อำเภอศรีราชา |
---|
|
การถอดเสียงอักษรโรมัน |
---|
• อักษรโรมัน | Amphoe Si Racha |
---|
|
คำขวัญ: ซอสพริกอร่อย เกาะลอยงามล้ำ อุตสาหกรรมรุ่งเรือง เมืองเจ้าพระยาสุรศักดิ์ อนุรักษ์เต่าทะเล ประเพณีกองข้าว [1] |
แผนที่จังหวัดชลบุรี เน้นอำเภอศรีราชา |
พิกัด: 13°10′28″N 100°55′50″E / 13.17444°N 100.93056°E / 13.17444; 100.93056 |
ประเทศ | ไทย |
---|
จังหวัด | ชลบุรี |
---|
พื้นที่ |
---|
• ทั้งหมด | 643.558 ตร.กม. (248.479 ตร.ไมล์) |
---|
ประชากร (2566) |
---|
• ทั้งหมด | 329,770 คน |
---|
• ความหนาแน่น | 512.42 คน/ตร.กม. (1,327.2 คน/ตร.ไมล์) |
---|
รหัสไปรษณีย์ | 20110, 20230 (เฉพาะตำบลทุ่งสุขลา บึง บ่อวิน และหมู่ที่ 1, 5, 10-11 หนองขาม) |
---|
รหัสภูมิศาสตร์ | 2007 |
---|
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอศรีราชา เลขที่ 21 ถนนสุขุมวิท ตำบลศรีราชา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20110 |
---|
|
ศรีราชา เป็นอำเภอขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย พื้นที่ส่วนใหญ่มีภูเขาล้อมรอบและเป็นที่ลาดเนิน เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางละมุง และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่บริหารจัดการ จนมีการแยกพื้นที่ส่วนนี้ตั้งเป็นอำเภอ ซึ่งเดิมใช้ชื่อว่า อำเภอบางพระ จนในปี พ.ศ. 2447 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอบางพระมาตั้งอยู่ที่ตำบลศรีราชา ส่วนที่เปลี่ยนชื่อ "อำเภอบางพระ" มาเป็น "อำเภอศรีราชา" นั้นได้เปลี่ยนเมื่อประมาณแล้วต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนจากอำเภอบางพระมาเป็น อำเภอศรีราชา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา[2]
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอศรีราชาตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย พื้นที่ส่วนใหญ่มีภูเขาล้อมรอบและเป็นที่ลาดเนิน พื้นที่ในการปกครองของอำเภอมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียงดังต่อไปนี้
สภาพพื้นที่
อำเภอศรีราชามีเนื้อที่ประมาณ 643.558 ตารางกิโลเมตร (402,223.75 ไร่) พื้นที่การเกษตร 236,542.5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 41.878 ของพื้นที่ทั้งหมด ระยะทางห่างจากเมืองชลบุรีโดยรถยนต์ 24 กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลาดเนินเขาเล็ก ๆ กระจายทั่วไป พื้นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร และอุตสาหกรรมมีที่ราบลุ่มทำนาได้บางส่วน ทิศตะวันตกติดชายฝั่งทะเล และไม่มีแม่น้ำลำคลองขนาดใหญ่ไหลผ่าน จะมีเฉพาะทางน้ำไหลจากภูเขาลงสู่ทะเล
ประวัติ
อำเภอศรีราชาเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบางละมุง ตัวเมืองบางละมุงเดิมตั้งอยู่ที่บ้านบางละมุงในเขตอำเภอบางละมุงในปัจจุบัน เมื่อประมาณ 100 ปีเศษมานี้ เมืองบางละมุงได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่บ้านบางพระ แต่ยังคงใช้ชื่อเดิมว่า "เมืองบางละมุง" ในขณะที่ตั้งเมืองบางละมุงในขณะนั้น ระบบบริหารราชการแผ่นดินยังไม่มีอำเภอ ต่อมาทางราชการได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองเป็นมณฑล จึงได้ย้ายเมืองบางพระไปตั้งอยู่ที่บางปลาสร้อย อำเภอเมืองชลบุรีในปัจจุบัน และรวมเมืองพนัสนิคมเข้าด้วยกัน เรียกว่า "เมืองชลบุรี"
ส่วนเมืองบางพระนั้นได้ตั้งเป็นอำเภอ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2437 (ร.ศ. 113) เรียกว่า อำเภอบางพระ ต่อมาในปี พ.ศ. 2446 (ร.ศ. 122) จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้กราบทูลต่อพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ซึ่งเป็นสมุหเทศาภิบาลสำเร็จราชการมณฑลปราจีนบุรี ขอให้ย้ายอำเภอบางพระมาตั้งที่ศรีราชา แต่ยังคงใช้ชื่ออำเภอบางพระเหมือนเดิม ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 (ร.ศ. 136) จึงได้เปลี่ยนชื่ออำเภอบางพระมาเป็น อำเภอศรีราชา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา โดยมีหลวงบุรีรัตถคามบดี (เปลี่ยน นินนาทนนท์) เป็นนายอำเภอศรีราชาคนแรก
การแบ่งเขตการปกครอง
การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอศรีราชา แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ออกเป็น 8 ตำบล 69 หมู่บ้าน</ref>
1. |
ศรีราชา |
|
(Si Racha) |
|
|
|
|
|
5. |
หนองขาม |
|
(Nong Kham) |
|
|
2. |
สุรศักดิ์ |
|
(Surasak) |
|
|
|
|
|
6. |
เขาคันทรง |
|
(Khao Khansong) |
|
|
3. |
ทุ่งสุขลา |
|
(Thung Sukhla) |
|
|
|
|
|
7. |
บางพระ |
|
(Bang Phra) |
|
|
4. |
บึง |
|
(Bueng) |
|
|
|
|
|
8. |
บ่อวิน |
|
(Bo Win) |
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอศรีราชาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลนครแหลมฉบัง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทุ่งสุขลาทั้งตำบล; บางส่วนของหมู่ที่ 3, 9 ตำบลสุรศักดิ์; หมู่ที่ 10 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 5, 9 ตำบลบึง; และบางส่วนของหมู่ที่ 11 ตำบลหนองขาม (รวมไปถึงหมู่ที่ 4, 6–9 ตำบลบางละมุงในอำเภอบางละมุง)
- เทศบาลนครเจ้าพระยาสุรศักดิ์ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1–2, 4–8, 10 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 9 ตำบลสุรศักดิ์; หมู่ที่ 2–4, 6–8, และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 5, 9 ตำบลบึง; หมู่ที่ 1–5, 9–10 และบางส่วนของหมู่ที่ 11 ตำบลหนองขาม; หมู่ที่ 1–3, 6 และบางส่วนของหมู่ที่ 10 ตำบลเขาคันทรง; และหมู่ที่ 1–2, 5, 8 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 6 ตำบลบ่อวิน
- เทศบาลเมืองศรีราชา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีราชาทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 1, 3 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 4, 6, 9–10 ตำบลบางพระ
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองขาม ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 6–8 และบางส่วนของหมู่ที่ 11 ตำบลหนองขาม
- องค์การบริหารส่วนตำบลเขาคันทรง ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4–5, 7–9 และบางส่วนของหมู่ที่ 10 ตำบลเขาคันทรง
- องค์การบริหารส่วนตำบลบางพระ ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 5, 7–8, 11–12 และบางส่วนของหมู่ที่ 2, 4, 6, 9–10 ตำบลบางพระ
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ่อวิน ครอบคลุมพื้นที่หมู่ที่ 4, 7 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 6 ตำบลบ่อวิน
ประชากร
อำเภอศรีราชา มีประชากร ประมาณ 3 แสนคน ปัจจุบันเป็นเขตกึ่งเกษตรกรรมและกึ่งอุตสาหกรรม ซึ่งมีแนวโน้มอุตสาหกรรมจะก้าวนำการเกษตร เนื่องจากการพัฒนาตามโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลตะวันออก มีท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง เป็นต้น
เหตุการณ์สำคัญ
8 มีนาคม พ.ศ. 2535 เรือบรรทุกน้ำมัน ของบริษัท บีพีพี จำกัด กัปตันเรือได้แก่ นาย ปรีชา เพชรชู ชนเข้ากับ เรือผู้โดยสารสองชั้น ชื่อเรือ นาวาประทีป 111 กัปตันเรือได้แก่ นาย ประยูร ย๊ะกบ มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 119 ราย เป็นอุบัติเหตุทางน้ำที่ร้ายแรงมากที่สุดของประเทศไทย โดยมีผู้รอดชีวิต 15 ราย[3]
2 ธันวาคม พ.ศ. 2542 โรงกลั่นน้ำมันของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เกิดเหตุไฟไหม้และระเบิดขึ้น มีผู้เสียชีวิต 7 ราย บาดเจ็บ 5 ราย[4]
การคมนาคม
การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและจังหวัด รวมทั้งการคมนาคมในตำบลและหมู่บ้าน มีรายละเอียด ดังนี้
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 สายกรุงเทพมหานคร-หาดเล็ก (ถนนสุขุมวิท)
- ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 331 สายฉะเชิงเทรา-สัตหีบ
- ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร-พัทยา
- ทางหลวงชนบทจำนวน 24 สาย สำหรับเชื่อมระหว่างตำบลและหมู่บ้าน มีสภาพเป็นถนนลูกรัง 13 สาย
- รถไฟสายกรุงเทพฯ–สัตหีบ (พลูตาหลวง) เชื่อมต่อลงไปยังท่าเรือพาณิชย์แหลมฉบัง เป็นเส้นทางลำเลียงขนส่งสินค้าและน้ำมันเชื้อเพลิง
ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจที่สำคัญ และหน่วยงานความมั่นคง
