อ่าวโทยามะ

อ่าวโทยามะ
ทิวทัศน์ของอ่าวโทยามะเมื่อมองจากชายหาดในจังหวัดโทยามะ
อ่าวโทยามะตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
อ่าวโทยามะ
อ่าวโทยามะ
พิกัด36°50′N 137°10′E / 36.833°N 137.167°E / 36.833; 137.167
ต้นแม่น้ำแม่น้ำคุโรเบะ แม่น้ำโจกันจิ แม่น้ำจินซู แม่น้ำโช
เปิดสู่มหาสมุทร/ทะเลทะเลญี่ปุ่น
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศญี่ปุ่น
ความลึกสูงสุด1,200 m (3,937 ft)[1]

อ่าวโทยามะ เป็นอ่าวที่ใหญ่ที่สุดในฝั่งทะเลญี่ปุ่นทะเลญี่ปุ่นตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัดโทยามะ และทางตะวันออกของจังหวัดอิชิกาวะอ่าวแห่งนี้มีชื่อเสียงจากปรากฏการณ์มิราจที่เกิดขึ้นบริเวณจุดขอบฟ้าในช่วงฤดูหนาว และยังเป็นแหล่งวางไข่ของหมึกหิ่นห้อย (หมึกโฮตารุ) [2][3]บางจุดของอ่าวอยู่ในพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติโนโตะ-ฮันโต[4]

ภูมิศาสตร์

ในคำจำกัดความทั่วไปแล้วอ่าวโทยามะตั้งอยู่ระหว่างนครคูโรเบะไปจนถึงเมืองนานาโอะหรือจนถึงเมืองฮิมิ แต่ในคำจำกัดความกว้าง ๆ นั้นจะหมายถึงอ่าวที่มีพื้นที่ระหว่างปลายคาบสมุทรโนโตะไปจนถึงชายฝั่งจังหวัดโทยามะหรือนีงาตะบางส่วน [5][6][7] เช่นตัวอย่างที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งชื่อเหตุการณ์แผ่นดินไหวจะใช้ความหมายของอ่าวโทยามะในคำจำกัดความที่กว้างกว่า [8][9] เช่นนี้จะถือว่าอ่าวนานาโอะจะถูกรวมเข้ากับอ่าวโทยามะในคำจำกัดความที่กว้างกว่า

อ่าวโทยามะเป็นที่ซึ่งมีชื่อเสียงจากความลึกของก้นอ่าว ความอุดมสมบูรณ์ของปลาหลากสายพันธุ์รวมถึงปรากฏการณ์มิราจที่เกิดขึ้นบริเวณจุดขอบฟ้าในช่วงฤดูหนาว [10]

ในปี ค.ศ. 2014 ถูดจัดโดยโครงการ เวิร์ด มอสท์ บิวตีฟูล เบยส์ คลับ (World's Most Beautiful Bays Club) ให้เป็นอ่าวที่สวยที่สุดในโลกลำดับที่สองในประเทศญี่ปุ่นถัดจากอ่าวมัตสึชิมะ[10]

ภูมิประเทศใต้ทะเล

ภูมิประเทศของอ่าวโทยามะมีลักษณะเฉพาะตัวคือมีระดับความชันและลึกแทบจะไม่มีก้นทะเลตื้น ๆ ตามแนวชายฝั่ง[11] แม้จะอยู่ห่างจากชายฝั่งเป็นระยะทางไม่มากแต่ทะเลก็มีความลึกภูมิประเทศของพื้นทะเลก็ค่อนข้างชันและมีสันเขาใต้ทะเลอยู่หลายแห่ง[12][10] โดยบริเวณที่ว่านั้นคือช่องทะเลลึกโทยามะมีความยาวรวมประมาณ 750 กิโลเมตรทอดยาวตั้งแต่อ่าวโทยามะไปจนถึงแอ่งทะเลญี่ปุ่น[13] พื้นที่ในอ่าวส่วนใหญ่ลึกเกิน 300 เมตรแทบทั้งสิ้นและจุดที่ลึกที่สุดลึกมากถึง 1,000 เมตร กล่าวอีกอย่างได้ว่าพื้นที่ในอ่าวนั้นเป็นช่องเขาของเทือกเขาทาเตยามะที่ทอดยาว 4,000 เมตรไปจนถึงพื้นมหาสมุทร[14]

