ขุนพลของรัฐวุยก๊กในศตวรรษที่ 3l
เฮ็กเจียว (เห่า เจา)
郝昭 ขุนพลตำแหน่งเบ็ดเตล็ด (雜號將軍 จ๋าเฮ่าเจียงจฺวิน )ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? (? ) – ค.ศ. ? (? ) กษัตริย์ โจผี / โจยอย
ข้อมูลส่วนบุคคล เกิด ไม่ทราบ นครไท่หยวน มณฑลชานซี เสียชีวิต ค.ศ. 229?[ a] บุตร เหา ข่าย อาชีพ ขุนพล ชื่อรอง ปั๋วเต้า (伯道)
เฮ็กเจียว หรือ เฮกเจียว (มีบทบาทในช่วงปี ค.ศ. 220-229) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เห่า เจา (จีน : 郝昭 ; พินอิน : Hǎo Zhāo ) ชื่อรอง ปั๋วเต้า (จีน : 伯道 ; พินอิน : Bódào ) เป็นขุนพลแห่งรัฐวุยก๊ก ในยุคสามก๊ก ของจีน มีชื่อเสียงจากชัยชนะในการล้อมตันฉอง เมื่อปี ค.ศ. 229 โดยเฮ็กเจียวป้องกันตันฉองจากการโจมตีโดยกองกำลังที่มีจำนวนมากกว่าของรัฐจ๊กก๊ก รัฐอริของวุยก๊ก ได้เป็นผลสำเร็จ แต่เฮ็กเจียวเสียชีวิตด้วยอาการป่วยหลังจากนั้นไม่นาน
การรับราชการก่อนรักษาตันฉอง
เฮ็กเจียวเป็นชาวเมืองไท่หยวน (太原郡 ไท่ยฺเหวียนจฺวิ้น ) ซึ่งอยู่บริเวณนครไท่หยวน มณฑลชานซี ในปัจจุบัน เฮ็กเจียวได้รับการระบุว่าเป็นผู้ "แข็งแกร่งสมชาย" เฮ็กเจียวเข้าร่วมกองทัพตั้งแต่อายุยังเยาว์ และได้เลื่อนขั้นเป็นขุนพลตำแหน่งเบ็ดเตล็ด (雜號將軍 จ๋าเฮ่าเจียงจฺวิน )[ b] หลังประสบความสำเร็จในยุทธการ[ 1]
ในปี ค.ศ. 220[ 2] ชฺวี เหยี่ยน (麴演), จาง จิ้น (張進) และหฺวาง หฺวา (黃華) เริ่มก่อกบฏในเมืองเสเป๋ง (西平 ซีผิง ), จางเย (張掖) และจิ่วเฉฺวียน (酒泉) ทั้งหมดอยู่ในมณฑลกานซู่ และมณฑลชิงไห่ ในปัจจุบัน ชนเผ่าท้องถิ่นในเมืองอู่เวย์ (武威郡 อู่เวย์จฺวิ้น ) ก็ก่อจลาจลขึ้นและเข้าร่วมกลุ่มกบฏ เฮ็กเจียวและงุยเป๋ง (魏平 เว่ย์ ผิง ) ร่วมกับขุนพลซู เจ๋อ (蘇則) นำทัพหลวงปราบปรามกบฏ สังหารชฺวี เหยี่ยนและจาง จิ้นได้สำเร็จ และบังคับหฺวาง หฺวาและชนเผ่าท้องถิ่นในเมืองอู่เวย์ให้ยอมจำนน[ 3] เฮ็กเจียวยังคงดูแลอาณาบริเวณด้านตะวันตกของแม่น้ำฮองโห ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของมณฑลชานซี , มณฑลฉ่านซี และมณฑลกานซู่ ในปัจจุบัน ในระหว่างที่ทำหน้าที่เป็นเวลามากกว่า 10 ปี เฮ็กเจียวสามารถรักษาความสงบมั่นคงในภูมิภาคได้เป็นอย่างดี[ 4] [ 5]
ในปี ค.ศ. 227 ชฺวี อิง (麴英) ชาวเมืองเสเป๋งเริ่มก่อกบฏและสังหารนายอำเภอของอำเภอหลินเชียง (臨羌) และซีตู (西都) เฮ็กเจียวและลู่ ผาน (鹿磐) นำทัพหลวงโจมตีชฺวี อิง ปราบปรามกบฏได้สำเร็จและสังหารชฺวี อิง[ 6]
ป้องกันตันฉอง
