คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Kasetsart Business School
คติพจน์ The Next Practice Business School สถาปนา 9 มีนาคม พ.ศ. 2509; 58 ปีก่อน (2509-03-09 ) (คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ) 18 ธันวาคม พ.ศ. 2535; 32 ปีก่อน (2535-12-18 ) (แยกออกจากคณะเศรษฐศาสตร์) สังกัดการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณบดี รศ.ดร.ศศิวิมล มีอำพล ที่อยู่ สี สีฟ้าใส[ 1] เว็บไซต์ bus .ku .ac .th
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ : Kasetsart Business School (KBS) หรือ Faculty of Business Administration ) เป็นหน่วยงานที่ดำเนินการสอนด้านบริหารธุรกิจของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ของไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตจตุจักร ของกรุงเทพมหานคร เปิดทำการสอนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาบริหารธุรกิจ, บัญชี, การเงิน, การตลาด, การจัดการ, การจัดการการผลิต, ข้อมูลและการวิเคราะห์ และหลักสูตรสำหรับผู้บริหาร สัญลักษณ์ประจำคณะ คือ พังงา ซึ่งเป็นรูปพวงมาลัยที่ใช้บังคับทิศทางการเดินเรือพานิชย์ โดยสื่อความหมายถึง การนำทางให้ไปสู่จุดมุ่งหมายที่หวังไว้
ตึกคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นหนึ่งในคณะ/สาขาวิชาที่มีผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือกจำนวนมากที่สุดในประเทศหลายปีติดต่อกันในระบบแอดมิสชันส์กลาง ระดับปริญญาตรี ในสาขา บัญชี การเงิน และการตลาด ตามการจัดอันดับของ ทปอ.[ 2] [ 3] [ 4] [ 5] และมีนิสิตในทุกระดับปริญญากว่า 3,100 คน (ข้อมูล ปี พ.ศ. 2563)[ 6]
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ได้รับการรับรองมาตรฐานสากลจาก Chartered Institute of Management Accountants (CIMA)[ 7] และจากสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์[ 8] รวมทั้งหลักสูตรปริญญาโท การเงินประยุกต์ ได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลจาก Chartered Financial Analyst Institute (CFA Institute) ให้เป็น CFA Program Partner[ 9] [ 10] และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด ได้รับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรคุณภาพตามเกณฑ์ AUN – QA ระดับอาเซียน ปีการศึกษา 2563 จาก ASEAN University Network Quality Assurance [ 11]
ปี 2019 QS World University Ranking by Subjects จัดอันดับให้ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันชั้นนำด้าน Business & Management Studies ในอันดับที่ 451-500 ของโลก [ 12] อันดับที่ 501-550 ของโลก ในปี 2021 [ 13] อันดับที่ 451-500 ของโลก ในปี 2022 [ 14] อันดับที่ 501-550 ของโลก ในปี 2023[ 15] และอันดับที่ 551-600 ของโลก ในปี 2024[ 16] และในด้าน Business & Economics ประจำปี 2022 และ 2021 อยู่อันดับที่ 601+ ของโลก [ 17] [ 18] โดย Times Higher Education
ในแต่ละปีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการบรรยายสาธารณะจากผู้บริหารระดับสูง นักธุรกิจ นักวิชาการ นักวิจารณ์ชั้นนำ รวมถึงบุคคลสำคัญในระดับชาติและนานาชาติ[ 19] และมีงานเสวนาออนไลน์ด้านธุรกิจ KBS Alumni Live Talk[ 20] จากสมาคมนิสิตเก่าคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อีกทั้งยังสามารถติดตามการเสวนาได้ผ่านทางไลฟ์เพจ KBS Alumni[ 21]
ด้านศิษย์เก่าดีเด่นของคณะบริหารธุรกิจ มีหลากหลายสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ที่อยู่ในองค์กรภาครัฐ เอกชน และนักการเมือง เช่น กฤษณา สีหลักษณ์ [ 22] อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คนที่ 2 ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และ องอาจ คล้ามไพบูลย์ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ / วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล ,[ 23] อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คนที่ 3 ในรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ / วรวิทย์ จำปีรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม และอดีตผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ , [ 24] / จิราพร ขาวสวัสดิ์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท PTT Oil and Retail Business (OR) ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้บริหารสูงสุดหญิงคนแรก หลังจากการก่อตั้งบริษัทร่วม 40 ปี [ 25] [ 26] [ 27] / ชาลอต โทณวณิก อดีตประธานกรรมการบริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด และอดีตผู้ตรวจสอบบัญชีอาวุโส สำนักงาน PwC ประเทศไทย [ 28] รวมถึง ฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์ ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหาร บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด [ 29]
ประวัติ
ก่อน พ.ศ. 2481 กรมสหกรณ์ ในกระทรวงเกษตราธิการ ได้จัดอบรมวิชาสหกรณ์เนื้อหาการอบรมมุ่งเน้นการบริหารธุรกิจในรูปสหกรณ์ เช่น ปรัชญา แนวคิดของการรวมกลุ่มธุรกิจสหกรณ์ การจัดทำบัญชี การจัดการทั่วไป เป็นต้น โดยการจัดอบรมนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของคณะสหกรณ์ในเวลาต่อมา[ 30]
ในปี พ.ศ. 2481 กระทรวงเกษตราธิการ ต้องการให้มีการพัฒนาการเรียนอย่างจริงจัง จึงจัดตั้ง วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขึ้นเป็นองค์กรที่จัดหลักสูตรอย่างเป็นทางการ และเป็นอิสระในการบริหารการศึกษา ดังนั้นแผนกวิชาสหกรณ์ จึงถูกตั้งขึ้น โดยใช้หลักสูตรการศึกษา 3 ปี เริ่มรับนิสิตในต้นปี พ.ศ. 2482 และผลิตผู้สำเร็จวิชาสหกรณ์รุ่นแรก ออกมาในปลายปี พ.ศ. 2484 และจัดการศึกษาเรื่อยมาโดยแก้ไขหลักสูตรมาโดยตลอด [ 31]
ต่อมาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ถือกำเนิดขึ้น แผนกวิชาสหกรณ์จึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "คณะสหกรณ์ " ซึ่งนับเป็นคณะรุ่นแรกของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเช่นกัน[ 32] [ 33] เปิดการสอนถึงขั้นอนุปริญญาสืบมาจน พ.ศ. 2495 และมีผู้จบอนุปริญญารุ่นแรกปี 2486 จำนวน 18 คน การศึกษาของคณะแยกเป็น 4 แผนก คือ แผนกวิชาสหกรณ์ แผนกวิชาบัญชี [ 34] [ 35] แผนกวิชาเศรษฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ และแผนกวิชานิติศาสตร์ โดยอาคารสถานที่เรียนในขณะนั้นอยู่ที่กรมสหกรณ์ท่าเตียน (ท่าราชวรดิฐ)[ 36] [ 37] [ 38] [ 39]
พ.ศ. 2495 ได้เปิดหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี และขยายการศึกษาเพิ่มขึ้นเป็น 8 แผนก คือ สหกรณ์ บัญชี [ 34] [ 35] เศรษฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์กสิกรรม สังคมวิทยา นิติศาสตร์ ภาษาต่างประเทศ และวิชาเบ็ดเตล็ด
ในปี พ.ศ. 2499 ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2499 คณะฯ ได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งหนึ่งเป็น "คณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ " โดยแยกการเรียนการสอนเป็น 2 สาขาคือ สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ และสาขาบัญชีและธุรกิจ [ 34] [ 35] พร้อมทั้งได้ย้ายเข้ามาทำการ ณ เกษตรกลาง บางเขน ทั้งหมด[ 40]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ได้เปิดรับผู้ศึกษาที่ต้องการศึกษาเน้นหนักทางการบัญชีเป็นการเฉพาะเป็นรุ่นแรก[ 35] และในปี พ.ศ. 2508 ได้ปรับปรุงหลักสูตรนี้ จากหลักสูตร 5 ปี เป็นหลักสูตร 4 ปี และพัฒนาเรื่อยมาจนปรากฏเป็นหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) ในปัจจุบัน[ 34]
เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2509 คณะฯ ได้เปลี่ยนชื่ออีกเป็นครั้งที่ 3 โดยใช้ชื่อว่า "คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ " และประกอบด้วย 7 แผนกวิชา คือ แผนกวิชาการตลาด แผนกวิชาบัญชี แผนกวิชาบริหารธุรกิจ แผนกวิชาเศรษฐศาสตร์ แผนกวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร แผนกวิชาสหกรณ์ และแผนกวิชาสถิติ[ 41]
เมื่อปี พ.ศ 2535 ได้แยกคณะออกจากคณะเศรษฐศาสตร์ เป็นอีกคณะหนึ่งชื่อว่า "คณะบริหารธุรกิจ " เป็นคณะหนึ่งในจำนวนสิบสามคณะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามประกาศ ในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 109 ตอนที่ 120 วันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ 2535 ทั้งนี้เป็นไปตามแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2535–2539)[ 42] จึงเป็นผลให้มีการจัดแบ่งส่วนราชการออกเป็น 5 ภาควิชา ได้แก่ ภาควิชาการเงิน ภาควิชาการจัดการ ภาควิชาบัญชี ภาควิชาการตลาด และภาควิชาการจัดการการผลิต [ 43]
โดยคณะบริหารธุรกิจมีหน้าที่ให้ผลิตบัณฑิต และมหาบัณฑิต จัดการเรียนการสอน การค้นคว้าวิชา การบริการทางวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยได้ดำเนินงานมา ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน[ 44] [ 45]
หน่วยงาน
ภาควิชา สำนัก สถาบัน และศูนย์ ภายในคณะบริหารธุรกิจ
ความร่วมมือ
Kasetsart Business School Building
มหาวิทยาลัย
คณะบริหารธุรกิจได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายพันธมิตร กับสถาบันการศึกษา และองค์กรธุรกิจชั้นนำ ในการที่จะพัฒนาการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม ทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป อย่างรวดเร็ว ในด้านของสถาบันการศึกษานั้น คณะบริหารธุรกิจมีความร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยชั้นนำใน สหรัฐอเมริกา เช่น University of Oregon และ Oregon State University ขณะเดียวกันก็ได้พัฒนาความสัมพันธ์กับ มหาวิทยาลัยอื่นในภูมิภาคอื่นของโลก เช่น Royal Institute of Technology, The University of Western Australia, Murdoch University ณ นครเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย เป็นต้น
สถาบัน/องค์กร
คณะบริหารธุรกิจได้ร่วมมือกับองค์กรธุรกิจชั้นนำต่าง ๆ ในการพัฒนาการศึกษาทางด้าน บริหารธุรกิจของ ประเทศ องค์กรเหล่านี้ ประกอบด้วย เครือเอสซีจี กลุ่มโอสถสภา ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) [ 47] [ 48] สภาวิชาสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์[ 49] [ 50] [ 51] [ 52] และกลุ่ม N.C.C. Management & Development เก็บถาวร 2021-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เป็นต้น[ 53]
สมาชิก
คณะบริหารธุรกิจ มก. เป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการของสถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ การบัญชี และการเงิน ได้แก่ The Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), Chartered Institute of Management Accountants (CIMA)[ 54] [ 55] และ Chartered Financial Analyst Institute (CFA Institute)[ 10]
AACSB International
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2555 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการตอบรับเข้าเป็นสมาชิกของสมาคม AACSB (AACSB Business Education Alliance) ซึ่งเป็นสมาคมที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาโรงเรียนธุรกิจทั่วโลกและให้การรับรองมาตรฐาน ทั้งนี้ คณะบริหารธุรกิจ มก. อยู่ในขั้นตอนของการเตรียมความพร้อมสำหรับการรับรอง AACSB ในอนาคตอันใกล้นี้)[ 56] [ 57] [ 58]
หลักสูตร
ระดับปริญญาตรี
ระดับปริญญาโท
ระดับปริญญาเอก
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (บธ.บ.)
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.)
หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (บธ.ม.)
หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต (บช.ม.)
