โยโกฮามะ
โยโกฮามะ
横浜 |
---|
| นครโยโกฮามะ • 横浜市 | จากบนลงล่าง ซ้ายไปขวา: มินาโตมิไร 21 ในช่วงพลบค่ำ, อุทยานอนุสรณ์สถานนิปปมมารุ, โยโกฮามะไชนาทาวน์, ย่านการค้าโมโตมาจิ, อุทยานซังเก, ฮาร์เบอร์วิวพาร์ก, โยโกฮามะมารีนทาวเวอร์มองจากอุทยานยามาชิตะ และท่าเรือโอซัมบาชิ |
ธง ตรา | | | | พิกัด: 35°26′39″N 139°38′17″E / 35.44417°N 139.63806°E / 35.44417; 139.63806 | ประเทศ | ญี่ปุ่น |
---|
ภูมิภาค | คันโต |
---|
จังหวัด | คานางาวะ |
---|
การปกครอง |
---|
• นายกเทศมนตรี | ทาเกฮารุ ยามานากะ (山中 竹春) |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 437.38 ตร.กม. (168.87 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (1 มีนาคม ค.ศ. 2021) |
---|
• ทั้งหมด | 3,761,630 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 8,534.03 คน/ตร.กม. (22,103.0 คน/ตร.ไมล์) |
---|
เขตเวลา | UTC+9 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) |
---|
สัญลักษณ์ | |
---|
• ต้นไม้ | คามิเลีย, ชินคาพิน, ซังโงจุ ซาซันควา, แปะก๊วย, เซลโควา |
---|
• ดอกไม้ | ดาห์เลีย, กุหลาบ |
---|
ที่อยู่ | 1-1 Minato-chō, Naka-ku, Yokohama-shi, Kanagawa-ken 231-0017 |
---|
เว็บไซต์ | www.city.yokohama.lg.jp |
---|
โยโกฮามะ (ญี่ปุ่น: 横浜; โรมาจิ: Yokohama) เป็นเมืองใหญ่อันดับสองเรียงตามจำนวนประชากรของประเทศญี่ปุ่นรองจากโตเกียว เป็นเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดของญี่ปุ่น เป็นเมืองหลวงและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดของจังหวัดคานางาวะ ด้วยจำนวนประชากรเมื่อ ค.ศ. 2020 ราว 3.8 ล้านคน โยโกฮามะตั้งอยู่บริเวณริมอ่าวโตเกียว ทางใต้ของโตเกียว ในภูมิภาคคันโตบนเกาะหลักฮนชู โยโกฮามะยังเป็นศูนย์กลางทางพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมที่สำคัญของเขตมหานครโตเกียวและปริมณฑล
ประวัติศาสตร์
การเปิดท่าเรือตามสนธิสัญญา (ค.ศ. 1859–1868)
โยโกฮามะเดิมเป็นหมู่บ้านประมงขนาดเล็ก จากนโยบายปิดประเทศของญี่ปุ่นทำให้มีการติดต่อกับชาวต่างชาติเพียงน้อยนิด[1] จุดเปลี่ยนผ่านสำคัญเกิดขึ้นระหว่างปี 1853–54 เมื่อกองเรือปืนของสหรัฐอเมริกานำโดย พลเรือจัตวา แมทธิว ซี. เพอร์รี เดินทางมาถึงทางใต้ของโยโกฮามะ ได้กดดันให้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะซึ่งปกครองญี่ปุ่นอยู่ในขณะนั้นยอมลงนามในสนธิสัญญาคานางาวะ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นต้องเปิดท่าเรือหลายแห่งเพื่อการค้าขาย[2]
ข้อตกลงในขั้นต้นคือ จะต้องมีท่าเรือหนึ่งแห่งสำหรับเรือต่างชาติเปิดขึ้นที่คานางาวาจูกุ (ปัจจุบันคือเขตคานางาวะ) บนถนนสายโทไกโด ซึ่งเป็นเส้นทางหลักซึ่งเชื่อมระหว่างเอโดะ เกียวโต และโอซากะ อย่างไรก็ตาม ทางรัฐบาลโชกุนติดสินใจว่าคานางาวาจูกุนั้นอยู่ใกล้กับโทไกโดมากเกินไป เพื่อความสะดวกจึงหันไปสร้างท่าเรือพาณิชย์ขึ้นบริเวณหมู่บ้านชาวประมงโยโกฮามะแทน ในที่สุดท่าเรือโยโกฮามะก็เปิดอย่างเป็นทางการในวันที่ 2 มิถุนายน 1859[3]
