ชาวยิวไคเฟิง

ชาวยิวไคเฟิง
ชาวยิวไคเฟิงช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 จีน600–1,000 คน[1]
 อิสราเอล20 คน (ค.ศ. 2016)[2]
ภาษา
จีนกลาง
ศาสนา
ยูดาห์
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง
ชาวยิวบูฆอรอ, ชาวเปอร์เซียเชื้อสายยิว, ชาวฮั่น, ชาวหุย

ชาวยิวไคเฟิง (จีน: 開封猶太人; พินอิน: Kāifēng Yóutàirén; ฮีบรู: יהדות קאיפנג, อักษรโรมัน: Yahădūt Qāʾyfeng) ในอดีตถูกเรียกอย่างรวม ๆ กับคริสต์ศาสนิกชนและอิสลามิกชนว่า หุ้ยหุย[3][4] หรือเรียกว่า ชาวหุยหมวกน้ำเงิน (จีน: 藍帽回; พินอิน: Lánmào Húi) ตามเครื่องแต่งกาย เพื่อจำแนกออกจากชาวมุสลิม[5] เป็นกลุ่มชนยิวขนาดย่อมในเมืองไคเฟิง มณฑลเหอหนาน ประเทศจีน ในช่วงที่เข้าตั้งถิ่นฐานช่วงแรก พวกเขาอาจมีจำนวนประมาณ 2,500 คน[6] แม้ว่าจะถูกตัดขาดจากชาวยิวพลัดถิ่นกลุ่มอื่น ๆ บรรพบุรุษของพวกเขายังคงปฏิบัติตามธรรมเนียมและประเพณีของชาวยิวมาหลายศตวรรษ

วิถีชีวิตอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไคเฟิงค่อย ๆ เสื่อมสลายลง เนื่องจากการถูกกลืนเข้าไปและแต่งงานข้ามชาติพันธุ์กับชาวฮั่นและชาวหุยรอบข้างมากขึ้น จนกระทั่งความเป็นยิวส่วนใหญ่สูญหายไปในคริสต์ศตวรรษที่ 19 นอกเหนือจากการเก็บรักษาความทรงจำเกี่ยวกับอดีตของตระกูลชาวยิว[a][7]

ต้นกำเนิดและช่วงเวลาการเข้าไปตั้งถิ่นฐานของชาวยิวในเมืองไคเฟิงยังเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักวิชาการ ในขณะที่ลูกหลานของชาวยิวไคเฟิงถูกกลืนเข้ากับวัฒนธรรมจีนสายหลัก บางส่วนพยายามรื้อฟื้นความเชื่อและประเพณีของบรรพุรุษ ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 มีความพยายามในการฟื้นฟูมรดกชาวยิวที่ไคเฟิง และสนับสนุนให้ทายาทประชากรดั้งเดิมเปลี่ยนไปนับถือศาสนายูดาห์[8] บางส่วนดำเนินการเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นอะลียาห์และย้ายไปยังอิสราเอล[9][10][11]

ประวัติ

ชาวจีนติดต่อกับชาวยิวครั้งแรกผ่านการค้าบนเส้นทางสายไหมที่เชื่อมการเดินทางจากจีนสู่ตะวันออกกลางและยุโรปตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น ต่อมาได้รวมเข้ากับเส้นทางการค้าของจักรวรรดิอะคีเมนิด[12] คลื่นผู้อพยพเชื้อยิวกลุ่มแรกมาจากเอเชียตะวันตก ผ่านเส้นทางสายไหม ข้ามทะเลเข้าอินเดีย และเข้าสู่แดนจีนในช่วงราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618–907) หรืออาจก่อนหน้านั้น[13] โดยเป็นชาวยิวมิซราฮีจากบาบิโลนและเปอร์เซีย (ปัจจุบันคือประเทศอิรักและอิหร่าน) บ้างว่ามาจากอินเดียเข้าจีน ย้ายเข้าเมืองไคเฟิงในยุคราชวงศ์ซ่งเหนือ (ค.ศ. 960–1127)[14] จักรพรรดิจีนมีพระราชานุญาตให้ชาวยิวเหล่านี้ตั้งถิ่นฐานในเมืองไคเฟิง[15] การตั้งธรรมศาลาปรากฏครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1163[16] กระทั่งในยุคราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368–1644) ชาวยิวมีลูกหลานสืบลงมาแปดตระกูล ได้แก่ แซ่อ้าย () แซ่สือ () แซ่เกา () แซ่กาน () แซ่จิน () แซ่หลี่ () แซ่จาง () และแซ่เจ้า ()[17][18] โดยแซ่จินและแซ่สือมีความหมายสอดคล้องกับชื่อสกุลยิวแถบตะวันตกคือ ทองคำและศิลา[19][20] ต่อมาชาวยิวแซ่จางจำนวนมากเข้ารีตศาสนาอิสลาม[21]

