ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด
ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด [ 1]
(อังกฤษ : Hyperuricemia )
เป็นภาวะที่กรดยูริก สูงเกินในเลือด
ในระดับ pH ปกติของน้ำในร่างกาย กรดยูริกโดยมากจะอยู่ในรูปแบบของยูเรตซึ่งเป็นไอออน [ 2] [ 3]
ปริมาณของยูเรตในร่างกายจะขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างปริมาณพิวรีน ที่ได้จากอาหาร
ปริมาณยูเรตที่สังเคราะห์ภายในร่างกาย (เช่น ในการผันเวียนของเซลล์)
และปริมาณของยูเรตที่ถ่ายออกทางปัสสาวะ หรือผ่านทางเดินอาหาร [ 3]
ในมนุษย์ พิสัยด้านสูงปกติอยู่ที่ 360 µmol /L (6 mg /dL ) สำหรับหญิง และ 400 µmol/L (6.8 mg/dL) สำหรับชาย [ 4]
เหตุ
ปัจจัยต่าง ๆ มีผลต่อภาวะกรดยูริกเกินในเลือด รวมทั้งกรรมพันธุ์ ความดื้ออินซูลิน ภาวะเหล็กเกิน ความดันโลหิตสูง โรคไทรอยด์ ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกิน ไตวาย โรคอ้วน อาหาร การใช้ยาขับปัสสาวะ (เช่น thiazide, loop diuretic) และการบริโภคแอลกอฮอล์ มากเกิน[ 5]
ในบรรดาปัจจัยเหล่านี้ การบริโภคแอลกอฮอล์จะสำคัญที่สุด[ 6]
เหตุของภาวะสามารถจัดเป็น 3 กลุ่ม คือ[ 7]
การผลิตกรดยูริกเพิ่ม การถ่ายกรดยูริกออกน้อยลง และแบบผสม
เหตุของการผลิตเพิ่มรวมทั้งการได้พิวรีนจากอาหารสูงและการเพิ่มเมแทบอลิซึมของพิวรีน
เหตุของการถ่ายกรดออกน้อยลงรวมทั้งโรคไต ยาบางชนิดและโมเลกุลอื่น ๆ ที่แย่งกันในการขับถ่าย
เหตุผสมรวมทั้งการทานแอลกอฮอล์ หรือฟรักโทส มาก และการขาดอาหาร
การผลิตกรดยูริกเพิ่ม
แม้อาหารที่สมบูรณ์ด้วยพิวรีนจะเป็นเหตุสามัญ แต่ก็ยังเป็นเหตุรอง
เพราะอาหารเพียงอย่างเดียวไม่พอเป็นเหตุให้กรดยูริกเกินในเลือด
ปริมาณพิวรีนในอาหารจะต่าง ๆ กัน
และอาหารที่สูงไปด้วยพิวรีนแบบ adenine และ hypoxanthine ก็อาจทำภาวะกรดยูริกเกินในเลือดให้แย่ลงได้มากกว่า[ 8]
กรดยูริกในเลือดสูงแบบนี้ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่สามัญของการปลูกถ่ายอวัยวะ [ 9]
นอกจากความต่าง ๆ กันที่เป็นปกติเนื่องจากปัจจัยทางพันธุกรรม กลุ่มอาการอาการเนื้องอกสลาย (Tumor lysis syndrome) จะทำให้กรดยูริกสูงมากจนกระทั่งไตอาจวาย
กลุ่มอาการ Lesch-Nyhan syndrome ก็ยังสัมพันธ์กับกรดยูริกในระดับสูงมากด้วย
การขับถ่ายกรดยูริกลดลง
ยาหลัก ๆ ที่มีบทบาทให้เกิดกรดยูริกเกินในเลือดโดยลดการขับถ่าย ก็คือยากลุ่ม antiuricosuric (เป็นยาเพิ่มกรดยูริกในเลือดและลดกรดยูริกในปัสสาวะ)