เกาะแก่งในอ่าว

อ่าวโทยามะมีเกาะและแนวปะการังน้อยเนื่องจากไม่มีก้นทะเลตื้น ๆ ตามชายฝั่งมีเพียงแต่ภูมิประเทศแบบทะเลน้ำลึก โดยเฉพาะในฝั่งตะวันออกของอ่าวซึ่งไม่มีเกาะกลางทะเลเลย เกาะและแนวปะการังส่วนใหญ่กระจายอยู่บริเวณเมืองทากาโอกะและนครฮิมิทางตะวันตกของอ่าว ในอ่าวโทยามะมีเกาะขนาดเล็กในรายชื่อต่อไปนี้

ในจำนวนนี้มีเกาะที่มีขนาดใหญ่มีเส้นรอบวงมากกว่า 100 เมตรเพียงสามเกาะเท่านั้น ได้แก่ อาบูกาชิมะ คาราชิมะ และโอโตโกอิวะ ในบริเวณชายฝั่งทะเลทางตะวันตกของอ่าวโทยามะมีชื่อชายฝั่งที่เรียกว่า "ชายฝั่งอามาฮาราชิ" เป็นจุดชมวิวที่สามารถมองเห็นเทือกเขาทาเตยามะที่ทอดตัวโอบอ้อมเกาะแก่งและแนวปะการัง[10]

ทัศนียภาพของเทือกเขาทาเตยามะและเกาะออไนวะเมื่อมองจากชายฝั่งอามาฮาราชิ เมืองทากาโอกะ

ระบบนิเวศ

หาดทรายของเมืองฮิมิ จังหวัดโทยามะ

ในอ่าวบางจุดที่ลึก 300 เมตรลงไปอุณหภูมิของน้ำจะเย็นซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของทะเลญี่ปุ่นโดยมีอุณหภูมิ 1 ถึง 2 องศาเซลเซียสบริเวณน้ำเย็นนี้จะมีปลาน้ำเย็นอาศัยอยู่ ในชั้นผิวน้ำที่ตื้นกว่า 300 เมตรขึ้นไปน้ำทะเลจุดนี้จะอบอุ่นเนื่องจากมีกระแสน้ำสึชิมะที่เป็นกระแสน้ำอุ่นจะไหลเข้าสู่อ่าวฉะนั้นปลาจำนวนมากที่อยู่อาศัยในแหล่งน้ำอุ่นทางตอนใต้ก็สามารถอยู่อาศัยในอ่าวนี้ได้ด้วยเช่นกัน จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้อ่าวโทยามะเป็นที่อยู่ของปลามากกว่า 500 ชนิดเป็นจำนวนเกินครึ่งของปลาทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในทะเลญี่ปุ่นจาก 800 ชนิดอ่าวโทยามะนี้ถูกกล่าว่าเป็น "ตู้ปลาจากธรรมชาติ" เนื่องจากมีปลาและสัตว์น้ำให้จับเป็นจำนวนมาก[15] ระบบนิเวศของอ่าวยังมีการพบเจอปลาทะเลลึกหลากสายพันธ์ เช่น ปลาออร์ ปลาเครสต์ฟิช ปลาเครสต์ฟิชยูนิคอร์น และหมึกสาย[16][17][18][19][20] นอกจากปลาที่กล่าวมาแล้วยังมีการพบปลาสำคัญหลายชนิด เช่น ปลาฉลามอาบแดด ปลาฉลามวาฬ และปลาสเตอร์เจียน[21]