ชาวยิวไคเฟิงแต่งงานข้ามชาติพันธุ์กับชาวจีนท้องถิ่น[22][23] จนลักษณะทางกายภาพแทบไม่แตกต่างกับเพื่อนบ้านที่ไม่ใช่ชาวยิว[24] มีเพียงอัตลักษณ์โดดเด่นเพียงอย่างเดียวคือไม่บริโภคเนื้อหมู[25] หญิงจีนรายหนึ่งที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวยิวกล่าวว่า ครอบครัวของเธอไม่บริโภคเนื้อหมูหรือหอย และปู่ของเธอมักสวมหมวกสีน้ำเงินอยู่เป็นนิจ[26]

แม้จะเป็นชาวยิวพลัดถิ่นที่อยู่อย่างโดดเดี่ยว แต่พวกเขายังธำรงวัฒนธรรมดั้งเดิมของตนไว้ได้ยาวนาน กระทั่งคริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา ชาวยิวเริ่มสมรสกับคนต่างชาติพันธุ์มากขึ้น เป็นต้นว่าชาวจีนฮั่น หุย แมนจู และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ ในประเทศจีน ซ้ำร้ายยังมีการรื้อทำลายธรรมศาลาในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1860 ทำให้ชุมชนยิวล่มสลาย[25]

จำนวนของชาวยิวไคเฟิงยากที่จะประมาณการ ค.ศ. 2016 มีชาวยิวจำนวน 100 ครอบครัว ประชากรรวม 500 คน[27] และมีประชากรกว่า 1,000 มีบรรพบุรุษเป็นยิว[25] และมีชาวยิวเพียง 40–50 คน ที่ยังเข้าร่วมพิธีทางศาสนายูดาห์[28] ทายาทของชาวยิวไคเฟิงกล่าวว่าพ่อแม่และปู่ย่าตายายเป็นชาวยิว สักวันหนึ่ง "จะกลับไปยังดินแดนของพวกเขา"[25] และคนในชุมชนคนอื่น ๆ ก็ทราบความเป็นมาของบรรพบุรุษ[29] พวกเขามีการฟื้นฟูวัฒนธรรมในชั้นหลังจากติดต่อกับความเป็นยิวกระแสหลักผ่านนักท่องเที่ยวชาวยิว[30] เมื่อไม่นานมานี้ลูกหลานชาวยิวไคเฟิงเข้ารีตศาสนายูดาห์อย่างเป็นทางการ และรับสัญชาติอิสราเอล[31] เรื่องราวของพวกเขาถูกผลิตเป็นภาพยนตร์เรื่อง ไคเฟิง, เยรูซาเลม (Kaifeng, Jerusalem)[32] วันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2009 ชาวยิวไคเฟิงกลุ่มแรกเข้าไปตั้งถิ่นฐานในอิสราเอล จากการช่วยเหลือโดยกลุ่มชาเวอิสราเอล (שבי ישראל, "ชาวอิสราเอลคืนถิ่น")[33][34][35]

