ดิสนีย์แอนิมอลคิงดอม
ดิสนีย์แอนิมอลคิงดอม (อังกฤษ: Disney's Animal Kingdom) เป็นสวนสนุกสัตว์ที่วอลต์ดิสนีย์เวิลด์รีสอร์ตในเบย์เลก รัฐฟลอริดา เป็นเจ้าของและดำเนินการโดยบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ผ่านบริษัทดิสนีย์เอ็กซ์พีเรียนส์ ซึ่งเป็นสวนสนุกที่ใหญ่ที่สุดในโลกครอบคลุมพื่นที่กว่า 580 เอเคอร์ (2,347,177 ตารางเมตร)[2][3][4][5] สวนสนุกเปิดให้บริการครั้งแรกในวันคุ้มครองโลก เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2541 เป็นสวนสนุกที่สร้างขึ้นแห่งที่ 4 ของวอลต์ดิสนีย์เวิลด์รีสอร์ต โดยเป็นสวนสนุกในรูปแบบของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและการอนุรักษ์สัตว์ป่า ซึ่งเป็นปรัชญาที่คิดขึ้นโดย วอลต์ ดิสนีย์เอง[6]
สถานที่และสัญลักษณ์ที่สำคัญของดิสนีย์แอนิมอลคิงดอมคือ ทรีออฟไลฟ์ เป็นต้นไม้จำลองที่มีความสูง 145 ฟุต (44 เมตร) กว้าง 50 ฟุต (15 เมตร)
แผนผังสวนสนุกและเครื่องเล่น
ดิสนีย์แอนิมอลคิงดอมแบ่งออกเป็น 7 ธีมต่าง ๆ แม่น้ำดิสคัฟเวอรีของสวนสนุกจะแยกเกาะดิสคัฟเวอรีออกจากดินแดนอื่น ๆ สวนสนุกแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ประมาณ 2,000 ตัวจากประมาณ 200 สายพันธุ์[7]
โอเอซิส
โอเอซิส (Oasis) เป็นศูนย์โลจิสติกส์ของสวนสนุกคล้ายกับกับเมนสตรีท ยูเอสเอ และเปลี่ยนจากทางเข้าสวนสนุกไปสู่โลกแห่งสัตว์ต่าง ๆ ทางเดินหลักมีการจัดแสดงสัตว์ต่าง ๆ รวมถึงพืชพรรณและต้นไม้หนาแน่นที่ทอดลึกเข้าไปในสวนสนุกแล้วต่อไปยังเกาะดิสคัฟเวอรี ระหว่างลานจอดรถและโอเอซิสมีเรนฟอเรสต์คาเฟ่ ซึ่งสามารถเข้าได้ทั้งจากภายในและภายนอกบริเวณที่จำหน่ายตั๋ว[8]
ดิสคัฟเวอรีไอแลนด์
ดิสคัฟเวอรีไอแลนด์ (Discovery Island) ตั้งอยู่ที่ใจกลางสวนสนุกและเป็นเกาะภายในทางน้ำแม่น้ำดิสคัฟเวอรีของสวนสนุก ทำหน้าที่เป็น "ศูนย์กลาง" ที่เชื่อมส่วนอื่น ๆ ของสวนสนุกด้วยสะพาน ยกเว้นราฟิกิส์แพลนเน็ตวอตช์ เดิมเรียกว่าซาฟารีวิลเลจ เนื่องจากดิสคัฟเวอรีไอแลนด์เป็นชื่อของสวนสัตว์ขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเบย์เลกของวอลต์ดิสนีย์เวิลด์ และได้เปลี่ยนชื่อตามพื้นที่นั้น ซึ่งปิดใน ค.ศ. 1999
ทรีออฟไลฟ์ หรือต้นไม้แห่งชีวิตซึ่งเป็นต้นเบาบับที่มนุษย์สร้างขึ้นโดยแกะสลักไว้ในสวนสนุก ตั้งอยู่ในส่วนนี้ และล้อมรอบด้วยทางเดินและกรงสำหรับสัตว์ ภายในโรงละครทรีออฟไลฟ์ คือ It's Tough to Be a Bug! ซึ่งเป็นภาพยนตร์ 4 มิติที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์แอนิเมชันของดิสนีย์และพิกซาร์จากเรื่อง ตัวบั๊กส์ หัวใจไม่บั๊กส์ ในปี ค.ศ. 1998 ร้านขายของที่ระลึกที่ใหญ่ที่สุดในสวนสนุกและร้านอาหารหลักสองแห่งก็ตั้งอยู่บนดิสคัฟเวอรีไอแลนด์[9]