นับตั้งแต่ทศวรรษ 2000 เป็นต้นมาสปีชีส์ของสายพันธ์ุปลามีการเปลี่ยนแปลงไปโดยปลาอลาสก้า พอลล็อคไม่มีรายงานการพบเห็นอีกเลย ปลาอีโต้มอญและปลาซาวาระมีแนวโน้วเพิ่มขึ้นการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นผลมาจากอุณหภูมิน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น[22]

หุบเขาที่อยู่ส่วนลึกของอ่าวเป็นแหล่งอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตอย่างดีมีสัตว์ทะเลจำพวกหอยและกุ้ง ในบรรดาสัตว์ทะเลกุ้งแก้วเป็นสัตว์ที่จับเชิงพาณิชย์เฉพาะที่อ่าวโทยามะเท่านั้น ยังมีกุ้งอีกหลายสายพันธุ์ที่อยู่ในอ่าวเช่น กุ้งโทยามะ เป็นชื่อของกุ้งที่ถูกตั้งชื่อตามอ่าวโทยามะซึ่งเป็นสถานที่ค้นพบ[23] อ่าวโทยามะได้รับแร่ธาตุที่ไหลมาจากแม่น้ำคุโรเบะหรือการละลายของหิมะจากเทือกเขาฮิดะทำให้พัดพาตะกอนสารอาหารลงสู่อ่าวแปรสภาพให้ที่นี่กลายเป็นแหล่งประมงที่อุดมสมบูรณ์มีปลานานาชนิดมาวางไข่เพาะพันธุ์[10][24]

ชายฝั่งของอ่าวโทยามะซึ่งทอดยาวตั้งแต่เมืองโทยามะไปจนถึงเมืองอูโอซุเป็นระยะทาง 15 กิโลเมตรเป็นพื้นที่ริมทะเลที่มีชื่อเสียงมาจากหมึกโฮตารุเรืองแสง[25]พื้นที่ชายฝั่งและนอกชายฝั่งประมาณ 1,260 ม. ถูกกำหนดให้เป็นอนุสาวรีย์ธรรมชาติในปี 1922 จนถึงวันที่ 29 มีนาคม ค.ศ. 1952 สถานที่แห่งนี้ถูกตั้งชื่อว่า "Firefly Squid Group Yukai Surface" และได้รับการยกระดับเป็นอนุสาวรีย์ธรรมชาติพิเศษ[26][27] แต่หมึกโฮตารุไม่ได้ถูกจัดเป็นอนุสาวรีย์ธรรมชาติเนื่องจากหากหมึกถูกจัดเป็นอนุสาวรีย์ธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการจับปลาเพื่อการบริโภคดังนั้นซึ่งกำหนดให้ผิวน้ำทะเลเป็นอนุสาวรีย์ธรรมชาติแทน

นอกจากอ่าวโทยามะแล้วในอ่าวนานาโอะยังพบแหล่งอยู่อาศัยของโลมาปากขวดอินโดแปซิฟิกซึ่งฝูงโลมาเหล่านี้อาศัยอยู่บริเวณตะวันตกของอ่าว[28] โดยรอบอ่าวมีแหล่งโบราณสถานหลายแหล่งมีจุดสำคัญ ๆ คือ แหล่งคิตาไดและแหล่งมาวากิ[29]หลังฐานจากแห่งโบราณสถานเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่คาบสมุทรโนโตะมีการล่าวาฬและโลมามาตั้งแต่ยุคโจมงจนกระทั้งสิ้นสุดลงในยุคโชวะ[30][31][29]

เชื่อว่าสิงโตทะเลญี่ปุ่นซึ่งปัจจุบันสุญพันธ์ไปแล้วเคยอาศัยอยู่บริเวณอ่าวแห่งนี้และมีการค้นพบซากกระดูกวาฬตามแหล่งแนวชายฝั่ง[29][32]

