ถนนสนามไชย (อักษรโรมัน: Thanon Sanam Chai) เป็นถนนสายหนึ่งในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เป็นถนนที่ตั้งของสถานที่สำคัญหลายแห่ง เช่น กระทรวงกลาโหม, กรมอัยการสูงสุด, พระบรมมหาราชวัง, พระราชวังสราญรมย์, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
ถนนสนามไชย มีจุดเริ่มต้นที่ถนนหน้าพระลานตัดกับถนนราชดำเนินใน ที่บริเวณแยกป้อมเผด็จ สิ้นสุดลงที่ถนนราชินี บริเวณปากคลองตลาด มีความยาวประมาณ 1.1 กิโลเมตร เดิมเป็นถนนที่มีชื่อเรียกว่า "ถนนหน้าจักรวรรดิวังหลวง" เป็นลักษณะเป็นลานกว้าง ๆ มีความสำคัญตั้งแต่ยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์เนื่องด้วยเป็นเส้นทางที่ใช้สำหรับพระราชพิธีหรือกระบวนแห่ต่าง ๆ โดยชื่อ "สนามไชย" มาจากท้องสนามไชย ซึ่งเป็นลานอยู่ข้างท้องสนามหลวง เป็นสถานที่ ๆ ให้ข้าราชบริพารตลอดจนประชาชนใช้สำหรับเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในแต่ละรัชกาล ครั้นทรงเสด็จออก ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท เนื่องในวโรกาสสำคัญต่าง ๆ [1] โดยชื่อถนนสนามไชย เป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อปี พ.ศ. 2398 ตามท้องสนามไชย ที่เคยปรากฏอยู่แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา[2]
ปัจจุบัน บริเวณโรงเรียนวัดราชบพิธ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือวัดโพธิ์ ที่ถนนสนามไชยตัดผ่าน ยังเป็นที่ตั้งของสถานีสนามไชย ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าใต้ดิน อันเป็นสถานีที่มีความสวยงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบไทย ด้วยการจำลองมาจากท้องพระโรงในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ด้วยแนวความคิดที่อิงกับประวัติศาสตร์ เนื่องด้วยตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองชั้นในหรือเกาะรัตนโกสินทร์ จึงได้ชื่อว่าเป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย[3]
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
- แผนที่และภาพถ่ายทางอากาศของ ถนนสนามไชย
13°44′51″N 100°29′39″E / 13.747636°N 100.494155°E / 13.747636; 100.494155
|
---|
แขวง | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | ย่าน | |
---|
คมนาคม | |
---|
การท่องเที่ยว | |
---|
ธุรกิจ | |
---|
|
---|
สังคม | การศึกษา | สถานศึกษา | |
---|
พิพิธภัณฑ์ | |
---|
หอสมุด | |
---|
|
---|
วัฒนธรรม | |
---|
ราชการ | |
---|
|
---|
|