ไซตามะ (เมือง)

ไซตามะ

さいたま
さいたま市 • นครไซตามะ
จากบนตามเข็มนาฬิกา: สนามกีฬาไซตามะ 2002, เกียวกูโซอิง, ศูนย์กลางเมืองใหม่ไซตามะ, มูซาชิอูราวะ, ไซตามะซูเปอร์อารีนา, ศาลเจ้าฮิกาวะ, อูราวะปาร์โก
จากบนตามเข็มนาฬิกา: สนามกีฬาไซตามะ 2002, เกียวกูโซอิง, ศูนย์กลางเมืองใหม่ไซตามะ, มูซาชิอูราวะ, ไซตามะซูเปอร์อารีนา, ศาลเจ้าฮิกาวะ, อูราวะปาร์โก
ธงของไซตามะ
ธง
ตราอย่างเป็นทางการของไซตามะ
ตรา
แผนที่
ที่ตั้งของนครไซตามะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดไซตามะ
ที่ตั้งของนครไซตามะ (เน้นสีม่วง) ในจังหวัดไซตามะ
ไซตามะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ไซตามะ
ไซตามะ
พิกัด: 35°51′41″N 139°38′44″E / 35.86139°N 139.64556°E / 35.86139; 139.64556
ประเทศธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ภูมิภาคคันโต
จังหวัดจังหวัดไซตามะ ไซตามะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีฮายาโตะ ชิมิซุ
พื้นที่
 • เขตนคร217.43 ตร.กม. (83.95 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (1 มีนาคม 2021)
 • เขตนคร1,324,854 คน
 • ความหนาแน่น6,100 คน/ตร.กม. (16,000 คน/ตร.ไมล์)
สัญลักษณ์ประจำนคร
 • ต้นไม้เซลโควาญี่ปุ่น (Zelkova serrata)
 • ดอกไม้พริมโรสญี่ปุ่น (Primula sieboldii)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น)
โทรศัพท์048-829-1111
ที่อยู่6-4-4 Tokiwa, Urawa-ku, Saitama-shi, Saitama-ken 330-9588
ภูมิอากาศCfa
เว็บไซต์www.city.saitama.jp

ไซตามะ (ญี่ปุ่น: さいたま市โรมาจิSaitama-shi) เป็นเมืองหลวงของจังหวัดไซตามะ ประเทศญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด เป็นนครที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัด ประกอบด้วยอดีตนครหลายแห่งควบรวมกัน ได้แก่ อูราวะ โอมิยะ โยโนะ และอิวัตสึกิ ปัจจุบันมีฐานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนด ไซตามะตั้งอยู่ในเขตปริมณฑลของมหานครโตเกียว และอยู่ห่างจากใจกลางกรุงโตเกียวไปทางทิศเหนือ 15 ถึง 30 กิโลเมตร มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากที่เดินทางไปกลับเป็นประจำระหว่างนครไซตามะกับกรุงโตเกียว

ข้อมูลเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2021 (2021 -02-01) นครไซตามะมีจำนวนประชากรประมาณ 1,324,854 คน ความหนาแน่นของประชากร 6,093 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 217.43 ตารางกิโลเมตร (83.95 ตารางไมล์)[1]

นครไซตามะเป็นที่ตั้งของสนามกีฬาชื่อดังอย่าง สนามกีฬาไซตามะ 2002 ซึ่งใช้แข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายในปี 2002 รวมถึงไซตามะซูเปอร์อารีนา ซึ่งเป็นศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์

ศัพทมูลวิทยา

ชื่อ "ไซตามะ" มาจากชื่อหมู่บ้านซากิตามะ (埼玉郡) ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเกียวดะ ทางตอนเหนือของจังหวัดไซตามะ คำว่า "ซากิทามะ" มีประวัติศาสตร์อันเก่าแก่และถูกกล่าวถึงในมังโยชู (ญี่ปุ่น: 万葉集โรมาจิMan'yōshū) ซึ่งเป็นกวีนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงในคริสต์ศตวรรษที่ 8 เมื่อเวลาผ่านไปหลายปีการออกเสียงได้เพี้ยนจาก "ซากิตามะ" ไปเป็น "ไซตามะ"

จากการควบรวมเทศบาลนครอูราวะ โอมิยะ และโยโนะ เป็นเทศบาลเดียว ได้มีการตัดสินใจว่าจะตั้งชื่อขึ้นใหม่ที่เหมาะสมในฐานะเมืองหลวงของจังหวัด จึงได้นำชื่อจังหวัด "ไซตามะ" (埼玉県) มาใช้โดยเปลี่ยนการเขียนจากคันจิเป็นฮิรางานะ ได้เป็นนครไซตามะ (さいたま市) นับเป็นเมืองหลวงของจังหวัดแห่งเดียวในประเทศญี่ปุ่นที่มีชื่อเขียนด้วยอักษรฮิรางานะ