ในส่วนลึกของอ่าวมีบริเวณที่ยังไม่ได้สำรวจอยู่มากสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมารีน-เอิร์ธญี่ปุ่นกำลังวิจัยเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ในช่วงหลายปีที่ผ่านมามีรายงานการค้นพบปลาทะเลน้ำลึกหลายชนิดซึ่งเป็นผลลัพท์จากการสำรวจทะเล ในปี 2000 ได้มีการค้นพบที่อยู่ของสัตว์หายากที่มีชื่อว่าพรีดาโทรี ทูนิเคต (Predatory Tunicate) เป็นสิ่งมีชีวิตไม่มีกระดูกสันหลังที่ดูเหมือนลูกโป่งนี้ทำให้ครั้งนี้เป็นการค้นพบอาณาจักรสัตว์ขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก[33] นับแต่มีการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ได้ถูกรวบรวมนำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอูโอซุ

บริเวณรอบชายฝั่งของอ่าวมีสภาพอากาศที่อบอุ่นเมื่อเทียบกับเส้นละติจูดที่อยู่ในเขตค่อนหนาวอันเนื่องมาจากอิทธิพลของกระแสน้ำสึชิมะเป็นผลให้มีป่าใบกว้างไม่ผลัดใบซึ่งสามารถพบได้ทั่วไปบริเวณทางตอนใต้ของเขตอบอุ่นรอบ ๆ อ่าว[34]

ในนครอูโอซุมีป่าโบราณอายุหลายพันปีถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินและยังคงสภาพสมบูรณ์ไม่เน่าเปื่อยเชื่อว่าป่าที่ถูกฝังอยู่ใต้ดินในเมืองอูโอซุนั้นมีอายุมาประมาณ 2,000 ปีก่อนที่โลกจะอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้ะระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ชายฝั่งที่มีป่าจมลงสู่ทะเลและถูกดินตะกอนทับถม และยังมีป่าที่อยู่ใต้ทะเลบริเวณนอกชายฝั่งของเมืองนีวเซ็งซึ่วมีอายุประมาณ 10,000 ปีทำให้สามารถสันนิษฐานได้ว่าพื้นที่จุดนั้นเคยเป็นไหล่ทวีปบนบกมาก่อน [35]

อุตสาหกรรม

ท่าเรือฟูชิกิ-โทยามะ

เนื่องจากผิวทะเลของอ่าวเป็นแหล่งประมงที่อุดมสมบูรณ์จึงทำให้เป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมประมงเป็นอย่างมากมีตั้งแต่การใช้อวนจับหมึกโฮตารุซึ่งเป็นวิธีที่มีการพัฒนามาตั้งแต่สมัยโบราณ บริเวณตลาดปลามีการจำหน่ายกุ้งชิราเอบิสามารถหาซื้อได้ทั่วอ่าวโทยามะหรือที่อื่นในทะเลญี่ปุ่น

ในด้านอุตสาหกรรมบริการขนส่งสินค้าทางทะเลมีท่าเรือฟูชิกิ-โทยามะเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญเป็นพิเศษท่าเรือแห่งนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยคิตามาเอบูเนะซึ่งเป็นสมัยของเส้นทางการเดินเรือจากโอซากะไปยังฮกไกโดผ่านทะเลญี่ปุ่น ถือเป็นท่าเรือสำคัญในภูมิภาคทะเลญี่ปุ่น [36]

หลังจากเกิดแผ่นดินไหวในคาบสมุทรโนโตะ ค.ศ. 2024มีรายงานว่ามีปริมาณการจับกุ้งขาวลดลงนับตั้งแต่เกิดแผ่นดินไหวขึ้น มีการประเมิณว่าอาจเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมใต้ทะเลเป็นผลมาจากดินถล่ม ทำให้สถาบันวิจัยการประมงประจําจังหวัดโทยามะได้มีโครงการสำรวจพื้นทะเลในอ่าวเพื่อตรวจดูผลกระทบของดินถล่มที่จะส่งผลกระทบต่อทรัพยากรประมง[37]