- ที่ว่าการอำเภอศรีราชา
- กองพันต่อสู้อากาศยานที่ 12 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
- สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง
- สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ชลบุรี
- สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2
- สำนักชลประทานที่ 9
- โครงการชลประทานชลบุรี
- สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6
- สำนักวิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด
- ด่านตรวจสัตว์น้ำจังหวัดชลบุรี
- สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง
- สำนักทางหลวงที่ 12
- ท่าเรือแหลมฉบัง
- สำนักงานการค้าต่างประเทศเขต 3 (ชลบุรี)
- กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี
- สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ศรีราชา)
- ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 3.1 ศรีราชา
- ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ภาคตะวันออก
- ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคตะวันออก
- สำนักงานพลังงานภูมิภาคที่ 3
- กองกำกับการ 5 กองบังคับการตำรวจน้ำ
- ด่านตรวจคนเข้าเมืองศรีราชา
- สำนักงานสาธารณสุขอำเภอศรีราชา
- สำนักงานท้องถิ่นอำเภอศรีราชา
- สำนักงานสัสดีอำเภอศรีราชา
- สำนักงานเกษตรอำเภอศรีราชา
- สำนักงานปศุสัตว์อำเภอศรีราชา
- สำนักงานพัฒนาการอำเภอศรีราชา
- สำนักงานประมงอำเภอศรีราชา
- สำนักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาศรีราชา 1
- สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอศรีราชา
- สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
- สำนักงานประกันสังคมจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา
- ที่ทำการไปรษณีย์ศรีราชา
- ที่ทำการไปรษณีย์อ่าวอุดม
- ที่ทำการไปรษณีย์หนองขาม
- การประปาส่วนภูมิภาค สาขาศรีราชา
- การประปาส่วนภูมิภาค สาขาแหลมฉบัง
- สำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี สาขาอำเภอศรีราชา
- สำนักงานที่ดินจังหวัดชลบุรี สาขาศรีราชา
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอำเภอศรีราชา
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแหลมฉบัง
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบึง
- สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ
สถานที่ท่องเที่ยว
- สวนสัตว์เปิดเขาเขียว
- สวนเสือศรีราชา
- เกาะลอย
- น้ำตกชันตาเถร
- อ่างเก็บน้ำบางพระ
- วัดบางพระวรวิหาร
- สนามกอล์ฟบางพระ
- อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ
- วัดเขาตะแบก(สกายวอล์ก)
- เขาฉลาก
ภาพทัศนียภาพเกาะลอย มุมหันเข้าฝั่ง
โรงพยาบาล
- โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย
- โรงพยาบาลแหลมฉบัง (อ่าวอุดม)
- โรงพยาบาลวิภาราม (แหลมฉบัง)
- โรงพยาบาลพญาไทศรีราชา
- โรงพยาบาลสมิติเวชศรีราชา
- โรงพยาบาลวิภาราม
- โรงพยาบาลปิยะเวทบ่อวิน
- โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มี 6 ตำบล จำนวน 12 แห่ง
ท่าเทียบเรือโดยสารพาณิชย์/ขนส่งสินค้า
- ท่าเรือเกาะลอย
- ท่าเรือจรินทร์
- ท่าเรือไทยออยล์
- ท่าเรือบริษัท เคอร์รี่สยามซีพอร์ต จำกัด
- ท่าเรือบริษัท เจ.ซี.มารีนเซอร์วิส จำกัด
- ท่าเรือบริษัท ศรีราชาฮาร์เบอร์ ซีพอร์ท จำกัด
- ท่าเรือบริษัทสยามคอมเมอร์เชียลจำกัด
- ท่าเรือบริษัทฟิวเจอร์พอร์ท จำกัด
แหล่งน้ำในระบบชลประทาน
- อ่างเก็บน้ำบางพระ ตำบลบางพระ
- อ่างเก็บน้ำหนองค้อ ตำบลหนองขาม
- อ่างเก็บน้ำหนองกลางดง ตำบลบึง
- อ่างเก็บน้ำห้วยสะพาน ตำบลบึง
- อ่างเก็บน้ำเขามันยายมุ้ง ตำบลสุรศักดิ์
สถานีตำรวจ
- สถานีตำรวจภูธรศรีราชา
- สถานีตำรวจภูธรแหลมฉบัง
- สถานีตำรวจภูธรหนองขาม
- สถานีตำรวจภูธรบ่อวิน
สถานศึกษา
โรงเรียน
วิทยาลัย
มหาวิทยาลัย
อ้างอิง
|
---|
อำเภอ | | |
---|
ประวัติศาสตร์ | |
---|
ภูมิศาสตร์ | |
---|
เศรษฐกิจ | คมนาคม | |
---|
การท่องเที่ยว | |
---|
ธุรกิจ | |
---|
|
---|
สังคม | การศึกษา | |
---|
สาธารณสุข | |
---|
วัฒนธรรม | |
---|
กีฬา | |
---|
การเมือง | |
---|
การทหาร | |
---|
|
---|
|