อย่างไรก็ตาม ในผลการลงคะแนนสาธารณะ ไซตามะที่เขียนด้วยฮิรางานะ (さいたま市) ที่จริงแล้วได้รับเลือกเป็นอันดับสอง ส่วนอันดับหนึ่งคือไซตามะที่เขียนด้วยคันจิ (埼玉市) แต่ท้ายที่สุดแล้วทางการก็ได้ตัดสินใจใช้ชื่อที่เขียนด้วยฮิรางานะ ส่วนอันดับสามคือ โอมิยะ (大宮市) อันดับสี่คือ ไซตามะ (彩玉市) ที่เปลี่ยนคันจิตัวแรกเป็น ซึ่งหมายถึง "สีสัน"

ภูมิศาสตร์

นครไซตามะตั้งอยู่ทางเหนือของใจกลางกรุงโตเกียวประมาณ 20 ถึง 30 กิโลเมตร ประมาณศูนย์กลางของที่ราบคันโต นครไซตามะตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดไซตามะ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มและที่ราบสูง ส่วนใหญ่อยู่เหนือระดับน้ำทะเลน้อยกว่า 20 เมตร และไม่มีเทือกเขาหรือเนินเขาภายในเขตเมือง ส่วนตะวันตกของเมืองตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มที่เกิดจากแม่น้ำอารากาวะ และยังมีแม่น้ำสายเล็ก ๆ เช่น แม่น้ำโมโตะ-อารากาวะ แม่น้ำชิบะ และแม่น้ำอายาเซะ พื้นที่ส่วนที่เหลือส่วนใหญ่อยู่บนที่ราบสูงโอมิยะซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้

อาณาเขตติดต่อ

นครไซตามะมีอาณาเขตติดต่อกับเทศบาลต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกาเริ่มจากทิศเหนือ ดังนี้ (ทั้งหมดอยู่ในจังหวัดไซตามะ)

ภูมิอากาศ

ไซตามะมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (เคิพเพิน Cfa) มีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่อบอุ่น และฤดูหนาวที่เย็นสบาย มีหิมะตกน้อยไปจนถึงไปจนถึงไม่มีหิมะตก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในไซตามะอยู่ที่ 15.2 °C (59.4 °F) ปริมาณน้ำฝนรายปีเฉลี่ยอยู่ที่ 1,371.3 mm (53.99 in) โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิจะสูงที่สุดโดยเฉลี่ยในเดือนสิงหาคมที่ประมาณ 27.0 °C (80.6 °F) และต่ำสุดในเดือนมกราคมที่ประมาณ 3.9 °C (39.0 °F)[2]

ข้อมูลภูมิอากาศของไซตามะ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะสุดโต่ง 1976−ปัจจุบัน)
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 18.7
(65.7)
25.5
(77.9)
26.9
(80.4)
31.2
(88.2)
34.2
(93.6)
38.0
(100.4)
39.3
(102.7)
38.7
(101.7)
37.4
(99.3)
33.1
(91.6)
25.6
(78.1)
25.1
(77.2)
39.3
(102.7)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 9.4
(48.9)
10.3
(50.5)
13.7
(56.7)
19.2
(66.6)
23.8
(74.8)
26.5
(79.7)
30.5
(86.9)
31.8
(89.2)
27.7
(81.9)
21.9
(71.4)
16.5
(61.7)
11.7
(53.1)
20.3
(68.5)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 3.9
(39)
4.9
(40.8)
8.4
(47.1)
13.7
(56.7)
18.6
(65.5)
22.0
(71.6)
25.9
(78.6)
27.0
(80.6)
23.2
(73.8)
17.5
(63.5)
11.4
(52.5)
6.2
(43.2)
15.2
(59.4)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) -1.1
(30)
-0.2
(31.6)
3.3
(37.9)
8.4
(47.1)
13.9
(57)
18.3
(64.9)
22.2
(72)
23.2
(73.8)
19.5
(67.1)
13.5
(56.3)
6.8
(44.2)
1.2
(34.2)
10.8
(51.4)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) -9.8
(14.4)
-8.8
(16.2)
-5.0
(23)
-2.0
(28.4)
4.8
(40.6)
11.5
(52.7)
14.7
(58.5)
16.3
(61.3)
9.5
(49.1)
3.6
(38.5)
-2.4
(27.7)
-6.7
(19.9)
−9.8
(14.4)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว) 42.4
(1.669)
39.6
(1.559)
88.0
(3.465)
101.9
(4.012)
121.4
(4.78)
144.8
(5.701)
148.0
(5.827)
164.0
(6.457)
202.8
(7.984)
196.8
(7.748)
70.9
(2.791)
45.2
(1.78)
1,371.3
(53.988)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm) 3.8 4.6 8.7 9.0 10.0 11.6 11.8 8.8 10.8 10.0 6.7 4.4 100.8
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด 201.4 186.4 186.6 187.1 185.3 128.4 152.5 181.9 135.6 135.1 156.6 181.1 2,018.0
แหล่งที่มา 1: กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น[2]
แหล่งที่มา 2: Time and Date (dewpoints, 1985-2015)[3]