ยาและสารกัมมันต์อื่น ๆ รวมทั้งยาขับปัสสาวะ , salicylate, pyrazinamide, ethambutol, กรดนิโคตินิก , ciclosporin, 2-ethylamino-1,3,4-thiadiazole, และสารกัมมันต์ที่เป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxic agent)[ 10]
SLC2A9 เป็นยีน เข้ารหัสโปรตีน ที่ช่วยขนส่งกรดยูริกในไต
ซิงเกิลนิวคลีโอไทด์โพลีมอร์ฟิซึม หลายแบบของยีนนี้ มีสหสัมพันธ์ ที่สำคัญกับระดับกรดยูริกในเลือด[ 11]
ภาวะกรดยูริกเกินในเลือดที่มักสืบทอดร่วมกับโรคกระดูกเปราะกรรมพันธุ์ (osteogenesis imperfecta) พบว่า สัมพันธ์กับการกลายพันธุ์ ในยีน GPATCH8 ซึ่งตรวจโดยเทคนิค exome sequencing[ 12]
โปรแกรมอาหารแบบ ketogenic diet[ A]
จะขัดขวางไม่ให้ไตขับกรดยูริก เนื่องจากการแย่งการขนส่งระหว่างกรดยูริกและคีโทน [ 13]
ระดับตะกั่ว ที่เพิ่มขึ้นในเลือดมีสหสัมพันธ์อย่างสำคัญกับทั้งสภาพไตเสื่อมและภาวะกรดยูริกเกินในเลือด แม้ความเป็นเหตุผลระหว่างปัจจัยเหล่านี้จะยังไม่ชัดเจน
ในงานศึกษากับคนไต้หวัน 2,500 คน ระดับตะกั่วในเลือดที่เกิน 7.5 microg/dL (ซึ่งสูงกว่าปกติเล็กน้อย) มีอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยง (odds ratio) ที่ 1.92 (95% CI: 1.18-3.10) สำหรับการทำงานผิดปกติขอ'ไต และ 2.72 (95% CI: 1.64-4.52) สำหรับภาวะกรดยูริกเกินในเลือด[ 14] [ 15]
แบบผสม
เหตุของภาวะกรดยูริกเกินในเลือดแบบผสมจะทั้งเพิ่มการผลิตกรดและลดการขับถ่าย
การบริโภคแอลกอฮอล์ (เอทานอล ) จำนวนมากเป็นเหตุสำคัญของภาวะ และทำการทั้งสองอย่างโดยกลไกหลายอย่าง
คือเพิ่มการผลิตกรดยูริกโดยเพิ่มการผลิตกรดแล็กติก และทำให้เกิดภาวะเลือดเป็นกรดแล็กติก
เอทานอลยังเพิ่มความเข้มข้นของ hypoxanthine และ xanthine ในน้ำเลือด ด้วย ผ่านการเร่งสลาย adenine nucleotide และอาจเป็นสารยับยั้งเอนไซม์ xanthine dehydrogenase อย่างอ่อน ๆ
เบียร์ก็มีพิวรีน ด้วยโดยเป็นผลข้างเคียงของการหมัก
เอทานอลจะลดการขับถ่ายกรดยูริกโดยส่งเสริมภาวะขาดน้ำ และ (แม้น้อยมาก) ภาวะเลือดเป็นกรดจากคีโทน (ketoacidosis) ในระดับคลินิก[ 6]
การทานน้ำตาลฟรักโทส มากจะมีผลอย่างสำคัญต่อภาวะกรดยูริกเกินในเลือด[ 16] [ 17] [ 18]
ในงานศึกษาขนาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา การดื่มน้ำอัดลม หวาน ๆ มากกว่า 4 หน่วยต่อวันจะมีผลเป็นอัตราส่วนปัจจัยเสี่ยง (odds ratio) มีภาวะกรดยูริกเกินในเลือดที่ 1.82[ 19]
เมแทบอลิซึมของฟรักโทสจะรบกวนเมแทบอลิซึมของพิวรีนมีผลให้ผลิตกรดเพิ่มขึ้น
โดยมีผลสองอย่าง คือ (1) เพิ่มการเปลี่ยน ATP เป็น inosine และจึงเพิ่มกรดยูริก (2) เพิ่มการสงเคราะห์พิวรีน[ 20]