หลังการก่อการกำเริบที่เทียนซุย และยุทธการที่เกเต๋ง เมื่อต้นปี ค.ศ. 228 โจจิ๋น มหาขุนพลแห่งวุยก๊กคาดการณ์ว่าการบุกครั้งต่อไปของจ๊กก๊ก ที่เป็นรัฐอริของวุยก๊ก จะต้องมาทางตันฉอง (陳倉 เฉิงชาง ; อยู่ทางตะวันออกของนครเป่าจี มณฑลฉ่านซี ในปัจจุบัน) จึงมอบหมายให้เฮ็กเจียวและหวาง เชิง (王生) ไปรักษาตันฉองและเสริมการป้องกัน[ 7] การคาดการณ์ของโจจิ๋นถูกต้อง เมื่อจูกัดเหลียง ผู้สำเร็จราชการของรัฐจ๊กก๊กนำกองกำลังเข้าโจมตีตันฉองเมื่อราวเดือนมกราคม ค.ศ. 229[ 8]
จูกัดเหลียงรู้ว่าตันฉองมีป้อมปราการที่แข็งแกร่งยากต่อการยึดครอง เมื่อจูกัดเหลียงนำทหารจ๊กก๊กยกมาถึงตันฉอง ก็ประหลาดใจที่ตันฉองมีการเสริมการป้องกันอย่างดีมาก และยิ่งประหลาดใจเมื่อรู้ว่าเฮ็กเจียวรับหน้าที่รักษาตันฉอง จูกัดเหลียงเคยได้ยินชื่อเสียงของเฮ็กเจียวในฐานะขุนพลผู้มากความสามารถ ตระหนักดีว่าตนไม่สามารถยึดตันฉองได้โดยง่าย[ 9] จูกัดเหลียงจึงสั่งให้กำลังทหารเข้าล้อมตันฉอง และส่งกิมเซียง (靳詳 จิ้น เสียง ) ที่เป็นคนบ้านเกิดเดียวกันกับเฮ็กเจียว ให้ไปเกลี้ยกล่อมเฮ็กเจียวให้ยอมจำนน เฮ็กเจียวตอบว่า "ท่านก็รู้กฎหมายของวุยและท่านก็รู้จักข้าดี ข้าได้รับพระคุณเป็นล้นพ้นจากรัฐของข้าและบ้านของข้าก็สำคัญ ไม่มีอะไรที่ท่านจะพูดได้ (เพื่อเปลี่ยนใจข้า) กลับไปหาจูกัด (เหลียง) และบอกให้เตรียมเข้าโจมตีเถิด"[ 10] หลังจากกิมเซียงกลับไปรายงานจูกัดเหลียงถึงคำพูดของเฮ็กเจียว จูกัดเหลียงจึงส่งกิมเซียงให้พยายามเกลี้ยกล่อมเฮ็กเจียวอีกครั้งและบอกเฮ็กเจียวว่าตัวเฮ็กเจียวไม่มีทางต้านทัพจ๊กก๊ก ไม่จำเป็นต้องเข้าหาความตายและความพินาศ เฮ็กเจียวตอบว่า "ข้ายืนกรานในสิ่งที่ข้าบอกท่านไปแล้วก่อนหน้านี้ แม้ข้าจะรู้จักท่าน แต่เกาทัณฑ์ของข้าไม่รู้จักท่าน" กิมเซียงจึงลาจากไป[ 11]
โอกาสที่ทัพจ๊กก๊กจะเอาชนะเฮ็กเจียวได้นั้นมีสูงมาก เพราะเฮ็กเจียวมีทหารเพียงราว 1,000 นายในการต้านทัพจ๊กก๊กที่มีจำนวนนับหมื่นนาย และไม่มีวี่แววว่ากำลังเสริมของวุยก๊กจะมุ่งมายังตันฉอง จูกัดเหลียงจึงสั่งกองกำลังทหารให้ใช้บันไดพาดและไต่ขึ้นกำแพงของตันฉอง แต่เฮ็๋กเจียวโต้ตอบโดยสั่งให้ทหารมือเกาทัณฑ์ยิงเกาทัณฑ์ไฟไปยังบันไดพาด ทำให้บันไดลุกติดไฟคลอกทหารที่อยู่บนบันได เมื่อทัพจ๊กก๊กใช้รถกระทุ้งประตู เฮ็กเจียวจึงสั่งกำลังทหารให้ผูกหินกับสายโซ่ แล้วทุ่มจากบนกำแพงไปทำลายรถกระทุ้งประตู[ 12] ทหารจ๊กก๊กจึงหันไปใช้วิธีถมคูเมืองรอบตันฉองเพื่อจะส่งหอรบ เข้าไปใกล้กำแพงเมืองเพื่อให้ทหารปีนเข้าไป เฮ็กเจียวโต้กลับยุทธวิธีนี้ด้วยการสั่งทหารให้สร้างกำแพงชั้นในด้านหลังกำแพงชั้นนอกเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกรุกเข้ามาอีก[ 13] จูกัดเหลียงจึงคิดที่จะให้กำลังทหารขุดอุโมงค์ตรงเข้าไปภายในตันฉอง แต่เฮ็กเจียวเตรียมการป้องกันโดยสั่งให้ทหารขุดอุโมงค์ในแนวตั้งฉากเพื่อสกัดข้าศึก[ 14] [ 15]