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)
ทำเนียบคณบดี
ตั้งแต่ก่อตั้งจนถึงปัจจุบันคณะบริหารธุรกิจ มีผู้มีผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี ดังนี้ [ 59] [ 45]
คณบดีคณะสหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายพระนามคณบดี
ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. พระพิจารย์พาณิชย์
พ.ศ. 2486 - พ.ศ. 2495
คณบดีคณะสหกรณ์และเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายพระนามคณบดี
ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. พระพิจารย์พาณิชย์
พ.ศ. 2495 - พ.ศ. 2499
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายพระนามและรายนามคณบดี
ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. พระพิจารย์พาณิชย์
พ.ศ. 2499 - พ.ศ. 2502
2. ศาสตราจารย์ พันธุม ดิยมณฑล
พ.ศ. 2502 - พ.ศ. 2509
คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายนามคณบดี
ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. ศาสตราจารย์ พันธุม ดิยมณฑล
พ.ศ. 2509 - พ.ศ. 2518
2. ศาสตราจารย์ ดร.โสภิณ อินทองปาน
พ.ศ. 2518 - พ.ศ. 2525
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จำเนียร บุญมา
พ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2531
4. ศาสตราจารย์ ดร.ประเจิด สินทรัพย์
พ.ศ. 2531 - พ.ศ. 2532
5. รองศาสตราจารย์อรุณ เรศานนท์
พ.ศ. 2532 - พ.ศ. 2535
คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รายนามคณบดี
ระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง
1. รองศาสตราจารย์ วินิจ วีรยางกูร
พ.ศ. 2535 - พ.ศ. 2539
2. รองศาสตราจารย์ อรสา อร่ามรัตน์
พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2541
3. รองศาสตราจารย์ ดร.ปรียานุช อภิบุณโยภาส
พ.ศ. 2541 - พ.ศ. 2545
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัมพันธ์ หุ่นพยนต์
พ.ศ. 2545 - พ.ศ. 2553
5. รองศาสตราจารย์ ดร.บดินทร์ รัศมีเทศ
พ.ศ. 2553 - พ.ศ. 2556
6. รองศาสตราจารย์ ดร.ศศิวิมล มีอำพล
พ.ศ. 2556 - พ.ศ. 2560 พ.ศ. 2564 - ปัจจุบัน
หมายเหตุ คำนำหน้านามของผู้ดำรงตำแหน่งคณบดี เป็นคำนำหน้านามตามตำแหน่งทางวิชาการในขณะนั้น
โปรแกรมระดับปริญญาตรี
บัญชีบัณฑิต
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (บช.บ.) หรือ Bachelor of Accountancy Program (B.Acc.) ของคณะบริหารธุรกิจ เป็นหลักสูตรที่พัฒนาความเป็นมืออาชีพด้านบัญชีของนักศึกษาผ่านการเรียนการสอนที่เข้มข้นและได้มาตรฐานสากล เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เริ่มต้นอาชีพการงานในบริษัทระดับโลก ปลูกฝังความรู้โดยคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญด้านบัญชีที่เชื่อถือได้ โดยเตรียมนักศึกษาให้มีความรู้พื้นฐานที่แข็งแกร่งในทางบัญชีและธุรกิจ พร้อมกับพัฒนาทักษะการสื่อสาร วิชาการ และความเป็นผู้นำที่โดดเด่น ผ่านการตอบคำถามทางบัญชี การแข่งขันกรณีศึกษา กิจกรรมทางบัญชี ซึ่งคว้ารางวัลชนะเลิศและรองชนะเลิศในหลายเวที และยังมีการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ รวมถึงจัดหลักสูตรความเป็นเลิศทางวิชาชีพซึ่งรวมอยู่ในหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษาได้พบปะและเรียนรู้จากผู้นำในอุตสาหกรรม[ 60]
โปรแกรมบัญชีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการยกย่องทางวิชาการมาอย่างยาวนานและได้รับการรับรองมาตรฐานสากลโดยองค์กรวิชาชีพบัญชีชั้นนำระดับโลก ได้แก่ Chartered Institute of Management Accountants (CIMA)[ 7] [ 8] และสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์
โดยศิษย์เก่าจากบัญชีที่ประสบความสำเร็จระดับสูงในหลากหลายองค์กร ยกตัวอย่างเช่น จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท PTT Oil and Retail Business (OR) ซึ่งเป็นผู้หญิงคนแรกของบริษัทที่รับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง [ 25] [ 26] [ 27] , ชาลอต โทณวณิก อดีตประธานกรรมการบริษัท มีเดีย ออฟ มีเดียส์ จำกัด และอดีตผู้ตรวจสอบบัญชีอาวุโส สำนักงาน PwC ประเทศไทย [ 28] , ฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์ ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหาร บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด [ 29] , สิงห์ทอง ชินวรรังสี อดีตอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และอดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [ 61] [ 62] [ 63] , สิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา
ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) [ 64] [ 65] , นภัสชล ทองสมจิตร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงานทรงคุณวุฒิ ระดับ 10 ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)/อดีตคณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ [ 66] [ 67]
บริหารธุรกิจบัณฑิต
การเงิน
หลักสูตรที่พัฒนาทักษะการวิเคราะห์และการคิดเชิงวิพากษ์ในการตัดสินใจตลอดจนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณในด้านการเงิน รวมทั้งพัฒนาความรู้เชิงลึกในด้านการเงินองค์กร การวิเคราะห์การลงทุน และการจัดการพอร์ตการเงิน ตราสารอนุพันธ์ ตลาดการเงิน และสถาบันการเงินต่างๆ
การจัดการ
พัฒนาการเป็นผู้จัดการและผู้ประกอบการมืออาชีพที่มีประสิทธิภาพผ่านการฝึกอบรมในการแก้ปัญหา การตัดสินใจ ความเป็นผู้นำ และการทำงานเป็นทีม
การจัดการผลิต
หลักสูตรที่พัฒนาการเรียนรู้การจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่ออำนวยความสะดวกในการตัดสินใจในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเรียนรู้การจัดการคน กระบวนการ และเทคโนโลยี ให้เข้ากับการใช้งานจริงในโครงการของบริษัท
การตลาด
หลักสูตรที่พัฒนาการเข้าใจสภาพแวดล้อมของตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคผ่านการวิจัยการตลาดเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ มีการเรียนรู้เชิงปฏิบัติและการโต้ตอบด้วยการใช้เกมการตลาดและการจำลองสถานการณ์ทางธุรกิจอย่างครอบคลุม รวมทั้งเรียนรู้การพัฒนากลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มยอดขายและผลกำไร
บริหารธุรกิจหลักสูตรนานาชาติ (BBA)
BBA
หลักสูตรนานาชาติ บริหารธุรกิจบัณฑิต (BBA International Program) ของคณะบริหารธุรกิจ เป็นหลักสูตรระดับปริญญาตรีที่สอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด หลักสูตรเน้นการทำงานเชิงกว้างทางบริหารและมุ่งเน้นให้มีความเชี่ยวชาญด้านการเงิน และการจัดการ โดยมี 2 สาขาวิชา คือ การเงิน (Finance) และการจัดการ (Management)[ 68] [ 69] [ 70] [ 71]
BBA IP in Marketing หรือ KUBIM
หลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี ด้านการตลาด (BBA International Program in Marketing) หรือที่รู้จักกันในชื่อ KUBIM การเรียนและการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด โดยหลักสูตรมุ่งเน้นให้มีความเชี่ยวชาญในด้านการตลาด (Marketing) ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ต้องเผชิญในปัจจุบัน[ 72] [ 69] [ 70] [ 71]
ขั้นตอนการรับสมัคร
นักศึกษาระดับปริญญาตรีของ คณะบริหารธุรกิจ มก. คัดเลือกจากผู้สมัครซึ่งเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในชั้นปีสุดท้ายของโรงเรียนโดยผ่านระบบรับสมัครส่วนกลาง [ 73] ผู้สมัครจำเป็นต้องยื่นสมัครในแต่ละหลักสูตรแยกกันอย่างชัดเจน ทั้งหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ทั้งภาคปกติและภาคพิเศษ) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การเงิน, การตลาด, การจัดการ, การจัดการการผลิต) หลักสูตร BBA IP in Marketing (KUBIM) และหลักสูตร BBA [ 74] [ 75] ซึ่งแตกต่างจากหลักสูตรธุรกิจระดับปริญญาตรีที่อื่น ๆ ที่นักศึกษาจะเรียนรวมในปีที่หนึ่งแล้วแยกสาขาในปีที่สอง
สำหรับการสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ (International Program) ต้องใช้คะแนน IELTS หรือ TOEFL (paper-based, internet-based, Computer-based) หรือ KU-EPT หรือ OOPT หรือ CEFR B2 ประกอบการสมัครด้วย
สถิติการรับสมัคร
จากสถิติการรับเข้าศึกษาในคณะบริหารธุรกิจ มก. ระดับปริญญาตรี ได้รับการจัดอันดับจากที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ว่าเป็นคณะ/สาขาวิชาที่มีผู้สมัครมากที่สุด ในระบบ TCAS ทั้งรอบที่ 3 และรอบที่ 4 หลายปีติดต่อกัน[ 76] [ 77] อาทิ ปีการศึกษา 2566 รอบที่ 3 สาขาบัญชี มีผู้สมัครมากเป็นอันดับห้าของประเทศ จำนวน 7,556 คน จำนวนรับ 85 คน อัตราการแข่งขัน 1 : 89[ 2] [ 3] [ 4] [ 5] , ปีการศึกษา 2562 รอบที่ 3 สาขาการเงิน มีผู้สมัครมากที่สุดในประเทศ จำนวน 3,151 คน จำนวนรับ 30 คน [ 78] และสาขาการตลาด (ภาคปกติ) มีผู้สมัครมากเป็นอันดับสองของประเทศ จำนวน 2,723 คน จำนวนรับ 30 คน[ 79] , ปีการศึกษา 2561 รอบที่ 4 สาขาบัญชี (ภาคปกติ) มีผู้สมัครมากที่สุดในประเทศ จำนวน 987 คน จำนวนรับ 125 คน [ 80] [ 81] [ 82] [ 83] , ปีการศึกษา 2560 รอบที่ 4 สาขาบัญชี มีผู้สมัครมากเป็นอันดับห้าของประเทศ จำนวน 1,201 คน จำนวนรับ 140 คน [ 84] , ปีการศึกษา 2559 สาขาบัญชี มีผู้สมัครมากเป็นอันดับสามของประเทศ จำนวน 1,332 คน จำนวนรับ 110 คน[ 85] , ปีการศึกษา 2558 สาขาบัญชี มีผู้สมัครมากเป็นอันดับเก้าของประเทศ จำนวน 1,662 คน จำนวนรับ 150 คน[ 86] [ 87]
การสำเร็จการศึกษาและการจ้างงาน
คณะบริหารธุรกิจ มก. ใช้ระบบเครดิตรายวิชาที่คล้ายกับที่ใช้ในมหาวิทยาลัยในอเมริกาส่วนใหญ่ แต่ละหลักสูตรจะมีการกำหนดน้ำหนักหน่วยกิตที่แน่นอนและนักศึกษาจะต้องเรียนตามจำนวนหน่วยที่กำหนดใน 4 ปี เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดสำหรับการสำเร็จการศึกษา อย่างไรก็ตามนักศึกษาก็สามารถสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีใน 3.5 ปี ได้เช่นเดียวกัน
จากข้อมูลผู้ที่สำเร็จการศึกษาปี 2558 นักศึกษาระดับปริญญาตรีของ คณะบริหารธุรกิจ มก. มีรายงานอัตราการมีงานทำโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 93.20% เงินเดือนเริ่มต้นเฉลี่ยที่ 21,284.7 บาท [ 88] หลักสูตรที่มีอัตราการมีงานทำและเงินเดือนเริ่มต้นเฉลี่ยสูงสุดคือ หลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ภาคปกติ) มีอัตราการมีงานทำเฉลี่ยสูงสุด 98.51% เงินเดือนเริ่มต้นเฉลี่ยสูงสุดที่ 24,419.8 บาท ตามมาด้วยหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (ภาคพิเศษ) มีอัตราการมีงานทำเฉลี่ย 94.59% เงินเดือนเริ่มต้นเฉลี่ยที่ 23,219.9 บาท [ 89] [ 90]
โปรแกรมระดับบัณฑิตศึกษา
หลักสูตร MBA
คณะบริหารธุรกิจ มก. เปิดสอน 5 หลักสูตร[ 91] คือ MBA สำหรับนักศึกษาเต็มเวลา (RMBA), MBA สำหรับนักศึกษานอกเวลา (YMBA), MBA สำหรับนักศึกษา สปท. (CMMBA), MBA สำหรับนักศึกษานานาชาติ (KIMBA) และ MBA สำหรับผู้บริหาร (Executive MBA) ในช่วงปีแรกนักศึกษาทุกคนจะเรียนตามหลักสูตรแกนกลางที่จำเป็นซึ่งครอบคลุมสาขาของการบริหาร เช่น การเงิน การตลาด การบัญชี การจัดการ และกลยุทธ์ ตลอดจนความเป็นผู้นำ จริยธรรม และทักษะการสื่อสารที่จำเป็นสำหรับผู้บริหารระดับสูง รวมถึงการเรียนแบบกรณีศึกษา การบรรยาย และการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติจริงในปีที่สูงขึ้น โดยเน้นการนำแนวคิดที่เรียนรู้ในห้องเรียนมาปรับใช้กับประเด็นทางธุรกิจในโลกแห่งความเป็นจริง ประกอบกับการให้เหตุผลเชิงวิเคราะห์และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
หลักสูตรสำหรับผู้บริหาร (Executive MBA)
นอกเหนือจากหลักสูตรการศึกษาแบบดั้งเดิมแล้วคณะบริหารธุรกิจ ยังจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหาร หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร (Executive MBA Program: EX-MBA KU)”[ 92] [ 93] ผู้เข้าศึกษามักจะมาจากผู้บริหารระดับสูงหรือผู้บริหารที่มีประสบการณ์หลายปีภายในบริษัทหรืออุตสาหกรรมของตน หลักสูตรออกแบบมาให้เป็นศูนย์การศึกษาด้านธุรกิจอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้บริหารระดับสูงเพื่อความเป็นเลิศทางธุรกิจ เริ่มดำเนินการครั้งแรกในปี พ.ศ. 2531 โดยผู้เข้าศึกษาจะได้รับการตอบรับเป็นสมาชิกของ “สมาคมปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (The Executive MBA Association of Kasetsart University; EX-MBA K.U. Asso.)”[ 94] ทันทีเมื่อเข้าศึกษา[ 95] [ 96] [ 97] [ 98]
หลักสูตรการเงินประยุกต์
หลักสูตรการเงินประยุกต์ของคณะบริหารธุรกิจ มก. มุ่งเน้นทักษะขั้นสูงในการบริหารการเงินและการเตรียมตัวสำหรับอาชีพด้านการลงทุนทางการเงิน [ 99] เนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับหลักสูตรวิชาชีพการเงินและการลงทุนระดับสากล [ 100] โดยได้รับการรับรองหลักสูตรจาก CFA Institute ให้เป็น CFA Program Partner [ 10] ซึ่งเหมาะสำหรับการเตรียมตัวเพื่อการสอบ CFA
โครงการปริญญาโทการบัญชี
หลักสูตร Master of Accountancy (Data & Analytics) หรือ บัญชีมหาบัณฑิต (ข้อมูลและการวิเคราะห์)[ 101] ออกแบบมาเพื่อพัฒนาความเชี่ยวชาญในการใช้ข้อมูลทางบัญชีเพื่อการวิเคราะห์สำหรับการตัดสินใจทางธุรกิจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกทางบัญชีเพื่อเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัท[ 102] เนื้อหาหลักสูตรผสมผสานการเรียนรู้ทั้งแบบวิชาการจากคณาจารย์ประจำและการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญในภาคธุรกิจ และได้รับการเผยแพร่ว่าเป็นหลักสูตรที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ในปีการศึกษา 2564[ 103] [ 104] [ 105]
หลักสูตรปริญญาเอก
คณะบริหารธุรกิจ มก. เปิดสอนหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ (Ph.D. in Business Administration)[ 106] (แตกต่างจากโรงเรียนธุรกิจในบางแห่งที่ระบุเป็น DBA) ใช้เวลาอย่างน้อยสองปีในการสำเร็จหลักสูตรปริญญาเอก มีการศึกษาทั้งปรัชญาและทฤษฎีขั้นสูงในการวิจัยธุรกิจ เรื่องเฉพาะทางการเงิน การบัญชี การตลาด การจัดการ และการจัดการการผลิต [ 107]
โปรแกรมระยะสั้น และ Executive Education
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้สร้างหลักสูตร Certificate Program ซึ่งเป็นโปรแกรมการศึกษาระยะสั้นสำหรับผู้บริหาร นักธุรกิจ เจ้าของกิจการ ผู้ประกอบการ ผู้จัดการ และผู้ที่สนใจ เพื่อพัฒนาทักษะสำหรับธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน
หลักสูตรระยะสั้น Fast Mini MBA
หลักสูตรระยะสั้น Fast Mini MBA for New Manager in the Age of VUCA (Certificate Program) โดยศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดแห่งภูมิภาคเอเชีย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือจากบริษัท ดิจิทัล บิสิเนส คอนซัลท์ จำกัด (DBC) เป็นหลักสูตรเร่งรัดด้านการบริหารธุรกิจ สำหรับหัวหน้างาน ผู้จัดการ และผู้บริหาร การเรียนการสอนเน้นทักษะและองค์ความรู้ที่จำเป็นในประเด็นปัจจุบันและปัญหาในอุตสาหกรรมที่กำลังเกิดขึ้นเป็นหลัก บรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์จากภาคธุรกิจ รวมทั้งคณาจารย์ประจำของคณะบริหารธุรกิจ[ 108] [ 109] [ 110]