การท่องเที่ยว

อ่าวโทยามะเมื่อมองจากชายฝั่ง

มีการขายอาหารทะเลจำนวนมากเพื่อตอบสนองความต้องการในภาคการท่องเที่ยว ในจังหวัดโทยามะมีพันธุ์ปลาสามสายพันธุ์ได้รับการส่งเสริมให้เป็นปลาประจำจังหวัดได้แก่ ปลาหางเหลืองถูกยกย่องให้เป็น "ราชาแห่งอ่าวโทยามะ" หมึกโฮตารุ "ความพิศวงเร้นลับของอ่าวโทยามะ" และกุ้งชิราเอบิถูกตั้งฉายาว่า "อัญมณีแห่งอ่าวโทยามะ"[38]

นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีปลาชิโอการะหรือเรียกว่าปลาดำซึ่งเป็นอาหารท้องถิ่นของจังหวัดโทยามะตั้งแต่ยุคเอโดะเป็นอาหารหมักที่ทำจากหอย และมีสัตว์ที่มีชื่อเสียงคือปูหิมะและปลาทะเลลึกหลากสายพันธุ์ที่มีหน้าตาที่แปลกคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้พบเจอนักจึงทำให้เรียกปลาแบบนี้ว่า "ปลาผี" (幻魚) [39]

ในอ่าวจะมีหมึกโฮตารุซึ่งเป็นหมึกที่สามารถเรืองแสงได้มีลักษณะที่สวยงามจึงเกิดเป็นการท่องเที่ยวชมหมึกจากเรือท่องเที่ยวนเวลาค่ำคืน[10] หรือสามารถชมได้จากพิพิธภัณฑ์ที่มีการจัดแสดงหมึกโฮตารุ นอกจากสัตว์น้ำแล้วอ่าวโทยามะยังมีชื่อเสียงมาจากปรากฏการณ์มิราจซึ่งเกิดขึ้นบ่อยเมื่อมองไปยังทะเลในเมืองอุโอซุ[40][41]

อีกสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญคือจุดชมวิวชายฝั่งอามาฮาราชิและชายฝั่งฮิมิตั้งอยู่ในอุทยานแห่งชาติคาบสมุทรโนโตะสามารถมองเห็นเทือกเขาทาเตยามะที่มีความสูง 3,000 เมตรได้จากจุดชมวิวแห่งนี้ [10]

ภัยพิบัติ

คลื่นสึนามิ

หลังจากเกิดแผ่นดินไหวเทนโช ค.ศ. 1586ได้เกิดสึนามิในอ่าวโทยามะทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ความเสียหายส่วนใหญ่กระจุกตัวตามลุ่มแม่น้ำโชกาวะ [42] และยังมีการบันทึกการเกิดสึนามิในอ่าวโทยามะครั้งอื่น ๆ เช่น สึนามิในปี ค.ศ. 1488 และ ค.ศ. 1792 [43]

เมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2024 เวลา 16:10 น. เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.6 ในพื้นที่คาบสมุทรโนโตะ จังหวัดอิชิกาวะ ซึ่งส่งผลกระทบต่ออ่าวโทยามะเป็นบางส่วน โดยพบว่าผลกระทบส่วนใหญ่มาจากการถล่มของเนินเขาใต้ทะเลซึ่งจุดที่เกิดการถล่มห่างจากเหนือจรดใต้ประมาณ 3.5 กิโลเมตร และประมาณ 1 กม. จากตะวันออกไปตะวันตก หลังจากแผ่นดินไหวในเดือนมกราคมหน่วยยามฝั่งญี่ปุ่นได้สร้างแบบแผนที่ภูมิประเทศของก้นทะเลใต้อ่าวโดยละเอียดใช้วิธีการปล่อยคลื่นเสียงจากเรือสํารวจที่ผิวน้ำลงไปข้างใต้ และนำมาเปรียบเทียบกับแผนที่ที่สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 2010 พบว่าจุดที่มีการเปลี่ยนแปลงห่างจากทางเหนือของเมืองโทยามะ 4 กิโลเมตร บริเวณนั้นมีเนินเขาใต้ทะเลถล่มลงมาเป็นพื้นที่ยาวประมาณ 500 เมตร และกว้างประมาณ 80 เมตร [44][45]

