คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Faculty of Medicine, Thammasat University) เป็นส่วนราชการระดับคณะวิชา สังกัดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยเป็นคณะวิชาที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 11 ของมหาวิทยาลัย และเป็นสถาบันทางแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นอันดับ 9 ของประเทศ ตามที่ได้รับการสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2533 ตามแผนการขยายการเรียนการสอนในสายวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ นับเป็นคณะแรกในสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดตั้งขึ้นด้วยแนวคิดการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community–Based Learning : CBL) ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีโรงเรียนแพทย์ใดริเริ่มการเรียนการสอนดังกล่าว
การเรียนการสอนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้รับการปรับปรุงหลักสูตรทุก ๆ 5 ปี ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในระยะแรกของการก่อตั้ง ทางคณะได้จัดให้มีการเรียนการสอนในรูปแบบ 100% Problem–based learning และ 0% Lectures ตามแนวทางการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาแผนใหม่ โดยมีช่วงเวลาที่ให้นักศึกษาได้เพิ่มเติมความรู้โดยตนเองเป็นผู้กำกับ (Self–directed learning) ภายหลังได้มีการปรับสัดส่วนดังกล่าวอยู่ในระดับ 80% Problem–based learning และ 20% Lectures หลักสูตรที่ใช้ในปัจจุบันคือ หลักสูตรปีพุทธศักราช 2552 โดยในระดับพรีคลินิค (ชั้นปีที่ 2–3) มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Hybrid Problem-based Learning (Hybrid PBL) คือมีการเรียนการสอนแบบบรรยาย ประกอบกับการใช้โจทย์ปัญหาในกระบวนการกลุ่มย่อยที่อ้างอิงทางคลินิก และในระดับคลินิก (ชั้นปีที่ 4–6) มีการจัดการเรียนการสอนคล้ายคลึงกับสถาบันอื่น ๆ โดยเน้นการปฏิการทางคลินิกบนโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ[2]
ประวัติ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 โดยมีศ.ปรีดี พนมยงศ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมการร่างโครงการจัดตั้งขึ้นชุดหนึ่ง และได้ดำเนินการอย่างจริงจังในสมัย ศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี โดยสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการประชุมครั้งที่ 8/2526 ได้ให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับนโยบายทางวิชาการของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในการที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ประยุกต์ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิตแพทย์ และมอบหมายให้อธิการบดีดำเนินการตามนโยบาย
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามแผนโดยการสร้างโรงพยาบาลขึ้น โดยศาสตราจารย์คุณหญิงนงเยาว์ ชัยเสรี ดำรงตำแหน่งอธิการบดี มีคำสั่ง ที่ 747/2529 ลงวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2529 แต่งตั้งคณะกรรมการจัดหาทุนสร้างโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีศาสตราจารย์ สุธี นาทวรทัน เป็นประธานกรรมการ และ นายประมวล สภาวสุ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในขณะนั้น เป็นประธานกิตติมศักดิ์ ระดมทุนจากศิษย์เก่าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ได้ดำเนินการต่อมาอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นชอบด้วยตามหนังสือของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร.0203/126 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 ซึ่งอธิการบดีได้พบปลัดทบวงมหาวิทยาลัย ขอดำเนินการโรงพยาบาลให้ครบ 1 ปีก่อน เพื่อเป็นพื้นฐานของคณะแพทยศาสตร์ แล้วจึงจะดำเนินการเรื่องคณะแพทยศาสตร์ โดยมีการสานต่อในสมัย ศาสตราจารย์เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม ดำรงตำแหน่งอธิการบดีในปี พ.ศ. 2531 ในการดำเนินการได้มีการประสานกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อหาแนวทางร่วมกันในการผลิตบัณฑิตแพทย์พึงประสงค์ อันสอดคล้องกับนโยบายผู้บริหารมหาวิทยาลัย และนโยบายของทบวงมหาวิทยาลัย ซึ่งสภามหาวิทยาลัยได้พิจารณาอนุมัติโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2533
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชกฤษฎีกา การจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2533 มีผลใช้บังคับในวันถัดมา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นคณะแพทย์อันดับที่ 9 ของประเทศไทย มีการแบ่งส่วนราชการของคณะแพทยศาสตร์ เป็น 4 ส่วน คือ สำนักงานเลขานุการสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก สถานวิทยาศาสตร์คลินิก และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
