พระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส

พระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส
พระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงก์ตะวันตก
ครองราชย์ค.ศ. 898 – 922
ก่อนหน้าอูดที่ 1
ถัดไปรอแบร์ที่ 1
พระมหากษัตริย์แห่งโลธาริงเกีย
ครองราชย์ค.ศ. 911 – 923
ก่อนหน้าหลุยส์
พระราชสมภพ17 กันยายน 879
สวรรคต7 ตุลาคม 929 (พระชนมายุ 50 พรรษา)
ราชวงศ์ราชวงศ์การอแล็งเฌียง
พระราชบิดาพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศส
พระราชมารดาอาเดลาอีดแห่งปารีส

พระเจ้าชาร์ลที่ 3 แห่งฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Charles III de France; 17 กันยายน ค.ศ. 879 – 7 ตุลาคม ค.ศ. 929) เป็นพระมหากษัตริย์แห่งชนแฟรงก์ตะวันตก พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 10 ในราชวงศ์การอแล็งเฌียง นอกจากนี้พระองค์ยังทรงพระอิสริยยศเป็นพระมหากษัตริย์แห่งโลทารินเจีย[1]

พระเจ้าชาร์ลที่ 3 เป็นพระโอรสในพระเจ้าหลุยส์ที่ 2 แห่งฝรั่งเศสและอาเดลาอีดแห่งปารีส[2]พระมเหสีองค์ที่สองของพระองค์ พระองค์ทรงประกาศอ้างสิทธิในราชบัลลังก์ฝรั่งเศสตั้งแต่ที่โอโด เคานต์แห่งปารีสขึ้นครองราชย์ แต่พระองค์ได้ปกครองฝรั่งเศสจริงๆ หลังจากที่โอโดสิ้นพระชนม์[3]

ชีวิตช่วงแรก

ชาร์ลเป็นพระโอรสคนที่สามที่ประสูติหลังการสิ้นพระชนม์ของพระเจ้าหลุยส์ผู้ติดอ่าง โดยประสูติจากพระมเหสีคนที่สอง อาเดเลดแห่งปารีส[4] ในวัยเด็กชาร์ลถูกขัดขวางไม่ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ. 884 เมื่อพระเชษฐาต่างมารดา พระเจ้าแกร์โลม็อง สิ้นพระชนม์[5] กลุ่มขุนนางแฟรงก์กลับขอให้ลูกพี่ลูกน้องของพระองค์ จักรพรรดิชาร์ลผู้ตัวอ้วน ขึ้นปกครองแทน[6] จักรพรรดิชาร์ลผู้ตัวอ้วนไม่ใช่กษัตริย์ที่ดี พระองค์จึงถูกถอดออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 887 ทรงสิ้นพระชนม์หลังจากนั้นไม่นานในเดือนมกราคม ค.ศ. 888 เหล่าขุนนางเลือกโอโด วีรบุรุษในการปิดล้อมปารีส เป็นกษัตริย์ ชาร์ลถูกส่งไปอยู่ในการคุ้มครองของรานูล์ฟที่ 2 แห่งอากีแตนที่ยึดเอาพระราชตำแหน่งมาใช้เสียเองจนกระทั่งทำสนธิสัญญาสันติภาพกับโอโด

กษัตริย์แห่งอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก

ในปี ค.ศ. 893 ขุนนางกลุ่มหนึ่งที่อยู่ฝ่ายตรงข้ามกับโอโดสวมมงกุฎให้ชาร์ล พระองค์ได้รับการสวมมงกุฎที่อาสนวิหารแร็งส์ แต่ไม่ได้รับการยอมรับเป็นกษัตริย์อย่างเต็มรูปแบบจนกระทั่งโอโดสิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 898[7]

ในปี ค.ศ. 911 กลุ่มชาวไวกิงนำโดยรอลโลปิดล้อมปารีสและชาร์ตร์ส์ หลังได้ชัยชนะใกล้กับชาร์ตร์ส์ในวันที่ 26 สิงหาคม ชาร์ลตัดสินใจเจรจากับรอลโล การพูดคุยนำโดยเอียเว อาร์ชบิชอปแห่งแร็งส์ ส่งผลให้เกิดสนธิสัญญาแซ็งต์-แคลร์-ซูร์-เอปต์ที่มอบดินแดนทั้งหมดที่อยู่ระหว่างแม่น้ำเอปต์กับทะเลให้รอลโลกับคนของรอลโล และยังมอบบริตทานีไว้ให้ "ใช้ทำมาหากิน" ซึ่งในตอนนั้นบริตทานีเป็นดินแดนเอกราชที่ฝรั่งเศสไม่สามารถพิชิตได้ แลกกับการให้รอลโลสัญญาว่าจะจงรักภักดีต่อกษัตริย์และให้ความช่วยเหลือทางทหารในยามที่จำเป็น รอลโลยังยอมรับการทำพิธีศีลล้างบาปและแต่งงานกับจิเซลา พระธิดาของกษัตริย์ อาณาเขตที่มอบให้รอลโลนั้นใกล้เคียงกับอาณาเขตของนอร์ม็องดีบน ซึ่งจะเติบโตกลายเป็นนอร์ม็องดีภายใต้การปกครองของลูกหลานของรอลโล

ราชอาณาจักรที่ชาร์ลผู้เรียบง่ายปกครองในปี ค.ศ. 915 (สีแดง)

ในปี ค.ศ. 911 เช่นกันที่พระเจ้าหลุยส์ผู้ยังเด็ก กษัตริย์แห่งเยอรมนี สิ้นพระชนม์ ขุนนางของโลธาริงเกียให้ชาร์ลเป็นกษัตริย์คนใหม่ของตนแม้ว่าบางส่วนจะเลือกคอนรัดแห่งฟรานโกเนียเป็นกษัตริย์[7] ชาร์ลพยายามเอาชนะใจคนกลุ่มนั้นอยู่หลายปี ในเดือนเมษายน ค.ศ. 907 พระองค์แต่งงานกับหญิงชนชั้นสูงชาวโลธาริงเกียนชื่อ เฟรเดรุน ทั้งยังปกป้องโลธาริงเกียจากการโจมตีของคอนรัด กษัตริย์ของชาวเยอรมัน สองครั้ง[8] พระราชินีเฟรเดรุนสิ้นพระชนม์ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 917 โดยมีพระธิดาหกคนและไม่มีพระโอรส[9] พระเจ้าชาร์ลจึงยังไม่มีทายาท ในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 919 ชาร์ลแต่งงานใหม่กับอีดจิฟูแห่งเวสเซ็กซ์ (อังกฤษ) พระธิดาของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้อาวุโส กษัตริย์แห่งอังกฤษ พระองค์มีพระโอรสให้ชาร์ลหนึ่งคน คือ อนาคตพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส

ชาร์ลมีคนโปรดที่ราชสำนักเป็นชายชื่อฮากาโน เรื่องนี้ทำให้ขุนนางหันมาต่อต้านชาร์ล พระองค์มอบอารามมากมายที่เคยเป็นของบารอนคนอื่นให้ฮากาโน ทำให้บารอนเหล่านั้นโกรธ ชาร์ลยังทำให้ดยุคคนใหม่ จิลแบต์ ต่อต้านพระองค์หันไปสนับสนุนกษัตริย์เยอรมัน พระเจ้าเฮนรีผู้เป็นพรานล่านก ในปี ค.ศ. 919[7] แต่ใช่ว่าทุกคนในโลธาริงเกียจะต่อต้านชาร์ล วิเกอริชยังคงสนับสนุนพระองค์

การปฏิวัติของขุนนาง

สุดท้ายขุนนางก็ยึดอำนาจชาร์ลในปี ค.ศ. 920[10] พวกขุนนางเบื่อหน่ายการเมืองการปกครองและความโปรดปรานเคานต์ฮากาโนของชาร์ล[10] แต่หลังการเจรจาข้อตกลงโดยอาร์ชบิชอปแอร์วิอุสแห่งแร็งส์ กษัตริย์ได้รับการปล่อยตัว[10] ในปี ค.ศ. 922 กลุ่มขุนนางแฟรงก์ก่อปฏิวัติอีกครั้งนำโดยรอแบต์แห่งนูสเตรีย[10] พระอนุชาของพระเจ้าโอโด กลุ่มกบฏเลือกรอแบต์เป็นกษัตริย์ ชาร์ลต้องหนีไปโลธาริงเกีย ในวันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ. 922 ชาร์ลเสียผู้สนับสนุนที่ภักดีที่สุด แอร์เวอุสแห่งแร็งส์ ไป ชาร์ลกลับมาพร้อมกับกองทัพนอร์มันในปี ค.ศ. 923 แต่ต่อมาพ่ายแพ้ในวันที่ 15 มิถุนายน ใกล้กับซวยส์ซงส์ รอแบต์สิ้นพระชนม์ในสนามรบ[7] ชาร์ลถูกจับกุมตัวและจองจำในปราสาทที่เปโรนภายใต้การเฝ้าดูของแอร์แบต์ที่ 2 แห่งแวร์ม็องดัวส์[11] พระมเหสีชาวอังกฤษของชาร์ล อีดจิฟู กับพระโอรส หลุยส์ หนีไปอังกฤษ[12] บุตรเขยของรอแบต์ รูดอล์ฟแห่งเบอร์กันดี ได้รับเลือกให้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระองค์[13] ในปี ค.ศ. 925 โลธาริงเกียกลายเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรเยอรมนี ชาร์ลสิ้นพระชนม์ในวันที่ 7 ตุลาคม ค.ศ. 929 และถูกฝังใกล้ กับวิหารแซ็งต์-เฟอร์ซี พระโอรสคนเดียวของพระองค์ที่มีกับอีดจิฟูต่อมาจะได้รับการสวมมงกุฎในปี ค.ศ. 936 เป็นพระเจ้าหลุยส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส[12]