หลักสูตรระยะสั้น Fast Mini MBA in Marketing for Non Marketer (Certificate Program) มุ่งเน้นความรู้ทางการตลาดอย่างรอบด้านและทันสมัย วิทยากรประกอบด้วย นักการตลาด นักวางแผนโฆษณาและประชาสัมพันธ์ นักธุรกิจและผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง หลักสูตรเหมาะกับผู้บริหารที่ต้องรับผิดชอบด้านการตลาดแต่ไม่มีพื้นฐานด้านการตลาด ผู้บริหารที่ต้องทำงานร่วมกับฝ่ายการตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร
หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำระดับสูงด้านธุรกิจที่ยั่งยืน KU Change Agent Readiness Executive Program (KU CARE)
หลักสูตรประกาศนียบัตรผู้นำระดับสูงด้านธุรกิจที่ยั่งยืน KU Change Agent Readiness Executive Program (Certificate Program) หรือ หลักสูตร KU CARE โดยศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือจากอดีตผู้บริหารระดับสูงภาครัฐ (อดีตปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม) และสมาคมนิสิตเก่าคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ 111] เป็นหลักสูตรสำหรับผู้นำประเทศ ผู้นำองค์กรภาครัฐและเอกชน ที่ทำหน้าที่กำหนดวิสัยทัศน์องค์กร เพื่อเพิ่มพูนองค์ความรู้และทักษะในการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้แนวคิด Bio-Circular-Green (BCG) ให้สอดคล้องกับภารกิจเร่งด่วนที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals ; SDGs) บรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์จากภาคธุรกิจ ภาครัฐ รวมทั้งคณาจารย์ประจำของคณะบริหารธุรกิจ[ 112] [ 113] [ 114] [ 115] [ 116] [ 117] [ 118] [ 119] [ 120]
การรับรองมาตรฐาน
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการรับรองหลักสูตรจากสถาบันทั้งในและต่างประเทศ โดยหลักสูตรบัญชีบัณฑิต (Bachelor of Accountancy; B.Acc.) ได้รับการรับรองหลักสูตรว่ามีความทันสมัยตามมาตรฐานการศึกษาระหว่างประเทศ (International Education Standard: IES) หลักสูตรปริญญาโท สาขาการเงินประยุกต์ (M.A. Applied Finance) ได้รับการรับรองจากสถาบันด้านการเงินและการลงทุนระดับนานาชาติ และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด (B.B.A. Marketing) ได้รับการรับรองมาตรฐานหลักสูตรคุณภาพระดับอาเซียน ดังนี้
สถาบันภายในประเทศ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิตได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ บัณฑิตจากหลักสูตรบัญชีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อจบการศึกษาสามารถสมัครเป็นสมาชิกสามัญของสภาวิชาชีพบัญชีฯ เพื่อขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี[ 8]
CIMA
สถาบันต่างประเทศ
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล (accredited) จาก Chartered Institute of Management Accountants (CIMA) เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2557 [ 54] ซึ่งเป็นสมาคมด้านการบัญชี เพื่อการบริหารระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งการรับรองนี้ส่งผลให้ผู้ที่ศึกษาในชั้นปีสุดท้ายในหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับการยกเว้นการสอบ 8 รายวิชา จากทั้งหมด 9 รายวิชา[ 55] ในการสอบประกาศนียบัตรทางด้านการบัญชีเพื่อการบริหาร (Diploma in Management Accounting) ของ CIMA ซึ่งมีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในระดับสากล นับเป็นหลักสูตรแรกจากสถาบันการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจ ในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองนี้[ 7]
CFA Institute
หลักสูตรในระดับปริญญาโท สาขาวิชาการเงินประยุกต์ (Applied Finance) ยังได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลจากสถาบันวุฒิบัตรนักวิเคราะห์การเงิน (Chartered Financial Analyst Institute) หรือ CFA ว่าเนื้อหาหลักสูตรมีความสอดคล้องกับ CFA Program Candidate Body of Knowledge และได้รับการตอบรับจากสถาบัน CFA ให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโปรแกรมพันธมิตรระดับมหาวิทยาลัย หรือ University Affiliation Program (UAP) ด้วย[ 9] [ 10]
และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาด ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพจาก ASEAN University Network Quality Assurance: AUN-QA ในการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN – QA ระดับอาเซียน ปีการศึกษา 2563[ 11]
การจัดอันดับ
QS World University Rankings
คณะบริหารธุรกิจ มก. เปิดตัวในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย QS หรือ QS World University Rankings by Subject ครั้งแรกในปี 2019 โดยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่ม 451-500 ของโลก [ 12] ในสาขาวิชา Business & Management Studies ในปี 2021 คณะบริหารธุรกิจ มก. อยู่ในอันดับที่ 501-550 ของโลก [ 13] ในปี 2022 อยู่ในอันดับที่ 451-500 ของโลก[ 130] ในปี 2023 คณะบริหารธุรกิจ มก. อยู่ในอันดับที่ 501-550 ของโลก[ 131] และในปี 2024 อยู่ในอันดับที่ 551-600 ของโลก[ 132] ในสาขาวิชาเดียวกัน
ข้อมูลในปี 2019 คณะบริหารธุรกิจ มก. ได้รับคะแนนด้านการยอมรับทางวิชาการ ( ACADEMIC REPUTATION ) = 46 คะแนน, ด้านจำนวนบทความวิชาการที่ถูกอ้างอิงถึง ( CITATIONS PER PAPER ) = 73 คะแนน, ด้านจำนวนบทความวิชาการที่ถูกอ้างอิงในวารสารวิชาการที่มีผลกระทบระดับสูง ( H-INDEX CITATIONS ) = 57.8 คะแนน, และด้านความพึงพอใจของนายจ้าง ( EMPLOYER REPUTATION ) = 51.9 คะแนน [ 133] [ 134]
Times Higher Education
ในปี 2021 คณะบริหารธุรกิจ มก. ก้าวขึ้นสู่อันดับที่ 601+ ของโลกในสาขา Business & Economics [ 18] ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ Times Higher Education และในปี 2022 คณะบริหารธุรกิจ มก. อยู่ในอันดับที่ 601+ ของโลก [ 135] ในปี 2023 อยู่ในอันดับที่ 801+[ 136] ในสาขาวิชาเดียวกัน รวมถึงปี 2024 อยู่ในอันดับที่ 801+ ของโลกด้วย[ 137]
ข้อมูลในปี 2021 ได้รับคะแนนในภาพรวม ( OVERALL ) = 22.4-8.5, ด้าน CITATIONS = 39.4 คะแนน, ด้าน INDUSTRY INCOME = 49.0 คะแนน, ด้าน INTERNATIONAL OUTLOOK = 25.1 คะแนน, ด้าน RESEARCH = 7.1 คะแนน และด้าน TEACHING = 7.0 คะแนน [ 138]
การวิจัย
ตึกคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝั่งถนนงามวงศ์วาน ของกรุงเทพมหานคร
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นที่ตั้งของศูนย์วิจัย 6 แห่ง ซึ่งจัดการวิจัยในสาขาต่าง ๆ ของการบริหารธุรกิจ ศูนย์มีขึ้นเพื่อส่งเสริมการวิจัยของคณาจารย์ สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง คณะบริหารธุรกิจ มก. กับโลกธุรกิจ และสนับสนุนโครงการบริการวิชาการให้กับบุคคลภายนอก ศูนย์วิจัยทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ Asia Market Expertise Center, Yunus Social Business Center, Social Enterprise Leadership Center [ 139] [ 140] , Competence Centers for the Development of Sustainable Tourism and Innovative Financial Management Strategies[ 141] , Kasetsart Business School Media Center[ 142] และศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจ[ 143]
นอกเหนือจากนี้ยังมีวารสารวิชาการเป็นของตนเอง ได้แก่ Kasetsart Applied Business Journal (KAB Journal) วารสารด้านการบริหารและธุรกิจ ภายใต้การบริหารงานของคณะบริหารธุรกิจ มก. ซึ่งตีพิมพ์บทความ แนวคิดการจัดการและข้อตกลงทางธุรกิจ ครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม การจัดการ การบริหาร การธุรกิจ ซึ่งรวมถึงภาวะผู้นำ การเจรจาต่อรอง กลยุทธ์ การดำเนินงาน การตลาด การเงิน และบัญชี
วารสาร
วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (อังกฤษ : Kasetsart Applied Business Journal ; ชื่อย่อ : KAB Journal) (ISSN : 1906-0254) (E-ISSN : 2539-6250) เป็นวารสารวิชาการประจำคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 มีกำหนดการออกเผยแพร่ทุก 6 เดือน (วารสารราย 6 เดือน) หรือ 2 ฉบับต่อปี ฉบับที่หนึ่งช่วงเดือนมกราคม-เดือนมิถุนายน และฉบับที่สองช่วงเดือนกรกฎาคม-เดือนธันวาคม มีเนื้อหาด้านการเงิน การบัญชี การตลาด การจัดการ การจัดการการผลิต และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารธุรกิจ โดยเผยแพร่ทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งบทความวิจัย และบทความวิชาการ สำหรับการตีพิมพ์เผยแพร่จะต้องผ่านกระบวนการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิตามสาขาต่าง ๆ (Peer-Reviewed Process) ก่อนเผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ[ 144] [ 145] [ 146] [ 147] [ 148]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการเพิ่มเติมให้เป็นวารสารฉบับอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเริ่มใช้ในปีที่ 11 ฉบับที่ 14 เดือนมิถุนายน 2560 ควบคู่ไปกับวารสารฉบับพิมพ์ ทำให้สามารถอ่านวารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ได้ทั้งทางอินเทอร์เน็ตแบบเปิดให้เข้าถึงได้อย่างเสรี และอ่านแบบเล่มตีพิมพ์ได้ในระบบห้องสมุดของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานบรรณาธิการของวารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ ตั้งอยู่ที่ฝ่ายงานวิชาการและวิจัย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ 149] [ 150]
นอกจากนี้ วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ยังได้รับการรับรองคุณภาพวารสารให้อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1 สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สำหรับรอบที่ 4 พ.ศ. 2563-2567 ครั้งที่ 2 (2564-2567) ด้วย[ 151] [ 152] [ 153]
ศูนย์ยูนูสธุรกิจเพื่อสังคม
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้รับความไว้วางใจจากศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ร่วมกับธนาคารกรามีน ประจำปี พ.ศ. 2549[ 154] [ 155] ให้เป็น "Yunus Social Business Center of Kasetsart Business School" หรือ "ศูนย์ยูนูสธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์"[ 156]
โดยศูนย์ดังกล่าวก่อตั้งขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2559[ 157] [ 158] มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นตัวกลางประสานงานและขับเคลื่อนกลไกธุรกิจเพื่อสังคมในประเทศไทย ศูนย์นี้ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาสังคมอย่างยั่งยืน ทำหน้าที่เป็นแหล่งความรู้สำคัญเกี่ยวกับธุรกิจเพื่อสังคม ในประเทศไทย และเป็นแหล่งสร้างเสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม ในบริบทของคนไทย[ 159] [ 160] [ 161] [ 162] [ 163] [ 164] [ 165]
ศูนย์เชี่ยวชาญตลาดแห่งภูมิภาคเอเชีย
ศูนย์เชี่ยวชาญตลาดแห่งภูมิภาคเอเชีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (อังกฤษ : Asia Market Expertise Center, Kasetsart University ชื่อย่อ : AMEC)[ 46] ศูนย์เผยแพร่องค์ความรู้ กลยุทธ์ ค้นคว้า วิจัย และพัฒนา ด้านการตลาดระดับภูมิภาคเอเชียและให้คำปรึกษาด้านธุรกิจระดับเศรษฐกิจ AEC สำหรับภาคธุรกิจของประเทศไทย โดยความร่วมมือจากพันธมิตรในภาคธุรกิจและนักวิชาการ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น สวิสเซอร์แลนด์ อังกฤษ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และ จีน เป็นต้น[ 166] [ 167]
บรรยายสาธารณะ เสวนา และประชุมวิชาการ
บรรยายสาธารณะและงานเสวนา
ศาสตราจารย์ Muhammad Yunus ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี 2006
การบรรยายสาธารณะซึ่งจัดโดยคณะบริหารธุรกิจ มก. สำหรับนักศึกษาและผู้สนใจ มักเชิญผู้บริหารระดับสูง นักธุรกิจ นักวิชาการ และนักวิจารณ์ชั้นนำ รวมถึงบุคคลสำคัญในระดับชาติและระดับนานาชาติ มาเป็นผู้บรรยายในประเด็นสำคัญรวมถึงแนวคิดต่าง ๆ ผู้บรรยายในอดีต เช่น ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ (ศาสตราจารย์ Muhammad Yunus ), ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม Bitkub (จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา)[ 19] เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีงานเสวนาด้านธุรกิจ KBS Alumni Live Talk[ 20] โดยสมาคมนิสิตเก่าคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับคณะบริหารธุรกิจ มก. ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และสามารถติดตามการเสวนาได้ผ่านทางไลฟ์เพจ KBS Alumni[ 21]
ในการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 57 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 คณะบริหารธุรกิจ ร่วมกับ คณะเศรษฐศาสตร์ และศูนย์ยูนูสธุรกิจเพื่อสังคมแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้จัดปาฐกถาพิเศษโดยผู้ได้รับรางวัลโนเบล ขึ้น โดยเชิญ “ศาสตราจารย์มูฮัมหมัด ยูนุส (Muhammad Yunus) ” นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2549 (The Nobel Peace Prize 2006) มาเป็นผู้แสดงปาฐกถาในปีดังกล่าว ในหัวข้อ “Social Business in The Digitized World ” ณ ห้องฟ้าใส ชั้น 5 อาคาร 1 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร [ 168] [ 169] [ 170] [ 171] [ 172]
ประชุมวิชาการ
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีส่วนในการส่งเสริม พัฒนา และผลักดันงานวิชาการด้านบริหารธุรกิจของประเทศให้ทัดเทียมและเป็นที่ยอมรับ โดยผ่านโครงการประชุมวิชาการทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ เช่น
การประชุมวิชาการนานาชาติ MakeLearn and TIIM International Scientific Conference จัดโดย International School for Social and Business Studies, Slovenia, Slovenia, Maria Curie-Sklodowska University, Poland และ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นความร่วมมือกับพันธมิตรระหว่างประเทศ การประชุมจะจัดขึ้นในเดือนพฤษภาคมของทุกปี ในประเทศต่าง ๆ ของทวีปยุโรปหรือทางออนไลน์ [ 173]
ประเด็นสำคัญของการประชุมคือ การส่งเสริม แลกเปลี่ยน อภิปราย และการเจรจาเกี่ยวกับวิธีจัดการการดำเนินงานทางอุตสาหกรรมและองค์กรในลักษณะที่เป็นนวัตกรรม มีประสิทธิภาพ และมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องอันเป็นผลมาจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขององค์กร[ 174] [ 175]
การประชุมวิชาการระดับชาติสาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี (อังกฤษ : Annual National Conference on Business and Accounting ; ชื่อย่อ : NCBA) เป็นการประชุมวิชาการระดับชาติในสาขาบริหารธุรกิจ และการบัญชี โดยจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2556 ซึ่งเปิดโอกาสให้นักวิจัย อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ทีทำการศึกษาวิจัยด้านบริหารธุรกิจและการบัญชีเข้ามานำเสนอผลงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น [ 176] [ 177] [ 178] [ 179] [ 180] [ 181]
โครงการ SEC Working Paper Forum จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับสถาบันอุดมศึกษาด้านบริหารธุรกิจ 4 แห่ง[ 47] จุดมุ่งหมายการประชุมสัมมนาเพื่อเป็นการเปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุน และเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างภาควิชาการกับผู้บริหารในตลาดทุน มุ่งสู่การนำบทความวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้จริง[ 182]
เพลง
ในระยะเริ่มแรกที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของ คณะสหกรณ์ ปรากฏเพลงบทแรกที่ถูกแต่งขึ้นและใช้เป็นเพลงประจำคณะ ได้แก่ เพลง “มาร์ชนิสิตสหกรณ์” [ 183] เพลงนี้เป็นเพลงมาร์ช แต่งเนื้อร้องและทำนองโดยอาจารย์สุภร ผลชีวิน ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ จึงมีการแต่งบทเพลงขึ้นใหม่อีกบทเพลงหนึ่งมีชื่อว่า เพลง “มาร์ชเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ” [ 45] [ 183]
ต่อมาได้ทำการแต่งบทเพลงใหม่ที่มีชื่อว่า เพลง “แสดเหนือนภา” [ 45] ใช้เป็นบทเพลงประจำคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจแทนบทเพลงเดิม ซึ่งเพลงนี้เป็นเพลงสุนทราภรณ์แต่งเนื้อร้องโดยว่าที่ร้อยตรีอวบ เหมะรัชตะ ทำนองโดยครูเอื้อ สุนทรสนาน และขับร้องโดย ยรรยง เสลานนท์ และ ธิดารัตน์ วรินทราคม ต่อมาได้ทำการปรับปรุงคำร้องและทำนองขึ้นใหม่ให้มีความเป็นเอกภาพมากขึ้นโดยว่าที่ร้อยตรีอวบ เหมะรัชตะ ซึ่งคำร้องใหม่ในสี่ท่อนแรกขณะนั้นบรรยายว่า
”… พวกเรามาร่วมน้ำจิต บริหารธุรกิจเกียรติ์ศักดิ์ศรี เศรษฐศาสตร์สหกรณ์การบัญชี สามัคคีดังพี่น้องท้องเดียวกัน …”
ซึ่งภายหลังได้มีการแยกคณะเศรษฐศาสตร์และคณะบริหารธุรกิจออกจากกัน จึงได้ปรับปรุงคำร้องในสี่ท่อนแรกใหม่ และเพลงดังกล่าวถูกใช้เป็นเพลงประจำคณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งในส่วนของคณะบริหารธุรกิจนั้นได้จัดตั้งคณะทำงานจัดทำเพลงประจำคณะขึ้นใหม่เพื่อให้เหมาะกับอัตลักษณ์ของคณะบริหารธุรกิจ จึงได้บทเพลงใหม่ที่มีชื่อว่า เพลง “ขอบฟ้า” [ 184] [ 45] คำร้องโดย ก้อง ศรีทานันท์, พูนลาภ แก้วแจ่มศรี ทำนองโดย โรจนะ เทพสุทา, อนุกูล พรหมดอนก่อ, พูนลาภ แก้วแจ่มศรี, ก้อง ศรีทานันท์ บรรเลงและขับร้องโดยชมรมดนตรีสากลแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU Band) ใช้ชื่อเพลงในภาษาอังกฤษว่า “Horizon” และเป็นบทเพลงประจำคณะเพียงแห่งเดียวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่มีเนื้อร้องเป็นภาษาอังกฤษระบุไว้อย่างเป็นทางการ [ 185] คณะบริหารธุรกิจจึงมีบทเพลงใหม่ประจำคณะตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ชีวิตและกิจกรรมในคณะ
ป้ายคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นิสิตคณะบริหารธุรกิจ มก. และศิษย์เก่ามักเรียกตัวเองว่า Bus อย่างไม่เป็นทางการ มาจากคำว่า "Business Administration" และในสาขาบัญชีมักเรียกตัวเองว่า Acct อย่างไม่เป็นทางการเช่นเดียวกัน ซึ่งย่อมาจาก "Accounting" วัฒนธรรมของนิสิตในคณะบริหารธุรกิจได้รับอิทธิพลจากหลักสูตรการเรียนเป็นอย่างมากที่เน้นด้านการบริหารและธุรกิจ
นิสิตของคณะบริหารธุรกิจส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาทำกิจกรรมและสังสรรค์อยู่ในคณะและมหาวิทยาลัย โดยมีสโมสร ชมรม กิจกรรมนอกเวลา และกีฬาเป็นหัวใจสำคัญของประสบการณ์ในคณะและมหาวิทยาลัย
สโมสรนิสิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Business Students Association Kasetsart University)[ 186] หนึ่งในเครือของสโมสรนิสิตระดับคณะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นการรวมกลุ่มของนิสิตคณะบริหารธุรกิจ มก. เพื่อทำกิจกรรมด้านต่าง ๆ และมีหน้าที่รับผิดชอบในการสนับสนุนนักศึกษาและดำเนินกิจกรรมด้านความบันเทิง วิชาการ เพื่อสังคม พัฒนาชนบท รวมทั้งสิ่งแวดล้อม
ตลอดทั้งปีการศึกษา มีกิจกรรมเกี่ยวกับธุรกิจ ผู้ประกอบการ และนิทรรศการวิชาการ จัดขึ้นเป็นประจำ ไฮไลท์ประจำปี ได้แก่ กิจกรรม Business Week[ 187] ที่ดำเนินการโดยนิสิตคณะบริหารธุรกิจทั้งหมด ภายในงานประกอบด้วยนิทรรศการเทรนด์ธุรกิจ การ workshop และการแข่งขันตอบปัญหาทางธุรกิจ[ 188]
กิจกรรมการแข่งขันภายนอกมหาวิทยาลัย ตัวแทนนิสิตภาควิชาบัญชี มก. ประสบความสำเร็จอย่างโดดเด่น ในการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศ (Thailand Accounting Challenge, TAC) ด้วยการคว้าถ้วยรางวัลชนะเลิศสองครั้ง[ 189] [ 190] [ 191] [ 192] รองอันดับหนึ่งสามครั้ง[ 193] [ 194] รองอันดับสองหนึ่งครั้ง[ 195] [ 196] รองอันดับสามสามครั้ง[ 197] [ 198] และรองอันดับสี่สองครั้ง[ 199] รวมถึงชัยชนะในการแข่งขัน กรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ (Thailand Accounting Case Competition, TACC) รางวัลชนะเลิศหนึ่งครั้ง[ 200] รองอันดับหนึ่งหนึ่งครั้ง รองอันดับสองหนึ่งครั้ง ซึ่งจัดขึ้นโดยสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ และในการแข่งขันตอบปัญหาด้านภาษีอากรระดับประเทศ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 (Tax-Challenge 2022) และครั้งที่ 2 ประจำปี 2566 (Tax-Challenge 2023) ซึ่งจัดโดยสมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากรแห่งประเทศไทย นิสิตภาควิชาบัญชีคว้ารางวัลชนะเลิศและถ้วยรางวัลเกียรติยศจากอธิบดีกรมสรรพากร 2 สมัยซ้อน[ 201] [ 202] และในการแข่งขันความสามารถทางด้านธุรกิจ Deloitte Thailand Business Challenge 2017 กรณีศึกษาทางภาษี Tax Case Competition นิสิตคณะบริหารธุรกิจ มก. เป็นหนึ่งในหกทีมสุดท้ายที่ผ่านเข้าสู่รอบ Preliminary Competition[ 203] [ 204] และในการแข่งขัน Business Game ประจำปี 2562 ซึ่งจัดโดย Chartered Institute of Management Accountants (CIMA) นิสิตภาควิชาบัญชี ได้รับรางวัล 3 ทีมสุดท้ายที่ทำคะแนนดีสุด ที่สามารถปรับใช้กลยุทธ์ทางด้านบัญชีบริหารเพื่อเข้ามาแก้ไขธุรกิจได้อย่างดี[ 205] รวมไปถึงความสำเร็จในการเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันในระดับนานาชาติ โดยนิสิตภาควิชาบัญชี มก. ได้รับรางวัลชนะเลิศ การแข่งขัน International MonsoonSIM Enterprise Resources Planning Competition 2019 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง (Hong Kong) สาธารณรัฐประชาชนจีน[ 206] [ 207] [ 208] นอกจากนี้ทีมตัวแทนนิสิตภาควิชาการตลาดและภาควิชาการจัดการยังคว้ารางวัลชนะเลิศเวทีสร้างแบรนด์ J-MAT BRAND PLANNING COMPETITION ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 ด้วย[ 209] [ 210]
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมด้านอื่น ๆ อีก อาทิ Acct Camp (ค่ายบัญชีพัฒนาชนบท)[ 211] , Acct Chain (โครงการสายโซ่สานสัมพันธ์)[ 212] , Acct Smile (โครงการบัญชีเพิ่มรอยยิ้ม)[ 213] , The Acctive (โครงการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพเชิงวิชาการ)[ 214] [ 215] [ 216] , Business Freshy Camp (ค่ายสู่รั้วพังงา)[ 217] [ 218] [ 219] , กิจกรรม Business Open House, งาน KBS Job Fair[ 220] และกิจกรรมออกร้านนิสิต บัสสะบัดครก (Bus zapp) ในงานสัปดาห์เกษตรแห่งชาติ[ 221]
ด้านของกีฬา มหาวิทยาลัยมีสนามกีฬาและสิ่งอำนวยความสะดวกที่ดีเยี่ยมสำหรับนิสิต และในปี พ.ศ. 2553 กิจกรรมกีฬาได้รับการประสานงานโดยสโมสรนิสิตคณะบริหารธุรกิจ มก. เกิดเป็น “กีฬา 5 ภาค คณะบริหารธุรกิจ (Sport 5 Majors)”[ 222] เป็นกีฬาเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนิสิตภาควิชาต่าง ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ ได้แก่ ภาควิชาบัญชี ภาควิชาการเงิน ภาควิชาการตลาด ภาควิชาการจัดการ และภาควิชาการจัดการการผลิต ชนิดกีฬาที่ใช้แข่งขัน เช่น บาสเก็ตบอล แชร์บอล และฟุตบอล[ 223]
วิทยาเขตและสิ่งอำนวยความสะดวก
โซนคอมเพล็กซ์ภายในตึกคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
คณะบริหารธุรกิจ ตั้งอยู่ภายใน 'เกษตรกลางบางเขน' หรือ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งอยู่ในเขตจตุจักร ทางตอนเหนือของกรุงเทพมหานคร พื้นที่ของคณะบริหารธุรกิจ ตั้งอยู่ทางฝั่งด้านใต้ของมหาวิทยาลัย ติดกับถนนงามวงศ์วาน ปัจจุบัน มีอาคารสำหรับการเรียนการสอนและปฏิบัติการสี่แห่ง ได้แก่ อาคารคณะบริหารธุรกิจ 1 (สร้างในปี พ.ศ. 2533), อาคารคณะบริหารธุรกิจ 2 (สร้างในปี พ.ศ. 2522), อาคารคณะบริหารธุรกิจ 3 (สร้างในปี พ.ศ. 2513) และอาคารคณะบริหารธุรกิจ 4 (สร้างในปี พ.ศ. 2551)[ 43] หลังแรกเป็นอาคารสำหรับบัณฑิตศึกษาและโครงการนานาชาติ สามหลังสุดท้ายบริเวณพื้นที่ชั้นหนึ่งเป็นคอมเพล็กซ์ใหม่ที่อำนวยความสะดวกและให้บริการที่ทันสมัยจากบริษัทชั้นนำ อาทิ U-Store , สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (Starbucks Coffee) , เอส แอนด์ พี (S&P Restaurant) , เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (Kerry Express), กาแฟ มวลชน (Muanchon Coffee) และเป็นสถานที่รับประทานอาหารของคณะบริหารธุรกิจ ที่เรียกว่า “บาร์บัส” โดยเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าใช้ได้เช่นเดียวกัน
วิทยาเขตบางเขน เป็นวิทยาเขตแห่งแรก ที่ได้รับการออกแบบ บูรณาการ และสร้างขึ้นในพื้นที่เมืองที่กำลังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง บนพื้นที่กว่า 800 ไร่ ล้อมรอบด้วยพิพิธภัณฑ์ โรงละคร โรงภาพยนตร์ หอศิลป์ สถาบันวิจัย บริษัทชั้นนำ โรงพยาบาล สนามกีฬา ศูนย์การค้า คาเฟ่ ร้านอาหาร และร้านค้าปลีกมากมาย รวมถึงเชื่อมโยงกับท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม รถไฟฟ้าสายสีแดง และสถานีรถไฟบางเขน
การเดินทาง
การเดินทางมายังคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สามารถมาได้หลายเส้นทาง ทั้งทางรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟ รถโดยสารประจำทาง และรถสวัสดิการภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รถไฟฟ้า
สถานีรถไฟฟ้าบีทีเอสมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
รถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดงเข้ม
การเดินทางมาด้วยรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) สามารถลงได้สองสถานี ได้แก่ สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และสถานีบางเขน
จากนั้นสามารถใช้บริการรถสวัสดิการภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือรถจักรยานยนต์บริการ เพื่อเดินทางเข้ามาที่คณะบริหารธุรกิจได้
รถไฟ
การเดินทางมาด้วยรถไฟ สามารถลงได้ที่สถานีรถไฟบางเขน ซึ่งอยู่เยื้องมุมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฝั่งถนนวิภาวดีรังสิต และสามารถเดินข้ามมายังสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม (สถานีบางเขน ) ที่อยู่ใกล้กัน เพื่อใช้ทางเชื่อมข้ามมายังฝั่งมหาวิทยาลัยได้
รถโดยสารประจำทาง
สายรถโดยสารประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีอยู่หลายสาย โดยแบ่งตามถนนสายหลักทั้ง 3 สาย รอบมหาวิทยาลัย ดังนี้
ถนนพหลโยธิน สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 26 34 39 59 114 126 185 503 522 524 และ 543ก [ 227]
ถนนวิภาวดีรังสิต สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 29 52 504 510 และ 555 [ 227]
ถนนงามวงศ์วาน สายรถประจำทางที่ผ่านมหาวิทยาลัย ได้แก่ สาย 24 63 104 114 522 545 [ 227]
จากนั้นสามารถใช้บริการรถสวัสดิการภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือรถจักรยานยนต์บริการ เพื่อเดินทางเข้ามาที่คณะบริหารธุรกิจได้
รถสวัสดิการภายในมหาวิทยาลัย
การเดินทางภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จะมีรถสวัสดิการภายในฯ หรือที่มักเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า 'รถตะลัย' คอยให้บริการแก่นิสิตและบุคลากร ตลอดจนผู้มาติดต่อ โดยไม่เสียค่าบริการ ประกอบไปด้วย 4 สายหลัก และ 2 สายเสริมพิเศษ[ 228] [ 229]
สมาคม
สมาคมศิษย์เก่าสาขาต่าง ๆ ของคณะบริหารธุรกิจ เป็นเวทีสำหรับศิษย์เก่าที่ดำเนินการเพื่อสนับสนุนคณะบริหารธุรกิจ ภาควิชา วิชาชีพ และช่วยเหลือในหมู่ศิษย์เก่า มีการจัดกิจกรรมที่หลากหลายตั้งแต่การพบปะตามปกติไปจนถึงงานระดับมืออาชีพซึ่งเป็นการขยายเครือข่ายส่วนตัวและอาชีพระหว่างหมู่ศิษย์เก่า นอกจากนี้ยังให้โอกาสที่ยอดเยี่ยมในการมีส่วนร่วมในสังคมด้วยการมีส่วนในการบริการชุมชนและอาสาสมัคร
สมาคมบัญชีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ส.มก.บช.) หรือ Accounting Association of Kasetsart University (AAKU) จัดให้มีเครือข่ายการติดต่อกันในแวดวงศิษย์เก่าที่เติบโตทั่วประเทศและภูมิภาค รวมถึงงานสังสรรค์ศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบัน[ 230] งานสัมมนา และกิจกรรมอื่น ๆ[ 231]
สมาคมปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (The Executive MBA Association of Kasetsart University; EX-MBA K.U. Asso.) เป็นหน่วยงานอิสระและเป็นศูนย์รวมสมาชิกศิษย์เก่าเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างศิษย์เก่า-ศิษย์ปัจจุบันผ่านโปรแกรมเครือข่าย พัฒนาความเป็นมืออาชีพผ่านโครงการอบรมสัมมนา ร่วมดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์กับทั้งสมาชิก มหาวิทยาลัยฯ สังคม และประเทศ[ 94] [ 95] [ 96] [ 97] [ 232] [ 233]
สมาคมศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ศศ.บธ) ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 ต่อมาได้จัดตั้งเป็น ‘ชมรมศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ’ ขึ้น ในปี พ.ศ. 2527 และจดทะเบียนเป็น ‘สมาคมศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ (Economic and Business Alumni Association)’ เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2546[ 234] [ 235]
สมาคมนิสิตเก่าคณะบริหารธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Kasetsart Business School Alumni Association : KBS Alumni Association หรือ KBS Alumni)[ 21] เป็นแหล่งส่งเสริมความสนใจด้านธุรกิจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเพิ่มพูนความรู้ด้านธุรกิจ เป็นหน่วยสำหรับจัดกิจกรรมด้านธุรกิจ อาทิ เสวนาธุรกิจออนไลน์ KBS ALUMNI Live Talk[ 20] สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านบริหารธุรกิจ[ 236] กิจกรรม KBS Alumni Wine Dine - Business Connection และเป็นสื่อกลางติดต่อกันระหว่างสมาชิกนิสิตเก่าคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นิสิตปัจุบัน และคณาจารย์
ชมรมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ชมรม MBA สปท.-มก.) (Association of Master of Business Administration National Defence Studies Institute - Kasestart University (AMBA)) เป็นชมรมที่ส่งเสริมกิจกรรมร่วมกันระหว่างสมาชิก ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ซึ่งกันและกันด้านการบริหารหน่วยงานความมั่นคงของประเทศ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ[ 237]
สื่อ
สิ่งพิมพ์
Acctgazine เป็นวารสารบัญชีพิมพ์อิสระที่ดำเนินการโดยนิสิตภาควิชาบัญชี มก. ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ต่อเนื่องทุกปีนับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2559 [ 238] วารสารได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวิชาชีพบัญชีที่น่าสนใจ ผลงาน กิจกรรม และข่าวสารของภาควิชาบัญชี มก. ในช่วงแรกใช้การตีพิมพ์เป็นรูปเล่มและมีจำนวนจำกัด ต่อมามีผู้สนใจมากขึ้นจึงปรับรูปแบบเพิ่มเติมจากเดิมคือมีฉบับออนไลน์ให้สามารถเข้าดูและเข้าถึงได้ง่าย สะดวก และไม่จำกัดจำนวน [ 239]
ON THE BUS เป็นนิตยสารข่าวสารและความรู้ทั่วไปที่ตีพิมพ์และบริหารงานโดยนิสิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์[ 240] ON THE BUS ได้รับการตีพิมพ์ปีละ 2 ครั้ง เนื้อหาครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับคณะบริหารธุรกิจ การทำธุรกิจ ข่าวสารเศรษฐกิจ ซึ่งรวมถึงไลฟ์สไตล์ แนวคิด แรงบันดาลใจ เพลง ภาพยนตร์ อาหาร และความบันเทิง ตีพิมพ์เผยแพร่ทั้งในแบบรูปเล่มและแบบออนไลน์ e-book[ 241] [ 242]
ออกอากาศ
KUBIM Podcast ผลิตรายการและเผยแพร่โดยหลักสูตร BBA IP in Marketing (KUBIM) ซึ่งครอบคลุมหัวข้อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร การเข้าศึกษา การเรียน และสังคม[ 72]
งานเขียนที่เกี่ยวข้อง
อนุสรณ์ ขวัญมิ่งตระกูล, เรื่องเล่าครูบัญชี โดย สมาคมบัญชีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอน ตั้งไข่ครูบัญชี. (2555, อ่างทอง : วรศิลป์การพิมพ์), ISBN 9786163057068 .)[ 243] [ 244]
ทีมงานเว็บไซต์เด็กดีดอตคอม, หนังสือ ‘กว่าจะจบบัญชี-บริหาร’. (2556, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์เด็กดีพับลิชชิ่ง), ISBN 9786168029107 .) [ 245]
ศิษย์เก่าดีเด่น
อ้างอิง
↑ ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่อง ชื่อปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ และเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ประกาศเมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ๑๓ มิ.ย. ๒๕๕๙ เล่ม ๑๓๓ ตอนพิเศษ ๑๓๔ ง หน้า ๖ สืบค้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566
↑ 2.0 2.1 "เปิดรายชื่อ 10 สาขา/คณะที่มีผู้สมัครสูงสุดใน TCAS66 รอบแอดมิชชั่น" . ประชาชาติธุรกิจ . สืบค้นเมื่อ 16 April 2023 .
↑ 3.0 3.1 "เปิดสถิติ! นิเทศศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ คว้าแชมป์ "ผู้สมัครมากที่สุด" ในรอบ Admission66 - อันดับที่ 5 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาวิชาบัญชี" . dek-d.com . สืบค้นเมื่อ 16 April 2023 .
↑ 4.0 4.1 "รายชื่อ 10 สาขา/คณะ ที่มีผู้สมัครสูงสุดใน TCAS 2566 รอบ 3 (Admission)" . Campus-star . สืบค้นเมื่อ 16 April 2023 .
↑ 5.0 5.1 "ม.เกษตรฯ ให้ข้อมูลคนรุ่นใหม่เลือกสาขาจำเป็น - สาขายอดฮิต : สาขานิเทศศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์ บัญชีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ" . Thairath Online . 5 June 2023. สืบค้นเมื่อ 14 Oct 2023 .
↑ "ข้อมูลนิสิต - จำนวนนิสิตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 (ภาคต้น)" . ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 20 June 2021 .
↑ 7.0 7.1 7.2 "CIMA - Kasetsart University, Thailand : Bachelor of Accountancy" . cimaglobal.com . สืบค้นเมื่อ 10 June 2019 .
↑ 8.0 8.1 8.2 "หลักสูตรสถาบันที่ผ่านการรับรองจากสภาวิชาชีพบัญชี หลักสูตรใหม่หรือหลักสูตรปรับปรุง - ปัจจุบัน" . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . สืบค้นเมื่อ 21 April 2021 .
↑ 9.0 9.1 "University Affiliation Program" . CFA Institute . สืบค้นเมื่อ 13 July 2022 .
↑ 10.0 10.1 10.2 10.3 "หลักสูตรปริญญาโทการเงินของคณะบริหารธุรกิจถูกตอบรับให้เป็นหลักสูตรพันธมิตรของสถาบัน CFA" . Kasetsart Business School . 20 Aug 2020. สืบค้นเมื่อ 1 November 2020 .
↑ 11.0 11.1 "หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการตลาด ได้รับการรับรองหลักสูตรคุณภาพมาตรฐาน AUN-QA ปี 2563" . Kasetsart Business School . สืบค้นเมื่อ 1 November 2020 .
↑ 12.0 12.1 "QS World University Rankings by Subject 2019 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 20 August 2019 .
↑ 13.0 13.1 "QS World University Rankings by Subject 2021 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 5 March 2021 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2022 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 20 April 2022 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2023 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 26 March 2023 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2024 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 24 April 2024 .
↑ "THE World University Rankings 2022 by subject: business and economics - Kasetsart University" . Times Higher Education . สืบค้นเมื่อ 20 October 2021 .
↑ 18.0 18.1 "THE World University Rankings 2021 by subject: business and economics - Kasetsart University" . Times Higher Education . สืบค้นเมื่อ 17 December 2020 .
↑ 19.0 19.1 "How to Survive Digital Disruption: The Leader's Views" . blockdit.com . 5 Feb 2021. สืบค้นเมื่อ 6 June 2021 .
↑ 20.0 20.1 20.2 "KBS ALUMNI Live Talk #2 "Accounting is Big Data" " . KBS Alumni . 29 Oct 2021. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022 .
↑ 21.0 21.1 21.2 "KBS Alumni" . สืบค้นเมื่อ 20 April 2022 .
↑ 22.0 22.1 "ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี เล่ม ๑๒๘, ตอนพิเศษ ๘๘ ง, ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๔, หน้า ๒" (PDF) . สืบค้นเมื่อ 21 April 2021 .
↑ 23.0 23.1 "รายนามคณะกรรมาธิการ - นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล" . สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร . สืบค้นเมื่อ 21 April 2021 .
↑ 24.0 24.1 "อดีตคณะกรรมการสถาบัน - วรวิทย์ จำปีรัตน์" . The Gem and Jewelry Institute of Thailand (Public Organization) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-21. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021 .
↑ 25.0 25.1 25.2 "คณะผู้บริหาร" . PTT Oil and Retail Business (OR) . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ 26.0 26.1 26.2 "e-Book วารสาร TOGETHER ฉบับเดือนกันยายน 2565 - จิราพร ขาวสวัสดิ์ CEO หญิงแกร่ง แห่ง OR" . OR . 7 Sep 2022. สืบค้นเมื่อ 6 Oct 2022 .
↑ 27.0 27.1 27.2 " "จิราพร" อำลาตำแหน่งแม่ทัพ 'OR' ฝาก CEO ใหม่เปิดกว้างรับความเห็นคนในองค์กร" . bangkokbiznews.com . 7 Sep 2022. สืบค้นเมื่อ 6 Oct 2022 .
↑ 28.0 28.1 "ประวัติชาลอต โทณวณิก" . ไทยรัฐออนไลน์ . สืบค้นเมื่อ 21 April 2021 .
↑ 29.0 29.1 29.2 "ฉัตรชัย วิรัตน์โยสินทร์" . mixmagazine . 13 Oct 2014. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ "ครบรอบ 60 ปี ภาควิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ - The 60th Anniversary of The Department of Accounting Kasetsart University" . Flip Builder . สืบค้นเมื่อ 26 July 2021 .
↑ "แนะนำคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2534" . kukr2.lib.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 24 June 2021 .
↑ "ชีวิตที่วัดโพธิ์และตลาดท่าเตียนของ "จุล อรุณวิจิตรเกษม" " . มูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ . 18 Oct 2016. สืบค้นเมื่อ 7 March 2024 .
↑ "ระลึกถึงสหกรณ์เมื่อ 36 ปี มาแล้ว - ชีวิตของผม ศาสตราจารย์ พันธุม ดิษยมณฑล" . kukr2.lib.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 7 March 2024 .
↑ 34.0 34.1 34.2 34.3 "ประวัติความเป็นมาการจัดการศึกษาวิชาบัญชี ในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . acct.bus.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 29 April 2022 .
↑ 35.0 35.1 35.2 35.3 "ประวัติความเป็นมา ภาควิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . bus.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 29 April 2022 .
↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖ เก็บถาวร 2007-09-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๖๐, ตอน ๗, ๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๘๖, หน้า ๒๓๘
↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๖ เก็บถาวร 2020-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๖๐, ตอน ๔๔, ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๖, หน้า ๑๒๘๘
↑ "ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักสูตรปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๔๘๙ เล่ม ๖๓, ตอน ๓๒ ก, ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๙, หน้า ๓๖๙" (PDF) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 19 May 2021 .
↑ "สูจิบัตรพิธีเปิดห้องสมุดพิทยาลงกรณ์" . kukr2.lib.ku.ac.th . 1 March 1996. สืบค้นเมื่อ 27 June 2021 .
↑ ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประวัติคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เก็บถาวร 2010-03-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เรียกดูวันที่ 2020-06-06
↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกาจัดแบ่งคณะในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พุทธศักราช ๒๕๐๙ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน , เล่ม ๘๓, ตอน ๒๒, ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๐๙, หน้า ๒๓๑
↑ "ประกาศมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เรื่องกำหนดรหัสและเลขประจำตัวกับหนังสือราชการคณะบริหารธุรกิจ" . kukr2.lib.ku.ac.th . 6 Jan 1993. สืบค้นเมื่อ 27 June 2021 .
↑ 43.0 43.1 "ที่ระลึกพิธีเปิดอาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . kukr2.lib.ku.ac.th . 7 June 2010. สืบค้นเมื่อ 25 June 2021 .
↑ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประวัติความเป็นมา เรียกดูวันที่ 2018-07-28
↑ 45.0 45.1 45.2 45.3 45.4 "70 ปี เศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . (2556). ม.ป.ท: " . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-08-09. สืบค้นเมื่อ 21 July 2019 .
↑ 46.0 46.1 "ศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดแห่งภูมิภาคเอเชีย - Asia Market Expertise Center (AMEC)" . Amec-ku.org . สืบค้นเมื่อ 19 May 2021 .
↑ 47.0 47.1 "ก.ล.ต. ร่วม 4 สถาบันอุดมศึกษาจัด SEC Working Papers Forum ทุกเดือน เปิดเวทีนำเสนอผลงานวิจัยสู่การปฏิบัติจริง" . The Securities and Exchange Commission, Thailand . 9 July 2014. สืบค้นเมื่อ 9 June 2021 .
↑ "ก.ล.ต. จัดบรรยาย "แบบจำลองคุณภาพทางการบัญชีเพื่อตรวจจับการตกแต่งกำไรของบริษัทจดทะเบียนของประเทศไทย" ให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน ก.ล.ต. โดยอาจารย์ประจำภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . สำนักงาน ก.ล.ต . 15 Jan 2020. สืบค้นเมื่อ 9 June 2021 .
↑ "พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิชาชีพบัญชี" " . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (Federation of Accounting Professions) . 12 July 2016. สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง" . ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ" . Thammasat Business School . 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 17 May 2021 .
↑ "พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ "โครงการความร่วมมือเพื่อพัฒนาวิชาชีพบัญชี" ระหว่าง นายกสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับ คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์" . Thammasat Business School . 19 July 2016. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "เกษตรศาสตร์ จับมือ N.C.C. เสริมความรู้จัดกิจกรรมเชิงวิชาการ ชูวิสัยทัศน์ ผลักดันไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0" . thaiprmatter.wordpress.com . 26 Aug 2015. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021 .
↑ 54.0 54.1 "พิธีลงนามข้อตกลง (Memorandum of Agreement)" . ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . 3 Dec 2014. สืบค้นเมื่อ 10 June 2016 .
↑ 55.0 55.1 "Exemptions from certain exams in the CIMA Certificate in Business Accounting and CIMA Professional Qualification : Kasetsart University" . cimaglobal.com . สืบค้นเมื่อ 10 June 2019 .
↑ "Member of : The Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB) - Kasetsart Business School" . bus.ku.ac.th . November 2012. สืบค้นเมื่อ 30 May 2021 .
↑ "AACSB Certificate of Member : Kasetsart University Faculty of Business Administration" . bus.ku.ac.th . November 2012. สืบค้นเมื่อ 30 May 2021 .
↑ "จุลสารฟ้าใสไดเจสท์ (FAHSAI Digest - Association to Advance Collegiate Schools of Business (AACSB), Asia Pacific Annual Conference" . kukr2.lib.ku.ac.th . 2012. สืบค้นเมื่อ 27 June 2021 .
↑ "ทำเนียบผู้บริหาร" . bus.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 16 May 2021 .
↑ "บันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) นำ FlowAccount ให้นิสิตบัญชี เกษตรศาสตร์ ได้เรียนฟรี" . flowaccount . 18 March 2022. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022 .
↑ 61.0 61.1 "คณะผู้บริหารสมาคมบัญชีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมแสดงความยินดีกับ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์" . กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ . สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021 .