การเกิดขึ้นของท่าเรือพาณิชย์ ทำให้โยโกฮามะกลายเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศที่สำคัญของญี่ปุ่นอย่างรวดเร็ว
ในปี 1862 ซามูไรหนุ่มคนหนึ่งได้ไปสังหารพ่อค้าชาวอังกฤษในเขตสึรูมิเข้าจนเกิดเป็นกรณีนามามูงิ ความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับรัฐบาลโชกุนนั้นตึงเครียด และทางอังกฤษได้จัดตั้งกองทหารรักษาการณ์ของตนเพื่อปกป้องการค้าและผลประโยชน์ของอังกฤษในโยโกฮามะในปีเดียวกันนั้นเอง ในปีถัดมา ความตึงเครียดก็อุบัติเป็นสงครามอังกฤษ-ซัตสึมะซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเสื่อมอำนาจของโชกุน ในช่วงเดียวกันนี้ จำนวนพ่อค้าชาวจีนที่เข้ามาพำนักอยู่ในโยโกฮามะก็เพิ่มขึ้นจำนวนมาก[4]
โยโกฮามะยังเป็นแหล่งแผยแพร่แฟชั่นและวัฒนธรรมตะวันตกแก่ชาวญี่ปุ่นอีกด้วย ในปี 1861 มีการเกิดขึ้นของหนังสือพิงม์ภาษาอังกฤษในญี่ปุ่นฉบับแรก Japan Herald และในปี 1865 ก็มีการนำไอศรีมและเบียร์เข้ามาผลิตในญี่ปุ่นเป็นครั้งแรก[5] ตลอดจนมีการจัดตั้งสโมสรและสนามแข่งม้าแบบตะวันตกแห่งแรกในญี่ปุ่นในปี 1862 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในโยโกฮามะซึ่งได้ทำลายชุมชนของชาวต่างชาติไปเป็นจำนวนมากในเดือนพฤศจิกายน 1866 หรือตลอดจนการระบาดของไข้ทรพิษ แต่เมืองโยโกฮามะก็ยังเติบโตไปได้อย่างรวดเร็ว
ยุคเมจิและไทโช (ค.ศ. 1868–1923)
ภายหลังการฟื้นฟูพระราชอำนาจในปี 1868 ท่าเรือโยโกฮามะก็ถูกพัฒนาเพื่อการค้าขายผ้าทอโดยมีอังกฤษเป็นคู่ค้าหลัก อิทธิพลและการส่งผ่านเทคโนโลยีของตะวันตกได้ช่วยให้เกิดหนังสือพิมพ์รายวันฉบับแรกของญี่ปุ่น (1870) โคมไฟส่องถนนพลังก๊าซ (1872) และทางรถไฟสายแรกของญี่ปุ่นระหว่างโยโกฮามะ–ชินางาวะ–มินาโตะในโตเกียว (1872) เป็นปีเดียวกันกับที่ ฌูล แวร์น ได้เขียนพรรณาเมืองฮิโรชิมะซึ่งเขาไม่เคยได้ไปเยือนมาก่อน ในตอนหนึ่งของหนังสือของเขา Around the World in Eighty Days ซึ่งสะท้อนถึงเมืองที่เจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและเป็นเมืองนานาชาติในดินแดนตะวันออก ในปี 1887 พ่อค้าชาวอังกฤษนาม ซามูเอล ค็อกกิง ได้สร้างโรงไฟฟ้าแห่งแรกของเมืองนี้ ซึ่งในช่วงแรกใช้เพื่อกิจการส่วนตัว โรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งนี้เองที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของบริษัทไฟฟ้าและแสงสว่างโยโกฮามะ เดือนเมษายน 1889 เมืองโยโกฮามะทั้งสองเขตถูกรวมไปหนึ่งเดียวจากการยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในเขตต่างชาติ
