กีวตัง

คาราอาเงะกีวตัง

กีวตัง (ญี่ปุ่น: 牛タンโรมาจิgyūtan) เป็นอาหารญี่ปุ่นที่ทำมาจากลิ้นวัวย่าง คำว่ากีวตังเป็นการผสมระหว่างคำว่า กิว (ญี่ปุ่น: โรมาจิgyū) ในภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่าวัว กับคำว่า ทัง (tongue) ในภาษาอังกฤษที่แปลว่าลิ้น เนื่องจากคำว่ากีวตังมีความหมายทางภาษาว่า "ลิ้นวัว" ดังนั้นในญี่ปุ่นจึงใช้คำนี้เรียกลิ้นวัวด้วยเช่นกัน การปรุงกีวตังเริ่มต้นจากเมืองเซ็นไดเมื่อ พ.ศ. 2491 ปกติแล้วในเซ็นไดจะรับประทานกับข้าวบาร์เลย์ ซุปหางวัว และผักดอง ในพื้นที่อื่น ๆ ในญี่ปุ่นมักจะมีกีวตังในร้านยากินิกุ เดิมทีกีวตังจะปรุงรสด้วยเกลือ ในร้านยากินิกุหลายร้านจึงเรียกกีวตังว่า ทังชิโอะ (ญี่ปุ่น: タン塩โรมาจิtanshioทับศัพท์: lit. "tongue salt") ปัจจุบันบางร้านจะบริการกีวตังพร้อมกับซอสทาเระ

ประวัติ

เมื่อ พ.ศ. 2491 ซาโนะ เคชิโร เจ้าของร้านยากิโตริในเซ็นไดได้เปิดร้านอาหารใหม่ที่บริการอาหารจากลิ้นวัว ร้านนี้มีชื่อว่า ทาซูเกะ (太助) และในปัจจุบันยังคงจัดว่าเป็นร้านกีวตังที่ดีที่สุดในเซ็นได ซาโนะเปิดร้านนี้เพื่อปรุงอาหารจากลิ้นและหางของวัวที่กองกำลังยึดครองญี่ปุ่นที่ประจำอยู่ในเซ็นได (หลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่สอง) เหลือทิ้งไว้ แรกเริ่มนั้นกีวตังจัดว่าเป็นอาหารที่ค่อนข้างแปลก แต่ก็ค่อย ๆ เป็นที่นิยมไปทั่วญี่ปุ่น ซึ่งส่วนหนึ่งก็เนื่องมาจากพนักงานเงินเดือนที่ถูกโยกย้ายจากเซ็นไดไปเมืองอื่น ๆ ได้กระจายชื่อเสียงของกีวตังไปยังเมืองเหล่านั้น

เมื่อ พ.ศ. 2534 ญี่ปุ่นได้ยกเลิกการจำกัดการนำเข้าเนื้อวัว ทำให้มีร้านกีวตังเปิดมากขึ้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2546 รัฐบาลญี่ปุ่นได้สั่งห้ามนำเข้าเนื้อวัวจากสหรัฐอเมริกาหลังจากพบโรควัวบ้า ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อร้านกีวตังหลายร้าน ตัวอย่างเช่นร้อยละ 90 ของลิ้นวัวที่ใช้ในร้านกีวตังในเซ็นไดจะนำเข้ามาจากสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ คนที่ยึดมั่นกับเนื้อวัวอเมริกันบางคนอ้างว่า เนื้อวัวจากสหรัฐอเมริกามีปริมาณไขมันที่เหมาะต่อการปรุงกีวตัง และปฏิเสธที่จะใช้เนื้อวัวจากออสเตรเลีย และเนื่องจากลิ้ววัวอาจอุดมไปด้วยโปรตีนพรีออนที่เป็นสาเหตุของโรควัวบ้า สถานการณ์ของกีวตังในอนาคตจึงยังไม่แน่นอน

อ้างอิง

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!