จากย่อหน้าที่ผ่านมาการถล่มของเนินเขาใต้ทะเลทำให้เกิดคลื่นสึนามิเข้ามาถึงฝั่งในระยะเวลา 3 นาทีหลังจากเกิดแผ่นดินไหว ในเวลาแรกสถานีวัดระดับน้ำขึ้นน้ำลงของเมืองโทยามะพบสึนามิสูงถึง 80 ซม. แต่มีความเป็นไปได้ว่าคลื่นสึนามิที่แท้จริงอาจสูงถึง 2 เมตรในเมืองนีวเซ็ง [46]

คลื่นสูง

คลื่นสูงที่ถล่มจังหวัดโทยามะหลายครั้งถูกเรียกว่า "คลื่นโยริมาวาริ" อันเนื่องมาจากอ่าวโทยามะมีความลึกและภูมิประเทศมีความซับซ้อนเมื่อความกดอากาศสูงจากทางตะวันตกมีกำลังแรงขึ้นจะทำให้เกิดลมกะโชกแรงพัดเอาคลื่นจากฮกไกโดลงมาถึงอ่าวโทยามะทำให้เกิดภัยพิบัติคลื่นลมแรงซึ่งนครชินมินาโตะในจังหวัดโทยามะได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติรูปแบบนี้หลายครั้ง [47] จากวารสารธรณีฟิสิกส์ที่เขียนโดยศาสตราจารย์ ฟูมิอากิ ทากูจิ จากมหาวิทยาลัยโทยามะกล่าวว่าโดยปกติคลื่นจะสูงเพียง 3 ถึง 5 เมตรในหน้าหนาวซึ่งเป็นเรื่องปกติของทะเลญี่ปุ่นในฤดูนี้แต่ทุก ๆ 10 ปีหรือกว่านั้นจึงจะมีคลื่นขนาดใหญ่เกิดขึ้นและไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเป็นเพราะเหตุใดจึงคลื่นจึงสามารถก่อตัวได้สูงขนาดนั้น [48]

เมื่อวันที่ 28-29 ธันวาคม ค.ศ. 1916 เกิดคลื่นสูงพัดถล่มตามแนวชายฝั่งตะวันออกของอ่าวโมยามะของอ่าวก่อให้เกิดความเสียหายแก่ถนนช่วงระหว่างสถานีอิชิบูริและสถานีโอยาชิราจิ[49]

เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2008 คลื่นสูงได้พัดถล่มชายฝั่งอ่าวโทยามะอีกครั้งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย บาดเจ็บ 15 คน บ้านเรือนถูกทำลาย 4 หลังเสียหายปานกลาง 7 หลัง ความเสียหายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในเมืองนีวเซ็ง ภัยจากคลื่นสูงในครั้งนี้ถูกบันทึกว่ารุนแรงที่สุดคลื่นมีความสูง 10 เมตร [48]

