การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง (อังกฤษ: Spinal fusion, spondylodesis, spondylosyndesis)[1][2] เป็นเทคนิคทางศัลยศาสตร์ออร์โทพีดิกส์เพื่อเชื่อมข้อกระดูกสันหลังสองข้อหรือมากกว่านั้น ซึ่งสามารถทำได้ที่กระดูกสันหลังส่วนคอ ส่วนอก และส่วนเอว เพื่อกันข้อกระดูกที่เชื่อมกันไม่ให้เคลื่อนไหว มีวิธีการเชื่อมกระดูกหลายอย่าง แต่ละอย่างจะมีการปลูกถ่ายกระดูก (bone grafting) ไม่ว่าจะมาจากคนไข้เอง (autograft) ได้จากผู้บริจาค (allograft) หรือจากกระดูกเทียม เพื่อช่วยเชื่อมกระดูกที่เกี่ยวข้อง[3] และบ่อยครั้งจะต้องใช้อุปกรณ์อื่น ๆ (รวมทั้งสกรู แผ่นวัสดุ หรือกรง) เพื่อยึดกระดูกให้อยู่กับที่ในขณะที่กระดูกปลูกถ่ายเชื่อมข้อกระดูกเข้าด้วยกัน
การผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลังทำมากที่สุดเพื่อบรรเทาความปวดและแรงกดต่อไขสันหลัง ที่เกิดเมื่อหมอนกระดูกสันหลัง (กระดูกอ่อนระหว่างข้อกระดูก) เสื่อม (degenerative disc disease)[4] อาการทางแพทย์อื่น ๆ ที่รักษาด้วยวิธีนี้รวมทั้งช่องไขสันหลังตีบ กระดูกสันหลังเคลื่อน กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังหัก กระดูกสันหลังคด และหลังโกง[4] เหมือนกับการผ่าตัดอื่น ๆ ภาวะแทรกซ้อนอาจรวมทั้งการติดเชื้อ การเสียเลือด และความเสียหายต่อประสาท[5] การเชื่อมยังเปลี่ยนการเคลื่อนไหวปกติของกระดูกสันหลัง ซึ่งสร้างภาระมากขึ้นกับข้อกระดูกเหนือและใต้ข้อที่เชื่อมเข้าด้วยกัน ดังนั้น ภาวะแทรกซ้อนระยะยาวก็คือกระดูกที่มีภาระมากขึ้นจะเสื่อม[3]
การเชื่อมกระดูกสันหลังสามารถใช้รักษาอาการต่าง ๆ ที่มีผลต่อสันหลังระดับคอ อก และเอว ซึ่งโดยทั่วไปใช้ลดแรงกดอัดต่อและสร้างเสถียรภาพให้กระดูก[5] เหตุสามัญที่สุดของแรงอัดที่ไขสันหลังหรือเส้นประสาท ก็คือหมอนกระดูกสันหลังเสื่อม (degenerative disc disease)[6] เหตุสามัญอื่น ๆ รวมทั้งหมอนกระดูกสันหลังเคลื่อน ช่องไขสันหลังตีบ การบาดเจ็บ และเนื้องอกที่ไขสันหลัง[5]
ช่องไขสันหลังตีบอาจเป็นผลของปุ่มกระดูกงอก (osteophytes) หรือเอ็นที่หนาขึ้น ซึ่งในระยะยาวมีผลเป็นช่องไขสันหลังตีบ[5] แล้วทำให้ปวดขาเมื่อทำกิจกรรม เป็นอาการที่เรียกว่า อาการปวดขาเหตุประสาท (neurogenic claudication)[5] ส่วนการกดเส้นประสาทตรงที่ออกจากไขสันหลังซึ่งเรียกว่า โรครากประสาท (radiculopathy) จะทำให้ปวดอวัยวะส่วนที่เส้นประสาทวิ่งไปถึง (เช่น ขาสำหรับปัญหาส่วนเอว แขนสำหรับปัญหาส่วนคอ)[5] ในกรณีที่รุนแรง แรงดันนี้จะทำให้มีความบกพร่องทางประสาทอย่างอื่น เช่น เหน็บชา ปัญหาการกลั้นปัสสาวะ/อุจจาระ และอัมพาต[5]
