ปรัตยังคิรา (กุมภนิยาเทวี) |
---|
นรสิงหีประทับบนปรัตยคิรา |
ชื่ออื่น | นรสิงหิ, อาถรรพณะ, ภัทรกาลี, ปรัตยังกิรา , สิงหมุกขี |
---|
ชื่อในสันสกฤต | प्रत्यङ्गिरा |
---|
ส่วนเกี่ยวข้อง | มหาเทวี, จัณฑี, ทุรคา, เกาศิกี, มหาลักษมี, ลลิตา, กาลี |
---|
อาวุธ | ตรีศูล (อาวุธสามง่าม), บัณเฑาะว์ (กลองฑมรุ), กปาละ, ปาศะ (เชือก/เชือกขด) |
---|
พาหนะ | สิงห์ |
---|
คัมภีร์ | เทวีภควัตปุราณะ กาลิกา ปุราณะ อาถรรพ์พระเวท |
---|
คู่ครอง | พระวิษณุ หรือ นรสิงห์[1] |
---|
ปรัตยังคิรา (สันสกฤต: प्रत्यङ्गिरा, Pratyaṅgirā) คำไวพจน์เรียกอีกนามว่า อาถรรพณะ ภัทรกาลี, นรสิงหิ, สิงหมุกขี และ นิกุมภา เป็นเจ้าแม่ในศาสนาฮินดูที่เกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับนิกายศักติ พระนางถูกกล่าวถึงในฐานะพลังเป็นพละกำลังอำนาจและชายาของพระนรสิงห์[2][3] ตามคัมภีร์ตรีปุระรักษยะ พระนางคือพละกำลังอำนาจและเป็นภาคโกรธดุร้ายของพระแม่ตริปุรสุนทรี สำหรับในพระเวท, นางคือภาคหนึ่งของอาถรรพณะ ภัทรกาลี, เทวีแห่งอาถรรพ์เวท และ เวทมนตร์กลพระคาถาทั้งหลาย[4]พระนางเป็นหนึ่งในกลุ่มคณะเทวีสัปตมาตฤกาเทพมารดร
ในมหากาพย์ฮินดู
เจ้าแม่ปรัตยังคิรา มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งอันถูกกล่าวถึงในมหากาพย์ฮินดูรามายณะ อินทรชิต ซึ่งประกอบพิธี "นิกุมภิลายัญ" (พิธีการสักการะบูชาบวงสรวงสังเวยพลีกรรมอุทิศถวายแด่ จ้าวแม่นิกุมภิลา อันเป็นคำไวพจน์เรียกอีกนามของเจ้าแม่ปรัทยังกีร่า)[5] ในขณะที่พระรามและทหารยุทธโยธาของพระองค์กำลังทำการรบรณรงค์สงครามอยู่ในสนามรบนครลังกา หนุมานได้มาทำลายพิธีกรรมนี้ของอินทรชิต ด้วยเหตุที่ว่าหากอินทรชิตประกอบพิธีสำเร็จครบถ้วนตามตำราขนบประเพณีจะกลายเป็นอมตะและไม่มีผู้ใดหยุดยั้งเขาไว้ได้ และโดยทั่วไปพระนางถือว่าเป็นกุลเทวดา (เทพบรรพชน) ผู้รักษาตระกูลของทศกัณฐ์และนครลงกา[6]
ส่วนในรามเกียรติ์และโขนของไทยและเรียมเกร์ละโคนโขลของกัมพูชา ปรากฏนามของพระนางในนามของ กุมภนิยา อันเป็นพิธีกรรมบูชายัญของอินทรชิต แต่ไม่ปรากฏบทบาทของพระนางเช่นรามายณะต้นฉบับ แต่ยกบทบาทของเทพเจ้าฮินดูที่อินทรชิตทำพิธีการสักการะบูชายัญให้แก่ท้าวมหาพรหมธาดา อันเป็นมเหศักดิ์เทวราชแทน[7][8]
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น