ในชื่อซึ่งตั้งตามธรรมเนียม
ภาษากลุ่มสลาฟตะวันออกนี้ นามสกุลที่แปลงมาจากชื่อบิดาคือ
นีโคลาเยวิช ส่วนนามสกุลของตระกูลคือ
วรานเกล
บารอน ปิออตร์ นีโคลาเยวิช วรานเกล (รัสเซีย: Пётр Николаевич Врангель; เยอรมัน: Peter von Wrangel; 27 สิงหาคม [ตามปฎิทินเก่า: 15 สิงหาคม] ค.ศ. 1878 – 25 เมษายน ค.ศ. 1928) หรือที่รู้จักกันในฉายา บารอนทมิฬ เป็นนายทหารชาวรัสเซียเชื้อสายเยอรมันบอลติกสังกัดกองทัพจักรวรรดิรัสเซีย ในช่วงฉากสุดท้ายของสงครามกลางเมืองรัสเซีย เขาเป็นผู้บัญชาการฝ่ายกองทัพขาวต่อต้านบอลเชวิคในรัสเซียตอนใต้
ปิออตร์ วรานเกลเกิดในตระกูลขุนนางวรานเกลที่มีชื่อเสียง เขาได้รับการศึกษาในสาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่และเป็นหนึ่งในอาสาสมัครของกองทหารราชองค์รักษ์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขากลายเป็นทหารผู้โดดเด่นในฐานะผู้บัญชาการกองทหารม้าและได้รับการเลื่อนยศเป็นพลตรี ภายหลังการปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์และถอนตัวออกจากสงครามของรัสเซีย วรานเกลได้เกษียณตนเองที่ไครเมีย แต่เขาถูกบอลเชวิคจับกุมภายหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคม ซึ่งต่อมาเขาสามารถหลบหนีออกมาได้และเข้าร่วมกองทัพอาสาสมัครต่อต้านบอลเชวิคของขบวนการขาว ใน ค.ศ. 1918 เขาได้รับตำแหน่งนายทหารเสนาธิการประจำนายพลอันตอน เดนีกิน สังกัดกองทัพรัสเซียใต้
วรานเกลเป็นผู้สืบทอดตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองกำลังขาวในไครเมียต่อจากเดนีกินเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1920 ในฐานะที่เขาเป็นหัวหน้ารัฐบาลทหารแห่งรัสเซียใต้ เขาพยายามที่จะปฏิรูปที่ดินอย่างกว้างขวาง จัดระเบียบกองทัพขาวใหม่เป็นกองทัพรัสเซีย (ส่วนมากรู้จักกันในชื่อ "กองทัพวรานเกล") และสร้างความสัมพันธ์กับขบวนการอิสรภาพต่อต้านบอลเชวิค แม้ว่าขนาดของกองทัพวรานเกลจะมีขนาดใหญ่กว่ากองทัพแดงมาก แต่ก็เผชิญกับความพ่ายแพ้ วรานเกลจัดการอพยพผู้คนจำนวนมากออกจากไครเมียใน ค.ศ. 1920 ในช่วงแรกของการลี้ภัย เขาได้อยู่พำนักในคอนสแตนติโนเปิลและเซอร์เบีย และวรานเกลเริ่มกลายเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่ผู้อพยพขาว[1] ต่อมาเขาย้ายไปที่บรัสเซลส์ใน ค.ศ. 1927 และเสียชีวิตในปีต่อมา
บำเหน็จ
- Order of St. Anne 4th class, 4 July 1904
- Order of St. Stanislaus 3rd class, with swords and bow, 6 January 1906.
- Order of St. Anne 3rd degree, 9 May 1906
- Order of St. Stanislaus 2nd class, 6 December 1912
- Order of St. George, 4th class, 13 October 1914
- Order of St Vladimir, 4th class with swords and bow, 24 October 1914
- Golden Sword of St George "for courage", 10 June 1915
- Order of St Vladimir, 3rd class with swords, 8 December 1915
- Cross of St. George, 4th class, 24 July 1917
- Order of Saint Nicholas the Wonderworker, 2nd degree
อ้างอิง
แหล่งข้อมูล
- Lincoln, W. Bruce. Red Victory: A History of the Russian Civil War. New York, Simon and Schuster, 1989. ISBN 0-671-63166-7
- Luckett, Richard. The White Generals: An Account of the White Movement and the Russian Civil War. New York, Viking, 1971. ISBN 0-670-76265-2
- Robinson, P. (1999). "Always with Honour": The Code of the White Russian Officers. Canadian Slavonic Papers / Revue Canadienne Des Slavistes, 41(2), pp. 121-141. Retrieved 16 February 2020.
- Williams, H. (1928). General Wrangel. The Slavonic and East European Review, 7(19), pp. 198-204. Retrieved 16 February 2020.
- Wrangel, Alexis. General Wrangel - Russia's White Crusader, London, 1987 (reprint 1990) ISBN 0-85052-890-9
- Wrangel, Peter N. Always With Honour: Memoirs of General Wrangel. Robert Speller & Sons. New York. 1957 (Originally published in 1928).
- Wrangel, Peter N. Always With Honour: The Memoirs of General Wrangel, Mystery Grove Publishing. 2020 ISBN 979-8695956818
แหล่งข้อมูลอื่น
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Pyotr Nikolayevich Wrangel
หนังสืออ่านเพิ่ม