โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา (อังกฤษ: Piboonbumpen Demonstration School, Burapha University) เดิมคือ โรงเรียนประชาบาลตำบลแสนสุข 3 (บ้านแสนสุข) ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 17 กันยายน พ.ศ. 2482[2] เป็นหน่วยงานภายในสังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา[3] มีการบริหารงานนอกระบบราชการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ
ประวัติ
เดิมโรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นโรงเรียนประถมศึกษาตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติประถมศึกษา ชื่อ โรงเรียนประชาบาล ตำบลหนองมน 3 (บ้านแสนสุขบน) โดยสร้างเป็นโรงเรียนชั่วคราว ด้วยเงินอุดหนุนการประถมศึกษาและประชาชนในท้องถิ่นสละเงินร่วมกัน โดยมีกำนันติ๊ว ยู่จิว และผู้ใหญ่อุ๊น จันทร์เกลี้ยงช่วยกันจัดหาที่ดินและจัดสร้างขึ้นเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้ทำพิธีเปิดใช้สถานที่เล่าเรียนเมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2482 โดยมี นายพราว สุทธิศรี ศึกษาธิการอำเภอศรีราชา มาเป็นประธานในพิธีเปิดมีนักเรียนทั้งสิ้น 15 คน นายชิ้น ใจดี เป็นครูใหญ่นับเป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน
ต่อมา พ.ศ. 2486 ทางราชการได้เปลี่ยนชื่อตำบลหนองมนเป็นตำบลแสนสุขมาขึ้นกับอำเภอเมืองชลบุรี โรงเรียนจึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประชาบาลตำบลแสนสุข 3 (บ้านแสนสุข)
ในปี พ.ศ. 2496 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ พลเอก มังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ในขณะนั้น ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนขึ้นในตำบลแสนสุข บนเนื้อที่ 75 ไร่ 2 งาน 131 ตารางวา ซึ่งอยู่บริเวณเดียวกับโรงเรียนประชาบาลตำบลแสนสุข 3 วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2496 มีอาคารเรียนชั้นมัธยมศึกษา อาคารเรียนชั้นประถมศึกษา โรงฝึกงานหัตถศึกษา บ้านพักครู คนงาน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,190,000 บาท และให้ชื่อว่า โรงเรียน "พิบูลบำเพ็ญ" โดยนายกรัฐมนตรี ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดโรงเรียนนี้ เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2497
ต่อมาในปี พ.ศ. 2498 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ก่อตั้งวิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน[4] ขึ้นและโอนย้าย โรงเรียน “พิบูลบำเพ็ญ” มาสังกัดวิทยาลัยวิชาการศึกษา กรมการฝึกหัดครู และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2499
ต่อมาเมื่อวิทยาลัยวิชาการศึกษา ได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2517[5] โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน จึงมาสังกัดภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ วิทยาเขตบางแสน และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน ได้มีการจัดตั้งสมาคมผู้ปกครอง ครู และศิษย์เก่าขึ้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียนและในปีเดียวกัน สมาคมฯ ได้จัดสร้างอาคารเรียนขนาด 54 x 9.20 เมตร เป็นอาคาร ชั้นเดียว ชื่ออาคาร “พิบูลรำลึก” (ซึ่งต่อมาได้ต่อเติมเป็นอาคาร 2 ชั้น)
ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา ซึ่งเป็นการยกฐานะ วิทยาเขตบางแสน ของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยเอกเทศเมื่อ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2533[6] โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” ได้รับการจัดให้เป็นหน่วยงานที่เทียบเท่าภาควิชา ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2533 สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2534[7] และสมาคมผู้ปกครอง ครูและศิษย์เก่า ได้จัดสร้างต่อเติมอาคารเรียน พิบูลรำลึก ขึ้นอีก 1 ชั้นและได้มีผู้มีจิตศรัทธาสร้างหอพระประจำโรงเรียน และอาคารแสนเจริญ มอบให้แก่โรงเรียน[2]
ทำเนียบผู้อำนวยการ
โรงเรียนประชาบาลตำบลแสนสุข 3 (บ้านแสนสุข)
|
รายนามครูใหญ่
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
1. นายชิ้น ใจดี
|
17 กันยายน พ.ศ. 2482 - 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2497
|
โรงเรียน "พิบูลบำเพ็ญ"
