อูโอซุ (ญี่ปุ่น : 魚津市 ; โรมาจิ : Uozu-shi ) เป็นนคร ที่ตั้งอยู่ทางตะวันออกของจังหวัดโทยามะ ประเทศญี่ปุ่น ข้อมูลเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2024 (2024 -02-01 ) [update] อูโอซุมีจำนวนประชากรประมาณ 38,408 คน[ 1] และมีความหนาแน่นของประชากร 210 คนต่อตารางกิโลเมตร มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 200.61 ตารางกิโลเมตร (77.46 ตารางไมล์)[ 2]
เทศกาลทาเตมง หนึ่งในเทศกาลที่มีชื่อเสียงในจังหวัดโทยามะ
ภูมิศาสตร์
อูโอซุตั้งอยู่ระหว่างนครนาเมริกาวะ และนครคูโรเบะ มีอาณาบริเวณทอดยาวตั้งแต่อ่าวโทยามะ ในทะเลญี่ปุ่น ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ไปจนถึงเทือกเขาสูงทางตะวันออกเฉียงใต้ ภูเขาที่สูงที่สุดในอูโอซุคือ โซงาดาเกะ (僧ヶ岳 ) และเคกาจิยามะ (毛勝山 ) และระดับความสูงที่สูงที่สุดในอูโอซุอยู่ที่ 2,414 เมตร มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอูโอซุจากตะวันออกไปตะวันตก ได้แก่ แม่น้ำฟูเซะ แม่น้ำคาตาไก แม่น้ำคาโดะ และแม่น้ำฮายัตสึกิ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่กระจัดกระจาย ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของภูมิภาคนี้
เทศบาลข้างเคียง
ภูมิอากาศ
อูโอซุมีภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้นกึ่งเขตร้อน (เคิพเพิน Cfa ) มีลักษณะเป็นฤดูร้อนที่ไม่ร้อนจัดและฤดูหนาวที่หนาวเย็นและมีหิมะตกหนัก อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีในอูโอซุอยู่ที่ 13.7 °C ปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยต่อปีอยู่ที่ 2,278 มิลลิเมตร โดยเดือนกันยายนเป็นเดือนที่มีฝนตกชุกที่สุด อุณหภูมิสูงสุดโดยเฉลี่ยอยู่ในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ประมาณ 26.3 °C และต่ำสุดในเดือนมกราคม อยู่ที่ประมาณ 2.4 °C[ 3]
ข้อมูลภูมิอากาศของอูโอซุ (1991−2020 สภาวะปกติ, สภาวะสุดขั้ว 1978−ปัจจุบัน)
เดือน
ม.ค.
ก.พ.
มี.ค.
เม.ย.
พ.ค.
มิ.ย.
ก.ค.
ส.ค.
ก.ย.
ต.ค.
พ.ย.
ธ.ค.
ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F)
19.2 (66.6)
22.4 (72.3)
27.6 (81.7)
30.7 (87.3)
32.5 (90.5)
33.1 (91.6)
37.9 (100.2)
37.8 (100)
36.4 (97.5)
33.5 (92.3)
27.1 (80.8)
24.9 (76.8)
37.9 (100.2)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F)
6.2 (43.2)
6.8 (44.2)
10.9 (51.6)
16.8 (62.2)
21.9 (71.4)
25.0 (77)
29.0 (84.2)
30.6 (87.1)
26.5 (79.7)
21.0 (69.8)
15.3 (59.5)
9.4 (48.9)
18.28 (64.91)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F)
2.7 (36.9)
2.9 (37.2)
6.2 (43.2)
11.7 (53.1)
16.9 (62.4)
20.7 (69.3)
24.7 (76.5)
25.9 (78.6)
21.9 (71.4)
16.4 (61.5)
10.7 (51.3)
5.5 (41.9)
13.85 (56.93)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F)
-0.3 (31.5)
-0.5 (31.1)
1.9 (35.4)
6.8 (44.2)
12.2 (54)
16.8 (62.2)
