คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อยู่ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร โดยตั้งอยู่ที่สนามบินเก่า บ้านเชียงเครือ อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 19 กิโลเมตร ตามเส้นทางหมายเลข 22 (สกลนคร-นครพนม) บนเนื้อที่วิทยาเขต 4,000 ไร่ หนองหารน้อย 700 ไร่ เพื่อสนองนโยบายของรัฐบาล ในการกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับอุดมศึกษาสู่ภูมิภาคของ ประเทศไทย และพัฒนาให้จังหวัดสกลนครเป็นศูนย์กลางด้าน การศึกษาของภูมิภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน โดยจัดให้มีคณะวิชาจัดการเรียนการสอนด้านอุตสาหกรรมการเกษตร และธรรมชาติสิ่งแวดล้อม อีกทั้งให้เป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้าวิจัย การรวบรวมข้อมูลในการบริการวิชาการด้านเกษตร การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอีสานตอนบน เพื่อพัฒนาให้ภูมิภาคแห่งนี้เป็นศูนย์กลางการพัฒนาการเกษตรครบวงจรที่ก้าวหน้า อุตสาหกรรมเกษตร และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของภูมิภาคอินโดจีน และให้มีองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยคือหลักสูตร บริหารธุรกิจ ของมหาวิทยาลัยใน ภาคอีสานตอนบน โดยตั้ง"คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ"ขึ้นที่วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร
เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติ เป็นปีที่ 50 ประกอบกับเพื่อเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในการขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาคของประเทศในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 ( 2535-3539 ) และฉบับที่ 8 ( 2540-2544 ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับทบวงมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาครัฐบาลและเอกชน ภายในจังหวัดสกลนคร จัดทำโครงการจัดตั้ง “ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ” ขึ้นเป็นวิทยาเขตสารสนเทศ [1] คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ รับนิสิตและเปิดเรียน ณ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เป็นครั้งแรก ในภาคต้น ของปีการศึกษา 2543-44 (KU60) การจัดตั้งคณะทรัพยากรธรรมชาติและอุตสาหกรรมเกษตร เป็น 1 ใน 3 คณะที่ได้จัดตั้งตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน2543 (ตามประกาศสภามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องการจัดตั้งคณะ สำนัก และ สำนักงานวิทยาเขต ที่จังหวัดสกลนคร ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2543) โดยมี รองศาสตราจารย์ วิจิตรา พูลเพิ่มทรัพย์ ดำรงตำแหน่งเป็นคณบดีเป็นคนแรก
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร เป็นวิทยาเขตหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นตามนโยบายการขยายโอกาสทางการศึกษาไปสู่ภูมิภาค ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการส่งเสริม สนับสนุน และขยายโอกาสทางการศึกษาในด้านต่างๆ อาทิ ด้านการเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมเกษตร วิศวกรรมศาสตร์ บริหารจัดการตลาดและธุรกิจ รวมทั้งด้านสาธารณสุขและสุขภาพ โดยตั้งแต่ปีการศึกษา 2545 ได้มีการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต ภาคพิเศษ (ต่อเนื่อง) 2 ปี เพื่อผลิตบัณฑิตและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสุขภาพในระบบบริการสาธารณสุขระดับชุมชนของรัฐบาล ให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและภูมิภาค จนถึงปีการศึกษา 2553 ต้องยุติการรับนักศึกษาเข้าศึกษา เพื่อให้สอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 เรื่อง การจัดการศึกษาหลักสูตรระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาต้องยุติการรับเข้าศึกษาระดับปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) และในปีการศึกษา 2553 วิทยาเขตเฉลิมพระเกียรติจังหวัดสกลนคร ได้เปิดสอนหลักสูตรสาธารณสุข ศาสตรบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ภาคปกติ (4 ปี) สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ และดำเนินการจัดการเรียนการสอนจนปัจจุบัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่มีนักเรียนให้ความสนใจในการสมัครเข้าศึกษาต่อเป็นอย่างมาก
ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิตบัณฑิต (บธ.บ.)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.)
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ศษ.ม.)
หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต (บธ.ด.)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
หลักสูตรศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ศศ.ด.)
บทความสถานศึกษานี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล