สมัยระหว่างกลางที่หนึ่งแห่งอียิปต์
|
---|
ป. 2181 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ป. 2055 ปีก่อนคริสต์ศักราช |
|
เมืองหลวง |
|
---|
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ |
---|
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ |
---|
การปกครอง | ราชาธิปไตย |
---|
ฟาโรห์ | |
---|
|
• ป. 2181 ปีก่อนคริสต์ศักราช | เมนคาเร (พระองค์แรก) |
---|
• ป. 2069 BC – 2061 ปีก่อนคริสต์ศักราช | อินเทฟที่ 3 (พระองค์สุดท้าย) |
---|
|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
|
• เริ่มต้น | ป. 2181 ปีก่อนคริสต์ศักราช |
---|
• สิ้นสุด | ป. 2055 ปีก่อนคริสต์ศักราช |
---|
|
|
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | อียิปต์ |
---|
สมัยระหว่างกลางที่หนึ่งแห่งอียิปต์ ซึ่งสามารถอธิบายได้ว่าเป็น 'ยุคมืด' ในประวัติศาสตร์อียิปต์โบราณ[1] ซึ่งครอบคลุมช่วงเวลาไปประมาณ 125 ปี นับตั้งแต่ราว 2181–2055 ปีก่อนคริสต์ศักราช หลังการล่มสลายของราชอาณาจักรเก่า[2] ในสมัยระหว่างกลางที่หนึ่งจะประกอบด้วยราชวงศ์ที่เจ็ด (ถึงแม้ว่านักไอยคุปต์วิทยาส่วนใหญ่จะมองว่าเป็นราชวงศ์ที่ไม่มีอยู่จริง) ราชวงศ์ที่แปด ราชวงศ์ที่เก้า ราชวงศ์ที่สิบ และเป็นส่วนหนึ่งของราชวงศ์ที่สิบเอ็ด โดยแนวคิดของ "ช่วงระหว่างกลางที่หนึ่ง" ได้รับการคิดค้นในปี ค.ศ. 1926 โดยนักไอยคุปต์วิทยานามว่า จอร์จ สไตน์ดอร์ฟ และเฮนรี แฟรงฟอร์ท[3]
หลักฐานที่เป็นอนุสรณ์วัตถุปรากฏน้อยมากที่ยังหลงเหลืออยู่จากช่วงเวลาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ต้นสมัยระหว่างกลางที่หนึ่ง ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีพลวัตอย่างมาก การปกครองของอียิปต์แบ่งระหว่างสองฐานอำนาจที่แข่งขันกันอย่างเท่ากัน ฐานอำนาจแห่งแรกอยู่ที่เมืองเฮราคลีโอโพลิสในอียิปต์ล่าง ซึ่งเป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของภูมิภาคฟัยยูม และอีกแห่งอยู่ที่เมืองธีบส์ในอียิปต์บน[4] ซึ่งเชื่อกันว่าในช่วงเวลานั้น ได้มีการปล้นและทำลายวัดวาอาราม รวมถึงงานศิลปะและรูปสลักของฟาโรห์ อันเป็นผลมาจากความวุ่นวายทางการเมืองในการอ้างสิทธิอำนาจเหนือพื้นที่[5] และในที่สุดราชอาณาจักรทั้งสองก็จะเข้าสู่ความขัดแย้ง ซึ่งจะนำไปสู่การพิชิตในอียิปต์บนโดยผู้ปกครองแห่งธีบส์ และการรวมอียิปต์อีกครั้งภายใต้ผู้ปกครองพระองค์เดียวพระนามว่า ฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 ในช่วงหลังของราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ เหตุการณ์ดังกล่าวจึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยราชอาณาจักรกลางแห่งอียิปต์
อ้างอิง
- ↑ Redford, Donald B. (2001). The Oxford encyclopedia of ancient Egypt. Vol. 1. Cairo: The American University in Cairo Press. p. 526.
- ↑ Kathryn A. Bard, An Introduction to the Archaeology of Ancient Egypt (Malden: Blackwell Publishing, 2008), 41.
- ↑ Schneider, Thomas (27 August 2008). "Periodizing Egyptian History: Manetho, Convention, and Beyond". ใน Klaus-Peter Adam (บ.ก.). Historiographie in der Antike. Walter de Gruyter. pp. 181–197. ISBN 978-3-11-020672-2.
- ↑ Gardiner, Alan (1961) Egypt of the Pharaohs (Oxford University Press), 107–109.
- ↑ Breasted, James Henry (1923). A History of the Ancient Egyptians. Charles Scribner's Sons, 133.