21.2 (70.2)
22.1 (71.8)
18.2 (64.8)
12.3 (54.1)
6.6 (43.9)
2.0 (35.6)
9.94 (49.9)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F)
-8.8 (16.2)
-9.3 (15.3)
-7.1 (19.2)
-1.8 (28.8)
3.8 (38.8)
8.3 (46.9)
14.3 (57.7)
14.6 (58.3)
10.4 (50.7)
2.8 (37)
-1.0 (30.2)
-6.7 (19.9)
−9.3 (15.3)
หยาดน้ำฟ้า มม (นิ้ว)
254.7 (10.028)
165.5 (6.516)
176.8 (6.961)
161.4 (6.354)
154.0 (6.063)
180.9 (7.122)
276.1 (10.87)
206.9 (8.146)
233.6 (9.197)
203.5 (8.012)
255.1 (10.043)
304.6 (11.992)
2,588.3 (101.902)
ปริมาณหิมะ ซม (นิ้ว)
133 (52.4)
112 (44.1)
21 (8.3)
2 (0.8)
0 (0)
0 (0)
0 (0)
0 (0)
0 (0)
0 (0)
1 (0.4)
55 (21.7)
325 (128)
วันที่มีหยาดน้ำฟ้าโดยเฉลี่ย (≥ 1.0 mm)
23.1
18.9
17.3
13.4
11.9
11.5
13.8
10.8
12.9
13.4
17.5
22.4
186.9
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย (≥ 3 cm)
11.8
10.9
2.2
0.2
0
0
0
0
0
0
0.1
5.2
30.4
จำนวนชั่วโมงที่มีแดด
60.8
87.6
134.0
169.8
195.0
147.5
147.0
201.4
141.0
141.9
99.3
62.8
1,593.5
แหล่งที่มา: สำนักงานอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น [ 4] [ 5]
สถิติประชากร
จากข้อมูลการสำรวจสำมะโนประชากรของญี่ปุ่น[ 6] จำนวนประชากรของอูโอซุลดลงในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา
ประวัติจำนวนประชากร ปี ประชากร ±% 1970 47,124 — 1980 49,512 +5.1% 1990 49,514 +0.0% 2000 47,136 −4.8% 2010 44,959 −4.6% 2020 40,535 −9.8%
ประวัติศาสตร์
พื้นที่อูโอซุในปัจจุบันเดิมเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นเอ็ตจู และมีผู้อยู่อาศัยมาตั้งแต่ยุคโจมง เป็นอย่างน้อย มีการค้นพบทองคำบนภูเขาในอูโอซุเมื่อประมาณ ค.ศ. 1394 ทำให้เกิดการหลั่งไหลของผู้คน และทำให้บริเวณรอบ ๆ ปราสาทมัตสึกูระเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ ต่อมาเมื่อปราสาทมัตสึกูระถูกทำลาย ก็มีการตั้งศูนย์กลางใหม่รอบปราสาทอูโอซุซึ่งอยู่ใกล้กับทะเล
ใน ค.ศ. 1582 เกิดเหตุการณ์การปิดล้อมอูโอซุขึ้นระหว่างกองกำลังที่เป็นพันธมิตรกับตระกูลอูเอซูงิ และกองกำลังของโอดะ โนบูนางะ ปราสาทอูโอซุถูกกองกำลังโอดะยึดครองเพียงสามวันก่อนที่โอดะจะถูกลอบสังหารในเหตุการณ์การล้อมฮนโนจิ ต่อมาในยุคเอโดะ ภายใต้รัฐบาลโชกุนโทกูงาวะ อูโอซุเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นศักดินาคางะ ซึ่งปกครองโดยตระกูลมาเอดะ
อูโอซุได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 อูโอซุเป็นจุดเริ่มต้นของเหตุการณ์การจลาจลข้าว ค.ศ. 1918 ก่อนที่จะแพร่ขยายไปทั้งประเทศ พื้นที่ทางตะวันตกส่วนใหญ่ของเมืองถูกทำลายด้วยเหตุเพลิงไหม้เมื่อ ค.ศ. 1943 อย่างไรก็ตาม เมืองนี้ไม่ได้รับความเสียหายในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อูโอซุได้รับการยกฐานะเป็นนครเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1952 และในเดือนกันยายน ค.ศ. 1956 ได้เกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ซึ่งทำลายอาคารหลายหลังในอูโอซุ
