ฟาโรห์คูฟู
คูฟู คีออปส์, ซูฟิส, คนูบอส,[ 1] โซเฟ[ 2] ฟาโรห์ รัชกาล 2589–2566 ปีก่อนคริสตกาล[ 3] [ 4] (63 ปี ตามบันทึกของแมนิโธ ) หรือ (26 หรือ 46 ปี ตามนักประวัติศาสตร์สมัยใหม่)[ 5] ก่อนหน้า ฟาโรห์สเนเฟรู ถัดไป ฟาโรห์ดเจดเอฟเร
พระนามฮอรัส
เมดเจดอู Mḏd.w [ 6] พระองค์ ผู้ที่ซึ่งทรงบดขยี้ (ศัตรู) เพื่อเทพฮอรัส รูปแบบอื่น:
พระนามเนบติ
เนบติ-เออร์-เมดเจด Mḏd-r-Nnb.tj [ 6] พระองค์ ผู้ที่ซึ่งทรงบดขยี้ (ศัตรู) แห่งสองสตรี
พระนามฮอรัสทองคำ พระนามประสูติ
คูฟู (Khuifwi)Ḫw(j).f w(j) ข้าได้รับการคุ้มครอง/ พระองค์ ทรงคุ้มครองข้า [ 8] รูปแบบอื่น: คนุม คูฟู ẖnmw ḫwj=f w(j) อันเทพคนุม ทรงคุ้มครองข้า
คู่เสกสมรส เมริตอิเตสที่ 1 , เฮนุตเซน ,[ 3] พระราชบุตร คาวาบ , ดเจดเอฟฮอร์ , เฮเทปเฮอร์เอสที่ 2 , เมริตอิเตสที่ 1 , เมอร์เอสอังค์ที่ 2 , บายูฟรา , ดเจดเอฟเร , มินคาฟที่ 1 , คาฟเร , คูฟูคาฟที่ 1 , บาบาเอฟ, ฮอร์บาเอฟ , เนเฟอร์ทิอาเบต , คาเมอร์เออร์เนบติที่ 1 [ 9] พระราชบิดา สเนเฟรู พระราชมารดา เฮเทปเฮอร์เอสที่ 1 สวรรคต 2566 ปีก่อนคริสตกาล สุสาน มหาพีระมิดแห่งกีซา อนุสรณ์สถาน มหาพีระมิดแห่งกีซา, เรือคูฟู ราชวงศ์ ราชวงศ์ที่สี่
คูฟู หรือ คีออปส์ เป็นฟาโรห์ แห่งอียิปต์โบราณ ซึ่งเป็นฟาโรห์พระองค์ที่สองของราชวงศ์ที่สี่ ในช่วงครึ่งแรกของสมัยราชอาณาจักรเก่า (ช่วงศตวรรษที่ 26 ก่อนคริสตกาล) ฟาโรห์คูฟูทรงสืบพระราชบัลลังก์ต่อจากฟาโรห์สเนเฟรู ผู้เป็นพระราชบิดาและฟาโรห์ พระองค์ทรงเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าทรงเป็นผู้ที่โปรดให้สร้างมหาพีระมิดแห่งกิซา ซึ่งเป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ แต่ด้านอื่นๆ อีกมากมายในรัชสมัยของพระองค์กลับได้รับการบันทึกไว้ค่อนข้างน้อย[ 10] [ 11]
วัตถุโบราณที่เกี่ยวข้องฟาโรห์คูฟูเพียงชิ้นเดียวที่หลงเหลืออยู่อย่างสมบูรณ์ คือ รูปสลักงาช้างขนาดสูง 3 นิ้ว ซึ่งถูกค้นพบในซากปรักหักพังของวิหารในช่วงเวลาหลังจากรัชสมัยของพระองค์ที่อไบดอส ในปี ค.ศ. 1903 ส่วนภาพนูนต่ำนูนสูงและรูปปั้นอื่น ๆ ทั้งหมดถูกพบในสภาพที่เสียหายอย่างหนัก และโครงสร้างอาคารหลายแห่งของฟาโรห์คูฟูก็ได้สูญหายไปแล้ว ข้อมูลที่ทราบเกี่ยวกับฟาโรห์คูฟูก็มาจากจารึกในสถานที่ฝังพระบรมศพของพระองค์ที่กิซา และเอกสารในช่วงเวลาภายหลัง ตัวอย่างเช่น ฟาโรห์คูฟูเป็นทรงปรากฏอยู่ในบันทึกปาปิรุสเวสต์คาร์ ซึ่งเป็นบันทึกปาปิรุสที่เขียนขึ้นในช่วงราชวงศ์ที่สิบสาม แห่งอียิปต์[ 10] [ 11]
เอกสารส่วนใหญ่ที่กล่าวถึงฟาโรห์คูฟูเขียนขึ้นโดยนักประวัติศาสตร์ชาวอียิปต์และกรีกโบราณ เมื่อประมาณ 300 ปีก่อนคริสตกาล ข้อมูลเกี่ยวกับการเสด็จสวรรคตของฟาโรห์คูฟูได้ถูกบันทึกหรือเขียนในลักษณะที่ขัดแย้งกัน คือ ในขณะที่มีการบันทึกว่า พระองค์ทรงเพลิดเพลินกับทำนุบำรุงมรดกทางวัฒนธรรมที่ยืนยาวในช่วงระยะเวลาของสมัยราชอาณาจักรเก่าและราชอาณาจักรใหม่ แต่นักประวัติศาสตร์สมัยโบราณ ได้แก่ แมนิโธ , ดิโอโดรุส และเฮโรโดตุส ได้บรรยายฟาโรห์คูฟูในลักษณะเชิงลบ ซึ่งบันทึกและเอกสารดังกล่าวได้ทำให้ทราบลักษณะโดยภาพรวมของฟาโรห์คูฟูที่คลุมเครือและเป็นที่ถกเถียงที่ยังคงมีอยู่[ 10] [ 11]
อ้างอิง
↑ Alan B. Lloyd: Herodotus, book II. , p. 62.
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ FJFS
↑ 3.0 3.1 Clayton, Peter A. Chronicle of the Pharaohs . p42. Thames and Hudson, London, 2006. ISBN 978-0-500-28628-9
↑ Malek, Jaromir, "The Old Kingdom" in The Oxford History of Ancient Egypt , ed. Ian Shaw, Oxford University Press 2000, ISBN 978-0-19-280458-7 p.88
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ ToSch
↑ 6.0 6.1 6.2 von Beckerath: Handbuch der ägyptischen Königsnamen , Deutscher Kunstverlag (1984), ISBN 3422008322
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ lepsius
↑ Rainer Hannig: Die Sprache der Pharaonen. Großes Handwörterbuch Ägyptisch-Deutsch . (= Kulturgeschichte der antiken Welt. Vol. 64) 4th Edition, von Zabern, Mainz 2006, ISBN 3-8053-1771-9 , page 113.
↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ DH
↑ 10.0 10.1 10.2 Thomas Schneider: Lexikon der Pharaonen . Albatros, Düsseldorf 2002, ISBN 3-491-96053-3, page 100–104.
↑ 11.0 11.1 11.2 Aidan Dodson: Monarchs of the Nile . American Univ in Cairo Press, 2000, ISBN 977-424-600-4, page 29–34.
ยุค
ราชวงศ์
ฟาโรห์ (ชาย หญิง ) ไม่ทราบ
ยุคปลาย (664–332 ปีก่อน ค.ศ)
เฮลเลนิสต์ (332–30 ปีก่อน ค.ศ)
ยุค
ราชวงศ์
ฟาโรห์ (ชาย หญิง ) ไม่ทราบ
โรมัน (30 ปีก่อน ค.ศ.–ค.ศ. 313)