แพนดอรา – เดอะเวิลด์ออฟอวตาร
แพนดอรา – เดอะเวิลด์ออฟอวตาร (Pandora – The World of Avatar) มีรูปแบบมาจากดวงจันทร์ที่สามารถอาศัยได้ แพนดอรา จากภาพยนตร์เรื่อง อวตาร ของเจมส์ แคเมรอน และเป็นการทุ่มเทให้กับสัตว์และพืชต่างดาวมากมายที่อาศัยอยู่ในนั้น เครื่องเล่นที่สำคัญคือ อวตารไฟต์ออฟพาสเซจ (Avatar Flight of Passage) ซึ่งเป็นเครื่องจำลองการบินสามมิติที่น่าตื่นเต้นที่ให้ผู้เล่นได้บินบนแบนชีข้ามภูมิประเทศแพนดอรัน[10] เครื่องเล่นอีกแห่งหนึ่งคือ นาวีริเวอร์จอร์นีย์ (Na'vi River Journey) โดยให้ผู้เล่นนั่งเรือดาร์กไรด์ผ่านป่าฝนที่เรืองแสงของแพนดอรา[11][12] พื้นที่เปิดเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2017[13][14]
แอฟริกา
แอฟริกา (Africa) เป็นหนึ่งในพื้นที่ดั้งเดิมของสวนสนุก บริเวณนี้ตั้งอยู่ในหมู่บ้านท่าเรือฮารัมเบของแอฟริกาตะวันออก ซึ่งจัดแสดงนิทรรศการสัตว์ต่าง ๆ ตัวอย่างบางส่วนจากแอฟริกาที่จินตวิศวกรรมของดิสนีย์ทำ ได้แก่ ป้อมปราการที่พบในแซนซิบาร์ และอาคารเก่าที่พังทลายโดยน้ำซึ่งพบในเคนยา ฮารัมเบประกอบด้วย "โรงแรม" ร้านอาหาร บาร์กลางแจ้งพร้อมความบันเทิงสด และตลาดต่าง ๆ
หมู่บ้านนี้เป็นชื่อเดียวกับเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าฮารัมเบ ซึ่งเป็นที่ตั้งของแหล่งท่องเที่ยวหลักของพื้นที่ นั่นคือ คิลิมันจาโรซาฟารี ผู้เล่นจะปีนขึ้นไปบนรถซาฟารีแบบเปิดเพื่อสำรวจสัตว์สายพันธุ์แอฟริกันในพื้นที่ปิดล้อมขนาดใหญ่หลายแห่ง จำลองแบบของทุ่งหญ้าสะวันนา แม่น้ำ และเนินหินของแอฟริกา ซาฟารีประกอบด้วยโอคาพี กูดูใหญ่ นกกระสาปากอานม้า บองโก แรดดำและขาว ฮิปโปโปเตมัส นกกระทุงหลังสีชมพู จระเข้แม่น้ำไนล์ ยีราฟมาไซ วิลเดอบีสต์เคราขาว สปริงบ็อก วัวแองโกล อีแลนด์ธรรมดา ละมั่งเซเบิล และช้างพุ่มไม้แอฟริกา
บนเส้นทางสำรวจน้ำตกกอริลลาที่อยู่ติดกัน นักท่องเที่ยวจะเดินเข้าไปในป่าเพื่อดูสัตว์ต่าง ๆ เช่น กอริลลาที่ราบลุ่มตะวันตก ลิงโคโลบัสขาวดำ โอคาพี เกรินุก ดุยเกอร์หลังเหลือง ฮิปโปโปเตมัสแคระ ม้าลายเกรวี เมียร์แคตแอฟริกาใต้ งูเหลือมทรายเคนยา โคริอีแรต ตุ่นหนูไร้ขน ทารันทูล่า และกรงนกขนาดใหญ่[15] ทางฝั่งตะวันตกของพื้นที่แอฟริกาคือโรงละครฮารัมเบ ซึ่งเป็นที่แสดงของเฟสติวัลออฟเดอะไลออนคิง (Festival of the Lion King) การแสดงสดบนเวทีที่สร้างจากภาพยนตร์แอนิเมชันของดิสนีย์ในปี ค.ศ. 1994 เรื่อง เดอะไลอ้อนคิง