↑ 62.0 62.1 "ทำเนียบอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์" . กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-11-17. สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021 .
↑ 63.0 63.1 "เกษตรศาสตร์ ปราดเปรื่อง รุ่นที่ 1" . ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021 .
↑ 64.0 64.1 "คณะกรรมการผู้บริหารระดับสูง (คบร.) ธนาคารแห่งประเทศไทย" . bot.or.th . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2023-03-25. สืบค้นเมื่อ 28 Sep 2021 .
↑ 65.0 65.1 " "ธปท."ผุดแนวทางคุมคริปโทเคอร์เรนซี Stablecoin" . thaipost.net . 19 March 2021. สืบค้นเมื่อ 28 Sep 2021 .
↑ 66.0 66.1 "รายนามคณะอนุกรรมาธิการติดตามการปฏิรูปประเทศด้านเศรษฐกิจ" . สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา . สืบค้นเมื่อ 13 Jan 2023 .[ลิงก์เสีย ]
↑ 67.0 67.1 "ผู้บริหารสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์)" . สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) . สืบค้นเมื่อ 13 Jan 2023 .
↑ "BBA Kasetsart International Program" . BBA Kasetsart . สืบค้นเมื่อ 12 Dec 2021 .
↑ 69.0 69.1 "เรียน BBA อินเตอร์ที่ไหนดี? ข้อมูล BBA จุฬาฯ, ธรรมศาสตร์, มหิดล, เกษตรฯ, ลาดกระบัง" . theplannereducation.com . 1 Feb 2021. สืบค้นเมื่อ 12 Dec 2021 .
↑ 70.0 70.1 "TCAS64 Requirement มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมคณะท็อปภาคอินเตอร์" . Interpass . 5 June 2021. สืบค้นเมื่อ 28 Dec 2021 .
↑ 71.0 71.1 "ทำไมต้องเรียนหลักสูตรบริหารธุรกิจ นานาชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . admissionpremium . 10 March 2020. สืบค้นเมื่อ 19 May 2022 .
↑ 72.0 72.1 "PODCAST EP.01 Countdown to prepare for TCAS Round Portfolio by Project Leader and Director of KUBIM" . KUBIM . สืบค้นเมื่อ 17 June 2021 .
↑ "รีวิวบริหารธุรกิจ สาขาบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . Admission Premium . 26 July 2017. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "สรุปการใช้คะแนนรอบ 3 บัญชี-บริหาร (จุฬาฯ มธ. เกษตรฯ)" . smartmathpro.com . 16 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-07-31. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "สรุปการใช้คะแนนรอบ 3 รับตรงร่วมกัน TCAS63 คณะบัญชีและบริหาร ของมธ จุฬาฯ และเกษตร" . smartmathpro.com . 5 April 2020. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-08-11. สืบค้นเมื่อ 11 Aug 2021 .
↑ "TCAS คะแนนสูงสุด - ต่ำสุด แต่ละคณะ" . davance.com . สืบค้นเมื่อ 4 Aug 2021 .
↑ "10 คณะ/สาขาวิชา ยอดฮิต ที่มีผู้สมัครมากที่สุด ในระบบ TCAS รอบที่ 4 Admission ปี 61" . ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย - ทปอ . 4 July 2018. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "5 อันดับคณะยอดนิยม TCAS รอบ 3-4 ปี 62" . thaipbs.or.th . 23 May 2019. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "เผยบิ๊กดาต้าคณะ-สาขายอดนิยม 'ทีแคส62' " . กรุงเทพธุรกิจ . 22 May 2019. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "เปิด 20 อันดับคณะ มีผู้สมัครมากที่สุด บัญชี ม.เกษตรฯ เกือบพันคน" . unigang.com . สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "ส่อง 10 อันดับ คณะยอดฮิต TCAS61 - 63" . กรุงเทพธุรกิจ . 3 Oct 2020. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "10 คณะ/สาขาวิชา ยอดฮิต ที่มีผู้สมัครมากที่สุด รอบที่ 4 Admission ระบบ TCAS61" . campus-star.com . 5 July 2018. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ " "20 คณะ/สาขาวิชา ที่มีจำนวนผู้สมัครมากที่สุดในการสมัคร TCAS รอบ 4 Admission ประจำปีการศึกษา 2561" " . education.teenee.com . 11 Jan 2019. สืบค้นเมื่อ 27 Dec 2021 .
↑ "สถิติผู้สมัครและการแข่งขัน TCAS รอบที่ 4 รับกลางร่วมกัน (Admission 2) ย้อนหลัง" . sangfans.com . สืบค้นเมื่อ 20 June 2021 .
↑ "สอท.เปิดเผย 20 คณะยอดนิยมแอดมินชั่นปี 59" . Admission Premium . 30 May 2016. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "20 คณะ/สาขาที่มีผู้สมัครมากที่สุด และ การแข่งขันสูงที่สุด Admissions 2558" . unigang.com . 4 June 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-06-05. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "20 คณะ/สาขาที่มีอัตราการแข่งขันสูงสุด Admissions 2558" . sanook.com . 5 June 2015. สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "สรุปอัตราการมีงานทำของบัณฑิตจบใหม่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทุกวิทยาเขต" . sangfans.com . July 2017. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021 .
↑ "อัตราการมีงานทำและเงินเดือนเด็กจบใหม่ สำรวจล่าสุด ปี 60" . unigang.com . 26 July 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021 .
↑ "ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษาและภาวะหางานทำของบัณฑิต รุ่นปีการศึกษา 2558" . กองแผนงาน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . July 2017. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021 .
↑ "รีวิว MBA บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . Admission Premium . สืบค้นเมื่อ 30 May 2021 .
↑ "EX-MBA KU หลักสูตรปั้นผู้บริหาร ตอบโจทย์ได้ทุกยุคสมัย" . mbamagazine.net . 11 Oct 2019. สืบค้นเมื่อ 19 May 2021 .
↑ "Executive MBA Program Kasesart University" . exmba.bus.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 19 May 2021 .
↑ 94.0 94.1 "สมาคมปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . ex-mba-ku.or.th . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-18. สืบค้นเมื่อ 19 May 2021 .
↑ 95.0 95.1 "สมาคมปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร ม.เกษตรศาสตร์ จัดเสวนาออนไลน์แชร์ประสบการณ์ 3 องค์กรดังระดับประเทศ "ทรู : ดร.ธีระพล ถนอมศักดิ์ยุทธ – ปตท. : คุณวิทวัส สวัสดิ์ชูโต – สสว. : คุณมงคล ลีลาธรรม" ในหัวข้อ…ปรับยุทธศาสตร์ธุรกิจในสภาวะโลกใหม่ระหว่างและหลังการแพร่ระบาดของโควิด" . wearecp.com . 12 March 2021. สืบค้นเมื่อ 19 May 2021 .
↑ 96.0 96.1 "เจาะเศรษฐกิจกระแสใหม่ประเทศไทย 60" . กรุงเทพธุรกิจ . สืบค้นเมื่อ 19 May 2021 .
↑ 97.0 97.1 "สมาคมปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มอบชุด CPE gown" . โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ . 14 May 2020. สืบค้นเมื่อ 19 May 2021 .
↑ "หลักสูตรและแผนการศึกษา โครงการปริญญาโทสำหรับผู้บริหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Executive MBA" (PDF) . exmba.bus.ku.ac.th . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-12-12. สืบค้นเมื่อ 12 Dec 2021 .
↑ "การเงินประยุกต์ (ภาคพิเศษ) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . KU - M.A. (Applied Finance) . สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "รายละเอียดหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต การเงินประยุกต์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560" (PDF) . mof.bus.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 29 May 2021 .
↑ "โครงการปริญญาโทการบัญชี ภาคพิเศษ คณะบริหารธุรกิจ" . Master of Accountancy (Data & Analytics) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-06-16. สืบค้นเมื่อ 30 May 2021 .
↑ "KU Data & Analytics" . M.Acct.KU . สืบค้นเมื่อ 30 May 2021 .
↑ "รายละเอียดสาขาวิชาข้อมูลและการวิเคราะห์ (Data and Analytics)" . grad.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 30 May 2021 .
↑ "มาเป็นนักบัญชีพันธุ์ใหม่ที่มี Digital DNA กันเถอะ - ผศ.ดร.อุษารัตน์ ธีรธร คณะทำงานพัฒนาและศึกษาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเพื่อการทำบัญชีภายใต้คณะกรรมการวิชาชีพบัญชีด้านการทำบัญชี" (PDF) . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 6 July 2021. สืบค้นเมื่อ 8 July 2021 .
↑ "Fundamental Data Analytics สำหรับนักบัญชี - หนึ่งในชุดหลักสูตร นักบัญชีดิจิทัล (Digital Accountant Series)" (PDF) . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . สืบค้นเมื่อ 20 Aug 2022 .
↑ "โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . phd.bus.ku.ac.th . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 20 May 2021 .
↑ "บัณฑิตวิทยาลัย - รายละเอียดหลักสูตรปริญญาเอก คณะบริหารธุรกิจ" . grad.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 20 May 2021 .
↑ "คณะบริหารธุรกิจ ม.เกษตรฯ เปิดหลักสูตร Fast Mini MBA สำหรับผู้บริหารและผู้จัดการในยุคแห่งความผันผวน ไม่แน่นอน" . มติชนออนไลน์ . 26 April 2021. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021 .
↑ "Fast mini MBA: Course Detail" . amec-ku.org . สืบค้นเมื่อ 11 June 2021 .
↑ "หลักสูตรอบรม Fast Mini MBA มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . Thaitrainingzone . สืบค้นเมื่อ 15 Nov 2021 .
↑ " 'ม.เกษตร' เปิดหลักสูตร KU CARE ครั้งแรกของประเทศ อบรมผู้นำองค์กรรัฐ-เอกชน สู่ธุรกิจยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG- SDGs" . ประชาชาติธุรกิจ . 8 Dec 2022. สืบค้นเมื่อ 23 Dec 2022 .
↑ " 'ม.เกษตร' เปิดหลักสูตร KU CARE ครั้งแรกของประเทศ อบรมผู้นำองค์กรรัฐ-เอกชน สู่ธุรกิจยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG- SDGs" . มติชนสุดสัปดาห์ . 8 Dec 2022. สืบค้นเมื่อ 23 Dec 2022 .
↑ " "คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" เปิดตัวโครงการหลักสูตรผู้นำระดับสูงด้านธุรกิจที่ยั่งยืน KU CARE" . ศูนย์อาชีพและธุรกิจมติชน (Matichon Academy) . 7 Dec 2022. สืบค้นเมื่อ 23 Dec 2022 .
↑ " 'ม.เกษตรฯ' เปิดหลักสูตร KU CARE อบรมผู้นำองค์กรรัฐ-เอกชน สู่ธุรกิจยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG- SDGs" . เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ . 8 Dec 2022. สืบค้นเมื่อ 23 Dec 2022 .
↑ " 'ม.เกษตร' เปิดหลักสูตร KU CARE ครั้งแรกของประเทศ อบรมผู้นำองค์กรรัฐ-เอกชน สู่ธุรกิจยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG- SDGs" . มติชนออนไลน์ . 8 Dec 2022. สืบค้นเมื่อ 23 Dec 2022 .
↑ " 'ม.เกษตร' เปิดหลักสูตร KU CARE ครั้งแรกของประเทศ อบรมผู้นำองค์กรรัฐ-เอกชน สู่ธุรกิจยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG- SDGs" . เดลินิวส์ออนไลน์ . 13 Dec 2022. สืบค้นเมื่อ 23 Dec 2022 .
↑ " 'ม.เกษตร' เปิดหลักสูตร KU CARE ครั้งแรกของประเทศ อบรมผู้นำองค์กรรัฐ-เอกชน สู่ธุรกิจยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG- SDGs" . สำนักข่าวบางกอกทูเดย์ . 13 Dec 2022. สืบค้นเมื่อ 23 Dec 2022 .
↑ " 'ม.เกษตร' เปิดหลักสูตร KU CARE ครั้งแรกของประเทศ อบรมผู้นำองค์กรรัฐ-เอกชน สู่ธุรกิจยั่งยืน ภายใต้แนวคิด BCG- SDGs" . สยามรัฐออนไลน์ . 14 Dec 2022. สืบค้นเมื่อ 23 Dec 2022 .
↑ " 'ม.เกษตร' เปิดหลักสูตร KU CARE ครั้งแรกของประเทศ อบรมผู้นำองค์กสู่ธุรกิจยั่งยืน" . ข่าวสดออนไลน์ . 8 Dec 2022. สืบค้นเมื่อ 23 Dec 2022 .
↑ "ม.เกษตรฯ เปิดหลักสูตร KU CARE เน้นการสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนด้วย BCG" . สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ . 8 Dec 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-12-23. สืบค้นเมื่อ 23 Dec 2022 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2024 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 24 April 2024 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2023 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 26 March 2023 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2022 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 20 April 2022 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2021 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 5 March 2021 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2019 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 20 August 2019 .
↑ "THE World University Rankings 2024 by subject: business and economics - Kasetsart University" . Times Higher Education . สืบค้นเมื่อ 24 April 2024 .
↑ "THE World University Rankings 2023 by subject: business and economics - Kasetsart University" . Times Higher Education . สืบค้นเมื่อ 13 Jan 2023 .
↑ "THE World University Rankings 2022 by subject: business and economics - Kasetsart University" . Times Higher Education . สืบค้นเมื่อ 20 October 2021 .
↑ "THE World University Rankings 2021 by subject: business and economics - Kasetsart University" . Times Higher Education . สืบค้นเมื่อ 17 December 2020 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2022 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 20 April 2022 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2022 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 20 April 2022 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2024 - Business & Management Studies - Kasetsart University" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 24 April 2024 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2021" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 5 March 2021 .
↑ "QS World University Rankings by Subject 2019" . QS Quacquarelli Symonds . สืบค้นเมื่อ 20 August 2019 .
↑ "THE World University Rankings 2022 by subject: business and economics - Kasetsart University" . Times Higher Education . สืบค้นเมื่อ 20 October 2021 .
↑ "THE World University Rankings 2023 by subject: business and economics - Kasetsart University" . Times Higher Education . สืบค้นเมื่อ 13 Jan 2023 .
↑ "THE World University Rankings 2024 by subject: business and economics - Kasetsart University" . Times Higher Education . สืบค้นเมื่อ 24 April 2024 .
↑ "THE World University Rankings 2021 by subject" . Times Higher Education . สืบค้นเมื่อ 17 December 2020 .
↑ "ศูนย์ผู้นำธุรกิจเพื่อสังคม แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . selc.bus.ku.ac.th . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-02-19. สืบค้นเมื่อ 17 June 2021 .
↑ "Social Enterprise Leadership Center" . kuselcenter . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2020-10-18. สืบค้นเมื่อ 17 June 2021 .
↑ "TOURIST network Sustainable tourism organization, Faculty of Business Administration, Kasetsart University" . touristcenter . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2023-01-31. สืบค้นเมื่อ 17 June 2021 .
↑ "KBS Centers of Excellence" . kukr2.lib.ku.ac.th . 2014. สืบค้นเมื่อ 27 June 2021 .
↑ "ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางธุรกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (Research Center for Business Capability Development; KUBCD)" . kucare . สืบค้นเมื่อ 25 Nov 2024 .
