พรชัย มาตังคสมบัติ


พรชัย มาตังคสมบัติ

เกิด15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2483 (84 ปี)
สัญชาติไทย
มีชื่อเสียงจากอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
คู่สมรสรศ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ
บุตรรศ.ทพญ.ดร.อรนาฏ มาตังคสมบัติ และ รศ.พญ.ดร.พรพรรณ มาตังคสมบัติ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ พรชัย มาตังคสมบัติ เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2483 ที่กรุงเทพมหานคร สมรสกับ รศ.ดร.อรพรรณ มาตังคสมบัติ มีธิดา 2 คน คือ รศ.ทพญ.ดร.อรนาฏ มาตังคสมบัติ และ รศ.พญ.ดร.พรพรรณ มาตังคสมบัติ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติ หรือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ดร.พรชัย มาตังคสมบัติ เป็นผู้มีความมุ่งมั่นและให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบการศึกษาวิทยาศาสตร์ของประเทศ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากรสายวิทยาศาสตร์อย่างครบวงจร การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และกระบวนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับประเทศ รวมทั้งการสร้างเครือข่ายภายในประเทศและต่างประเทศทั้งระดับภูมิภาคและทั่วโลก เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนามหาวิทยาลัย ระหว่างดำรงตำแหน่งอธิการบดี ได้ทำให้มหาวิทยาลัยมหิดลพัฒนาขึ้นเป็นอย่างมาก จึงได้รับความไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีเป็นวาระที่สอง ไม่นานมานี้ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พรชัย มาตังคสมบัติได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ปาล์มส์อะกาเดมิกส์ ชั้นอัศวิน (Commandeur dans l’Ordre des Palmes Academiques) ในฐานะผู้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการและทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศฝรั่งเศส

ขณะเดียวกัน มหาวิทยาลัยมหิดลก็ได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณประเภทธุรกิจบริการดีเด่นกลุ่มการศึกษานานาชาติ ปี 2549 (Prime Minister’s Export Award 2006) จากนายกรัฐมนตรี เพื่อประกาศเกียรติคุณมหาวิทยาลัยในฐานะที่ได้รับความนิยมจากชาวต่างประเทศมากที่สุด ในพิธีประกาศเกียรติคุณและมอบรางวัล เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2549 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยมหิดลในยุคสมัยของท่านได้รับการจัดอันดับจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) แห่งชาติให้เป็นมหาวิทยาลัยดีเลิศอันดับ 1 ของไทยทั้งด้านการเรียนการสอนและการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ภายในประเทศทั้งหมด

ประวัติการศึกษา

ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งในสมาคมและองค์กรต่าง ๆ

  • พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน - กรรมการสภามหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2531-2534 - รองประธานสภาคณาจารย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2527-2545 - กรรมการนโยบายศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2528-2536 - ประธานกรรมการพิจารณาทุนวิจัยปริญญาโทและเอก ศูนย์พันธุวิศวกรรมแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2528-2530, 2534, 2546-2547 - ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
  • พ.ศ. 2529-ปัจจุบัน - ประธานกรรมการสาขาเทคโนโลยีชีวภาพในโครงการร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น (NRCT-JSPS)
  • พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน - ประธานกรรมการสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ในโครงการร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น (NRCT-JSPS)
  • พ.ศ. 2532-2540 - ประธานกรรมการหลักสูตร สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร ทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2532-2540 - กรรมการประสานงานสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ทบวงมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2529-2545 - กรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต (ผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย)
  • พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน - กรรมการสภามหาวิทยาลัยรังสิต
  • พ.ศ. 2542-2547 - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สภาสถาบันราชภัฏ
  • พ.ศ. 2546-2547 - นายกสภาประจำสถาบันราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • พ.ศ. 2530-2545 - กรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พ.ศ. 2545-ปัจจุบัน - ประธานกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พ.ศ. 2525-2540 - กรรมการโครงการร่วมมือไทย-สหราชอาณาจักรฯ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
  • พ.ศ. 2521-2530 - ผู้ร่วมริเริ่มและกรรมการบริหารโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท
  • พ.ศ. 2536-ปัจจุบัน - กรรมการสภาสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
  • พ.ศ. 2538-ปัจจุบัน - กรรมการมูลนิธิจุฬาภรณ์
  • พ.ศ. 2538-2539 - ประธานที่ประชุมคณบดีคณะวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย
  • พ.ศ. 2540 - กรรมการที่ปรึกษา International Congress on Melioidosis
  • พ.ศ. 2541-2542 - กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ก.ม
  • พ.ศ. 2542-ปัจจุบัน - กรรมการบริหาร มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล
  • พ.ศ. 2543-2547 - ประธาน ASAIHL ไทย (ส.อ.อ.)
  • พ.ศ. 2543-2545 - ประธาน ASAIHL
  • พ.ศ. 2544 - กรรมการสรรหา ป.ป.ช.
  • พ.ศ. 2544 - กรรมการสรรหา ก.ก.ต.
  • พ.ศ. 2545-2548 - ประธานคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  • พ.ศ. 2546-2547 - ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะทำงานปฏิรูประบบวิจัยแห่งชาติ (รองนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ คุณกิตติ เป็นประธาน)
  • พ.ศ. 2546-ปัจจุบัน - ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นประธาน)
  • พ.ศ. 2546-2547 - ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCEL)
  • พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน - ประธานกรรมการ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย (TCEL)
  • พ.ศ. 2548-2550 - รักษาการคณบดีคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • 26 กันยายน - 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - ที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฝ่ายการเสริมสร้างสมานฉันท์และความเป็นธรรมในสังคม
  • 11 ตุลาคม 2549 - 29 กุมภาพันธ์ 2551 - สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • 29 ตุลาคม 2549 - 29 มกราคม 2551 - ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒินายกรัฐมนตรี (พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์)

หน้าที่พิเศษเกี่ยวกับความร่วมมือระหว่างประเทศ

  • สมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ The Association of Southeast Asian Institutions of Higher Learning (ASAIHL)
    • ผู้แทนประเทศไทยในกรรมการบริหาร และเป็นประธาน ASAIHL
  • องค์การอนามัยโลก (WHO)
    • พ.ศ. 2515-ปัจจุบัน - Temporary Advisor ขององค์การอนามัยโลก ทางวิชาการอิมมูโนวิทยา ชีววิทยาการสืบพันธุ์ โรคติดเชื้อและการพัฒนาวัคซีน
    • พ.ศ. 2520 - WHO Short Term Consultant เพื่อช่วยประเทศศรีลังกา ตั้งคณะแพทยศาสตร์ที่ Peraniya
    • พ.ศ. 2517-ปัจจุบัน - WHO Expert Advisory Panel on Immunology
  • องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสหประชาติ (UNESCO)
    • พ.ศ. 2516-2522 - เลขาธิการข่ายงานจุลชีววิทยาภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ ขององค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมสหประชาติ (UNESCO)
    • พ.ศ. 2523-2524, 2528-2530 - ประธานกรรมการบริหารและประสานงานข่ายงานจุลชีววิทยาภูมิภาคเอเซียอาคเนย์
    • พ.ศ. 2517-ปัจจุบัน - กรรมการฝ่ายวิทยาศาสตร์ คณะกรรมการแห่งชาติของไทย สำหรับ UNESCO
  • องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมสหประชาชาติ (UNIDO)
    • พ.ศ. 2526 - ร่วมคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุมเพื่อจัดตั้งศูนย์นานาชาติสำหรับพันธุวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ที่นคร Belgrade
    • พ.ศ. 2527 - ร่วมคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุมเพื่อจัดตั้งศูนย์นานาชาติสำหรับพันธุวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ ที่นคร Madrid
    • พ.ศ. 2527 - เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนรัฐบาลไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรีเพื่อการจัดตั้ง ICGEB นคร VIENNA
  • องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO)
    • พ.ศ. 2529 - หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีชีวภาพที่นครเจนีวา
  • World Academy of Art and Science
    • พ.ศ. 2534-ปัจจุบัน - Biofocus Foundation Panel of Experts
  • สหพันธ์สมาคมจุลชีววิทยานานาชาติ (IUMS)
    • พ.ศ. 2529-2533 - รับเลือกตั้งเป็นกรรมการบริหารสหพันธ์สมาคมจุลชีววิทยานานาชาติ
    • พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน - กรรมการพัฒนาการเรียนการสอนจุลชีววิทยานานาชาติ
  • สหพันธุ์สมาคมอิมมูโนวิทยานานาชาติ (IUIS)
    • พ.ศ. 2529-2540 - กรรมการพัฒนาการเรียนการสอนอิมมูโนวิทยานานาชาติ
  • โครงการร่วมมือวิจัย และพัฒนากับต่างประเทศ
    • ประธานกรรมการสาขาเทคโนโลยีชีวภาพ สำนักคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติในโครงการร่วมมือกับญี่ปุ่น (NRCT-JSPS)
    • พ.ศ. 2530-2538 - กรรมการประสานงานโครงการร่วมมือไทย-สหราชอาณาจักรฯ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (NRCT-Royal Society of London)
    • พ.ศ. 2530-2536 - ผู้อำนวยการโครงการร่วมมือเทคโนโลยีชีวภาพที่เกี่ยวกับอิมมูโนวิทยา ทบวงมหาวิทยาลัย และองค์การพัฒนานานาชาติของแคนาดา (CIDA)