ราฟิกิส์แพลนเน็ตวอตช์
ราฟิกิส์แพลนเน็ตวอตช์ (Rafiki's Planet Watch) เป็นเพียงส่วนเดียวของสวนสนุกที่ไม่เชื่อมต่อกับดิสคัฟเวอรีไอแลนด์; โดยจะเชื่อมต่อกับแอฟริกาเท่านั้น นักท่องเที่ยวจะได้ขึ้นรถไฟไวด์ไลฟ์เอ็กซ์เพรส ขนาด 3 ฟุต (914 มม.) สำหรับการเดินทางระยะสั้นไปและกลับจากพื้นที่ ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ย่อย 3 แห่ง
นักท่องเที่ยวจะได้พบกับ Habitat Habit! เป็นครั้งแรก ซึ่งมีตัวคอตตอนทอปทามารินด้วย
สถานีอนุรักษ์จัดแสดงความพยายามในการอนุรักษ์ต่าง ๆ ที่สนับสนุนโดยบริษัทวอลต์ดิสนีย์ นอกจากนี้ยังให้ข้อมูลเชิงลึกเบื้องหลังศูนย์ดูแลสัตว์ของดิสนีย์แอนิมอลคิงดอม รวมถึงห้องตรวจสัตวแพทย์พร้อมระบบสื่อสารสองทางเพื่อให้เจ้าหน้าที่สัตวแพทย์สามารถตอบคำถามของนักท่องเที่ยวได้
ภายนอก ส่วน แอฟเฟกชันเซสชัน เป็นสวนสัตว์ที่สามารถจับได้ซึ่งจะมีแพะ แกะ วัว หมูบ้าน ลา และอัลปากา
พื้นที่นี้ยังรวมถึงสถานีอนุรักษ์ประสบการณ์แอนิเมชั่นด้วย[16][17]
เอเชีย
เอเชีย (Asia) เป็นพื้นที่ขยายแห่งแรกที่ถูกเพิ่มเข้าไปในดิสนีย์แอนิมอลคิงดอม เปิดในปี ค.ศ. 1999 พื้นที่นี้ตั้งอยู่ในอาณาจักรสมมุติ 'อนันดาพูร์' ซึ่งแปลว่า "สถานที่แห่งความรื่นรมย์มากมาย" ในภาษาสันสกฤต อนันดาพูร์ทำให้นึกถึงคุณลักษณะของประเทศกัมพูชา อินเดีย อินโดนีเซีย มองโกเลีย เนปาล และไทย ตามประวัติศาสตร์ของดิสนีย์ อนันดาพูร์ก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นเขตอนุรักษ์ล่าสัตว์ของราชวงศ์ในปี ค.ศ. 1544 ในเอเชียมีทั้งหมู่บ้านริมแม่น้ำอนันดาพูร์และเซอร์กาซอง ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเทือกเขาหิมาลัย
จุดโฟกัสที่มองเห็นได้ของเอเชียคือ เอ็กซ์เพนดิชันเอเวอเรสต์ (Expedition Everest) รถไฟเหาะตีลังกาที่ทำจากเหล็ก บริเวณใกล้กับแม่น้ำมีเครื่องเล่น แก่งแม่น้ำกาลี (Kali River Rapids) เป็นการล่องแก่งในแม่น้ำ เส้นทางเดินป่ามหาราชา (Maharajah Jungle Trek) นำนักท่องเที่ยวสำรวจผ่านป่าและซากปรักหักพังนอกหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์นานาพันธุ์ เช่น วัวแดง ห่านหัวลาย เสือโคร่งสุมาตรา นกแบล็กบักอินเดีย อุรังอุตังสุมาตรา ละองละมั่ง ชะนีมือขาว ค้างคาวผลไม้อินเดีย มังกรโกโมโด และนกมากกว่า 50 สายพันธุ์[18] เฟตเธอร์เฟรนด์อินไฟต์ (Feathered Friends in Flight) เป็นการแสดงสดของนกสายพันธ์ต่าง ๆ เช่น นกกระเรียนมงกุฎดำ และอินทรีหัวขาว