↑ "KAB Journal" . Kasetsart Business School . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "ข่าวประชาสัมพันธ์" . Kasetsart Business School . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์ (Kasetsart Applied Business Journal)" . สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "รายชื่อวารสารทั้งหมด" . tci-thailand . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "รายละเอียดของวารสาร" . tci-thailand . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "E-Journal : Kasetsart Applied Business Journal (KAB Journal)" . Kasetsart Business School . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "THAIJO-ค้นหาวารสารออนไลน์" . Thai Journal Online (ThaiJO) . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "ประกาศผลการประเมินคุณภาพวารสารที่ส่งมาเพื่อปรับกลุ่มฯในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 พ.ศ. 2563-2567 ครั้งที่ 2 (2564-2567)" . ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย . สืบค้นเมื่อ 22 July 2021 .
↑ "แนะนำวารสาร - วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์" . ห้องสมุด มหาวิทยาลัยสยาม . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "ผลการประเมินคุณภาพวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 4 พ.ศ. 2563-2567 และวารสารใหม่ที่ต้องการเข้าสู่ฐานข้อมูล TCI พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563" . ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "The Nobel Peace Prize 2006" . NobelPrize.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 9 June 2020 .
↑ "The Nobel Peace Prize for 2006" . Nobel Foundation . 13 October 2006. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ "Yunus Center-Kasetsart University" . yunus.kasetsart.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ "History-Yunus Social Business Center" . Yunus Thailand (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ "Yunus Social Business Center at Kasetsart Business School" . Social Business Pedia (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ " 'เครือข่ายยูนุส' จัดงาน Social Business Day 2019 ปลุกพลังคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคม ร่วมสร้างสังคมที่ยั่งยืนผ่านโมเดล Social Business" . The Standard . สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ " "ยูนุส" กับ "ธุรกิจเพื่อสังคม" ความสุขที่ยิ่งกว่ากำไรของนักธุรกิจ" . ประชาชาติธุรกิจ . สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ "ศ.มูหะหมัด ยูนุส เจ้าของรางวัลโนเบลเพื่อสันติภาพ จัดยิ่งใหญ่ Social Business Day2019 ที่ประเทศไทย รวมผู้นำธุรกิจเพื่อสังคมกว่า 60 ประเทศทั่วโลกร่วมสร้างความเปลี่ยนแปลง" . ThaiPR.net . สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ "โมเดลแห่งความยั่งยืนของชีวิต "ธุรกิจเพื่อสังคม" (Social Business) เพื่อความสุขร่วมกันของคนทั้งโลก" . Thairath Online . สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ "ประเทศไทย แลนด์มาร์คใหม่ของ Social Business" . SD Perspectives . สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ "เปิดตัว 'ยูนุสประเทศไทย' ดึงองค์กรใหญ่พลิกโฉมแก้ปัญหาสังคม" . The Bangkok Insight . สืบค้นเมื่อ 9 May 2021 .
↑ "ANNUAL REPORT 2020 : YUNUS THAILAND" (PDF) . Yunus Thailand . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 10 May 2021 .
↑ "ม.เกษตรศาสตร์ ผุดศูนย์เชี่ยวชาญเอเชีย หนุน SMEs ปรับตัวรับมือ AEC" . mgronline.com . 13 June 2012. สืบค้นเมื่อ 15 June 2021 .
↑ "ศูนย์ AMEC ม.เกษตรฯ จับมือ โอทูโอ มาร์เก็ตติ้ง แมเนจเม้นท์ อบรมฟรี" . technologychaoban.com . 7 Nov 2018. สืบค้นเมื่อ 15 June 2021 .
↑ "สูจิบัตรการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 57 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" (PDF) . Kasetsart University . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-05-10. สืบค้นเมื่อ 10 May 2021 .
↑ "Media Talk: "Social Business" ธุรกิจเพื่อสังคมในโลกยุคดิจิทัลที่ยังใส่ใจคุณภาพชีวิตผู้ยากไร้" . สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) . สืบค้นเมื่อ 10 May 2021 .
↑ " 'ศักยภาพของคนจน' คือพลังสร้างชาติที่แท้จริง" . กรุงเทพธุรกิจ . สืบค้นเมื่อ 10 May 2021 .
↑ "การอภิปรายพิเศษ โดย Professor Muhammad Yunus ในหัวข้อ "Social Business in The Digitized World" " . Faculty of Economics KU . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-09. สืบค้นเมื่อ 10 May 2021 .
↑ "ขอเชิญเข้ารับฟังปาฐกถาพิเศษจาก Professor Muhammad Yunus เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ปี พ.ศ. 2549" . Kasetsart University . สืบค้นเมื่อ 10 May 2021 .
↑ "MakeLearn & TIIM International Conference - ECONOMY FOR A NEW NORMAL: DIGITALISATION AND HUMAN RELATIONS IN BUSINESS AND EDUCATION" . Makelearn Conference 2021 . สืบค้นเมื่อ 1 June 2021 .
↑ "MakeLearn and TIIM International Conference 2020 - Expanding Horizons: Business, Management and Technology for Better Society (Full Text)" . toknowpress.net . สืบค้นเมื่อ 1 June 2021 .
↑ "การประชุมวิชาการนานาชาติ MakeLearn & TIIM 2017" (PDF) . bus.ku.ac.th . May 2017. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021 .
↑ "ประชาสัมพันธ์ - การประชุมวิชาการ NCBA" . NCBA . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "NCBA KBS" . Kasetsart Business School . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "ประชาสัมพันธ์โครงการประชุมวิชาการ NCBA สำหรับนักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ที่ลง IS ภาคปลาย และมีความประสงค์จะนำเสนอบทความวิชาการ" . บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "ร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน "การประชุมทางวิชาการระดับชาติ สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 3″" . มหาวิทยาลัยศรีปทุม . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .[ลิงก์เสีย ]
↑ "ข่าวประกาศจากวิทยาลัย - ขอเชิญส่งผลงานวิชาการ ในการประชุมทางวิชาการระดับชาติ สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 9 (The 9th Annual National Conference on Business and Accounting)" . วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "การประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาบริหารธุรกิจและการบัญชี ครั้งที่ 9 : The 9th Annual National Conference on Business and Accounting (NCBA)" . บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย . สืบค้นเมื่อ 12 May 2021 .
↑ "SEC, and top business schools of Chulalongkorn, Thammasat, NIDA, and Kasetsart, together with Asia-Pacific Research Exchange by CFA Institute, organized SEC Working Papers Forum 2017" . CFA Institute . 6 Dec 2017. สืบค้นเมื่อ 9 June 2021 .
↑ 183.0 183.1 "เพลงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . คู่มือนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 2517-2518, 2520-2521 . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-16. สืบค้นเมื่อ 17 May 2021 .
↑ "ที่ระลึกพิธีเปิดอาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . (2553). ม.ป.ท: " . สืบค้นเมื่อ 8 March 2019 .
↑ "คู่มือนิสิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . kukr2.lib.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 24 June 2021 .
↑ "สโมสรนิสิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . ku.bsaofficial . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "KU Business Week" . Businessweek KU . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "โครงการ ๑ องค์กรนิสิต ๑ กิจกรรมคุณภาพ" (PDF) . qa.ku.ac.th . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-06-13. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021 .
↑ "นิสิต มก.ชนะเลิศการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศ ประจำปี 2555" . pr.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "รวมภาพกิจกรรมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . pr.ku.ac.th . 19 March 2013. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "Kasetsart win accounting challenge event" . Nationthailand . 26 Jan 2013. สืบค้นเมื่อ 30 Dec 2021 .
↑ "เกษตรศาสตร์ คว้าแชมป์การแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศครั้งที่ 7 ประจำปี 2562" . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 26 Jan 2019. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "ประกาศผลการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2556 "Thailand Accounting Challenge 2013" " . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 30 Oct 2017. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "พิธีมอบรางวัลแก่ผู้ชนะการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศ Thailand Accounting Challenge ครั้งที่ 2" . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 13 Oct 2017. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "พิธีมอบรางวัลการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 3" . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 7 Nov 2017. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "ประกาศผลการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 3 ประจำปี 2558 "Thailand Accounting Challenge 2015" " . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 7 Nov 2017. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "พิธีมอบรางวัลการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 4" . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 10 Nov 2017. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "FAP Newsletter ฉบับที่ 40 พิธีมอบรางวัลการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2559" . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 10 Nov 2017. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "ผลการแข่งขันตอบคำถามทางบัญชีระดับประเทศ ครั้งที่ 5 ประจำปี 2560 Thailand Accounting Challenge 2017" . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 13 Nov 2017. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ "เกษตรศาสตร์คว้าแชมป์การแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ ประจำปี 2561" . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 1 Sep 2018. สืบค้นเมื่อ 11 July 2021 .
↑ " "Tax-Challenge 2022" การแข่งขันตอบปัญหาด้านภาษีอากรระดับประเทศ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 ชิงถ้วยรางวัลเกียรติยศ จากอธิบดีกรมสรรพากร" . สมาคมผู้สอบบัญชีภาษีอากรแห่งประเทศไทย . 20 Sep 2022. สืบค้นเมื่อ 5 Oct 2022 .
↑ "นิสิตภาควิชาบัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชนะเลิศการแข่งขันตอบปัญหาด้านภาษีอากรระดับประเทศ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2565 ได้รับถ้วยรางวัลเกียรติยศและเงินรางวัลจากอธิบดีกรมสรรพากร" . คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ . 20 Sep 2022. สืบค้นเมื่อ 5 Oct 2022 .
↑ "6 finalists announcement - Deloitte Thailand Business Challenge 2017 : Tax Case Competition" (PDF) . deloitte.com . 9–10 Feb 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2021 .{{cite web }}
: CS1 maint: date format (ลิงก์ )
↑ "Deloitte Thailand Business Challenge 2017 - Tax Case Competition" . deloitte.com . 9–10 Feb 2017. สืบค้นเมื่อ 4 July 2021 .{{cite web }}
: CS1 maint: date format (ลิงก์ )
↑ "CIMA ได้จัดการแข่งขัน Business Game" . สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ . 4 Nov 2019. สืบค้นเมื่อ 6 Oct 2022 .
↑ "MonsoonSIM Enterprise Resource Management Competition (MERMC) International Grand Final Hong Kong 2019" . monsoonsim.com . 17 Sep 2019. สืบค้นเมื่อ 26 July 2021 .
↑ "ประเทศไทยคว้าแชมป์ MonsoonSIM Regional ERP Competition 2019" . monsoonsimthailand.com . 16 Aug 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-07-26. สืบค้นเมื่อ 26 July 2021 .
↑ "นิสิต มก. ได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขัน "MERPC (monsoonSIM ERP Competition) 2019" " . ku.ac.th . 30 Aug 2019. สืบค้นเมื่อ 26 July 2021 .
↑ "ทีม Greentastic 4 รวมทีมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ คว้าแชมป์แรกของเวทีสร้างแบรนด์ J-MAT Brand Planning Competition ครั้งที่ 1" . scgnewchannel.com . 15 Jul 2022. สืบค้นเมื่อ 25 July 2022 .
↑ "ทีม Greentastic 4 รวมทีมจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ฯ คว้าแชมป์ฯ เวทีสร้างแบรนด์ J-MAT Brand Planning Competition ครั้งที่ 1" . thailandplus.tv . 20 Jul 2022. สืบค้นเมื่อ 25 July 2022 .
↑ "Acct Camp - ค่ายบัญชีพัฒนาชนบท" . Acct Camp . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "ACCT CHAIN 8 th" . acctchain . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "Acct Smile 18 th" . acctsmile . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "The Acctive - Be brave to try, be brave to fly" . The-Acctive . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "โครงการ "THE ACCTIVE" Be brave to try, be brave to fly" . schoolandcollegelistings.com . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "SCG Account News - ร่วมจัดกิจกรรม The Acctive 3rd กับภาควิชาบัญชี ม.เกษตรศาสตร์" . SCG Accounting Services . 29 Jan 2023. สืบค้นเมื่อ 14 Oct 2023 .
↑ "Business Freshy Camp #7 ค่ายสู่รั้วพังงา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . camphub.in.th . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "Business Freshy Camp #3 ค่ายสู่รั้วพังงา ครั้งที่ 3" . business-freshy-camp3.blogspot.com . 10 Aug 2015. สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "Business Freshy Camp" . Business Freshy Camp 7 . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "ดีเค ทู พลัสจับมือ คณะบริหารธุรกิจ ม.เกษตรศาสตร์ จัดงาน KBS JOB FAIR 2019 งานว่างกว่า 5,000 อ. นายจ้างออกบูทกว่า 70 บริษัท" . samakduan . สืบค้นเมื่อ 19 May 2022 .
↑ "บัสสะบัดครก Buszapp" . bussabudkrok . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "กีฬา 5 ภาค คณะบริหารธุรกิจ" . sport5majors . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "กีฬา 5 ภาค คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . mgt.bus.ku.ac.th/ . 6 Oct 2016. สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "แผนที่บริเวณสถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) . สืบค้นเมื่อ 15 June 2021 .
↑ "เจาะจุดเด่นทำเลแต่ละสถานี รถไฟฟ้าสายสีแดงบางซื่อ – รังสิต" . thinkofliving.com . 29 Dec 2020. สืบค้นเมื่อ 15 June 2021 .
↑ "โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล - รถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต" (PDF) . bangsue-rangsitredline.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-06-16. สืบค้นเมื่อ 15 June 2021 .
↑ 227.0 227.1 227.2 "All-in-One รวมวิธีเดินทางไปยัง ม.เกษตร บางเขน ง่ายนิดเดียว" . the nx chapter . 22 Sep 2019. สืบค้นเมื่อ 28 July 2021 .
↑ "การเดินทางในมหาวิทยาลัย – เส้นทางบริการรถในมหาวิทยาลัย" . ku.ac.th.car-service . สืบค้นเมื่อ 15 June 2021 .
↑ "เส้นทางเดินรถสวัสดิการ" . กองยานพาหนะอาคารและสถานที่ . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-06-16. สืบค้นเมื่อ 15 June 2021 .
↑ 230.0 230.1 " "ชาลอต" ฝากบอกต่อ ชวนศิษย์เก่าบัญชี เกษตรฯ ร่วมงาน "สานสายใยเรือใบสีฟ้า" " . ThaiPR.net . สืบค้นเมื่อ 20 Nov 2021 .
↑ "ข้อบังคับสมาคมบัญชีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2558" (PDF) . ratchakitcha.soc.go.th . สืบค้นเมื่อ 12 Dec 2021 .
↑ "สมาคมปริญญาโทสำหรับผู้บริหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดการแข่งขันกอล์ฟการกุศล 30 ปี EX MBA KU" . daradaily.com . 4 Sep 2018. สืบค้นเมื่อ 12 Dec 2021 .
↑ "พิธีมอบโล่เกียรติคุณแก่นิสิตเก่าดีเด่นของสมาคมฯ ประจำปี 2559 และ งานเลี้ยง Ex-night 60" . daradaily.com . 4 April 2017. สืบค้นเมื่อ 12 Dec 2021 .
↑ "ประวัติสมาคมศิษย์เก่าเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . bus.ku.ac.th/alumni . สืบค้นเมื่อ 12 Dec 2021 .
↑ "นางชาลอต โทณวณิก นายกสมาคมศิษย์เก่าและบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มอบทุนการศึกษา และร่วมพิธีไหว้ครู" . ryt9.com . 23 June 2008. สืบค้นเมื่อ 12 Dec 2021 .
↑ "โครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการองค์ความรู้ด้านบริหารธุรกิจ" . 14 Nov 2023. สืบค้นเมื่อ 6 Jan 2024 .