ฟรักโทสยังห้ามการถ่ายกรดยูริกออก โดยแข่งกับกรดยูริกเพื่อให้ได้โปรตีนขนส่งคือ SLC2A9[ 21]
การลดการขับกรดยูริกออกของฟรักโทส จะเพิ่มขึ้นในบุคคลที่เสี่ยงทางพันธุกรรมต่อการมีภาวะกรดยูริกเกินในเลือด และ/หรือโรคเกาต์[ 20]
ส่วนการอดอาหารจะเป็นเหตุให้ร่างกายเผาผลาญเนื้อเยื่อของตนเองที่สมบูรณ์ไปด้วยพิวรีนเพื่อพลังงาน
ดังนั้น เหมือนกับอาหารที่มีพิวรีนมาก การอดอาหารจะเพิ่มปริมาณของพิวรีนที่แปลงเป็นกรดยูริก
อาหารที่มีแคลอรี ต่ำมากและไม่มีคาร์โบไฮเดรตอาจทำให้เกิดภาวะกรดยูริกเกินในเลือดอย่างรุนแรง
ดังนั้น การมีอาหารเป็นคาร์โบไฮเดรตบ้างและลดโปรตีน จะช่วยลดกรดยูริก[ 22]
การอดอาหารยังทำให้ไตไม่สามารถกำจัดกรดยูริก เนื่องจากการแข่งขันเพื่อโปรตีนขนส่งระหว่างกรดยูริกกับคีโทน[ 23]
การรักษา
การตกผลึกกรดยูริก และในนัยตรงกันข้าม การละลายของมัน
จะขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของกรดในสารละลาย ค่าพีเอช ความเข้มข้นของโซเดียม และอุณหภูมิ
ดังนั้น การรักษาจะเปลี่ยนค่าต่าง ๆ เหล่านี้
ความเข้มข้น
ตามหลักของเลชาเตอลิเย การลดความเข้มข้นของกรดยูริกในเลือดอาจทำให้ผลึกกรดที่มีอยู่สามารถค่อย ๆ ละลายกลับเข้าในเลือด แล้วจึงสามารถขับถ่ายออกจากเลือดได้
โดยคล้าย ๆ กัน การรักษาความเข้มข้นของกรดในเลือดให้ต่ำก็จะลดการตกผลึกใหม่ ๆ ด้วย
ถ้าบุคคลมีโรคเกาต์เรื้อรังหรือก้อนผลึกที่ข้อต่อ (tophus)
ก็อาจมีผลึกกรดยูริกจำนวนมากที่ตกตะกอนอยู่ที่ข้อต่อและเนื้อเยื่ออื่น ๆ และการใช้ยาแบบแรงหรือเป็นเวลานานอาจจะจำเป็น
ยาที่ใช้บ่อย ๆ เพื่อรักษาภาวะกรดยูริกเกินในเลือดมีสองประเภท คือ xanthine oxidase inhibitor และสารช่วยขับกรดยูริกทางปัสสาวะ (uricosuric)
xanthine oxidase inhibitors จะลดการผลิตกรดยูริกโดยขัดขวางการทำงานของเอนไซม์ xanthine oxidase
ส่วนสารจะช่วยขับกรดยูริก โดยลดการดูดซึมกลับเมื่อไตได้กรองกรดยูริกออกจากเลือดแล้ว
ยาเหล่านี้บางอย่างก็ใช้ตามข้อบ่งชี้ แต่บางอย่างก็ใช้เพื่อระงับอาการโดยไม่ได้รับอนุมัติ
ยังมียาอื่น ๆ ที่มีโอกาสช่วยรักษาภาวะกรดยูริกเกินในเลือด
สำหรับคนไข้ที่ล้างไต ยา sevelamer อาจช่วยลดระดับกรดยูริกในเลือดอย่างสำคัญ[ 24] [ 25]
โดยดูดซับยูเรตที่ผ่านทางเดินอาหาร[ 25]
ในหญิง การใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด แบบผสม สัมพันธ์อย่างสำคัญกับระดับกรดยูริกในเลือดที่ต่ำกว่า[ 26]
การรักษาโดยไม่ใช้ยาสำหรับภาวะกรดยูริกเกินในเลือดรวมทั้งอาหารที่มีพิวรีนต่ำ และการบริโภคอาหารเสริม ต่าง ๆ