ในปี พ.ศ. 2543 สภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งขณะนั้น ศาสตราจารย์ คุณหญิง นงเยาว์ ชัยเสรี เป็นนายสภามหาวิทยาลัย มีคำสั่งให้การบริหารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นอิสระโดยสังกัดสำนักงานอธิการบดี แยกออกจากคณะแพทยศาสตร์ ดังนั้นด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะจึงได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างบริหารคณะ โดยถือหลักการปรับโครงสร้างของคณะแพทยศาสตร์ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ ของคณะแพทยศาสตร์
และในปี พ.ศ. 2553 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนมาเป็นระยะเวลาครบ 20 ปี จึงได้มีโครงการจัดทำหนังสืออนุสรณ์ กิจกรรมทางวิชาการรวมถึงการประชุมวิชาการต่าง ๆ และมีการจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองในวาระดังกล่าว อีกทั้งได้มีการจัดทำตราสัญลักษณ์ "20 ปี แพทย์ธรรมศาสตร์" เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมต่าง ๆ ของคณะตลอดปีการศึกษาอีกด้วย
การแบ่งส่วนราชการ
ทำเนียบคณบดี
ลำดับที่
|
นาม
|
ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
|
1
|
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ อารี วัลยะเสวี
|
9 เมษายน พ.ศ. 2533 – 30 กันยายน พ.ศ. 2539
|
2
|
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุชาติ อินทรประสิทธิ์
|
1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2542
|
|
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เฉลิม วราวิทย์ (รักษาราชการ)
|
9 สิงหาคม พ.ศ. 2542 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542
|
3
|
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ กัมมาล กุมาร ปาวา
|
1 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
|
4
|
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ จิตตินัดด์ หะวานนท์
|
1 ธันวาคม พ.ศ. 2548 – 30 กันยายน พ.ศ. 2554
|
5
|
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ปรีชา วาณิชยเศรษฐกุล
|
1 มกราคม พ.ศ. 2555 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560
|
6
|
รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ ดิลก ภิยโยทัย
|
1 มกราคม พ.ศ. 2561 – 31 มกราคม พ.ศ.2567
|
รายนามผู้บริหาร
รายนามผู้บริหารชุดปัจจุบัน[3]
ตำแหน่ง
|
นาม
|
คณบดี
|
รศ.พญ.อัจฉรา ตั้งสถาพรพงษ์
|
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
|
รศ.พญ.อารยา ศรัทธาพุทธ
|
รองคณบดีฝ่ายการคลังและแผน
|
ผศ.ดร.อารี เทเลอร์
|
รองคณบดีฝ่ายบริการสุขภาพและวิชาการ
|
รศ.นพ.สมบัติ มุ่งทวีพงษา
|
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม
|
รศ.พญ.ทิพาพร ธาระวานิช
|
รองคณบดีฝ่ายการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
|
รศ.นพ.ณรงค์กร ซ้ายโพธิ์กลาง
|
รองคณบดีฝ่ายบริหารและวิเทศสัมพันธ์
|
ผศ.ดร.นพ.สิระ นันทพิศาล
|
|
อัตรากำลัง
- อาจารย์ 296 คน
- บุคลากรสายสนับสนุน 265 คน
หลักสูตรการศึกษา
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดการเรียนการสอนครอบคลุมทุกสาขาวิชาของแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดสอนในหลักสูตรดังต่อไปนี้
- หลักสูตรปริญญา เปิดสอนทั้งในระดับชั้นปริญญาตรี โท และ เอก
ระดับปริญญาตรี
|
ระดับปริญญาโท
|
ระดับปริญญาเอก
|
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
- สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (หลักสูตรภาคภาษาไทย)
- สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ)* [4]
หลักสูตรแพทย์แผนไทยประยุกต์บัณฑิต
- สาขาวิชาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ [5]
|
หลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต
|
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
|
- หลักสูตรประกาศนียบัตรทางการแพทย์ เปิดสอนครอบคลุมในทุกสาขาของแพทยศาสตร์ ทั้งในระดับแพทย์ประจำบ้านและแพทย์ต่อยอด ฝึกการเรียนการสอนที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์
แพทย์ประจำบ้าน
|
แพทย์ประจำบ้านต่อยอด
|
หลักสูตรแพทย์ประจำบ้าน
- เวชศาสตร์ครอบครัว (ไม่ต้องผ่านการเพิ่มพูนทักษะ)
- อายุรศาสตร์
- กุมารเวชศาสตร์
- สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา
- ศัลยศาสตร์
- ออร์โธปิดิกส์
- รังสีวิทยาวินิจฉัย
- วิสัญญีวิทยา
- เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
- จักษุวิทยา
- โสต ศอ นาสิกวิทยา
- จิตเวชศาสตร์
- ประสาทวิทยา
- ประสาทศัลยศาสตร์
- อายุรศาสตร์โรคเลือด
- พยาธิวิทยากายวิภาค (ไม่ต้องผ่านการเพิ่มพูนทักษะ)
- ศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา
|
หลักสูตรแพทย์ประจำบ้านต่อยอด
- จักษุวิทยากระจกตา และการผ่าตัดแก้ไขสายตา
- จักษุวิทยาโรคจอประสาทตา
- จักษุวิทยาโรคต้อหิน
- ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์กระดูกสันหลัง
- ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ข้อสะโพกข้อเข่า
- ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์ทางมือ
- ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์เวชศาสตร์การกีฬา
- อายุรศาสตร์โรคไต
- อายุรศาสตร์โรคทางเดินอาหาร
- อายุรศาสตร์โรคหัวใจ
|
- หมายเหตุ หลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาแพทยศาสตร์ (หลักสูตรภาคภาษาอังกฤษ) รับสมัครนักศึกษาผ่าน วิทยาลัยแพทยศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อาคารและสถานที่
ด้านการเรียนการสอน
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีอาคารหลักคือ "อาคารคุณากร" (รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารีฯ) ความสูง 9 ชั้น โดยในปัจจุบันอาคารดังกล่าวเป็นสถานที่ติดต่อราชการ ที่ทำการสถานและสาขาวิชา และห้องประชุมต่าง ๆ ดังนี้
ชั้น 1 : ประชาสัมพันธ์, ลานอเนกประสงค์, สำนักงานคณะกรรมการนักศึกษา คณะแพทยศาสตร์ (กนพ.), ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาคณะแพทยศาสตร์, ร้านถ่ายเอกสาร, สหกรณ์ออมทรัพย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สาขาศูนย์สุขศาสตร์, สมาคมศิษย์เก่าคณะแพทยศาสตร์, ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ (Self Directed Learning; SDL)
ชั้น 2 : ห้องประชุมแพทย์โดม 1 (ห้องประชุมทางไกลแพทย์โดม), ห้องประชุมแพทย์โดม 2 และ 3, สำนักงานคณบดี, สำนักงานเลขนุการคณะ, พระสาทิสลักษณ์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร์ อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก (ลานพระบิดา)
ชั้น 3 : งานบริการการศึกษา, กลุ่มห้องบรรยาย, ห้องปฏิบัติการสถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก, หน่วยส่งเสริมการวิจัย
ชั้น 4 : สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก, ห้องประชุมสโมสรคณะแพทยศาสตร์, ห้องเรียนกลุ่มย่อย, ห้องบรรยาย, ชุมนุมและนันทนาการ, สำนักงานสาขาแพทย์แผนไทยประยุกต์
ชั้น 5 : ห้องพักอาจารย์สถานวิทยาศาสตร์พรีคลินิก, ห้องเรียนกลุ่มย่อย
ชั้น 6 และ 7 : ศูนย์การเรียนรู้ด้วยตัวเอง (Self–directed Learning : SDL), งานเทคโนโลยีทางการศึกษา
ชั้น 8 : สถานวิทยาศาสตร์เวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัว
ชั้น 9 : สำนักงานสาขากายวิภาคศาสตร์, ห้องปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์, ห้องปฏิบัติการมหกายวิภาคศาสตร์, ห้องประชุมแพทย์โดมชั้น 9
ในปีการศึกษา 2552 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีนโยบายขยายพื้นที่ทำการของคณะเพื่อรองรับการเรียนการสอนตามหลักสูตรปีพุทธศักราช 2552 ที่มีการขยายจำนวนรับนักศึกษาแพทย์ตั้งแต่ปีการศึกษา 2552 เป็นต้นไป จึงได้มีการต่อเติมอาคารราชสุดา ชั้น 3–8 (โครงการก่อสร้างอาคารราชสุดาในระยะที่ 2) โดยมีการสร้างห้องบรรยายขนาดใหญ่ อีกทั้งยังได้ย้ายสำนักงานสาขากายวิภาคศาสตร์, ห้องปฏิบัติการจุลกายวิภาคศาสตร์ และห้องปฏิบัติการมหกายวิภาคศาสตร์ มายังอาคารราชสุดา เพื่อความคล่องตัวของการจัดการเรียนการสอน
ด้านสวัสดิการ
เนื่องจากจำนวนผู้ที่เข้าพักอาศัยในหอพักแพทย์และพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถรองรับนักศึกษาแพทย์ทั้งหมดได้ ในปีการศึกษา 2552 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึงมีโครงการก่อสร้างอาคารหอพักสำหรับนักศึกษาแพทย์โดยเฉพาะ และทั้งนี้ยังมีการสร้างศูนย์กีฬาคณะแพทยศาสตร์ เพื่อให้นักศึกษาแพทย์ได้มีสถานที่สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพ ตามลักษณะพึงประสงค์ของบัณฑิตแพทย์ธรรมศาสตร์ ข้อที่ 9 ในหัวข้อ "ดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ"
หน่วยงานสนับสนุนการศึกษา
- รถเมล์ประจำทาง
- สาย 39 ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต–อนุสาวรีย์ชัยฯ
- สาย 510 รังสิต–อนุสาวรีย์ชัยฯ
- รถตู้ประจำทาง
- อนุสาวรีย์ชัยฯ–ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- BTS หมอชิต–ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต
- ม.ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์–ศูนย์รังสิต (รถบริการของทางมหาวิทยาลัย)
- รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม บางซื่อ–ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง)
- รถประจำทางภายในมหาวิทยาลัย
โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยและสถาบันร่วมผลิตแพทย์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
สัญลักษณ์ | | |
---|
ศูนย์ | |
---|
คณะ | |
---|
วิทยาลัย | |
---|
หน่วยงานวิจัย และบริการวิชาการ | |
---|
วันสำคัญ | |
---|
คณะบุคคล | |
---|
สวัสดิการและบริการ | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|