กษัตริย์ภูมิพลอดุลยเดช , ประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ , พระราชินีสิริกิติ์ และมามี ไอเซนฮาวร์ ที่ทำเนียบขาว เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1960
ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทย และสหรัฐอเมริกา ย้อนหลังไปถึง ค.ศ. 1818 ประเทศไทยและสหรัฐเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดและผู้ร่วมมือทางการทูตมายาวนาน
จากผลสำรวจความคิดเห็นสาธารณะของแกลลัพ ประจำ ค.ศ. 2012 ร้อยละ 60 ของคนไทย ถูกใจผู้นำสหรัฐภายใต้การบริหารของโอบามา กับความไม่พอใจ 14 เปอร์เซนต์ และไม่แน่ใจ 26 เปอร์เซนต์[ 1] ใน ค.ศ. 2013 มีนักเรียนต่างชาติ 7,314 คนที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในสหรัฐ โดยคิดเป็นร้อยละ 0.9 ของชาวต่างชาติทุกคนที่กำลังศึกษาต่อในอเมริกา[ 2] จากผลสำรวจความคิดเห็นทั่วโลกใน ค.ศ. 2014 พบว่า 73 เปอร์เซนต์ของคนไทยมีมุมมองที่ดีต่อสหรัฐเมื่อเทียบกับ 15 เปอร์เซนต์ที่ไม่ชื่นชอบ[ 3]
ประวัติ
คริสต์ศตวรรษที่ 19
การติดต่อครั้งแรกระหว่างประเทศไทย (ที่รู้จักกันในชื่อสยาม ) และสหรัฐ ได้เข้ามาใน ค.ศ. 1818 เมื่อกัปตันเรือชาวอเมริกันเดินทางมาที่ประเทศนี้ โดยมีจดหมายจากประธานาธิบดี เจมส์ มอนโร จากสหรัฐ[ 4] ส่วนอิน-จัน ได้ย้ายถิ่นไปในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1830 ครั้น ค.ศ. 1832 ประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็กสัน ได้ส่งรัฐทูต เอดมันด์ โรเบิตส์ ของเขา ผ่านทางเรือสลุปศึกพีค็อก ของสหรัฐ ไปยังราชสำนักโคชินไชนา , สยาม และมัสกัต [ 5] โรเบิตส์ได้สรุปสนธิสัญญาไมตรีและพาณิชย์ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ค.ศ. 1833 โดยเจ้าพระยา พระคลัง เป็นตัวแทนของกษัตริย์พระนั่งเกล้า ลงนามให้สัตยาบันแลกเปลี่ยนวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1836 และประกาศใช้เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 1837[ 6] ส่วนแพทย์นาวี วิลเลียม รัสเชนเบอร์เกอร์ ได้มาพร้อมกับภารกิจหวนคืนเพื่อแลกเปลี่ยนสัตยาบัน รายงานของเขา และของนายโรเบิตส์ได้รับการรวบรวม, แก้ไข และเผยแพร่อีกครั้งในฐานะ นักการทูตชาวอเมริกันสองคนในสยามยุค 1830 (Two Yankee Diplomats In 1830's Siam )[ 7] วันครบรอบ 150 ปีภารกิจของโรเบิตส์เป็นที่เด่นชัดใน ค.ศ. 1982 โดยการออกฉบับพิมพ์ครั้งแรกของ ความสัมพันธ์ไทย-อเมริกัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2376 (The Eagle and the Elephant: Thai-American relations since 1833 ) ตามด้วยการตีพิมพ์ใหม่หลายครั้งรวมถึงฉบับเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ เมื่อ ค.ศ. 1987 และฉบับกาญจนาภิเษก 50 ปี เมื่อ ค.ศ. 1997[ 8] [ 9] สิ่งนี้ได้รับการยืนยันจากอดีตนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ซึ่งใน ค.ศ. 2008 ได้พบกับจอร์จ ดับเบิลยู. บุช ใน "การเฉลิมฉลองครบรอบ 175 ปี ความสัมพันธ์ไทย–สหรัฐ"[ 10]
ประเทศไทยจึงเป็นชาติในเอเชียชาติแรกที่ได้ทำข้อตกลงทางการทูตอย่างเป็นทางการกับสหรัฐ ซึ่งเป็นสิบเอ็ดปีก่อน ต้าชิง และยี่สิบเอ็ดปี ก่อนโทกูงาวะญี่ปุ่น ส่วนในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1856 ทาวน์เซนด์ แฮร์ริส ตัวแทนของประธานาธิบดี แฟรงกลิน เพียร์ซ ได้เจรจาขอแก้ไชสนธิสัญญาทางไมตรี พาณิชย์ และการเดินเรือ กับผู้แทนของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่สี่) ที่ให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขต เพิ่มเติมแก่ชาวอเมริกัน ซึ่งสตีเฟน แมตตทูน มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้ทำหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษาของแฮร์ริส ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุล สหรัฐคนแรกประจำสยาม[ 11] [ 12] (บทละครเดอะคิงแอนด์ไอ ของร็อดเจอร์ส และแฮมเมอร์สไตน์ กล่าวถึงผ่านสิ่งนั้นว่าพระมหากษัตริย์มีแผนที่จะส่งช้างศึกไปช่วยประธานาธิบดีลินคอล์น ในมหาสงคราม ซึ่งจดหมายฉบับจริงส่งโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวหลังได้รับของขวัญจากสหรัฐ โดยส่งไปยังประธานาธิบดีเมื่อเจมส์ บูแคนัน ดำรงตำแหน่ง เพื่อเสนอช้างสำหรับผสมพันธุ์ไม่ใช่การทำสงคราม ซึ่งลินคอล์นได้รับข้อเสนอ แต่ปฏิเสธไปอย่างสุภาพ)[ 13]
เซมโพรนิอุส เอช. บอยด์ อัครราชทูตประจำ/กงสุลใหญ่ ประจำสยาม คนที่สาม
เนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปีของความสัมพันธ์ มีการเปิดเผยว่าประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็กสัน ได้ถวายดาบทองคำรูปช้างและนกอินทรีด้ามทองแด่พระมหากษัตริย์ (ซึ่งต่อมาเป็นที่รู้จักในฐานะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)[ 14] พระองค์ยังได้รับการเสนอพรูฟเซต เหรียญอเมริกัน ซึ่งรวมถึง 1804 ดอลลาร์ "คิงออฟสยาม" ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1834 ชุดดังกล่าวซึ่งไม่มีเหรียญทองแจ็กสันถูกจัดซื้อด้วยราคาเป็นประวัติการณ์ที่ 8.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐโดยสตีเวน แอล. คอนทูร์ซี ซึ่งเป็นประธานผู้ค้าส่งเหรียญหายากของเออร์ไวน์ รัฐแคลิฟอร์เนียเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน ค.ศ. 2005 ชุดนี้ขายโดยโกลด์เบิร์กคอยส์แอนด์คอลเลกติเบิลส์ออฟเบเวอร์ลีฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนีย ในนามของเจ้าของที่ไม่ระบุชื่อ ซึ่งอธิบายว่าเป็น "ผู้บริหารธุรกิจฝั่งตะวันตก" โดยซื้อมาในราคา 4 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อสี่ปีก่อน[ 15]
ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20
หลังจากการเสียชีวิตของที่ปรึกษาทั่วไปด้านการต่างประเทศ เจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ ใน ค.ศ. 1902 พระยาสุริยานุวัตรซึ่งเป็นอัครราชทูตสยามในปารีสได้รับคำสั่งให้หาคนมาแทน พระยาสุริยานุวัตรไม่สามารถหาผู้สมัครที่เหมาะสมในยุโรปได้ จึงแจ้งให้พระยาอรรคราชวราทรซึ่งเป็นอัครราชทูตสยามในวอชิงตันภายใต้สถานการณ์นี้ เขาได้ตัดสินใจที่จะมีส่วนร่วมกับชาวอเมริกัน โดยใน ค.ศ. 1903 อดีตนักการทูตสหรัฐ เอดเวิร์ด เฮนรี สตรอเบิล ได้ลาออกจากตำแหน่งศาสตราจารย์ด้านกฎหมายระหว่างประเทศของเบมิส ที่โรงเรียนกฎหมายฮาวาร์ด เพื่อเป็นตัวแทนราชอาณาจักรสยามในเดอะเฮก ที่ศาลสันติภาพระหว่างประเทศ —ซึ่งเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจเคยเป็นสื่อในการสถาปนา ครั้นใน ค.ศ. 1906 สตรอเบิลได้ย้ายมาที่กรุงเทพเพื่อรับตำแหน่งที่ปรึกษาทั่วไป ซึ่งเขาเสียชีวิตเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1908 ในบรรดาผู้สืบทอด ได้แก่ เจนส์ เวสเตนการ์ด (ค.ศ. 1909–1914), วอลคอต พิตคิน (ค.