พิธีกรรม

แบบจำลองธรรมศาลาในไคเฟิง

เดิมชาวยิวจะถูกเรียกว่า ชาวหุยหมวกน้ำเงิน เพราะชาวยิวนิยมสวมหมวกสีน้ำเงิน จึงใช้เรียกเพื่อจำแนกออกจากชาวคริสต์และมุสลิม[5] แต่จากการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์กับชาวจีนฮั่นและอื่น ๆ ทำให้พวกเขามีรูปลักษณ์ไม่ต่างจากชาวจีนทั่วไป ถือธรรมเนียมอย่างจีน เป็นต้นว่ามีการจัดเทศกาลไหว้พระจันทร์ หรือเข้าร่วมตรุษจีน การรับประทานอาหารอย่างหมูหรือสัตว์เท้ากีบก็ไม่เคร่งครัดนักหากเทียบกับชาวยิวในโลกตะวันตก และในช่วงเทศกาลปัสคา ชาวยิวไคเฟิงบางบ้านยังนำเลือดไก่มาทาประตูบ้าน ต่างจากชาวยิวในตะวันตกที่ใช้เลือดแกะ[7]

เจ.แอล. ลีเบอร์มันน์ (J.L. Liebermann) เป็นชาวยิวจากตะวันตกคนแรกที่มาเที่ยวในไคเฟิงเมื่อ ค.ศ. 1867 บันทึกไว้ว่า "พวกเขามีที่ฝังศพเป็นของตัวเอง" และ ค.ศ. 1868 การประกอบพิธีกรรมทางศาสนาของพวกเขาเป็นเพียงเศษเสี้ยวหนึ่งจากในพระคัมภีร์ไบเบิล[36] ขณะที่ เอส. เอ็ม. เพิร์ลมันน์ (S.M. Perlmann) นักธุรกิจและนักวิชาการชาวเซี่ยงไฮ้ บันทึกไว้เมื่อ ค.ศ. 1912 ความว่า "พวกเขามีธรรมเนียมฝังศพใส่โลง แต่รูปร่างของโลงต่างจากโลงที่จีนทำ เครื่องแต่งกายของศพก็ไม่เหมือนอย่างคนจีน หากแต่เป็นชุดผ้าลินิน"[37]

หมายเหตุ

  1. ดอนัลด์ เลสลีเขียนไว้ใน ค.ศ. 1972 ถึงรายงานที่มีรายละเอียดและน่าเชื่อถือที่สุดเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ ซึ่งเขียนใน ค.ศ. 1932 โดยเดวิด เอ. บราวน์ ชาวอเมริกันเชื้อสายยิว ระบุว่า: "พวกเขารู้ว่าตนเองเป็นยิว แต่ไม่รู้เรื่องศาสนายูดาห์เลย พวกเขาตระหนักว่าตนเป็นชาวจีน ถูกผสานกลืนอย่างสมบูรณ์ แต่ก็มีความภาคภูมิใจในความรู้ที่ว่าพวกเขามีต้นกำเนิดมาจากคนโบราณที่แตกต่างจากชาวจีนคนอื่น ๆ ในไคเฟิง" (Leslie 1972, p. 71).

