย์ วันทนีย์ วาสิกะสิน พ.ศ. 2556 – พ.ศ. 2559
5. รองศาสตราจารย์ ดร.เดชา สังขวรรณ พ.ศ. 2559 – พ.ศ. 2562
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ชาลี เจริญลาภนพรัตน์ (รักษาการ) 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 – 28 เมษายน พ.ศ. 2563
7. ศาสตราจารย์ ดร.ทันตแพทย์หญิง ศิริวรรณ สืบนุการณ์ (รักษาการ) 29 เมษายน พ.ศ. 2563 – 25 ตุลาคม 2563
8. รองศาสตราจารย์ ดร.สายฝน สุเอียนทรเมธี 26 ตุลาคม พ.ศ. 2563 – ปัจจุบัน

อาจารย์และศิษย์เก่าวิทยาลัยสหวิทยาการที่สร้างชื่อเสียง

  • รองศาสตราจารย์ ดร.สินิทธ์ สิทธิรักษ์ อดีตอาจารย์ประจำ ผู้บุกเบิกการเรียนการสอนด้านสตรีศึกษาในระดับปริญญาโท ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดีมาก ประจำปี พ.ศ. 2560
  • รองศาสตราจารย์ ดร.เกศินี จุฑาวิจิตร อาจารย์คณะวิทยาการการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ชมเชย สาขาปรัชญา ประจำปี พ.ศ. 2549 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "ผลกระทบวิกฤติเศรษฐกิจในยุคโลกาภิวัตน์กับโลกทัศน์นักเขียนไทย : ภาพสะท้อนสังคมและ การเมืองจากวรรณกรรม ประเภทเรื่องสั้นระหว่างปี พ.ศ. 2540–2544"
  • ศาสตราจารย์ ดร.สิทธิพล เครือรัฐติกาล ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการและที่ปรึกษาผู้อำนวยการสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ดีเด่น สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2554 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "ภาพลักษณ์ของเจิ้งเหอในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของจีน" และรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลผลงานวิจัยระดับดีมาก สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2558 จากผลงานวิจัยเรื่อง "ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับเกาหลีเหนือหลังสิ้นสุดสงครามเย็น (ค.ศ. 1989 - 2011)"
  • รองศาสตราจารย์ ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี ที่ปรึกษาประจำคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน ของสภาผู้แทนราษฎร อาจารย์ประจำวิทยาลัยสหวิทยาการ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเฉพาะทางสหวิทยาการด้านรัฐสวัสดิการและความเป็นธรรมศึกษา ผู้รณรงค์ประเด็นรัฐสวัสดิการถ้วนหน้าและสังคมนิยมประชาธิปไตย คณะกรรมการประกันสังคมจากการเลือกตั้งโดยตรงครั้งแรก
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐ์ชวัล โภคาพานิชวงษ์ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี สาขาสังคมวิทยา ประจำปี พ.ศ. 2558 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "การเชื่อม (ข้าม) ถิ่นที่ : ปฏิสัมพันธ์ของผู้คนบนเมืองชายแดนกับการต่อรอง ความหมายผ่านพื้นที่/ชุมชนทางศาสนาของผู้อพยพข้ามพรมแดนชาวพม่าในจังหวัดระนอง"
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงชัย ทองปาน ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลสภาวิจัยแห่งชาติ รางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี สาขาสังคมวิทยา ประจำปี พ.ศ. 2558 จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "เศรษฐีใหม่สวนยาง : การเปลี่ยนแปลงวิถีการดำรงชีพของครัวเรือน ชาวนาในลุ่มน้ำห้วยคอง"
  • รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณลักษณ์ เมียนเกิด ศิษย์เก่าหลักสูตรปริญญาเอก ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับชมเชยด้านครอบครัวประจำปี พ.ศ. 2559 ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว จากวิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสหวิทยาการ เรื่อง "การปฏิบัติดูแลและคุณค่าทางจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลตำบลบางสีทอง จังหวัดนนทบุรี"
  • รองศาสตราจารย์ ดร.จุฬาพร เอื้อรักสกุล อดีตคณบดี กรรมการศูนย์อาเซียนมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พลอยชมพู ศุภทรัพย์ ศิษย์เก่าวิทยาลัยสหวิทยาการ รุ่นที่ 16 นักแสดง สังกัด จีเอ็มเอ็มทีวี
  • กัญญาวีร์ สองเมือง ศิษย์เก่าวิทยาลัยสหวิทยาการ รุ่นที่ 18 นักแสดง สังกัด QOW Entertainment

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!