↑ "ชมรมบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ชมรม MBA สปท.-มก.)" . สืบค้นเมื่อ 6 Jan 2024 .
↑ "acctgazine - The acctgazine made by the student of accounting of Kasetsart" . issuu.com . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "วารสารบัญชี acctgazine" . acctgazine . สืบค้นเมื่อ 10 June 2021 .
↑ "ON THE BUS - Issue 1" . mebmarket.com . สืบค้นเมื่อ 17 June 2021 .
↑ "ON THE BUS - Issue 2" . mebmarket.com . สืบค้นเมื่อ 17 June 2021 .
↑ "KBS e-Letter: ON THE BUS. Issue 1" . bus.ku.ac.th . 16 Dec 2021. สืบค้นเมื่อ 29 Sep 2021 .
↑ "เรื่องเล่าครูบัญชี โดย สมาคมบัญชีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอน ตั้งไข่ครูบัญชี" . อนุสรณ์ ขวัญมิ่งตระกูล . สืบค้นเมื่อ 10 May 2021 .
↑ "หนังสือ เรื่องเล่าครูบัญชี โดย สมาคมบัญชีแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . se-ed.com . สืบค้นเมื่อ 20 Dec 2021 .
↑ "หนังสือ "กว่าจะจบบัญชี-บริหาร" : บทที่ 4 วิชาพื้นฐานคณะ - รวมวิชาที่ต้องเรียนตอนปี 1 ของ 3 สถาบันตัวแม่ จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์" . dek-d.com . 23 April 2013. สืบค้นเมื่อ 10 May 2021 .
↑ "ประวัติ และผลงาน นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล" . สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-05-21. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021 .
↑ "ประวัติ และผลงาน นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล" . กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2023-01-13. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021 .
↑ "วรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล" . ไทยรัฐออนไลน์ . สืบค้นเมื่อ 21 April 2021 .
↑ "สารศิษย์เก่า ซ.ด. สัมพันธ์" (PDF) . sdfamily.net . March 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-09-10. สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ "เกษตรศาสตร์ ปราดเปรื่อง รุ่นที่ 2 เข้ารับประกาศเชิดชูเกียรติ เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2548 ณ โรงแรมรามาการ์เด้นส์" . ku.ac.th . 5 July 2010. สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ "บทสัมภาษณ์ - ระลึก หลีกภัย" . iamtrang.com . สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ " "ระลึก หลีกภัย" จาก "นักธุรกิจ" สู่ "การเมือง" " . mgronline.com . 22 April 2008. สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ "ระลึกถึง ระลึก หลีกภัย" . oknation.nationtv.tv . April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-09-10. สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 51 ของไทย" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-11-03. สืบค้นเมื่อ 2010-10-30 .
↑ "คณะรัฐมนตรีคณะที่ 52 ของไทย" . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2007-11-17. สืบค้นเมื่อ 2010-10-30 .
↑ "ให้การต้อนรับเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย" . photo.rmutt.ac.th . 8 Aug 2013. สืบค้นเมื่อ 12 Dec 2021 .
↑ "ประวัติ - พงศ์ไท ไทโยธิน" (PDF) . worldtapiocaconference . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2023-04-18. สืบค้นเมื่อ 23 March 2023 .
↑ "คำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 193/2566 เรื่องแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ ลงวันที่ 16 มีนาคม 2566" (PDF) . กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ . สืบค้นเมื่อ 23 March 2023 .
↑ "ทำเนียบผู้บริหาร - สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร" . สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร Office of Agricultural Economics . สืบค้นเมื่อ 23 March 2023 .
↑ "ประกาศคณะกรรมการคัดเลือกข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์" . กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ . สืบค้นเมื่อ 23 March 2023 .[ลิงก์เสีย ]
↑ "ประวัติชาลอต โทณวณิก" . ไทยรัฐออนไลน์ . สืบค้นเมื่อ 21 April 2021 .
↑ "ชาลอต โทณวณิก "เจ้าแม่โทรทัศน์ดาวเทียม" " . Positioningmag.com . 5 June 2008. สืบค้นเมื่อ 21 April 2021 .
↑ "Bangkok Post Women of the year 2021 - Charlotte Donavanik" . Bangkok Post Public Company Limited . สืบค้นเมื่อ 12 Nov 2021 .
↑ "สมบัติ นราวุฒิชัย ให้โอกาสคนเก่ง คนดี มีความตั้งใจ" . posttoday . สืบค้นเมื่อ 18 April 2023 .
↑ "สมบัติ นราวุฒิชัย ผงาดคว้าเก้าอี้ "เลขาธิการ กบข." คนใหม่ เริ่มงาน 1 ม.ค.57" . MGR Online . สืบค้นเมื่อ 18 April 2023 .
↑ " 'สมบัติ นราวุฒิชัย'นั่งเลขาธิการ กบข" . กรุงเทพธุรกิจ . สืบค้นเมื่อ 18 April 2023 .
↑ "นายองอาจ คล้ามไพบูลย์" . hris.parliament.go.th . สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ "เกษตรศาสตร์ ปราดเปรื่อง รุ่นที่ 9" . ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ "จากนักบัญชีหลังบ้าน กลายเป็นผู้บริหารหญิงแกร่งแถวหน้าของ "โออาร์" " . marketeeronline . 29 Jan 2021. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022 .
↑ "สมาคมบัญชีม.เกษตรฯ ประกาศ 18 ชื่อ นิสิตดีเด่น ปี 62 - 'จิราพร' ซีอีโอ 'PTTOR' ได้ด้วย" . Isranews Agency . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ " "จิราพร ขาวสวัสดิ์" หญิงแกร่งแห่ง PTTOR นักบัญชีที่ "ไม่สี่เหลี่ยม" " . thaipublica . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ " "จิราพร ขาวสวัสดิ์" ผู้นำในดวงใจ ของผู้แทนการค้าน้ำมัน ปตท.ทั่วประเทศ" . Posttoday . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ "ก่อนซื้อ OR ไปรู้จัก CEO สาวแกร่ง 9 เรื่องเด็ด "จิราพร ขาวสวัสดิ์" " . epahamalao . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .[ลิงก์เสีย ]
↑ "The Woman in the Lead - คุณจิราพร ขาวสวัสดิ์ - CEO หญิงคนแรกแห่ง OR" . acctgazine volume 6 . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ "Bangkok Post Women of the year 2021 - Jiraphon Kawswat" . Bangkok Post Public Company Limited . สืบค้นเมื่อ 12 Nov 2021 .
↑ "Jiraphon Kawswat" . Dow Jones & Company Inc . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-11-26. สืบค้นเมื่อ 26 Nov 2021 .
↑ "Special Interview : จิราพร ขาวสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR)" . moneyandbanking . 18 April 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2022-07-14. สืบค้นเมื่อ 14 July 2022 .
↑ "คณะผู้บริหาร - นายกฤษฎา วรรธนะภาคิน" . investor.oishigroup.com . สืบค้นเมื่อ 24 Sep 2021 .
↑ "กลต. - ข้อมูลบุคคลที่ได้รับความเห็นชอบ" . capital.sec.or.th . สืบค้นเมื่อ 24 Sep 2021 .
↑ "โออิชิ กรุ๊ป ชึ้แจงผลการดำเนินงานของบริษัท ประจำไตรมาส 1 ปี 2564 ในงาน "Opportunity Day บริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน" . newswit.com . 15 April 2021. สืบค้นเมื่อ 24 Sep 2021 .
↑ "ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย - รายละเอียดข่าว - SET" . set.or.th . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-09-24. สืบค้นเมื่อ 24 Sep 2021 .
↑ "คณะผู้บริหาร - นายกมลภพ วีระพละ" . ธนาคารอาคารสงเคราะห์ . สืบค้นเมื่อ 24 Jan 2022 .
↑ "นางสาวทวีพร พัฒนกิจเรือง - กรรมการบริหาร Chief Financial Officer (CFO) และผู้ควบคุมดูแลการทำบัญชี" . บริษัท ทีโอเอ เพ้นท์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-12-30. สืบค้นเมื่อ 30 Dec 2021 .
↑ " "TOA"คว้า 3 รางวัล ในงาน SET Awards 2020" . สยามรัฐออนไลน์ . 15 Dec 2020. สืบค้นเมื่อ 30 Dec 2021 .
↑ "เปิดประวัติ 12 ครม. ส่องรมต.หน้าใหม่ 5 ตำแหน่ง" . naewna.com . สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ "ศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2551 - นายออมสิน ชีวะพฤกษ์" (PDF) . eco.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .[ลิงก์เสีย ]
↑ "คณะกรรมการบริหาร" . TPC POWER HOLDING PUBLIC COMPANY LIMITED . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ "ประวัติย่อผู้วิจัย - ดร.อุกฤษฏ์ อัษฎาธร" (PDF) . dsdw.go.th . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-11-12. สืบค้นเมื่อ 12 Nov 2021 .
↑ "มูลนิธิเอสซีจี - กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง มอบสเปรย์แอลกอฮอล์ 1 แสนขวด มูลค่า 5 ล้านให้กระทรวงแรงงาน" . mgronline . 16 June 2020. สืบค้นเมื่อ 12 Nov 2021 .
↑ "PTTPLC - ผู้บริหาร - รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารศักยภาพองค์กรและธรรมาภิบาล" . pttplc.com . สืบค้นเมื่อ 6 Jan 2024 .
↑ "PTTPLC - ผู้บริหาร - รองกรรมการผู้จัดการใหญ่วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐาน" . pttplc.com . สืบค้นเมื่อ 6 Jan 2024 .
↑ "PTTPLC - ผู้บริหาร - ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้นและก๊าซธรรมชาติ" . pttplc.com . สืบค้นเมื่อ 6 Jan 2024 .
↑ "PTTPLC - ผู้บริหาร - รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย" . pttplc.com . สืบค้นเมื่อ 6 Jan 2024 .
↑ "PTTEP - ผู้บริหาร - รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี" . pttep.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2024-01-06. สืบค้นเมื่อ 6 Jan 2024 .
↑ "GPSC - ผู้บริหาร - รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่การพาณิชย์" . gpscgroup.com . สืบค้นเมื่อ 6 Jan 2024 .
↑ "กรรมการบริษัท - นายยุทธนา ภู่ประกาย" . ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ อัลไล . สืบค้นเมื่อ 30 Dec 2021 .
↑ "กรรมการบริษัท - นายยรรยง-อมรพิทักษ์กูล" . บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) . สืบค้นเมื่อ 30 Dec 2021 .
↑ "กรรมการบริษัท - นายสมยศ ญาณอุบล" . บริษัท โรงพยาบาลจุฬารัตน์ จำกัด (มหาชน) . สืบค้นเมื่อ 30 Dec 2021 .
↑ "To consider the appointment of the Company's auditors for the Year 2020 and approve the audit's fees - The Biography of Auditors" (PDF) . padaeng.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-06-13. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021 .
↑ "ไทยคว้าแชมป์ IPO! ยอดระดมทุน 3.9 พันล้านเหรียญ สูงสุดในเซาท์อีสท์เอเชีย" . ประชาชาติธุรกิจ . สืบค้นเมื่อ 13 June 2021 .
↑ "ไอพีโอ เซาท์อีสท์เอเชียรุ่ง ท่ามกลางความผันผวนของตลาดในปี 2563" . brandage.com . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-06-13. สืบค้นเมื่อ 13 June 2021 .
↑ "ประวัติ ประสบการณ์ และการทำงานของผู้สอบบัญชี" (PDF) . bofficereit . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ "PwC จัดงาน Breakfast Talk เกาะประเด็นร้อน Sustainability reporting กับการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน" (PDF) . newswit.com . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ "คุณสวาสดิ์วดี อนุมานราชธน" . acctgazine volume 3 . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ "ข้อมูลผู้สอบบัญชี ที่ได้รับการเสนอชื่อประจำปี 2561" (PDF) . Country Group Development plc . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ "คณะผู้บริหาร ดีลอยท์ และธนาคารทหารไทย เยือนสำนักงาน ดีลอยท์ และสถาบันการเงิน ในประเทศเนเธอร์แลนด์และโปแลนด์" . ryt9 . สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ "คณะกรรมการบริษัท" . Thanachart Fund Management Company Limited . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ "เอกสารประกอบการพิจารณาในวาระที่ 8 ประวัติกรรมการที่ได้รับเสนอชื่อ" (PDF) . Ratchthani . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF) เมื่อ 2021-04-17. สืบค้นเมื่อ 17 April 2021 .
↑ สภาสถาปนิก. คณะกรรมการสภาสถาปนิก วาระปี พ.ศ. 2561 - 2564 - พลอากาศตรี หม่อมหลวง ประกิตติ เกษมสันต์ - นายกสภาสถาปนิก . เรียกดูวันที่ 2020-06-01
↑ "๑ ในพระราชดำริ ทุนอานันทมหิดล - ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรภรรณ เรืองผกา ผู้รับพระราชทานทุนแผนกเกษตรศาสตร์ : The Agricultural Science Division ปี พ.ศ. 2541" . dentyomarajconference . คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2023-07-16. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022 .
↑ "จากใจนักเรียนทุนของพ่อหลวง ร. 9" . คมชัดลึก . 21 Oct 2017. สืบค้นเมื่อ 8 Sep 2021 .
↑ "ผศ.ดร.วรภรรณ เรืองผกา ผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล" . sanook.com . สืบค้นเมื่อ 8 Sep 2021 .
↑ "ประพันธ์ คูณมี ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" . oldweb.most.go.th/ . 15 July 2009. สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ "เดินเกมหุ้นสไตล์ 'สามก๊ก' 'ชัชวนันท์ สันธิเดช' " . Bizweek . 7 March 2017. สืบค้นเมื่อ 24 Nov 2021 .
↑ "เชฟฟาง ณัฐพงศ์ ประวัติ เชฟหนุ่มตี๋หุ่นแซ่บ หวานใจคนใหม่ของ พิมพ์ พิมพ์มาดา" . kapook.com . สืบค้นเมื่อ 20 April 2022 .
↑ " "เชฟฟาง" ณัฐพงศ์ หน่อชูเวช เชฟน่าชิม อยากลองลิ้มก็เชิญมา" . MGR Online . 27 March 2017. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022 .
↑ "ณัฐพงศ์ หน่อชูเวช อีกหนึ่งความอร่อยของชีวิต" . Posttoday . 21 June 2012. สืบค้นเมื่อ 20 April 2022 .
↑ 318.0 318.1 318.2 318.3 318.4 318.5 "รวมพลดาราคนดัง สมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์" . campus.campus-star.com . สืบค้นเมื่อ 28 July 2021 .
↑ "จักริน ภูริพัฒน์ (แก๊ป)" . nangdee.com . สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ "e-news Kasetsart" (PDF) . pr.ku.ac.th . สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .
↑ "ไทยแลนด์ซุปเปอร์สตาร์ - แก๊ป จักริน ภูริพัฒน์" . thailandsuperstar.com . สืบค้นเมื่อ 10 Sep 2021 .[ลิงก์เสีย ]
แหล่งข้อมูลอื่น
13°50′52″N 100°34′15″E / 13.847747°N 100.57084°E / 13.847747; 100.57084
สัญลักษณ์ วิทยาเขต บางเขน กำแพงแสน เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสกลนคร ศรีราชา สถาบันสมทบ โรงพยาบาล องค์กรนิสิต อื่น ๆ