ศ. 1915–1917), เอลดอน เจมส์ และฟรานซิส บี. แซร์ —ทั้งหมดยกเว้นพิตคิน เป็นอดีตศาสตราจารย์ด้านกฎหมายของฮาร์วาร์ด "รัฐบาลสยามไว้วางใจให้ที่ปรึกษาอเมริกันในการต่างประเทศทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สูงสุดของสยาม โดยมอบอำนาจและความรับผิดชอบให้แก่เขา เขาได้รับอนุญาตให้มีอิสระในการทำงานในระดับหนึ่ง เขาอยู่ในฐานะทนายความ, นักกฎหมาย, ผู้แก้ต่าง และที่ปรึกษาด้านนโยบาย ซึ่งที่ปรึกษาชาวอเมริกันมีส่วนสำคัญในการบรรลุข้อสรุปของการเจรจาสนธิสัญญากับชาติตะวันตก งานเลี้ยงอาหารค่ำประจำทำเนียบขาวครั้งแรกของสหรัฐในคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบ และงานเลี้ยงอาหารค่ำประจำทำเนียบขาวครั้งที่สองที่เคยเกิดขึ้นในเดือนเมษายน ค.ศ. 1931 ขณะที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยือนอเมริกาเพื่อเข้ารับการผ่าตัดพระเนตร"[ 16] ข้อตกลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศได้ลงนามในวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1920[ 17]
ซีโต้
ใน ค.ศ. 1954 ประเทศไทยได้เข้าร่วมองค์การสนธิสัญญาป้องกันภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) เพื่อเป็นพันธมิตรอย่างแข็งขันของสหรัฐในสงครามเย็นในทวีปเอเชีย ส่วนใน ค.ศ. 1962 แถลงการณ์ร่วมถนัด-รัสก์ ได้เกิดขึ้น ซึ่งสหรัฐสัญญาว่าจะปกป้องประเทศไทยและให้ทุนสนับสนุนทางการทหาร[ 18] [ 19]
สนธิสัญญาไมตรี (ค.ศ. 1966)
ทักษิณ ชินวัตร และสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ขณะพบกับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ดอนัลด์ รัมส์เฟลด์ เมื่อวันที่ 19 กันยายน ค.ศ. 2005
นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐและไทยได้พัฒนาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด ดังที่สะท้อนให้เห็นในสนธิสัญญาทวิภาคีหลายฉบับ และจากการที่ทั้งสองประเทศมีส่วนร่วมในกิจกรรมและข้อตกลงพหุภาคีของสหประชาชาติ ข้อตกลงระดับทวิภาคีหลักคือสนธิสัญญาไมตรีและความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ ค.ศ. 1966 ซึ่งอำนวยความสะดวกให้บริษัทในสหรัฐและไทยสามารถเข้าถึงตลาดของกันและกันได้ ส่วนข้อตกลงที่สำคัญอื่น ๆ กล่าวถึงการใช้พลังงานปรมาณูของพลเรือน, การขายสินค้าเกษตร, การรับประกันการลงทุน ตลอดจนความช่วยเหลือทางการทหารและเศรษฐกิจ
ข้อเสนอเขตการค้าเสรี (ค.ศ. 2004–ปัจจุบัน)
โลโก้ครบรอบ 180 ปีความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2004 สหรัฐและไทยริเริ่มการเจรจาในเรื่องความตกลงการค้าเสรี ที่จะลดและดำจัดกำแพงการค้าและการลงทุนระหว่างสองประเทศ การเจรจาครั้งนี้จัดขึ้นหลังการยุบรัฐสภาไทยในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 และรัฐประหารในเดือนกันยายน รัฐบาลทหารใหม่ใช้มาตรการบังคับใช้สิทธิ สำหรับยากำจัดเอชไอวีบางส่วน ซึ่งทำให้การเจรจาเขตการค้าเสรีสิ้นสุดลง[ 20]
รัฐประหารในไทย ค.ศ. 2014
เลขาธิการ ไมเคิล อาร์. พอมเพโอ พบกับนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 2019
ณ วันที่ 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 หลังวิกฤตทางการเมือง เป็นเวลา 6 เดือน กองทัพไทย ที่นำโดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการกองทัพบกไทย ก่อรัฐประหาร ต่อรัฐบาลรักษาการ จอห์น เคร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ได้ประณามรัฐประหาร โดยกล่าวถึงการตัดสินใจของฝ่ายทหารว่า "น่าผิดหวัง" และ "การกระทำเช่นนี้จะทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ–ไทย โดยเฉพาะความสัมพันธ์ของเรากับกองทัพไทย"[ 21]
อ้างอิง
↑ Snapshot: U.S. Leadership Unknown in Myanmar Gallup
↑ TOP 25 PLACES OF ORIGIN OF INTERNATIONAL STUDENTS เก็บถาวร 2017-03-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Institute of International Education
↑ Global Indicators Database.
↑ Duke, Pensri (1982). "Historical Perspective: 1833-1940". ใน Mungkandi, Wigwat; Warren, William (บ.ก.). A Century and a Half of Thai-American Relations . Bangkok: Chulalongkorn Press.
↑ Roberts, Edmund (October 12, 2007) [1837]. Embassy to the Eastern courts of Cochin-China, Siam, and Muscat in the U. S. sloop-of-war Peacock during the years 1832-3-4 (Googlebooks from the collections of New York Public Library ed.). Harper & Brothers. 351 pages. OCLC 12212199 .
↑ Malloy, William M. (March 7, 2008) [1904]. "Siam." (PDF) . Compilation of Treaties in Force . Washington: Govt. print. off. p. 703. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2017-01-27. สืบค้นเมื่อ April 19, 2012 . 1833. Convention of amity and commerce. concluded March 30, 1833; ratification advised by the Senate June 30, 1834; ratified by the President; ratifications exchanged April 14, 1836; proclaimed June 24, 1837. (Treaties and conventions, 1889. p. 992.) (The provisions of this treaty were modified by the Treaty of 1856.)
↑ Roberts, Edmund ; Ruschenberger, W. S. W. (William Samuel Waithman) (2002). Smithies, Michael (บ.ก.). Two Yankee Diplomats In 1830's Siam . Itineraria Asiatica. Vol. Volume 10. Bangkok: Orchid Press. 232 pages. ISBN 974-524-004-4 . OCLC 2002455024 . สืบค้นเมื่อ 26 April 2012 .
↑ "Formats and Editions of The Eagle and the elephant : Thai-American relations since 1833 [WorldCat.org]" . www.worldcat.org .
↑ Bill Kiehl (November 28, 2010). "Public Diplomacy In Action" . commentary . Public Diplomacy Council. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ May 29, 2012 . originally produced by USIS Thailand with editions in 1982, 1983, 1987 and 1996.
↑ "President Bush Meets with Prime Minister Samak of Thailand" . georgewbush-whitehouse.archives.gov .
↑ "History of Diplomatic relations between the Kingdom of Thailand (Siam) and United States of America" . Thai American Diplomacy History . Thailand-USA Portal and Hub. April 19, 2012. เก็บ จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-12. สืบค้นเมื่อ April 19, 2012 . Archived by WebCite®
↑ "The Foundations: 1833 - 1880" . The Foundations: 1833 - 1880. April 18, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-04-19. สืบค้นเมื่อ April 19, 2012 . Archived by WebCite®
↑ "Nontraditional Animals For Use by the American Military – Elephants" . Newsletter . HistoryBuff.com. June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-05-29. สืบค้นเมื่อ May 29, 2012 . Both original letters still exist today in archives.
↑ Phongphiphat, Wimon (Bhongbhibhat, Vimol); Reynolds, Bruce; Polpatpicharn, Sukhon (1987) [1982]. The Eagle and the Elephant. 150 Years of Thai-American Relations [พื้นความหลังไทย-เมริกัน 150 ปี ]. Bangkok: United Production. p. 150. OCLC 19510945 .
↑ "The King of Siam Proof Set" . Rare Coin Wholesalers. April 2, 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ February 20, 2006. สืบค้นเมื่อ April 19, 2012 . Archived by WebCite®
↑ Oblas, Peter (1972). "Treaty Revision and the Role of the American Foreign Affairs Adviser 1909–1925" (PDF) . Journal of the Siam Society . Siam Heritage Trust. JSS Vol. 60.1 (digital). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (free) เมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ March 17, 2013 .
↑ Text in League of Nations Treaty Series , vol. 6, pp. 292–305.
↑ Khien Theeravit, "Thailand: An Overview of Politics and Foreign Relations." Southeast Asian Affairs (1979): 299-311. online
↑ Arne Kislenko, "The Vietnam War, Thailand, and the United States" in Richard Jensen et al. eds. Trans-Pacific Relations: America, Europe, and Asia in the Twentieth Century (Praeger, 2003) pp 217–245.
↑ Channel News Asia. 2008, August 5. "US president's visit to Thailand will likely focus on Myanmar".
↑ "US Department of State on Thai coup" . US Department of State. 2014-05-22. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22 .
Gunaratna, Rohan , Acharya, Arabinda, and Chua, Sabrina. 2005. Conflict and Terrorism in Southern Thailand . Marshall Cavendish Academic.
แม่แบบ:StateDept
แหล่งข้อมูลอื่น
ทวีปแอฟริกา ทวีปอเมริกา
ทวีปเอเชีย
ทวีปยุโรป โอเชียเนีย คณะทูต พหุภาคี