การปิดล้อมกินเวลานานกว่า 20 วัน จูกัดเหลียงไม่สามารถทำการใด ๆ เพื่อเอาชนะเฮ็กเจียวและยึดตันฉองได้ เมื่อจูกัดเหลียงทราบข่าวว่ากำลังเสริมของวุยก๊กกำลังยกมาถึงจึงตัดสินใจถอยทัพ[ 16]
เสียชีวิต
ราชสำนักวุยก๊กออกหนังสือยกย่องเฮ็กเจียวสำหรับความกล้าหาญในการป้องกันตันฉอง และมอบบรรดาศักดิ์ระดับโหวให้กับเฮ็กเจียวสำหรับความดีความชอบ ภายหลังเมื่อเฮ็กเจียวมายังลกเอี๋ยง นครหลวงของวุยก๊ก โจยอย จักรพรรดิแห่งวุยก๊กทรงได้พบปะกับเฮ็กเจียว โจยอยตรัสกับซุนจู (孫資 ซุน จือ ) ขุนนางที่มีบ้านเกิดเดียวกับเฮ็กเจียวว่า "บ้านเกิดของท่านมีผู้กล้าหาญมั่นคงเช่นนี้ จะมีอะไรให้กังวลในเมื่อข้ามีขุนพลผู้ร้อนแรงเช่นพวกเขา" โจยอยต้องการจะมอบหมายความรับผิดชอบที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นแก่เฮ็กเจียว แต่เฮ็กเจียวเกิดป่วยหนักและในที่สุดก็เสียชีวิตในเวลาไม่นาน[ 17]
ก่อนที่เฮ็กเจียวจะเสียชีวิต ได้บอกกับเหา ข่าย (郝凱) ผู้เป็นบุตรชายว่า "ในฐานะขุนพลแล้ว พ่อรู้ว่าสิ่งใดที่ขุนพลไม่ควรทำ พ่อขุดหลุมศพจำนวนมากเพื่อนำไม้มาใช้สร้างยุทโธปกรณ์ พ่อจึงรู้ว่าหลุมศพอันยิ่งใหญ่ไม่มีประโยชน์กับคนตาย (หลังจากพ่อตาย) ลูกต้องแต่งกายพ่อด้วยเสื้อผ้าเรียบ ๆ ยามมีชีวิตเรามีสถานที่ที่อาศัยอยู่ ยามตายเราจะไปที่ไหนได้เล่า ขึ้นอยู่กับลูกที่จะตัดสินใจว่าหลุมศพของพ่อจะอยู่ที่ใด เหนือ ใต้ ตะวันออก หรือตะวันตก"[ 18]
ในวัฒนธรรมประชานิยม
ฉิน ฟ่านเฉียง (秦梵祥) รับบทเป็นเฮ็กเจียวในละครโทรทัศน์ปี พ.ศ. 2553 เรื่อง สามก๊ก
ดูเพิ่ม
หมายเหตุ
↑ ปีที่เสียชีวิตของเฮ็กเจียวไม่มีการบันทึกไว้ เฮ็กเจียวเสียชีวิตหลังการล้อมตันฉอง ที่เกิดขึ้นช่วงต้นปี ค.ศ. 229 ปีที่เฮ็กเจียวเสียชีวิตจึงอาจเป็นปี ค.ศ. 229
↑ ในยุคราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และยุคสามก๊ก ยศขุนพลสองแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ ขุนพลตำแหน่งสำคัญ (重號將軍 จ้งเฮ่าเจียงจฺวิน ) และขุนพลตำแหน่งเบ็ดเตล็ด (雜號將軍 จ๋าเฮ่าเจียงจฺวิน ) ประเภทแรกประกอบด้วยขุนพลที่มีการแต่งตั้งโดยเช่นเฉพาะ เช่น มหาขุนพล (大將軍 ต้าเจียงจฺวิน ), ขุนพลทหารม้าทะยาน (驃騎將軍 เพี่ยวฉีเจียงจฺวิน ), ขุนพลพิทักษ์ภาคตะวันออก (鎮東將軍 เจิ้นตงเจียงจฺวิน ) และขุนพลทัพหน้า (前將軍 เฉียนเจียงจฺวิน ) ประเภทหลังประกอบด้วยขุนพลที่ไม่มีการแต่งตั้งโดยเฉพาะ เช่น ขุนพลรอง (偏將軍 เพียนเจียงจฺวิน ), ขุนพลนายพัน (裨將軍 ผีเจียงจฺวิน ), ขุนพลปราบอนารยชน (破虜將軍 พั่วหลู่เจียงจฺวิน ) และขุนพลโจมตีกบฏ (討逆將軍 เถานี่เจียงจฺวิน ) ยศของเฮ็กเจียวจัดอยู่ในประเภทหลัง
อ้างอิง
↑ (昭字伯道,太原人,為人雄壯,少入軍為部曲督,數有戰功,為雜號將軍, ...) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
↑ จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 69.