ไดโนแลนด์ ยูเอสเอ
ไดโนแลนด์ ยูเอสเอ (DinoLand U.S.A.) มีรูปแบบเกี่ยวกับไดโนเสาร์และสิ่งมีชีวิตยุคก่อนประวัติศาสตร์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว บริเวณนี้เป็นที่ตั้งของสถาบันไดโน เป็นสถานที่จำลองเกี่ยวกับบรรพชีวินวิทยา ซึ่งเป็นที่ตั้งของไดโนเสาร์ เครื่องเล่นสุดหวาดเสียวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์แอนิเมชันในชื่อเดียวกันของดิสนีย์ปี ค.ศ. 2000 เป็นการเดินทางข้ามเวลาไปสู่ยุคครีเทเชียสตอนปลาย ด้านนอกสถาบันมี "ไดโน-ซู" เป็นการหล่อซากดึกดำบรรพ์ไทแรนโนซอรัสเร็กซ์ที่สมบูรณ์ที่สุดเท่าที่พบมา ที่โบนยาร์ดในบริเวณใกล้เคียง มีพื้นที่สนามเด็กเล่นซึ่งมีฟอสซิลแมมมอธโคลัมเบียและโครงกระดูกหล่อของแบรคิโอซอรัส
ติดกับสถาบันและสิ่งอำนวยความสะดวกโดยรอบคือ เชสเตอร์แอนด์เฮสเตอร์ไดโน-รามา ชวนให้นึกถึงสถานที่ท่องเที่ยวริมถนนหลายแห่งที่ครั้งหนึ่งเคยกระจัดกระจายไปทั่วสหรัฐ พื้นที่นี้มีเครื่องเล่นม้าหมุนทางอากาศ ไทรเซร่าท็อปสปิน เกมงานรื่นเริง และร้านขายของที่ระลึก ที่ชายขอบด้านตะวันออกของไดโนแลนด์ ยูเอสเอ คือโรงละครในป่า เป็นที่จัดแสดง ฟายดิงนีโม: เดอะบิกบลูแอนด์บียอนด์ (Finding Nemo: The Big Blue...and Beyond!) การแสดงดนตรีบนเวทีที่สร้างจากเรื่องราวของภาพยนตร์แอนิเมชันของดิสนีย์และพิกซาร์ปี ค.ศ. 2003 เรื่อง นีโม...ปลาเล็ก หัวใจโต๊...โต
เช่นเดียวกับส่วนอื่น ๆ ของดิสนีย์แอนิมอลคิงดอม มีสัตว์ต่าง ๆ จัดแสดงอยู่ เช่น จระเข้อเมริกา ซีรีมาขาแดง นกกระสาอับดิม และเต่าน้ำตาลเอเชีย มีความเชื่อมโยงทางวิวัฒนาการกับยุคของไดโนเสาร์ เป็นสัตว์สายพันธุ์ที่มีชีวิตอยู่ตั้งแต่ยุคไดโนเสาร์และสามารถพบได้ตามเส้นทางครีเทเชียสพร้อมกับกลุ่มพืชมีโซโซอิก
นักท่องเที่ยว
ปี
|
จำนวนผู้เข้าชม
|
2013 |
10,198,000[19]
|
2014 |
10,402,000 [20]
|
2015 |
10,922,000[21]
|
2016 |
10,844,000 [22]
|
2017 |
12,500,000[23]
|
2018 |
13,750,000[24]
|
2019 |
13,888,000[25]
|
2020 |
4,166,000[26]
|
2021 |
7,194,000[27]
|
ใน ค.ศ. 2019 ดิสนีย์แอนิมอลคิงดอมเป็นสวนสนุกที่มีผู้เข้าชมมากเป็นอันดับ 6 ของโลก[25]
อ้างอิง
- ↑ "Disney's Animal Kingdom". wdwinfo.com. Werner Technologies, LLC. สืบค้นเมื่อ November 8, 2011.
