ซีเกมส์ ครั้งที่ 33เมืองเจ้าภาพ | |
---|
ประเทศ | ไทย |
---|
คำขวัญ | ก้าวไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง (Ever Forward) |
---|
กีฬา | 50 ชนิดกีฬา[1] |
---|
ชนิด | 585 ประเภท |
---|
พิธีเปิด | 9 ธันวาคม ค.ศ. 2025 (2025-12-09) |
---|
พิธีปิด | 20 ธันวาคม ค.ศ. 2025 (2025-12-20) |
---|
เว็บไซต์ทางการ | seagames2025.org |
---|
|
ซีเกมส์ 2025 หรือ ซีเกมส์ ครั้งที่ 33 ซึ่งรู้จักกันในชื่อ กรุงเทพฯ–ชลบุรี–สงขลา 2025 เป็นการแข่งขันกีฬาหลากหลายประเภทระดับนานาชาติที่รับรองโดยสหพันธ์กีฬาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAGF) ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 ถึง 20 ธันวาคม ค.ศ. 2025 โดยมีกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จังหวัดชลบุรี และจังหวัดสงขลา เป็นเมืองเจ้าภาพหลัก และเมืองอื่น ๆ ในประเทศไทยสำหรับกีฬาฟุตบอล[2] การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพร่วมกันของทั้งสามเมืองได้รับการคัดเลือกในวันที่ 13 มกราคม ค.ศ. 2023 หลังจากที่สหพันธ์กีฬาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAGF) ได้ยืนยันให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ 2025 นับเป็นครั้งแรกที่การคัดเลือกเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขันซีเกมส์ผ่านการเสนอตัวและกระบวนการลงคะแนนคัดเลือก
โดยประเทศไทยเป็นเจ้าภาพครั้งที่ 7 ซึ่งเคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันมาแล้วในปี 1959, 1967, 1975, 1985, 1995 และ 2007
การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ
มติคณะรัฐมนตรีซีเกมส์มีมติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2021 ให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองเจ้าภาพจัดการแข่งขันซีเกมส์ครั้งที่ 33 ในปี 2025[3]
การแข่งขัน
พิธีการ
พิธีเปิดการแข่งขัน กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 9 ธันวาคม 2025 ณ ท้องสนามหลวง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร[4]
ประเทศที่เข้าร่วม
ประเทศที่เข้าร่วมกีฬาซีเกมส์ 2025 มีทั้งหมด 11 ประเทศ ซึ่งเป็นชาติสมาชิกของสหพันธ์กีฬาซีเกมส์
ชนิดกีฬา
การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 33 มีทั้งหมด 50 ชนิดกีฬา
กีฬาที่แข่งขันในซีเกมส์ 2025[5]
|
|
- ขี่ม้า
- ศิลปะการบังคับม้า (2)
- อีเวนติ้ง (2)
- กระโดดข้ามเครื่องกีดขวาง (2)
- โปโล (2)
- อีสปอร์ต (9)
- กีฬาเอ็กซ์ตรีม
- ฟันดาบ
- เอเป้ (4)
- ฟอยล์ (4)
- เซเบอร์ (4)
- ฟลอร์บอล (2)
- ฟุตบอลและฟุตซอล
- กอล์ฟ (4)
- ยิมนาสติก
- ยิมนาสติกแอโรบิก (2)
- ยิมนาสติกสากล (12)
- ยิมนาสติกลีลา (6)
- แฮนด์บอล (2)
- ฮอกกี้
- สเกตน้ำแข็ง
|
|
|
|
กีฬาสาธิตที่แข่งขันในซีเกมส์ 2025[5]
|
|
- จานร่อน
- ดิสก์กอล์ฟ (2)
- อัลทิเมท (1)
|
|
|
|
การตลาด
การประกวดออกแบบ
การกีฬาแห่งประเทศไทยจัดการประกวดออกแบบตราสัญลักษณ์ คำขวัญ และสัญลักษณ์นำโชค สำหรับกีฬาซีเกมส์ 2025 และอาเซียนพาราเกมส์ 2025 โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องมีความสวยงามทันสมัย มีเอกลักษณ์ สะท้อนความเป็นไทย โดยกำหนดระยะเวลาในการส่งผลงานเข้าประกวดตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน ถึง 25 ตุลาคม 2023[6][7] มีพิธีมอบรางวัลจัดขึ้นที่อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ ศูนย์กีฬาหัวหมาก กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2023[8][9]
ตราสัญลักษณ์
สัญลักษณ์อย่างเป็นทางการของกีฬาซีเกมส์ 2025 ซึ่งออกแบบโดย เรืองวิทย์ ภูธราพร ได้รับการคัดเลือกจากการประกวดระดับประเทศ โดยได้รับแรงบันดาลใจจาก "ปลากัด" ซึ่งเป็นสัตว์น้ำประจำชาติของประเทศไทย[10][11] ในวัฒนธรรมสมัยนิยม ปลากัดไทยได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่น โดยปรากฏในภาพยนตร์ เพชฌฆาต 007 และเป็นแรงบันดาลใจให้กับภาพพื้นหลังไอโฟน 6เอสที่โด่งดัง[12][13][14]
เมื่อพฤศจิกายน 2024 คณะอนุกรรมการด้านการออกแบบสำนักงานส่งเสริมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ (THACCA) ภายใต้คณะกรรมการยุทธศาสตร์ซอฟต์พาวเวอร์แห่งชาติ ได้พิจารณาปรับปรุงโลโก้ให้สอดคล้องกับซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศไทย[15]
คำขวัญ
คำขวัญอย่างเป็นทางการของกีฬาซีเกมส์ 2025 คือ ก้าวไปข้างหน้าไม่หยุดยั้ง (Ever Forward) ซึ่งมาแทนที่คำขวัญที่ชนะเลิศจากการประกวดคำขวัญ Amity of ASEAN ซึ่งแต่งโดย พลจิตร สาไชยยันต์[16] ที่น่าสังเกตคือ มีความคล้ายคลึงกับคำขวัญของเอเชียนเกมส์ ที่ว่า ก้าวหน้าตลอดไป (Ever Onward) ซึ่งตั้งไว้โดย คุรุ ดุตต์ สนธิ ผู้ก่อตั้งกีฬาเอเชียนเกมส์
สัญลักษณ์นำโชค
มาสคอตอย่างเป็นทางการของกีฬาซีเกมส์ 2025 ออกแบบโดย ทวิช จิตเที่ยง ได้รับเลือกจากการประกวดระดับประเทศ มาสคอตมีชื่อว่า มาวิน (อักษรโรมัน: Mawin) เป็นวารีกุญชร สัตว์ในตำนานจากป่าหิมพานต์ มีลำตัวเป็นช้างมีลักษณะคล้ายปลา เช่น มีครีบตามกระดูกสันหลัง ครีบขาติดกับขาทั้งสี่ข้าง และมีหางเป็นปลา[17] ชื่อ มาวิน ในคำภาษาไทยแปลว่า ชนะ
อ้างอิง