ภาพวัวที่เป็น BSE ลักษณะของโรค คือ สัตว์ที่ติดเชื้อจะยืนไม่ได้
โรคสมองรูปฟองน้ำวัว (อังกฤษ : bovine spongiform encephalopathy, ย่อ: BSE ) หรือรู้จักกันทั่วไปว่า โรควัวบ้า เป็นโรคเสื่อมของระบบประสาท (โรคสมอง ) ถึงตายในปศุสัตว์ ซึ่งทำให้เกิดการเสื่อมฟองน้ำ (spongy degeneration) ในสมอง และไขสันหลัง โรควัวบ้ามีระยะฟัก นาน ราว 30 เดือนถึง 8 ปี ปกติมีผลต่อปศุสัตว์โตเต็มวัยโดยมีอายุตั้งต้นสูงสุดที่สี่ถึงห้าปี ทุกสายพันธุ์ไวรับเท่ากัน[ 1] ในสหราชอาณาจักร ประเทศซึ่งได้รับผลมากที่สุด มีปศุสัตว์ติดเชื้อกว่า 180,000 ตัว และถูกฆ่า 4.4 ล้านตัวระหว่างโครงการกำจัด[ 2]
โรคนี้อาจส่งผ่านสู่มนุษย์ได้ง่ายที่สุดโดยการกินอาหารที่ปนเปื้อนด้วยสมอง ไขสันหลังหรือทางเดินอาหารของสัตว์ที่ติดเชื้อ[ 3] ทว่า เชื้อก่อโรคซึ่งแม้กระจุกในเนื้อเยื่อประสาทสูงสุด แต่สามารถพบได้แทบทุกเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย รวมทั้งเลือด[ 4] ในมนุษย์ถือว่าโรคนี้เป็นชนิดย่อย (variant) หนึ่ง ของโรคครอยท์ซเฟลดท์–ยาคอบ (vCJD หรือ nvCJD) และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 166 คนในสหราชอาณาจักร และที่อื่น 44 คน[ 5] มีสัตว์ที่ติดเชื้อ BSE ระหว่าง 460,000 ถึง 482,000 ตัวเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารของมนุษย์ก่อนมีการริเริ่มควบคุมเครื่องในสัตว์ความเสี่ยงสูงในปี พ.ศ. 2532 สาเหตุของโรคเกิดจาก พรีออน ซึ่งเป็น คือ โปรตีนขนาดเล็ก ไม่ละลายน้ำ ทนความร้อน พรีออน เป็นปรสิต ต่อคน และสัตว์ [ 6]
ประวัติ
มีสมมติฐานที่แตกต่างกันสำหรับต้นกำเนิดของโรค BSE ในวัว สมมติฐานหนึ่งชี้ให้เห็นว่าอาจเป็นการข้ามสายพันธุ์จากโรคสเครปี (scrapie) ในแกะ และอีกสมมติฐานหนึ่งชี้ให้เห็นว่ามันมีวิวัฒนาการมาจากรูปแบบของ "โรควัวบ้า" ที่หาได้ยาก ซึ่งมักพบเห็นในวัวเป็นเวลากว่าหลายศตวรรษ[ 7] [ 8] ในศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราช ฮิปพอคราทีส อธิบายถึงความเจ็บป่วยที่คล้ายคลึงกันในวัวและแกะซึ่งเขาเชื่อว่าเกิดขึ้นกับมนุษย์เช่นกัน[ 9] เวเจติอุส (Publius Flavius Vegetius Renatus) บันทึกกรณีของโรคที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันในคริสต์ศตวรรษที่สี่ และห้า[ 10]
ในประวัติช่วงล่าสุดของสหราชอาณาจักร การสอบสวนโรค BSE อย่างเป็นทางการ (เผยแพร่เมื่อ พ.ศ. 2543) ชี้ให้เห็นว่าการระบาดที่นั่น "อาจเกิดขึ้นจากแหล่งกำเนิดจุดเดียวทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอังกฤษ ในคริสต์ทศวรรษ 1970"[ 11]
อ้างอิง
↑ "A Focus on Bovine Spongiform Encephalopathy" . Pathogens and Contaminants . Food Safety Research Information Office. November 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2008-03-03. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07 .
↑ Brown, David (June 19, 2001). "The 'recipe for disaster' that killed 80 and left a £5bn bill" . The Daily Telegraph . London. สืบค้นเมื่อ 2008-04-07 .
↑ "Commonly Asked Questions About BSE in Products Regulated by FDA's Center for Food Safety and Applied Nutrition (CFSAN)" . Center for Food Safety and Applied Nutrition, Food and Drug Administration . September 14, 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ May 9, 2008. สืบค้นเมื่อ April 8, 2008 .
↑ I Ramasamy; M Law; S Collins; F Brook (April 2003). "Organ distribution of prion proteins in variant Creutzfeldt-Jakob disease". The Lancet Infectious Diseases . 3 (4): 214–222. doi :10.1016/S1473-3099(03)00578-4 . PMID 12679264 .
↑ "Variant Creutzfeld-Jakob Disease, Current Data (October 2009)" . The National Creutzfeldt-Jakob Disease Surveillance Unit (NCJDSU), University of Edinburgh . October 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม เมื่อ 2012-07-21. สืบค้นเมื่อ 2010-10-14 .
↑ Valleron AJ; Boelle PY; Will R; Cesbron JY (November 2001). "Estimation of epidemic size and incubation time based on age characteristics of vCJD in the United Kingdom ". Science . 294 (5547): 1726–8. doi :10.1126/science.1066838 . PMID 11721058 .
↑ MacKenzie, Debora (March 17, 2007). "New twist in tale of BSE's beginnings" . New Scientist . 193 (2595): 11. doi :10.1016/S0262-4079(07)60642-3 . สืบค้นเมื่อ June 20, 2009 .
↑ Huor A, Espinosa JC, Vidal E, Cassard H, Douet JY, Lugan S, และคณะ (December 2019). "The emergence of classical BSE from atypical/Nor98 scrapie" . Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America . 116 (52): 26853–26862. doi :10.1073/pnas.1915737116 . PMC 6936354 . PMID 31843908 .
↑ Vivian McAlister (June 2005). "Sacred disease of our times: failure of the infectious disease model of spongiform encephalopathy" . Clinical and Investigative Medicine . 28 (3): 101–4. PMID 16021982 .
↑ Publius Flavius Vegetius Renatus. Digesta Artis Mulomedicinae (ภาษาละติน). Centre Traditio Litterarum Occidentalium, Brepols.
↑ Stanley B. Prusiner (May 2001). "Shattuck lecture--neurodegenerative diseases and prions". The New England Journal of Medicine . 344 (20): 1516–26. doi :10.1056/NEJM200105173442006 . PMID 11357156 .
แหล่งข้อมูลอื่น
โรคพรีออนในมนุษย์
inherited/PRNP : sporadic: acquired/ transmissible:
โรคพรีออนในสัตว์อื่น