ในจังหวัดโทยามะและจังหวัดอื่น ๆ ที่อยู่รอบอ่าวได้มีมาตรการป้องกันคลื่นสูง ในปีงบประมาณแต่ละครั้งจังหวัดจะส่งเสริมการสร้างเขื่อนกันคลื่นบนชายฝั่งมิยาซากิของเมืองอาซาฮีและชายฝั่งของเมืองโทยามะ ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2003 เป็นต้นมาเขื่อนกันคลื่นตามแนวชายฝั่งได้ถูกสร้างขึ้นตามแผนการอนุรักษ์ชายฝั่งของจังหวัด แต่หลังเกิดภัยพิบัติคลื่นโยริมาวาริในปี ค.ศ. 2008 ซึ่งก่อความเสียหายเกินกว่าที่คาดไว้ทำให้มีการกลับมาทบทวนความทนทานของเขื่อนกันคลื่นและโครงสร้างอื่น ๆ ในอ่าวซึ่งได้รับความเสียหายมากจากเหตุการณ์ในคราวนั้น[48]

อ้างอิง

  1. Introduction to Toyama Bay เก็บถาวร 2021-05-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Toyama Prefectural Tourism Association. Accessed on December 18, 2010.
  2. "BBC - Science & Nature - Sea Life - Fact files: Firefly squid". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-04. สืบค้นเมื่อ 2012-04-05. Animal Fact Files - Firefly squid
  3. Patowary, Kaushik (30 March 2012). "Firefly Squids in Toyama Bay, Japan". Amusing Planet.
  4. Campbell, Allen; Nobel, David S (1993). Japan: An Illustrated Encyclopedia. Kodansha. pp. 1613. ISBN 406205938X.
  5. 「富山湾」『日本歴史地名大系』(平凡社
  6. 「富山湾」『世界大百科事典』(平凡社)
  7. 船員法第一条第二項第三号の漁船の範囲を定める政令第二号の漁船の範囲を定める省令
  8. 富山湾の定義[ลิงก์เสีย]富山高等専門学校
  9. 地震情報で用いる震央地名(気象庁)
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 10.6 美しい富山湾クラブ
  11. "富山湾の地形と地質". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-03-30. สืบค้นเมื่อ 2024-03-18.
  12. あいがめ(2010年5月5日時点のアーカイブ
  13. 富山深海海底谷最下流部の海底地形PDF 歴史地震研究会 歴史地震・第18号(2002)
  14. NHKスペシャル 神秘の海 富山湾 海の中までアルプスがつづく - NHK名作選(動画・静止画) NHKアーカイブス
  15. 天然のいけす 富山湾時事通信(2018年8月23日閲覧)
  16. 木村知晴, 草間啓, 不破光大, 稲村修, 2020年08月,『富山湾におけるリュウグウノツカイの記録(~2019年3月)』, 魚津水族博物館年報, 第29号, 魚津水族博物館
  17. 高津守, 江戸川夏樹, 2020年5月31日, 謎の珍魚アカナマダ、富山湾で次々 胃から判明した特徴, 朝日新聞
  18. 毎日新聞, 2020年12月23日, 珍しい深海魚テングノタチ、富山湾で捕獲 6年ぶり3例目 日本海側で相次ぐ
  19. AERA dot., 2016年01月18日, 目撃多数! なぜ、ダイオウイカは“続出”しているのか?
  20. FNNプライムオンライン, 2023年01月18日, またダイオウイカを撮影 富山湾はなぜ特別なのか, Youtube
  21. 魚津水族博物館, 1997年2月, 富山湾産希少魚類の採集記録
  22. "スケトウダラ取れずシイラやサワラ増加、富山湾海水温上昇で…「なじみが薄く売れない」". 読売新聞. 2022-09-12. สืบค้นเมื่อ 2022-10-07. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help)