เกียรติคุณและรางวัล

  • พ.ศ. 2511 - Borden Research Award in Medicine สหรัฐอเมริกา
  • พ.ศ. 2517 - SEMEO/TROPMED Visiting Professor จาก University of Saigon
  • พ.ศ. 2518 - Honorary Research Associate จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
  • พ.ศ. 2532-2533 - ศาสตราจารย์อาคันตุกะ ของมหาวิทยาลัยโอซาก้า
  • พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน - Fellow, International Institute of Biotechnology (U.K.)
  • พ.ศ. 2543 - รางวัลนักเรียนทุนรัฐบาลไทยดีเด่น จากสำนักงาน ก.พ.
  • พ.ศ. 2545 - รับพระราชทานรางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้แก่สถาบันราชภัฏ จากสภาสถาบันราชภัฏ
  • พ.ศ. 2545 - รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • พ.ศ. 2548 - นักวิทยาศาสตร์อาวุโส ประจำปี 2548 ของสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์พ
  • พ.ศ. 2551 -รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ให้กระทรวงศึกษาธิการ
  • พ.ศ. 2564 -รับพระราชทานโล่รางวัลผู้ทำคุณประโยชน์ต่อ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ฯ (สสวท) ในวโรกาสก่อตั้ง สสวท ครบ 50ปี

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

ไทย

ต่างประเทศ

  •  ฝรั่งเศส : พ.ศ. 2548 - อิสริยาภรณ์ปาล์มส์อะกาเดมิกส์ ชั้นอัศวิน (Commandeur dans l’Ordre des Palmes Academiques)[5]

ผลงานวิชาการ

  • ตีพิมพ์บทความวิจัยทางอิมมูโนวิทยาในวารสารนานาชาติหลายสิบเรื่อง (เฉพาะที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature 2 เรื่อง)
  • รับเชิญให้เขียน Chapter ในหนังสือตำราทางวิชาการต่างประเทศ เกี่ยวกับอิมมูโนวิทยาของ Malignant Lymphoma ภูมิตอบสนองด้านเซลล์ต่อทารกในหญิงตั้งครรภ์ อิมมูโนวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการคุมกำเนิด Diagnostic Immunology การศึกษา T Cells ในผู้ป่วยวัณโรค และการวิจัยการใช้ยาต้านจุลชีพในประเทศไทย
  • รับเชิญเป็นประธาน หรือ invited speaker ใน International Congresses ทางอิมมูโนวิทยาและจุลชีววิทยา
  • ร่วมจัด หรือเป็นประธานการจัดประชุมวิชาการนานาชาติที่ไทยเป็นเจ้าภาพ

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2014-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๓ ตอนที่ ๒๒ ข หน้า ๕, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๙
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๒๐๘ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๙, ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๓๔
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เก็บถาวร 2011-11-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๙ ข หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๔๗
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๑๑ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๕๘๙, ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องอิสริยาภรณ์ต่างประเทศ, เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๒๐ ข หน้า ๓, ๒๗ ตุลาคม ๒๕๔๙

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!