พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ5 สิงหาคม พ.ศ. 2383
สิ้นพระชนม์4 ตุลาคม พ.ศ. 2455 (72 ปี)
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดามาลัย

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ (เดิม หม่อมเจ้าสุดาสวรรค์; 5 สิงหาคม พ.ศ. 2383 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2455) เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดามาลัย

พระประวัติ

พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ ประสูติเมื่อวันพุธ เดือน 9 ขึ้น 7 ค่ำ ปีชวด โทศก จ.ศ. 1202 ตรงกับวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2353 ทรงเป็นพระขนิษฐาร่วมพระมารดาเดียวกันกับ พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่อปีชวด จัตวาศก จ.ศ. 1274 วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2455 พระชันษา 73 ปี พระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุ ท้องสนามหลวง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2455

ผู้สำเร็จราชการวังหน้า

เมื่อปีพ.ศ. 2429 เมื่อกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญทิวงคตแล้วพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาสยามมกุฎราชกุมารอย่างสมเด็จหน่อพระพุทธเจ้าตามราชประเพณีเดิม จึงประกาศพระราชกฤษฎีกาเลิกตำแหน่งพระมหาอุปราชฝ่ายหน้าแต่นั้นมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริจะไม่ให้พระราชวังบวรสถานมงคลเป็นที่ร้าง จึงโปรดฯ ให้คงจัดรักษาเป็นพระราชวัง ให้มีเจ้าพนักงานรักษาหน้าที่อยู่อย่างเดิม ทรงมอบหมายการปกครองให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดวงประภา พระราชธิดาพระองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวหัว ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในทั่วไป และโปรดฯ ให้เสด็จขึ้นมาประทับอยู่ที่พระที่นั่งสาโรชรัตนประพาส

เมื่อพระองค์เจ้าดวงประภาสิ้นพระชนม์ โปรดฯ ให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ พระเจ้าลูกเธอในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวรองลงมา ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในวังหน้าต่อมา เหมือนอย่างพระองค์เจ้าดวงประภา และโปรดฯ ให้พระองค์เจ้าวงจันทร์ พระเจ้าน้องนางร่วมพระชนนีกับกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเสด็จขึ้นมาประทับที่พระที่นั่งบวรบริวัติมาจนตลอดรัชกาลที่ 5

ถึงรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์เจ้าสุดาสวรรค์สิ้นพระชนม์ จึงโปรดฯ ให้พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวงจันทร์ทรงสำเร็จราชการฝ่ายในวังหน้าแทนพระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ต่อมาจนกระทั่งพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อปีขาล พ.ศ. 2459 เจ้านายในวังหน้าจึงได้เสด็จไปประทับที่พระบรมมหาราชวัง และมิมีผู้ใดดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการวังหน้าอีก

พระเกียรติยศ

พระอิสริยยศ

  • หม่อมเจ้าสุดาสวรรค์ (5 สิงหาคม พ.ศ. 2353 – 2 เมษายน พ.ศ. 2394)
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ (2 เมษายน พ.ศ. 2399 – พ.ศ. 2430)[1][2]
  • พระเจ้าบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ (พ.ศ. 2430 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)
  • พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุดาสวรรค์ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 – 4 ตุลาคม พ.ศ. 2455)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

อ้างอิง

  1. ราชบัณฑิตยสถาน. พระเจ้าวรวงศ์เธอ (ตอนที่ ๑) (๒๒ พฤษภาคม ๒๕๕๒)[ลิงก์เสีย]. เรียกดูเมื่อ 13 เมษายน 2556
  2. กรมศิลปากร, สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์. ราชสกุลวงศ์ เก็บถาวร 2017-02-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพฯ:สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. 2554, หน้า 229
  3. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/035/500_1.PDF
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้า ฝ่ายน่า แลฝ่ายใน, เล่ม 17, ตอน 35, 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443, หน้า 500
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน เก็บถาวร 2015-10-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 21, ตอน 32, 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2447, หน้า 570
  • สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเจ้านายพระชันษายืนในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และหม่อมเจ้าจงจิตรถนอม ดิศกุล พระธิดา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2474, แก้ไขปรับปรุง พ.ศ. 2486, พ.ศ. 2530. 153 หน้า. ISBN 974-8356-98-1

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!