มีการรักษาด้วยเกลือลิเทียม เพื่อเพิ่มการละลายได้ของกรดยูริกด้วย
pH
ความเป็นกรดด่าง ของเลือดไม่ใช่ว่าเปลี่ยนได้อย่างง่าย ๆ หรืออย่างปลอดภัย
ดังนั้น การรักษาที่เปลี่ยนค่า pH โดยหลักจะเปลี่ยนค่าของปัสสาวะ เพื่อกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งของยาขับกรดยูริกทางปัสสาวะ ซึ่งก็คือการเกิดนิ่วไตเพราะมีกรดมากขึ้นในปัสสาวะ
อาหารเสริม ที่อาจช่วยทำให้ปัสสาวะเป็นด่าง มากขึ้นรวมทั้งโซเดียมไบคาร์บอเนต โพแทสเซียมไซเตรต แมกนีเซียมไซเตรต และ Bicitra (ซึ่งมีองค์ประกอบเป็น citric acid monohydrate และ sodium citrate dihydrate)[ 27]
ยาที่อาจมีผลแบบเดียวกันรวมทั้ง acetazolamide
อุณหภูมิ
มักจะมีรายงานว่า อุณหภูมิ ต่ำเป็นตัวจุดชนวนอาการโรคเกาต์แบบฉับพลัน ตัวอย่างเช่น การยืนอยู่ในน้ำเย็นนาน ๆ แล้วตามด้วยอาการของโรคในเช้าต่อมา
ซึ่งเชื่อว่า เป็นผลจากการตกผลึกของกรดยูริกที่ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิในเนื้อเยื่อที่เย็นกว่าปกติ
ดังนั้น วิธีการป้องกันอย่างหนึ่งก็คือการรักษาให้มือเท้าอุ่น โดยการแช่น้ำอุ่นอาจจะช่วย
พยากรณ์โรค
การมีระดับกรดยูริกที่สูงขึ้นจะทำให้เสี่ยงโรคเกาต์มากขึ้น และถ้าสูงมาก ก็จะทำให้ไตวาย
กลุ่มอาการทางเมแทบอลิซึม (metabolic syndrome) บ่อยครั้งจะเกิดพร้อมกับภาวะกรดยูริกเกินในเลือด
พยากรณ์โรค ดีถ้าทาน allopurinol เป็นปกติ
คนไข้โรคเกาต์ และโดยอนุมาน รวมคนไข้ภาวะกรดยูริกเกินในเลือดด้วย มีโอกาสเกิดโรคพาร์คินสัน น้อยกว่าอย่างสำคัญ ถ้าไม่ต้องทานยาขับปัสสาวะ ด้วย[ 28]
ในสุนัขแดลเมเชียน
ในสุนัขแดลเมเชียน การไร้เอนไซม์ uricase (ซึ่งเป็นลักษณะสืบสายพันธุ์ของสุนัขพันธุ์นี้) จะทำให้เกิดภาวะกรดยูริกเกินในเลือด และภาวะกรดยูริกเกินในปัสสาวะที่คู่กัน
เชิงอรรถ
↑ ketogenic diet เป็นโปรแกรมอาหารแบบมีไขมัน สูง โปรตีน พอควร และคาร์โบไฮเดรต ต่ำ ที่ใช้ในการแพทย์โดยหลักเพื่อรักษาโรคลมชัก ที่ควบคุมได้ยากในเด็ก
เป็นอาหารที่บังคับให้ร่างกายเผาผลาญไขมันแทนคาร์โบไฮเดรต
อ้างอิง
↑ "hyperuricaemia/hyperuricemia; uricacidaemia/uricacidemia; uricaemia/uricemia", ศัพท์บัญญัติอังกฤษ-ไทย, ไทย-อังกฤษ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน (คอมพิวเตอร์) รุ่น ๑.๑ ฉบับ ๒๕๔๕ , (แพทยศาสตร์) ๑. เลือดมีกรดยูริกเกิน ๒. ภาวะกรดยูริกเกินในเลือด
↑
Al-Ashkar, Feyrouz (2010). "Gout and pseudogout" . Disease Management Project . Cleveland Clinic. สืบค้นเมื่อ 2014-12-26 .
