จิราพร ขาวสวัสดิ์ |
---|
เกิด | 16 มกราคม 2505 |
---|
สัญชาติ | ไทย |
---|
การศึกษา | บัญชี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (ตรี) บัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (โท) MBA-Finance มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (โท) Senior-Executive Program ที่ London Business School มหาวิทยาลัยลอนดอน |
---|
อาชีพ | ผู้บริหาร, นักธุรกิจ, นักบัญชี |
---|
ปีปฏิบัติงาน | พ.ศ. 2530 - ปัจจุบัน |
---|
องค์การ | บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) : โออาร์ (PTT Oil and Retail Business Public Company Limited : OR ) |
---|
ผลงานเด่น | นำบริษัท โออาร์ (OR) เข้าตลาดหลักทรัพย์ |
---|
กรรมการใน | ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (President and Chief Executive Officer) |
---|
จิราพร ขาวสวัสดิ์ ผู้บริหารสูงสุดหญิงคนแรกของบริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (โออาร์ ในกลุ่ม ปตท.) และเป็นผู้นำ OR รักษาความสามารถในการแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและขยายการลงทุนในธุรกิจที่ไม่ใช่น้ำมัน ได้แก่ คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) ร้านอาหารออร์แกนิกโอ้กะจู๋ (Ohkajhu organic restaurants) และร้านกาแฟ Pacamara coffee houses[1] จิราพรสร้างประวัติศาสตร์ให้กับตลาดหุ้นไทยโดยนำ OR เข้าสู่ IPO ผ่านจัดสรรหุ้นที่โปร่งใสและยุติธรรมด้วยวิธี Small-Lot First โดยมีผู้ลงทุนรายย่อย 530,000 ราย ซึ่งเป็นจำนวนมากที่สุดนับตั้งแต่ก่อตั้ง กลต. เธอได้รับรางวัล 'Best IPO of Asia' ปลดล็อคศักยภาพของ OR และเพิ่มมูลค่าตามราคาตลาดสำหรับกลุ่ม ปตท. นอกจากนี้ เธอยังเป็นผู้นำแบรนด์ไทยให้เป็นแบรนด์ระดับโลกที่ดำเนินงานใน 10 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ โอมาน สิงคโปร์ จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเวียดนาม[2]
ประวัติและการศึกษา
จิราพร ขาวสวัสดิ์ เป็นชาวกรุงเทพมหานคร จิราพรจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาบัญชี จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร เธอยังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านการบัญชี (การต้นทุน) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท MBA ด้านการเงิน จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ยังสำเร็จการศึกษาใน 2 หลักสูตรพิเศษ ได้แก่ หลักสูตร Senior-Executive Program ที่ London Business School มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษ และหลักสูตรกรรมการบริษัท สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors) เธอได้เริ่มชีวิตการทำงานกับ ปตท. ในปี พ.ศ. 2530 ขณะอายุ 25 ปี ในตำแหน่งบัญชี รับผิดชอบการออกแบบระบบข้อมูลบัญชีเพื่อการบริหารธุรกิจ โดยระหว่างนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยปรับปรุงระบบงาน Enterprise Resource Planning (ERP) ของ ปตท. ด้วย[3][4][5][6][7]
การทำงานและผลงาน
จิราพรเริ่มทำงานกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในวัย 25 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 ในตำแหน่งนักบัญชี โดยรับผิดชอบการออกแบบระบบข้อมูลบัญชีเพื่อการบริหารธุรกิจ ซึ่งระหว่างนั้นได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าหน่วยปรับปรุงระบบงาน Enterprise Resource Planning (ERP) ของ ปตท. อีกด้วย ในอีก 25 ปีต่อมา พ.ศ. 2555 จิราพรได้ก้าวขึ้นมารับตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่วางแผนหน่วยธุรกิจน้ำมัน รับผิดชอบดูแลด้านกลยุทธ์และแผนธุรกิจของหน่วยธุรกิจน้ำมัน ปตท. ในปี พ.ศ. 2559 นั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด (PTTRM) ในปี พ.ศ. 2560 เป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด ในปี พ.ศ. 2561 เป็นกรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2561 รับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก (OR)[8][9]
จิราพรเป็นผู้อยู่เบื้องหลังคนสำคัญในการนำโออาร์ (OR) เข้าตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้ภาพลักษณ์ของบริษัท ปตท. หลุดพ้นจากการเป็นองค์กรของรัฐที่มีความได้เปรียบ รวมทั้งเพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 75 เธอและทีมงานผ่านงานหนักในช่วงการโอนสัญญาและใบอนุญาต ซึ่งสัญญามีอยู่ประมาณ 3 หมื่นฉบับ รวมทั้งเดินสายทำความเข้าใจกับคู่ค้าของดีลเลอร์ปั๊มน้ำมันประมาณ 1,600 ราย หรือลูกค้าน้ำมันอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น สายการบิน ที่ต้องมาทำสัญญากันใหม่กับโออาร์ จนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ความสามารถของจิราพรยังได้รับการยอมรับถึงขนาดเป็น 1 ใน 6 คนที่เป็น Candidate ในช่วงการสรรหาตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แทนชาญศิลป์ ตรีนุชกร ที่ครบวาระเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 จิราพรดูแลกลุ่มธุรกิจน้ำมันกว่า 1,968 สาขา 329 สาขาในต่างประเทศ ร้านคาเฟ่ อเมซอน 3,168 สาขา ต่างประเทศ 272 สาขา (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563) และธุรกิจค้าปลีกอื่น ๆ รวมทั้งรับผิดชอบพนักงานทั้งหมดอีก 1,500 คน ทำรายได้ในปี พ.ศ. 2562 อยู่ที่ 577,134 ล้านบาท กำไร 10,896 ล้านบาท ส่วน 9 เดือนแรกของปี 2563 รายได้ 319,308 ล้านบาท กำไร 12,523 ล้านบาท ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจจากพิษของโควิด-19 และการแข่งขันที่มีสูงมากในเรื่องของน้ำมันและค้าปลีก เธอยังต้องรับภาระหนักในการวางแผนสร้างความเติบโตของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เปิดฉากปี พ.ศ. 2564 ท่ามกลางกระแสโควิดรอบ 2 จิราพรได้ระดมทำการประชาสัมพันธ์ถึงความพร้อมในการเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และชักชวนให้ทุกคนเข้ามาเป็นเจ้าของโออาร์ร่วมกันด้วยครีเอทีฟแคมเปญต่าง ๆ ผ่านทุกช่องทางทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ รวมทั้งฟรีมาร์เก็ตติ้งอีกมากมายผ่านทุกสื่อและเกือบทุกคอลัมนิสต์ เธอเปิดโอกาสให้ซื้อหุ้นด้วยระบบ Small Lot First ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้รับการกระจายหุ้นอย่างทั่วถึง รวมทั้งคนที่ไม่เคยเล่นหุ้นมาก่อนและไม่มีพอร์ตหุ้น ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ด้วยการบอกขั้นตอนการเป็นเจ้าของหุ้นง่าย ๆ แค่ 7 นาที เพียงระยะเวลาไม่กี่วันเธอประสบความสำเร็จไปแล้วมากมายในการทำให้คนรู้จักกับโออาร์ (OR)[10][11]
อ้างอิง