↑ (後[麴]演復結旁郡為亂,張掖張進執太守杜通,酒泉黃華不受太守辛機,進、華皆自稱太守以應之。又武威三種胡並寇鈔,道路斷絕。武威太守毌丘興告急於則。時雍、涼諸豪皆驅略羌胡以從進等,郡人咸以為進不可當。又將軍郝昭、魏平先是各屯守金城,亦受詔不得西度。 ... 於是昭等從之,乃發兵救武威,降其三種胡,與興擊進於張掖。演聞之,將步騎三千迎則,辭來助軍,而實欲為變。則誘與相見,因斬之,出以徇軍,其黨皆散走。則遂與諸軍圍張掖,破之,斬進及其支黨,眾皆降。演軍敗,華懼,出所執乞降,河西平。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 16.
↑ (... 遂鎮守河西十餘年,民夷畏服。) Weilue annotation in Sanguozhi vol. 3.
↑ 南门太守 (2016). 诸葛亮:蜀汉舵手的历史真相 [Zhuge Liang: The Historical Truth of the Shu Han Helmsman ] (ภาษาจีน). 中国纺织出版社. ISBN 9787518020942 . สืบค้นเมื่อ 10 January 2022 .
↑ (太和元年春正月, ... 西平麴英反,殺臨羌令、西都長,遣將軍郝昭、鹿磐討斬之。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
↑ (真以亮懲於祁山,後出必從陳倉,乃使將軍郝昭、王生守陳倉,治其城。明年春,亮果圍陳倉,已有備而不能克。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 9.
↑ (魏略曰:先是使將軍郝昭築陳倉城;會亮至,圍昭,不能拔。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
↑ (大和中,魏遣將軍郝昭築城陳倉城。適訖,㑹諸葛亮來攻。亮本聞陳倉城惡,及至,怪其整頓,聞知昭在其中,大驚愕。亮素聞昭在西有威名,念攻之不易。) ไท่ผิงหฺวานยฺหวีจี้ เล่มที่ 30.
↑ (亮圍陳倉,使昭鄉人靳詳於城外遙說之,昭於樓上應詳曰:「魏家科法,卿所練也;我之為人,卿所知也。我受國恩多而門戶重,卿無可言者,但有必死耳。卿還謝諸葛,便可攻也。」). อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
↑ (詳以昭語告亮,亮又使詳重說昭,言人兵不敵,無為空自破滅。昭謂詳曰:「前言已定矣。我識卿耳,箭不識也。」詳乃去。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
↑ (亮自以有眾數萬,而昭兵才千餘人,又度東救未能便到,乃進兵攻昭,起雲梯衝車以臨城。昭於是以火箭逆射其雲梯,梯然,梯上人皆燒死。昭又以繩連石磨壓其衝車,衝車折。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
↑ (亮乃更為井闌百尺以付城中,以土丸填壍,欲直攀城,昭又於內築重牆。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
↑ (亮足為城突,欲踊出於城裏,昭又於城內穿地橫截之。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
↑ Shi, Yue. "Taiping Huanyu Ji 25-26" (ภาษาจีน). สืบค้นเมื่อ 10 January 2022 .
↑ (晝夜相攻拒二十餘日,亮無計,救至,引退。) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
↑ (詔嘉昭善守,賜爵列侯。及還,帝引見慰勞之,顧謂中書令孫資曰:「卿鄉里乃有爾曹快人,為將灼如此,朕復何憂乎?」仍欲大用之。會病亡, ...) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
↑ (... 遺令戒其子凱曰:「吾為將,知將不可為也。吾數發冢,取其木以為攻戰具,又知厚葬無益於死者也。汝必斂以時服。且人生有處所耳,死復何在邪?今去本墓遠,東西南北,在汝而已。」) อรรถาธิบายจากเว่ย์เลฺว่ ในจดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 3.
บรรณานุกรม
จักรพรรดิ จักรพรรดินี เจ้าชายและราชนิกูลชาย เจ้าหญิงและราชนิกูลหญิง ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน ข้าราชการฝ่ายพลเรือน ข้าราชการฝ่ายทหาร สตรีที่มีชื่อเสียง บุคคลที่มีชื่อเสียงคนอื่น ๆ