ครอบครัว

ชาร์ลแต่งงานครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 907 กับเฟรเดรุน พระธิดาของดีทริช เคานต์ในฮามาแลนด์[4] ทั้งคู่มีพระธิดาด้วยกันหกคน คือ

ในปี ค.ศ. 919 ชาร์ลแต่งงานครั้งที่สองกับอีดจิฟูแห่งเวสเซ็กซ์[4] ทั้งคู่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน คือ

ชาร์ลยังมีบุตรนอกกฎหมายอีกหลายคน ได้แก่

  • อาร์นูล์ฟ[4]
  • โดรโก[4]
  • รอริซ บิชอปแห่งล็อง[4]
  • อัลเปซ์ แต่งงานกับอีร์เลอโบลด์ เคานต์แห่งลมม์กู[4]

อ้างอิง

  1. Michel Parisse, "Lotharingia", The New Cambridge Medieval History, III: c. 900–c. 1024, ed. Timothy Reuter (Cambridge: Cambridge University Press, 2005), 313–15.
  2. Genealogiæ Comitum Flandriæ, Witgeri Genealogica Arnulfi Comitis MGH SS IX, p. 303.
  3. Matilda's mother Reinhild or Reginlind was probably sister of Frederuna. Settipani (1993), p. 325 footnote 324.
  4. 4.00 4.01 4.02 4.03 4.04 4.05 4.06 4.07 4.08 4.09 4.10 4.11 4.12 Detlev Schwennicke, Europäische Stammtafeln: Stammtafeln zur Geschichte der Europäischen Staaten, Neue Folge, Band II (Marburg, Germany: J. A. Stargardt, 1984), Tafel 1
  5. The Annals of Flodoard of Reims, 9919–966, ed. & trans. Steven Fanning; Bernard S. Bachrach (Toronto: University of Toronto Press, 2011), p. xv
  6. Pierre Riché, The Carolingians; A Family who Forged Europe, trans. Michael Idomir Allen (Philadelphia: University of Pennsylvania Press, 1993), p. 216
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Michel Parisse, "Lotharingia", The New Cambridge Medieval History, III: c. 900–c. 1024, ed. Timothy Reuter (Cambridge: Cambridge University Press, 2005), 313–15.
  8. Cambridge Medieval History, Vol. III—Germany and the Western Empire, eds. H. M. Gwatking; J. P. Whitney, et al. (New York: The Macmillan Company, 1922), p. 74
  9. Genealogiæ Comitum Flandriæ, Witgeri Genealogica Arnulfi Comitis MGH SS IX, p. 303.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 Pierre Riché, The Carolingians; A Family who Forged Europe, trans. Michael Idomir Allen (Philadelphia: University of Pennsylvania Press, 1993), p. 250
  11. Jean Dunbabin, "West Francia: The Kingdom", The New Cambridge Medieval History, III: c. 900–c. 1024, ed. Timothy Reuter (Cambridge: Cambridge University Press, 2005), 378–79.
  12. 12.0 12.1 The Annals of Flodoard of Reims, 9919–966, ed. & trans. Steven Fanning; Bernard S. Bachrach (Toronto: University of Toronto Press, 2011), p. xvii
  13. The Annals of Flodoard of Reims, 9919–966, ed. & trans. Steven Fanning; Bernard S. Bachrach (Toronto: University of Toronto Press, 2011), p. xvi
  14. Orderic Vitalis, The Ecclesiastical History of Oderic Vitalis, ed. Marjorie Chibnall, Volume II, Books III And IV (Oxford: The Clarendon Press, 1993), p. 9

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!