- ↑ Eades, Mark (2017-08-30). "A former Disney Imagineer's guide to Disney's Animal Kingdom". OC Register. สืบค้นเมื่อ 2017-09-04.
- ↑ Kurt Snibbe (June 11, 2016). "A close-up look at Shanghai Disneyland: the newest Disney Park". Orange County Register. สืบค้นเมื่อ March 31, 2017.
- ↑ Kowalczik, Christopher; Kowalczik, Carol (2008). Simply Disney: Vacation Planning Made Easy 2008. Lulu Publishing. p. 107. ISBN 9781435710054. สืบค้นเมื่อ March 22, 2016.
- ↑ Robert Niles (May 26, 2013). "Disney's Animal Kingdom at Walt Disney World". สืบค้นเมื่อ March 22, 2016.
- ↑ "Environmentality: Disney and the Environment". The Walt Disney Company. สืบค้นเมื่อ October 25, 2008.
- ↑ Beach, Lisa (June 15, 2020). "How Walt Disney World Is Caring for Its 10,000 Animals While Parks Are Closed". Conde Naste Traveller.
- ↑ "Rainforest Cafe® at Disney's Animal Kingdom". Disney.go.com. สืบค้นเมื่อ March 2, 2017.
- ↑ The Imagineers (May 22, 2007). The Imagineering Field Guide to Disney's Animal Kingdom at Walt Disney World. Disney Editions. ISBN 978-1-4231-0320-2.
- ↑ Graser, Marc (December 10, 2014). "'Avatar' Ride Coming to Life at Disney's Animal Kingdom". Variety. สืบค้นเมื่อ August 14, 2015.
- ↑ Martens, Todd (August 15, 2015). "Disney reveals plans for 'Toy Story Land' and 'Avatar' and more 'Star Wars'". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ August 16, 2015.
- ↑ Graser, Marc (February 26, 2015). "Disney 'Pushing Boundaries' with 'Avatar' Land at Animal Kingdom Theme Park". Variety. สืบค้นเมื่อ August 14, 2015.
- ↑ Smith, Thomas (February 7, 2017). "Just Announced: Pandora – The World of Avatar Will Open May 27 at Disney's Animal Kingdom". Disney Parks Blog. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-10. สืบค้นเมื่อ February 7, 2017.
- ↑ "Pandora – The World of Avatar to Open May 27, Star Wars Lands Coming in 2019 - The Walt Disney Company". The Walt Disney Company. February 7, 2017. สืบค้นเมื่อ February 8, 2017.
- ↑ "Gorilla Falls Exploration Trail". Walt Disney World. สืบค้นเมื่อ 25 April 2020.
- ↑ Bevil, Dewayne. "Disney's Animal Kingdom: Rafiki's Planet Watch is reprieved". Orlando Sentiel.
- ↑ Terrell, Scott (19 March 2019). "Rafiki's Planet Watch Reopens this Summer at Disney's Animal Kingdom". Disney Parks Blog. Disney. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-01. สืบค้นเมื่อ 19 June 2019.
- ↑ "Maharajah Jungle Trek". www.disneyworld.eu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-03-14.
- ↑ "TEA/AECOM 2013 Global Attractions Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ June 6, 2014. สืบค้นเมื่อ June 6, 2014.