การเชื่อมกระดูกส่วนเอวและส่วนคอจะสามัญกว่าส่วนอก[6] เพราะกระดูกในเขตเหล่านี้เคลื่อนไหวมากกว่าจึงเสื่อมง่ายกว่า[6] อนึ่ง เพราะกระดูกส่วนอกมักจะเคลื่อนไม่ได้ ปัญหาจากส่วนนี้จึงมักมาจากความบาดเจ็บ หรือการเสียรูปเนื่องจากกระดูกสันหลังคด (scoliosis) และหลังโกง (kyphosis)[5]
ภาวะที่แพทย์จะพิจารณาเชื่อมกระดูกไขสันหลังรวมทั้ง
โปรตีนเพิ่มการเติบโตของกระดูก คือ Bone morphogenetic protein (rhBMP) ไม่ควรใช้เป็นปกติสำหรับการเชื่อมกระดูกสันหลังส่วนคอจากด้านหน้า เช่นที่ทำด้วยเทคนิค anterior cervical discectomy and fusion[7] เพราะมีรายงานว่าการรักษาเช่นนี้ทำให้เนื้อเยื่ออ่อนบวม แล้วมีผลเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตเพราะกลืนไม่ได้หรือหายใจไม่ออก[7]
ตามรายงานของสำนักงานวิจัยและคุณภาพการรักษาสุขภาพสหรัฐ (AHRQ) ในปี 2554 มีการการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง 488,000 รายในโรงพยาบาลสหรัฐ (ที่อัตรา 15.7 ต่อประชากร 10,000) ซึ่งอยู่ในอัตรา 3.1% ของการผ่าตัดทั้งหมด[8] และเพิ่มขึ้น 70% จากปี 2544[9] โดยการเชื่อมกระดูกส่วนเอวสามัญที่สุด ที่ ~210,000 รายต่อปี ส่วนอกอยู่ที่ 24,000 รายต่อปี และส่วนคอ 157,000 รายต่อปี[6]
งานวิเคราะห์การเชื่อมกระดูกไขสันหลังปี 2551 ในสหรัฐพบข้อมูลดังต่อไปนี้[6]
ค่าใช้จ่ายสำหรับการเชื่อมกระดูกสันหลังจะขึ้นอยู่กับสถาบัน ประกัน ประเภทการผ่าตัด และสุขภาพทั่วไปของคนไข้[10] ค่าใช้จ่ายรวมทั้งแล็บ ยา ห้องและอาหาร อุปกรณ์รักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัด กายภาพบำบัด การสร้างภาพ และค่าบริการโรงพยาบาลอื่น ๆ[11]
ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยรวมใน รพ. สหรัฐเพื่อผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังเพิ่มจาก 24,676 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2541 เป็น 81,960 ดอลลาร์ในปี 2551[6] ต่อไปนี้เป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสำหรับเทคนิคการผ่าตัดที่สามัญต่าง ๆ เพื่อเชื่อมกระดูกสันหลังในสหรัฐ
มีเทคนิคการเชื่อมข้อกะระดูกสันหลังหลายอย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับระดับข้อกระดูกสันหลังและตำแหน่งที่กดบีบไขสันหลัง/เส้นประสาท[5] หลังจากที่ลดความกดดันที่กระดูกสันหลังแล้ว แพทย์ก็จะปลูกถ่ายกระดูกหรือกระดูกเทียมใส่ในระหว่างข้อกระดูกเพื่อให้เชื่อมเข้าด้วยกัน[3] โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมจะทำจากด้านหน้า ด้านหลัง หรือที่ด้านทั้งสองของข้อกระดูก[5] ทุกวันนี้ การเชื่อมโดยมากจะทำพร้อมกับวัสดุยึดอื่น ๆ (รวมทั้งสกรู แผ่นยึด หรือท่อนยึด) เพราะมีหลักฐานว่าเชื่อมกันดีกว่าที่ไม่ใช้[5]