↑ 3.0 3.1
Choi, Hyon K.; Mount, David B.; Reginato, Anthony M. (2005). "Pathogenesis of gout". Annals of Internal Medicine . 143 (7): 499–516. doi :10.7326/0003-4819-143-7-200510040-00009 . PMID 16204163 .
↑ Chizyński, K; Rózycka, M (2005). "Hyperuricemia". Pol. Merkur. Lekarski (ภาษาโปแลนด์). 19 (113): 693–6. PMID 16498814 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Sun, Sam Z; Flickinger, Brent D; Williamson-Hughes, Patricia S; Empie, Mark W (March 1, 2010). "Lack of association between dietary fructose and hyperuricemia risk in adults" . Nutrition & Metabolism . 7 (16): 16. doi :10.1186/1743-7075-7-16 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ 6.0 6.1 Yamamoto, T; Moriwaki, Y; Takahashi, S (2005). "Effect of ethanol on metabolism of purine bases (hypoxanthine, xanthine, and uric acid)". Clinica Chimica Acta; International Journal of Clinical Chemistry . 356 (1–2): 35–57. doi :10.1016/j.cccn.2005.01.024 . PMID 15936302 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Yamamoto, T (2008). "[Definition and classification of hyperuricemia]". Nippon Rinsho (ภาษาญี่ปุ่น). 66 (4): 636–40. PMID 18409507 .
↑ Brulé, D; Sarwar, G; Savoie, L (1992). "Changes in serum and urinary uric acid levels in normal human subjects fed purine-rich foods containing different amounts of adenine and hypoxanthine". J Am Coll Nutr . 11 (3): 353–8. doi :10.1080/07315724.1992.10718238 . PMID 1619189 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Stamp, L; Searle, M; O'Donnell, J; Chapman, P (2005). "Gout in solid organ transplantation: a challenging clinical problem". Drugs . 65 (18): 2593–611. doi :10.2165/00003495-200565180-00004 . PMID 16392875 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Scott, JT (1991). "Drug-induced gout". Baillière's Clinical Rheumatology . 5 (1): 39–60. doi :10.1016/S0950-3579(05)80295-X . PMID 2070427 .
↑ Brandstätter, A; Kiechl, S; Kollerits, B; Hunt, SC; Heid, IM; Coassin, S; Willeit, J; Adams, TD; Illig, T; Hopkins, PN; Kronenberg, F (2008). "Sex-specific association of the putative fructose transporter SLC2A9 variants with uric acid levels is modified by BMI" . Diabetes Care . 31 (8): 1662–7. doi :10.2337/dc08-0349 . PMC 2494626 . PMID 18487473 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Kaneko, Hiroshi; Hiroshi, Kitoh; Tohru, Matsuura; Akio, Masuda; Mikako, Ito; Monica, Mottes; Frank, Rauch; Naoki, Ishiguro; Kinji, Ohno (2011). "Hyperuricemia cosegregating with osteogenesis imperfecta is associated with a mutation in GPATCH8 ". Hum. Genet . Germany. 130 (5): 671–83. doi :10.1007/s00439-011-1006-9 . PMID 21594610 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Förster, H (1979). "[Possibilities for weight reduction by means of diet]". Fortschr. Med. (ภาษาเยอรมัน). 97 (32): 1339–44. PMID 488876 .
↑
Lai, LH; Chou, SY; Wu, FY; Chen, JJ; Kuo, HW (2008). "Renal dysfunction and hyperuricemia with low blood lead levels and ethnicity in community-based study". Sci. Total Environ . 401 (1–3): 39–43. doi :10.1016/j.scitotenv.2008.04.004 . PMID 18514766 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Shadick, NA; Kim, R; Weiss, S; Liang, MH; Sparrow, D; Hu, H (2000). "Effect of low level lead exposure on hyperuricemia and gout among middle aged and elderly men: the normative aging study" . J Rheumatol . 27 (7): 1708–12. {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Nakagawa, T; Hu H; Zharikov S; และคณะ (2006). "A causal role for uric acid in fructose-induced metabolic syndrome". Am. J. Physiol. Renal Physiol . 290 (3): F625-31. doi :10.1152/ajprenal.00140.2005 . PMID 16234313 .