ต้นศตวรรษที่ 20 เป็นยุคที่อุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเติบโตอย่างรวดเร็ว ผู้ประกอบการจำนวนมากสร้างโรงงานบนที่ดินถมทะเลบริเวณทางเหนือของเมืองไปจนถึงเมืองคาวาซากิ ซึ่งในที่สุดพื้นที่นี้ก็กลายเป็นเขตอุตสาหกรรมเคฮิง การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมญี่ปุ่นได้นำมาซึ่งความมั่งคั่ง และครอบครัวพ่อค้าที่ร่ำรวยจำนวนมากก็ได้มาตั้งรกรากที่นี่ ประชากรที่ไหลบ่าเข้ามาจากทั่วญี่ปุ่นและเกาหลีได้ส่งผลให้เกิดโคจิกิยาโตะซึ่งเป็นชุมชนแออัดที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นขึ้น
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่และสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1923–1945)
แผ่นดินไหวครั้งใหญ่คันโตวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1923 ได้ทำลายเมืองโยโกฮามะลงอย่างกว้างขวาง ตำรวจโยโกฮามะรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตถึง 30,771 คนและผู้บาดเจ็บอีก 47,908 ราย ทั้งนี้ ก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวโยโกฮามะมีประชากรทั้งสิ้น 434,170 คน[6] มีการก่อความไม่สงบและวินาศกรรมขึ้น ผู้ต้องหาส่วนมากเป็นชาวเกาหลีที่อาศัยอยู่ในสลัมโคจิกิยาโตะ[7] ขณะนั้น มีคนจำนวนมากที่เชื่อว่าเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่หลวงนี้เกิดขึ้นจากการใช้มนต์ดำโดยชาวเกาหลี จากความไม่สงบที่เกิดขึ้นทำให้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก แผ่นดินไหวครั้งนี้ได้ก่อให้เกิดซากปรักหักพังมากมาย ซึ่งหลายบริเวณก็ถูกแปรสภาพเป็นสวนสาธารณะ อาทิ สวนสาธารณะยามาชิตะ
แม้เมืองจะได้รับการบูรณะและกลับมายืนหยัดอย่างรวดเร็ว แต่โยโกฮามะก็ถูกทำลายลงอีกครั้งจากการทิ้งระเบิดทางอากาศของสหรัฐอเมริกาในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง การทิ้งระเบิดเพลิงในเช้าวันที่ 29 พฤษภาคม 1945 ครั้งเดียวได้คร่าชีวิตผู้คนในโยโกฮามะไปกว่า 7-8 พันคน การทิ้งระเบิดครั้งนั้นเป็นที่รู้จักในชื่อ "การทิ้งระเบิดครั้งใหญ่ที่โยโกฮามะ" ซึ่งใช้เวลาในการทิ้งระเบิด 1 ชั่วโมง 9 นาที โดยเครื่องบินทิ้งระเบิด บี-29[8]
การปกครอง
นครโยโกฮามะแบ่งการปกครองออกเป็น 18 เขต ได้แก่
ประชากรแบ่งตามปี
ประชากรของนครโยโกฮามะ
ปีที่ทำสำมะโน |
ประชากร |
อันดับเมืองใหญ่ในญี่ปุ่น
|
1920 |
422,942 |
ที่ 6 (รองจาก โคเบะ เกียวโต นาโงยะ โอซากะ และโตเกียว)
|
1925 |
405,888 |
ที่ 6
|
1930 |
620,306 |
ที่ 6
|
1935 |
704,290 |
ที่ 6
|
1940 |
968,091 |
ที่ 5 (นำหน้าโคเบะ)
|
1945 |
814,379 |
ที่ 4 (ยุบนครโตเกียวในปี 1943)
|
1950 |
951,189 |
ที่ 4
|
1955 |
1,143,687 |
ที่ 4
|
1960 |
1,375,710 |
ที่ 3 (นำหน้าเกียวโต)
|
1965 |
1,788,915 |
ที่ 3
|
1970 |
2,238,264 |
ที่ 2 (นำหน้านาโงยะ)
|
1975 |
2,621,771 |
ที่ 2
|
1980 |
2,773,674 |
ที่ 1 (นำหน้าโอซากะ)[9]
|
1985 |
2,992,926 |
ที่ 1
|
1990 |
3,220,331 |
ที่ 1
|
1995 |
3,307,136 |
ที่ 1
|
2000 |
3,426,651 |
ที่ 1
|
2005 |
3,579,133 |
ที่ 1
|
2010 |
3,670,669 |
ที่ 1
|
2015 |
3,710,824 |
ที่ 1
|
ภูมิอากาศ
ข้อมูลภูมิอากาศของนครโยโกฮามะ (ค.ศ. 1981–2010)
|
เดือน
|
ม.ค.
