ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก |
---|
|
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ |
---|
ดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม 2516 – 25 มกราคม 2518 |
ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ |
---|
ดำรงตำแหน่ง 2544–2552 |
ก่อนหน้า | ก่อตั้งใหม่ |
---|
ถัดไป | อมรา พงศาพิชญ์ |
---|
|
ข้อมูลส่วนบุคคล |
---|
เกิด | 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 จังหวัดพิจิตร ประเทศสยาม |
---|
เสียชีวิต | 9 เมษายน พ.ศ. 2565[1] (94 ปี) |
---|
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ |
---|
อาชีพ | นักวิชาการ |
---|
|
ศาสตราจารย์ เสน่ห์ จามริก (11 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 – 9 เมษายน พ.ศ. 2565) เป็นนักวิชาการชาวไทย ได้รับยกย่องเป็นราษฎรอาวุโส และมีผลงานด้านสิทธิมนุษยชนหลายอย่าง ได้แก่ ประะธานสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน[2] ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมการรับข้อมูลและสืบพยานเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และเป็นอดีตประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
การศึกษา
ประวัติการทำงานและผลงาน
- กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
- กรมการเมือง กระทรวงการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2503-2530 อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จนเกษียณอายุราชการ
- พ.ศ. 2516-2517 ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516[3]
- พ.ศ. 2518 ร่วมก่อตั้งสหภาพเพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน (ปัจจุบันคือ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน หรือ สสส.) และได้รับเลือกตั้งเป็นประธาน
- หัวหน้าโครงการรัฐศาสตร์ศึกษา และหัวหน้าสาขาวิชาการต่างประเทศ
- พ.ศ. 2518 รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2518 ได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์
- ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นอกจากนี้ยังมีบทบาททางด้านการวิจัยและสนับสนุนการวิจัยหลายด้าน ดังเช่น
หลังจากเกษียณอายุราชการ ก็ได้รับรางวัลนักสิทธิมนุษยชนดีเด่น และทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชนอีกหลายแห่ง งานที่ทำล้วนเน้นหนักไปทางด้านชนบท ชุมชนท้องถิ่น สิทธิมนุษยชน ตำแหน่งสำคัญคือ ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 ถึงปี พ.ศ. 2552
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น
|
---|
นานาชาติ | |
---|
ประจำชาติ | |
---|
วิชาการ | |
---|
อื่น ๆ | |
---|