เขตการปกครอง

นครไซตามะแบ่งการปกครองออกเป็น 10 เขต (ญี่ปุ่น: โรมาจิkuทับศัพท์: คุ) มีสีประจำเขตอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 2005

เขตของนครไซตามะ
# ชื่อ สี พื้นที่ (ตร.กม.) แผนที่
ทับศัพท์ไทย ภาษาญี่ปุ่น
1 เขตชูโอ 中央区   แดงกุหลาบ 8.39
แผนที่เขตของนครไซตามะ
2 เขตอิวัตสึกิ 岩槻区   เหลืองน้ำตาล 49.17
3 เขตคิตะ 北区   เขียวเข้ม 16.86
4 เขตมิโดริ 緑区   เขียว 26.44
5 เขตมินามิ 南区   เหลือง 13.82
6 เขตมินูมะ 見沼区   ฟ้าอ่อน 30.69
7 เขตนิชิ 西区   ฟ้าเข้ม 29.12
8 เขตโอมิยะ 大宮区   ส้ม 12.80
9 เขตซากูระ 桜区   ชมพูซากูระ 18.64
10 เขตอูราวะ 浦和区   แดง
ศูนย์กลางราชการ
11.51

ประวัติ

ชมพู: นครอูราวะเดิม
น้ำเงิน: นครโอมิยะเดิม
เขียว: นครโยโนะเดิม
เหลือง: นครอิวัตสึกิเดิม

นครไซตามะจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 โดยการควบรวมนครอูราวะ (ญี่ปุ่น: 浦和市โรมาจิUrawa-shi), โอมิยะ (ญี่ปุ่น: 大宮市โรมาจิŌmiya-shi) และโยโนะ (ญี่ปุ่น: 与野市โรมาจิYono-shi) เข้าด้วยกัน และได้รับการยกฐานะเป็นนครใหญ่ที่รัฐกำหนดเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2003 ต่อมาวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 2005 นครไซตามะได้ผนวกนครอิวัตสึกิ (ญี่ปุ่น: 岩槻市โรมาจิIwatsuki-shi) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นเขตอิวัตสึกิ

การเมืองการปกครอง

ศาลาว่าการนครไซตามะ

นครไซตามะมีการปกครองในรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา โดยมีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และสภานครซึ่งเป็นระบบสภาเดี่ยวมีสมาชิก 64 คน นครไซตามะเป็นเขตเลือกตั้งที่ให้สมาชิกสภาจังหวัดไซตามะจำนวน 14 คน ในแง่ของการเมืองระดับชาติ นครไซตามะถูกแบ่งออกเป็น เขตเลือกตั้งไซตามะที่ 1, 5 และ 15 ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งรัฐสภาญี่ปุ่น

นายกเทศมนตรี

  • อิซามุ อิฮาระ (井原 勇) 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 – 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2001
  • โซอิจิ ไอกาวะ (相川 宗一) 27 พฤษภาคม ค.ศ. 2001 – 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2009
  • ฮายาโตะ ชิมิซุ (清水 勇人) 26 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 – ปัจจุบัน

นายกเทศมนตรีคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งโดยตรง คือ โซอิจิ ไอกาวะ ซึ่งเป็นนักการเมืองอิสระที่ได้รับการสนับสนุนจากพรรคเสรีประชาธิปไตยและพรรคโคเม วันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ไอกาวะแพ้การเลือกตั้งให้กับฮายาโตะ ชิมิซุ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากพรรคฝ่ายค้าน พรรคประชาธิปไตยญี่ปุ่น[4]

เศรษฐกิจ

เศรษฐกิจของนครไซตามะประกอบด้วยธุรกิจการค้าเป็นหลัก ถือเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งหนึ่งในเขตมหานครโตเกียวและปริมณฑล ครอบคลุมทั้งจังหวัดไซตามะ ไปจนถึงภูมิภาคคันโตเหนือ และฮนชูตะวันออกเฉียงเหนือ

อ้างอิง

  1. "Saitama city official statistics" (ภาษาญี่ปุ่น). Japan.
  2. 2.0 2.1 気象庁 / 平年値(年・月ごとの値). Japan Meteorological Agency. สืบค้นเมื่อ May 19, 2021.
  3. "Climate & Weather Averages in Saitama Suijō Kōen". Time and Date. สืบค้นเมื่อ 24 July 2022.
  4. "DPJ Triumphs in Saitama Election", The Japan Times, 25 May 2009.

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!