อ้างอิง

  1. Pfeffer 2008. sfn error: multiple targets (2×): CITEREFPfeffer2008 (help)
  2. Winer 2016.
  3. สุจิตต์ วงษ์เทศ. กรุงเทพฯ มาจากไหน ?. กรุงเทพฯ : มติชน, 2548, หน้า 197
  4. Chinese and Japanese repository of facts and events in science, history and art, relating to Eastern Asia, Volume 1. s.n. 1863. p. 18. สืบค้นเมื่อ 2011-07-06.
  5. 5.0 5.1 Marshall Broomhall (1910). Islam in China: A Neglected Problem. Morgan & Scott, Limited. p. 176.
  6. Pollak 1998, pp. 317–319.
  7. 7.0 7.1 นิธิพันธ์ วิประวิทย์ (3 มกราคม 2559). "ยิว (ผู้กลมกลืน) แห่งบูรพาทิศ". โพสต์ทูเดย์. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2563.
  8. Laytner 2017, pp. 227–228.
  9. JP 2009.
  10. Burke & Jabari 2016.
  11. Bitton 2010.
  12. Stub, Sara Toth (January 31, 2017). "Through Trade and Tourism, China Turns Its Attention to Israel". The Tower Magazine.
  13. Laytner, Anson (2011). Baskin, Judith R. (บ.ก.). China. The Cambridge Dictionary of Judaism and Jewish Culture. Cambridge University Press. pp. 100–2. ISBN 978-0-521-82597-9. สืบค้นเมื่อ 2012-02-01.
  14. Weisz, Tiberiu. The Kaifeng Stone Inscriptions: The Legacy of the Jewish Community in Ancient China. New York: iUniverse, 2006 (ISBN 0-595-37340-2)
  15. "Stopping the crackdown on China's Jews - Opinion - Jerusalem Post". Jpost.com. 2016-09-08. สืบค้นเมื่อ 2017-07-18.
  16. Fishbane, Matthew (March 30, 2010). "China's Ancient Jewish Enclave". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-09-12. สืบค้นเมื่อ 9 May 2020.
  17. M. Avrum Ehrlich (Ed.). The Jewish-Chinese Nexus: A Meeting of Civilizations. Routledge, UK, 2008. ISBN 978-0-415-45715-6
  18. Chang, Hsiang Wen (1945). "An Early Chinese Source on the Kaifeng Jewish Community". Folklore Studies. 4: 327–331. JSTOR 3182906.
  19. A Visit to Kaifeng by Beverly Friend Ph.D.
  20. "Kaifeng Jewish Descendants". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-29. สืบค้นเมื่อ 2009-06-01.
  21. Ehrlich, M. Avrum, บ.ก. (2008), The Jewish-Chinese Nexus: A Meeting of Civilizations, UK: Routledge, ISBN 978-0-415-45715-6.
  22. Walgrove, Amanda (March 25, 2011). "Jewish History in China Boosting Sino-Israeli Relations". Moment.
  23. Eikenburg, Jocelyn (February 28, 2011). "Are Jewish Women More Likely to Marry Chinese Men?". Speaking of China.
  24. Epstein, Maram, American The Jews of China. Volume 1, Historical and Comparative Perspectives (review), China Review International — Volume 7, Number 2, Fall 2000, pp. 453–45
  25. 25.0 25.1 25.2 25.3 Pfeffer, Anshel (2008-06-27), Taking the Silk Route back home, Haaretz, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2010, สืบค้นเมื่อ 2009-12-28
  26. "CHINESE WRITER STUDIES JEWISH ROOTS". The New York Times. 18 June 1985. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
  27. "Are There Really Jews in China?: An Update". สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
  28. "China Virtual Jewish History Tour". www.jewishvirtuallibrary.org.
  29. "Hadassah Magazine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-23. สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
  30. Kaifeng Jews Celebrate Hannukah ที่ยูทูบ
  31. From a Village in China. To the Wedding Canopy in Jerusalem. Arutz 7
  32. "箱根の楽しみ方ガイド". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2018. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.
  33. From Kaifeng to kibbutzim. Jerusalem Post
  34. Descendants of Chinese Jews arrive in Israel, Jewish telegraphic Agency news service, 10//26/09.
  35. Kaifeng Jews study in Israeli yeshiva, On road to full Orthodox conversion, seven dedicated Chinese Jews plan to exchange their visitor permits for aliyah visas to make their trip to Israel a permanent one, by Rebecca Bitton, 08/24/10.
  36. Chambers's encyclopædia, 1868, p. 155
  37. Dawid, Heinz (1998), "From Berlin To Tianjin", ใน Goldstein, Jonathan (บ.ก.), The Jews of China, vol. 1, p. 117

ข้อมูล

อ่านเพิ่ม

  • Needle, Patricia M., บ.ก. (1992). East Gate of Kaifeng: a Jewish world inside China. China Center, U. of Minnesota. ISBN 978-0-9631087-0-8.
  • Simons, Chaim (2010). Jewish Religious Observance by the Jews of Kaifeng China. Sino-Judaic Institute. ISBN 978-1-105-51612-2.
  • White, William Charles (1966). Chinese Jews (2nd ed.). New York: Paragon.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!