|
รายนามอาจารย์ใหญ่
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
2. หม่อมเจ้าพยัคฆพันธุ์ เกษมสันต์
|
27 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 - ไม่ทราบวันหมดวาระ
|
3. นายพจน์ จันทร์ลี
|
ไม่ทราบวันเริ่มดำรงตำแหน่ง - 31 สิงหาคม พ.ศ. 2499
|
โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” วิทยาลัยวิชาการศึกษา บางแสน
|
รายนามอาจารย์ใหญ่
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
4. ศาสตราจารย์ ดร.พนัส หันนาคินทร์
|
1 กันยายน พ.ศ. 2499 - ไม่ทราบวันหมดวาระ
|
5. นายบุญเลิศ ศรีหงส์
|
ไม่มีข้อมูล
|
6. รองศาสตราจารย์อนนต์ อนันตรังสี
|
ไม่มีข้อมูล
|
7. รองศาสตราจารย์ ดร.ประเทิน มหาขันธ์
|
ไม่มีข้อมูล
|
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุธรรม ศุกระกาญจน์
|
ไม่ทาบวันเริ่มดำรงตำแหน่ง - 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517
|
โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ บางแสน
|
รายนามอาจารย์ใหญ่
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
9. รองศาสตราจารย์สายันห์ มาลยาภรณ์
|
29 มิถุนายน พ.ศ. 2517 - ไม่ทราบวันหมดวาระ
|
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุพัฒนา โหระกุล
|
ไม่มีข้อมูล
|
11. รองศาสตราจารย์เชาวน์ มณีวงษ์
|
ไม่ทราบวันเริ่มดำรงตำแหน่ง - 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
|
โรงเรียนสาธิต "พิบูลบำเพ็ญ" มหาวิทยาลัยบูรพา
|
รายนามอาจารย์ใหญ่
|
วาระการดำรงตำแหน่ง
|
12. ว่าที่ร้อยตรี สุเทพ เมืองคล้าย
|
8 กรกฎาคม พ.ศ. 2534 - ไม่ทราบวันหมดวาระ
|
13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมพิศ อุดมศิลป์
|
ไม่มีข้อมูล
|
14. ดร.สมศักดิ์ ลิลา
|
ไม่มีข้อมูล
|
15. รองศาสตราจารย์ ดร.ฉลอง ทับศรี
|
ไม่มีข้อมูล
|
16. ดร.ผลาดร สุวรรณโพธิ์
|
ไม่มีข้อมูล
|
17. ดร.วิโรฒน์ ชมภู
|
ไม่มีข้อมูล
|
18. ดร.อาพันธ์ชนิต เจนจิต
|
รักษาการในสมัยที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 19 มิถุนายน 2566-ปัจจุบัน
|
19. รองศาสตราจารย์ ดร.ตฤณ กิตติการอำพล
|
จนถึงวันที่ 16 มิถุนายน 2566
|
อ้างอิง
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, โรงเรียนสาธิต 2559 ภาคเรียนที่ 1 ใน สถาบันอุดมศึกษารัฐ จำแนกตาม (ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนสาธิต จำแนกตาม โรงเรียน ชั้น และเพศ ), สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2560
- ↑ 2.0 2.1 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา, ประวัติโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา, สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2560
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศมหาวิทยาลัยบูรพา เรื่อง การจัดตั้งส่วนงาน และภาระหน้าที่ของส่วนงาน พ.ศ. ๒๕๕๘, วันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2558
- ↑ มหาวิทยาลัยบูรพา, ก้าวแรก : วิทยาลัยการศึกษา บางแสน (พ.ศ. 2498-2517) เก็บถาวร 2017-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สืบค้นเมื่อ 9 เมษายน พ.ศ. 2560
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๑๗, เล่ม 91, ตอนพิเศษ 112 ก, วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2517
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๓๓, เล่ม 107, ตอนพิเศษ 131 ก, วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. ๒๕๓๔, เล่ม 108, ตอนพิเศษ 25 ก, วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2534
ดูเพิ่ม
แหล่งข้อมูลอื่น
โรงเรียนที่เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาในจังหวัดชลบุรี |
---|
*เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า, †เปิดสอนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ‡เปิดสอนเฉพาะระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย |
สังกัด สพม. ชลบุรี ระยอง | |
---|
สังกัด สพป. ชลบุรี | |
---|
สังกัด สศศ. | |
---|
สังกัด อปท. | |
---|
สังกัด สช. | |
---|
สังกัดอื่น ๆ | |
---|
|
|
---|
เกี่ยวกับ | | |
---|
การศึกษา | |
---|
วิจัยและพัฒนา | โรงพยาบาล | |
---|
โรงเรียน | |
---|
ศูนย์ | |
---|
สถาบัน | |
---|
|
---|
หน่วยงานอื่น ๆ | |
---|
|