การเมืองการปกครอง
อูโอซุมีการปกครองรูปแบบนายกเทศมนตรี–สภา มีนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรง และมีสภานคร ซึ่งเป็นสภาเดี่ยว มีสมาชิกจำนวน 18 คน
การศึกษา
โรงเรียนที่สังกัดเทศบาลนครอูโอซุ ได้แก่ โรงเรียนประถม 10 แห่ง และโรงเรียนมัธยมต้น 2 แห่ง โรงเรียนที่สังกัดคณะกรรมการการศึกษาจังหวัดโทยามะ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมปลาย 3 แห่ง นอกจากนี้ยังมีโรงเรียนมัธยมปลายเอกชนอีก 1 แห่ง[ต้องการอ้างอิง ]
การขนส่ง
อูโอซุใช้เวลาเดินทางจากโตเกียวโดยรถไฟ 3 ชั่วโมง และโดยรถยนต์ 4.5 ชั่วโมง และสามารถเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงได้มาตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ. 2015 โดยใช้สายโฮกูริกุชิงกันเซ็ง ลงสถานีรถไฟโทยามะ และต่อรถไฟมายังอูโอซุ อูโอซุมีรถไฟโดยสารให้บริการ 2 สาย ได้แก่ รถไฟโทยามะชิโฮ สายหลัก และรถไฟสายอาอิโนะคาเซะโทยามะ ซึ่งจากสถานีรถไฟอูโอซุ ไปทางทิศตะวันตกทั้งสองสายนี้จะมีเส้นทางคู่กัน แต่ทางทิศตะวันออกจะมีเส้นทางแยกออกจากกัน
รถไฟ
ทางหลวง
เมืองพี่น้อง
บุคคลที่มีชื่อเสียง
สิ่งที่น่าสนใจในท้องถิ่น
สามสิ่งมหัศจรรย์ของอูโอซุ
มิราจ
มิราจเมืองอูโอซุ
เมื่อมองทิวทัศน์ของเมืองอูโอซุผ่านน้ำทะเลของอ่าวโทยามะ จะสามารถเห็นเป็นมิราจ หรือภาพลวงตา โดยเฉพาะในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูหนาว มิราจในฤดูใบไม้ผลิสามารถเกิดขึ้นได้ในวันที่อากาศอบอุ่น แดดจ้า และลมสงบ ช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน สวนสนุกมิราจแลนด์ (ญี่ปุ่น : ミラージュランド ) ซึ่งมีชิงช้าสวรรค์ ขนาดใหญ่ เป็นหนึ่งในสถานที่ยอดนิยมในการชมปรากฏการณ์นี้
หมึกหิ่งห้อย
ในช่วงเช้าตรู่ ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนมิถุนายน หมึกหิ่งห้อย (ญี่ปุ่น : ホタルイカ ; โรมาจิ : hotaruika ; ทับศัพท์ : โฮตารุอิกะ) ตัวเมีย จะขึ้นสู่ผิวน้ำเพื่อวางไข่ คำว่าหมึกหิ่งห้อยมาจากแสงสีขาวอมฟ้าที่ส่องออกมาจากจุดต่าง ๆ บนลำตัว
ป่าไม้ที่ถูกฝัง
ป่าไม้ต้นซูงิหรือซีดาร์ญี่ปุ่น (Cryptomeria ) ที่อยู่ตามแนวชายฝั่งถูกฝังจมใต้ทะเลเมื่อประมาณ 2,000 ปีที่แล้ว เหลือไว้ให้เห็นเพียงลำต้นเท่านั้น ในบริเวณนี้จะเป็นอนุสรณ์สถานทางธรรมชาติแห่งชาติ และมีพิพิธภัณฑ์ที่สามารถเข้าชมได้
อื่น ๆ
ซากปราสาทมัตสึกูระ
สถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ ในอูโอซุ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำอูโอซุ, น้ำพุร้อนคินทาโร (ญี่ปุ่น : 金太郎温泉 ), โรงกีฬาอาริโซะโดม, หอวัฒนธรรมนีกาวะ, พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านทางประวัติศาสตร์อูโอซุ, ทะเลสาบอิเกจิริ, น้ำตกฮิราซาวะ และแหล่งปราสาทมัตสึกูระ
อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น