เทคนิคอื่น ๆ ที่ต้องผ่าเจาะน้อยกว่านี้ (Minimally invasive) ก็เริ่มเป็นที่นิยม[12] รวมทั้งการใช้ระบบภาพนำทางเพื่อใส่ท่อนยึดและสกรูเข้าที่กระดูกโดยเป็นแผลเล็กกว่า ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อเสียหายน้อยกว่า มีเลือด การอักเสบ ความปวด และการอยู่ในโรงพยาบาลน้อยกว่า[12]
รายการต่อไปนี้เป็นตัวอย่างเทคนิคการเชื่อมกระดูกไขสันหลังที่สามัญเพื่อกระดูกแต่ละระดับ ๆ
การเชื่อมกระดูกสันหลังเป็นการผ่าตัดที่เสี่ยงสูงและภาวะแทรกซ้อนอาจหนัก รวมทั้งถึงตาย โดยทั่วไปแล้ว ความเสี่ยงจะสูงขึ้นในผู้มีอายุที่มีดัชนีมวลกายสูง มีโรคอื่น มีโภชนาการที่ไม่ดีและมีอาการทางประสาทอื่น ๆ (เช่น เหน็บชา ไม่มีแรง ปัญหาการกลั้นปัสสาวะอุจจาระ) ก่อนผ่าตัด[5] ภาวะแทรกซ้อนยังขึ้นอยู่กับประเภทและขอบเขตของการผ่าตัด มีเวลาสามช่วงที่อาจมีภาวะแทรกซ้อน
การฟื้นตัวหลังการเชื่อมกระดูกสันหลังต่างกันมาก โดยขึ้นอยู่กับศัลยแพทย์และประเภทการผ่าตัด[13] คนไข้จะอยู่ในโรงพยาบาลโดยเฉลี่ย 3.7 วัน[6] แต่ก็มีคนไข้บางพวกที่สามารถกลับบ้านในวันเดียวกันถ้าเป็นการเชื่อมกระดูกส่วนคอแบบง่าย ๆ และทำในศูนย์ผ่าตัดผู้ป่วยนอก[14] การผ่าตัดที่เจาะผ่าน้อย (Minimally invasive surgeries) ยังลดเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลอย่างสำคัญอีกด้วย[14] การฟื้นสภาพมักจะมีข้อจำกัดในกิจกรรมและการฝึกฟื้นสมรรถภาพ[15] โดยข้อจำกัดหลังจากการผ่าตัดจะขึ้นอยู่กับแพทย์
ช่วงเวลาปกติสำหรับข้อจำกัดต่าง ๆ หลังจากการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังส่วนเอวรวมทั้ง[15]
การบำบัดฟื้นฟูสภาพหลังจากการเชื่อมกระดูกสันหลังอาจไม่จำเป็น แต่ก็มีหลักฐานบ้างว่ามันช่วยกิจกรรมในชีวิตและลดความปวดหลัง ดังนั้น ศัลยแพทย์บางท่านก็จะแนะนำ[15]
ตามรายงานของสำนักงานวิจัยและคุณภาพการรักษาสุขภาพสหรัฐ (AHRQ) ในปี 2554 มีการการผ่าตัดเชื่อมข้อกระดูกสันหลัง 488,000 รายในโรงพยาบาลสหรัฐ (ที่อัตรา 15.7 ต่อประชากร 10,000) ซึ่งอยู่ในอัตรา 3.1% ของการผ่าตัดทั้งหมด[8]
(แพทยศาสตร์) ๑. การหลอม ๒. การรวมตัว, การเชื่อม, การประสาน ๓. (ออร์โท.) การผ่าตัดเชื่อมข้อ
(แพทยศาสตร์) ๑. -ลำกระดูกสันหลัง ๒. -เงี่ยงกระดูก, -หนาม, -ยอดแหลม, -จะงอย ๓. -เงี่ยงกระดูกสันหลัง ๔. -ไขสันหลัง, -สันหลัง