- ↑ Rubin, Judith; Au, Tsz Yin (Gigi); Chang, Beth; Cheu, Linda; Elsea, Daniel; LaClair, Kathleen; Lock, Jodie; Linford, Sarah; Miller, Erik; Nevin, Jennie; Papamichael, Margreet; Pincus, Jeff; Robinett, John; Sands, Brian; Selby, Will; Timmins, Matt; Ventura, Feliz; Yoshii, Chris. "TEA/AECOM 2014 Theme Index & Museum Index: The Global Attractions Attendance Report" (PDF). aecom.com. Themed Entertainment Association (TEA). สืบค้นเมื่อ June 4, 2015.
- ↑ "TEA/AECOM 2015 Global Attractions Attendance Report Report" (PDF). Themed Entertainment Association. 2016. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-06-18. สืบค้นเมื่อ June 3, 2016.
- ↑ Au, Tsz Yin (Gigi); Chang, Bet; Chen, Bryan; Cheu, Linda; Fischer, Lucia; Hoffman, Marina; Kondaurova, Olga; LaClair, Kathleen; Li, Shaojin; Linford, Sarah; Marling, George; Miller, Erik; Nevin, Jennie; Papamichael, Margreet; Robinett, John; Rubin, Judith; Sands, Brian; Selby, William; Timmins, Matt; Ventura, Feliz; Yoshii, Chris (June 1, 2017). "TEA/AECOM 2016 Theme Index & Museum Index: Global Attractions Attendance Report" (PDF). aecom.com. Themed Entertainment Association. สืบค้นเมื่อ July 26, 2017.
- ↑ Au, Tsz Yin (Gigi); Chang, Bet; Chen, Bryan; Cheu, Linda; Fischer, Lucia; Hoffman, Marina; Kondaurova, Olga; LaClair, Kathleen; Li, Shaojin; Linford, Sarah; Marling, George; Miller, Erik; Nevin, Jennie; Papamichael, Margreet; Robinett, John; Rubin, Judith; Sands, Brian; Selby, William; Timmins, Matt; Ventura, Feliz; Yoshii, Chris (May 17, 2018). "TEA/AECOM 2017 Theme Index & Museum Index: Global Attractions Attendance Report" (PDF). teaconnect.org. Themed Entertainment Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-06-02. สืบค้นเมื่อ May 17, 2018.
- ↑ Au, Tsz Yin (Gigi); Chang, Bet; Chen, Bryan; Cheu, Linda; Fischer, Lucia; Hoffman, Marina; Kondaurova, Olga; LaClair, Kathleen; Li, Shaojin; Linford, Sarah; Marling, George; Miller, Erik; Nevin, Jennie; Papamichael, Margreet; Robinett, John; Rubin, Judith; Sands, Brian; Selby, William; Timmins, Matt; Ventura, Feliz; Yoshii, Chris (May 22, 2019). "TEA/AECOM 2018 Theme Index & Museum Index: Global Attractions Attendance Report" (PDF). teaconnect.org. Themed Entertainment Association. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ May 23, 2019. สืบค้นเมื่อ May 24, 2019.
- ↑ 25.0 25.1 Au, Tsz Yin (Gigi); Chang, Bet; Chen, Bryan; Cheu, Linda; Fischer, Lucia; Hoffman, Marina; Kondaurova, Olga; LaClair, Kathleen; Li, Shaojin; Linford, Sarah; Marling, George; Miller, Erik; Nevin, Jennie; Papamichael, Margreet; Robinett, John; Rubin, Judith; Sands, Brian; Selby, William; Timmins, Matt; Ventura, Feliz; Yoshii, Chris (July 16, 2020). "TEA/AECOM 2019 Theme Index & Museum Index: Global Attractions Attendance Report" (PDF). teaconnect.org. Themed Entertainment Association. สืบค้นเมื่อ July 19, 2020.
- ↑ "TEA/AECOM 2020 Theme Index & Museum Index: Global Attractions Attendance Report" (PDF). teaconnect.org. Themed Entertainment Association. May 2022. สืบค้นเมื่อ May 30, 2022.
- ↑ "THEA Attendance Report" (PDF). March 14, 2023. สืบค้นเมื่อ March 14, 2023.
{{cite web}} : CS1 maint: url-status (ลิงก์)
แหล่งข้อมูลอื่น
|
|