  23. 宮嶋俊明 (200701-23). "丹後の海の生き物(トヤマエビ)". 京都府農林水産技術センター 海洋センター, 京都府. สืบค้นเมื่อ 2024-01-16. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help); ระบุ |work= และ |website= มากกว่าหนึ่งรายการ (help)
  24. 善光寺慎悟, 松浦拓哉, 手計太一, 千葉元, 福留研一, 畠俊郎, 新井章珣, 2020年, 『黒部川が沿岸表層水に与える影響に関する基礎的検討』, 土木学会論文集B1(水工学), 76巻, 2号, 1423-1428頁
  25. "หมึกโฮตารุเรืองแสงในท้องทะเล…(หมึกหิ่งห้อย) | เที่ยวญี่ปุ่น JNTO". 15 February 2016. สืบค้นเมื่อ 26 March 2024.
  26. ホタルイカ群遊海面 เก็บถาวร 2009-03-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน-社団法人農林水産技術情報協会 2012年5月13日閲覧
  27. ほたるいかミュージアム
  28. イルカの棲む島
  29. 29.0 29.1 29.2 平日哲夫, 1992年,『北陸における海獣類出土遺跡の環境と動物遺体組成』, 日本海の鯨たち:日本海セトロジー研究, 1-8頁
  30. 能登・富山湾 捕鯨の起源か 古代遺跡の4割から骨 全国屈指の出土率 網漁の可能性も
  31. 中日新聞, 2021年5月9日, クジラ伝説の里に新拠点 能登町・三波公民館が完成
  32. 麻柄一志, 2021年, 第6回 先史時代のヒトと自然, 富山市民大学 立山黒部ジオパークを知る
  33. 松本恭平, 張勁, 川本詩織, 佐竹洋, 稲村修, 竹内章, 2009年, 『炭素・窒素安定同位体比による富山湾オオグチボヤの栄養源に関する研究』, 日本地球科学学会第56回講演要旨
  34. 世界農業遺産「能登の里山里海」ライブラリー, 内浦の景観
  35. "富山湾の紹介 – JF富山漁連 富山県漁業協同組合連合会". www.toyama-sakana.com. สืบค้นเมื่อ 9 May 2024.
  36. "伏木富山港のご案内". 富山県 (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 27 April 2024.
  37. "富山湾の漁業資源 海底地滑りの影響調査始まる|NHK 富山県のニュース". NHK NEWS WEB. สืบค้นเมื่อ 13 May 2024.
  38. "富山湾の宝石・シロエビ". 【公式】富山県の観光/旅行サイト「とやま観光ナビ」 (ภาษาญี่ปุ่น).
  39. "富山湾の奥深くに棲む深海魚". สืบค้นเมื่อ 1 May 2024.
  40. とやま観光ナビ/蜃気楼富山県(2018年8月23日閲覧)。
  41. 魚津埋没林博物館
  42. 「上市町史」p1117その他地震(上市町史編纂委員会編 昭和45年2月刊)
  43. 「黒部川のあゆみ・資料編」年表p288、p296(建設省北陸地方建設局黒部工事事務所編 昭和53年刊
  44. "富山湾の沖合"海底斜面の崩壊"広範囲に及ぶ 海保の追加調査|NHK 富山県のニュース". NHK NEWS WEB.
  45. "富山湾の海底で長さ500m、幅80m斜面が崩壊…海保調査「能登半島地震で崩れた可能性」". 読売新聞オンライン (ภาษาญี่ปุ่น). 24 January 2024. สืบค้นเมื่อ 16 May 2024.
  46. "地震から3分で到達した津波 震源域ではなく富山湾の海底で50万トンの土砂崩落が原因か【能登半島地震】 |FNNプライムオンライン". FNNプライムオンライン. 26 January 2024. สืบค้นเมื่อ 17 May 2024.
  47. "富山県東部海岸 における2008年2月高波による被害調査" (PDF). 海岸工学論文集,第55巻(20). 2008. สืบค้นเมื่อ 2018-10-29. {{cite web}}: ข้อความ "和書" ถูกละเว้น (help)
  48. 48.0 48.1 48.2 "大被害から15年、富山湾の「寄り回り波」のメカニズムが判明:朝日新聞デジタル". 朝日新聞デジタル (ภาษาญี่ปุ่น). 26 April 2023. สืบค้นเมื่อ 7 May 2024.
  49. 富山市役所編 『富山市史』第2巻p300 1980年 富山市役所

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!