|
ก.พ.
|
มี.ค.
|
เม.ย.
|
พ.ค.
|
มิ.ย.
|
ก.ค.
|
ส.ค.
|
ก.ย.
|
ต.ค.
|
พ.ย.
|
ธ.ค.
|
ทั้งปี
|
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)
|
20.8 (69.4)
|
24.8 (76.6)
|
24.5 (76.1)
|
28.7 (83.7)
|
31.1 (88)
|
35.5 (95.9)
|
36.9 (98.4)
|
37.4 (99.3)
|
36.2 (97.2)
|
30.9 (87.6)
|
26.2 (79.2)
|
23.5 (74.3)
|
37.4 (99.3)
|
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)
|
9.9 (49.8)
|
10.3 (50.5)
|
13.2 (55.8)
|
18.5 (65.3)
|
22.4 (72.3)
|
24.9 (76.8)
|
28.7 (83.7)
|
30.6 (87.1)
|
26.7 (80.1)
|
21.5 (70.7)
|
16.7 (62.1)
|
12.4 (54.3)
|
19.7 (67.5)
|
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)
|
5.9 (42.6)
|
6.2 (43.2)
|
9.1 (48.4)
|
14.2 (57.6)
|
18.3 (64.9)
|
21.3 (70.3)
|
25.0 (77)
|
26.7 (80.1)
|
23.3 (73.9)
|
18.0 (64.4)
|
13.0 (55.4)
|
8.5 (47.3)
|
15.8 (60.4)
|
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)
|
2.3 (36.1)
|
2.6 (36.7)
|
5.3 (41.5)
|
10.4 (50.7)
|
15.0 (59)
|
18.6 (65.5)
|
22.4 (72.3)
|
24.0 (75.2)
|
20.6 (69.1)
|
15.0 (59)
|
9.6 (49.3)
|
4.9 (40.8)
|
12.5 (54.5)
|
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)
|
-8.2 (17.2)
|
-6.8 (19.8)
|
-4.6 (23.7)
|
-0.5 (31.1)
|
3.6 (38.5)
|
9.2 (48.6)
|
13.3 (55.9)
|
15.5 (59.9)
|
11.2 (52.2)
|
2.2 (36)
|
-2.4 (27.7)
|
-5.6 (21.9)
|
−8.2 (17.2)
|
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)
|
58.9 (2.319)
|
67.5 (2.657)
|
140.7 (5.539)
|
144.1 (5.673)
|
152.2 (5.992)
|
190.4 (7.496)
|
168.9 (6.65)
|
165.0 (6.496)
|
233.8 (9.205)
|
205.5 (8.091)
|
107.0 (4.213)
|
54.8 (2.157)
|
1,688.8 (66.488)
|
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว)
|
5 (2)
|
6 (2.4)
|
1 (0.4)
|
0 (0)
|
0 (0)
|
0 (0)
|
0 (0)
|
0 (0)
|
0 (0)
|
0 (0)
|
0 (0)
|
0 (0)
|
12 (4.7)
|
ความชื้นร้อยละ
|
53
|
54
|
60
|
65
|
70
|
78
|
78
|
76
|
76
|
71
|
64
|
56
|
67
|
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 0.5 mm)
|
6.0
|
6.7
|
11.8
|
11.1
|
11.5
|
13.6
|
11.7
|
8.7
|
12.7
|
11.5
|
8.3
|
5.5
|
119.1
|
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย
|
1.6
|
2.3
|
0.7
|
0.0
|
0.0
|
0.0
|
0.0
|
0.0
|
0.0
|
0.0
|
0.0
|
0.3
|
4.9
|
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด
|
186.4
|
164.0
|
159.5
|
175.2
|
177.1
|
131.7
|
162.9
|
206.3
|
130.7
|
141.0
|
149.3
|
180.4
|
1,964.4
|
แหล่งที่มา 1: [10]
|
แหล่งที่มา 2: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [11] (รายงาน)
|
สถานที่ท่องเที่ยว
- ศาลาอนุสรณ์ท่าเรือโยโกฮามะ (Yokohama Port Opening Memorial Hall) สร้างด้วยอิฐแดงสวยงาม สถานที่แห่งนี้รอดเงื้อมมือแผ่นดินไหว ครั้งใหญ่ในปี ค.ศ. 1923 และระเบิดของสงครามโลกครั้งที่สองมาได้อย่างมหัศจรรย์ นอกจากนี้บริเวณใกล้เคียงยังเป็นสถานที่ราชการที่สำคัญอีกหลายแห่งรวมทั้งสำนักงานศุลกากรโยโกฮามะ ซึ่งตั้งอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล
- มารีนทาวเวอร์ (Marine Tower) หอคอยสูง 106 เมตร รูปทรงทันสมัยตั้งเด่นตระหง่าน ยามค่ำคืนจะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากมาถ่ายรูปบริเวณนี้
- สวนสาธารณะยามาชิตะ (Yamashita Park) ภายในสวนมีสิ่งน่าดูหลายอย่าง และยามค่ำคืนภายในสวนฤดูที่ท้องฟ้ากระจ่าง อาจได้ยินเสียงเพลงลอยมาไม่ไกลนักจากฝั่ง
- ไชน่าทาวน์หรือชูกาไง (中華街) เป็นถิ่นชาวจีนที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น และเก่าแก่เกือบพอ ๆ กับย่านท่าเรือ มีอาหารให้เลือกรับประทานมากมาย ภัตตาคารอาหารมีอยู่ราว 150 ร้าน ร้านจำหน่ายขนมหวานที่นำเข้าจากจีน และสินค้าเบ็ดเตล็ดจากที่อื่น ๆ ในเอเชีย
- พิพิธภัณฑ์ยามาเตะ (Yamate Museum) อยู่ไม่ไกลนักจากสุสาน จัดแสดงวิถีชีวิตชุมชนชาวต่างชาติในยุคแรก ๆ ของที่นี่ได้อย่างแปลกตา และพิพิธภัณฑ์ยังตั้งอยู่ใกล้โรงเบียร์แห่งแรกของญี่ปุ่นอีกด้วย
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
โยโกฮามะ มีความสัมพันธ์เป็นเมืองพี่น้อง กับ 11 เมืองดังต่อไปนี้:
อ้างอิง
- ↑ Der Große Brockhaus. 16. edition. Vol. 6. F. A. Brockhaus, Wiesbaden 1955, p. 82
- ↑ "Official Yokohama city website it is fresh". City.yokohama.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-12. สืบค้นเมื่อ 2010-05-05.
- ↑ Arita, Erika, "Happy Birthday Yokohama!", The Japan Times, May 24, 2009, p. 7.
- ↑ Fukue, Natsuko, "Chinese immigrants played vital role", Japan Times, May 28, 2009, p. 3.
- ↑ Matsutani, Minoru, "Yokohama – city on the cutting edge", Japan Times, May 29, 2009, p. 3.
- ↑ Hammer, Joshua. (2006). Yokohama Burning: The Deadly 1923 Earthquake and Fire that Helped Forge the Path to World War II, p. 143.
- ↑ Hammer, pp. 149-170.
- ↑ "Interesting Tidbits of Yokohama". Yokohama Convention & Visitors Bureau. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 5, 2009. สืบค้นเมื่อ February 7, 2009.
- ↑ Osaka was once more populous than Yokohama is today.
- ↑ "過去の気象データ検索: 平年値(年・月ごとの値) ("Historical Climate data for Yokohama")". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น.
- ↑ "観測史上1~10位の値( 年間を通じての値)". สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น.
- ↑ "Frankfurt am Main: Yokohama". 2011 Stadt Frankfurt am Main. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-24. สืบค้นเมื่อ 2011-12-22.
- ↑ "Partner Cities of Lyon and Greater Lyon". 2008 Mairie de Lyon. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-19. สืบค้นเมื่อ 2009-07-17.
- ↑ "Vancouver Twinning Relationships" (PDF). City of Vancouver. สืบค้นเมื่อ 2009-07-18.
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
นานาชาติ | |
---|
ประจำชาติ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
วิชาการ | |
---|
ประชาชน | |
---|
อื่น ๆ | |
---|
|
|