↑
Mayes, PA (1993). "Intermediary metabolism of fructose". Am. J. Clin. Nutr . 58 (5 Suppl): 754S–765S. PMID 8213607 .
↑
Miller, A; Adeli, K (2008). "Dietary fructose and the metabolic syndrome". Curr. Opin. Gastroenterol . 24 (2): 204–9. doi :10.1097/MOG.0b013e3282f3f4c4 . PMID 18301272 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Choi, JW; Ford, ES; Gao, X; Choi, HK (2008). "Sugar-sweetened soft drinks, diet soft drinks, and serum uric acid level: the Third National Health and Nutrition Examination Survey". Arthritis Rheum . 59 (1): 109–16. doi :10.1002/art.23245 . PMID 18163396 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ 20.0 20.1 Maye, PA (1993). "Intermediary metabolism of fructose" . Am. J. Clin. Nutr . 58 (5 Suppl): 754S–765S. PMID 8213607 .
↑ Vitart, V; Rudan, I; Hayward, C; Gray, NK; Floyd, J; Palmer, CN; Knott, SA; Kolcic, I; Polasek, O; Graessler, J; Wilson, JF; Marinaki, A; Riches, PL; Shu, X; Janicijevic, B; Smolej-Narancic, N; Gorgoni, B; Morgan, J; Campbell, S; Biloglav, Z; Barac-Lauc, L; Pericic, M; Klaric, IM; Zgaga, L; Skaric-Juric, T; Wild, SH; Richardson, WA; Hohenstein, P; Kimber, CH; Tenesa, A; Donnelly, LA; Fairbanks, LD; Aringer, M; McKeigue, PM; Ralston, SH; Morris, AD; Rudan, P; Hastie, ND; Campbell, H; Wright, AF (2008). "SLC2A9 is a newly identified urate transporter influencing serum urate concentration, urate excretion and gout". Nat. Genet . 40 (4): 437–42. doi :10.1038/ng.106 . PMID 18327257 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Howard, AN (1981). "The historical development, efficacy and safety of very-low-calorie diets". Int J Obes . 5 (3): 195–208. PMID 7024153 .
↑ Kirch, W; von Gicycki, C (1980). "[Renal function in therapeutic starvation (author's transl)]". Wien. Klin. Wochenschr. (ภาษาเยอรมัน). 92 (8): 263–6. PMID 7405247 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑
Garg, JP; Chasan-Taber S; Blair A; และคณะ (2005). "Effects of sevelamer and calcium-based phosphate binders on uric acid concentrations in patients undergoing hemodialysis: a randomized clinical trial". Arthritis and Rheumatism . 52 (1): 290–5. doi :10.1002/art.20781 . PMID 15641045 .
↑ 25.0 25.1
Ohno, I; Yamaguchi, Y; Saikawa, H; Uetake, D; Hikita, M; Okabe, H; Ichida, K; Hosoya, T (2009). "Sevelamer decreases serum uric acid concentration through adsorption of uric acid in maintenance hemodialysis patients". Internal Medicine (Tokyo, Japan) . 48 (6): 415–20. doi :10.2169/internalmedicine.48.1817 . PMID 19293539 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Gresser, U; Gathof, B; Zöllner, N (1990). "Uric acid levels in southern Germany in 1989. A comparison with studies from 1962, 1971, and 1984". Klin. Wochenschr . 68 (24): 1222–8. doi :10.1007/BF01796514 . PMID 2290309 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ Ross, Mary (1993). "Rx Update December 1993" . University of Iowa. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2009-02-16. สืบค้นเมื่อ 2018-03-27 . {{cite web }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
↑ De Vera, M; Rahman, MM; Rankin, J; Kopec, J; Gao, X; Choi, H (2008). "Gout and the risk of Parkinson's disease: a cohort study". Arthritis Rheum . 59 (11): 1549–54. doi :10.1002/art.24193 . PMID 18975349 . {{cite journal }}
: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์ )
แหล่งข้อมูลอื่น