อัรบีล

อัรบีล

ھەولێر

Hewlêr
นคร
บนลงล่าง ซ้ายไปขวา:
ใจกลางเมืองอัรบีล
หออะษานมุเซาะฟะรียะฮ์ • ธรรมชาติที่อัรบีล
พิพิธภัณฑ์สิ่งทอป้อมปราการอัรบีล
อาสนวิหารนักบุญโยเซฟ • ทิวทัศน์นอกป้อมปราการอัรบีล
สมญา: 
นครแห่งป้อมปราการและหออะษาน
(เคิร์ด: شاری قەڵا و منارە)[1]
อัรบีลตั้งอยู่ในIraqi Kurdistan
อัรบีล
อัรบีล
ที่ตั้งของอัรบีลในภูมิภาคเคอร์ดิสถาน
อัรบีลตั้งอยู่ในประเทศอิรัก
อัรบีล
อัรบีล
ที่ตั้งของอัรบีลในประเทศอิรัก
พิกัด: 36°11′28″N 44°00′33″E / 36.191188°N 44.009189°E / 36.191188; 44.009189
ประเทศ อิรัก
ภูมิภาคปกครองตนเอง เคอร์ดิสถานอิรัก
เขตผู้ว่าการอัรบีล
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีOmed Khoshnaw
พื้นที่
 • ทั้งหมด115 ตร.กม. (44 ตร.ไมล์)
 • พื้นดิน113 ตร.กม. (44 ตร.ไมล์)
 • พื้นน้ำ2 ตร.กม. (0.8 ตร.ไมล์)
ความสูง390 เมตร (1,280 ฟุต)
ประชากร
 (ประมาณ 2022)
 • ทั้งหมด1,612,700[2] คน
 • ความหนาแน่น10,435 คน/ตร.กม. (27,030 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+3 (AST)
รหัสไปรษณีย์44001
รหัสพื้นที่066
เว็บไซต์HawlerGov.org

อัรบีล (อาหรับ: أربيل, อักษรโรมัน: Arbīl[3]; ซีรีแอก: ܐܲܪܒܹܝܠ, อักษรโรมัน: Arbel)[4][5] หรือ เฮวเลร์ (เคิร์ด: هەولێر Hewlêr)[6] เป็นเมืองหลักและเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในภูมิภาคเคอร์ดิสถานของประเทศอิรัก ตั้งอยู่ในเขตผู้ว่าการอัรบีล[7] โดยประมาณการว่ามีประชากรราว 1,600,000 คน[2]

การตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในอัรบีลนั้นสันนิษฐานว่าเริ่มขึ้นตั้งแต่ 5 สหัสวรรษก่อนคริสต์ศักราช[8] ที่ใจกลางเมืองมีป้อมปราการอัรบีลโบราณและหออะษานมุเซาะฟะรียะฮ์ หลักฐานทางประวัติศาสตร์แรกสุดของภูมิภาคนี้สืบไปได้ถึงสมัยราชวงศ์ที่ 3 แห่งอูร์ แห่งซูเมอร์ เมื่อกษัตริย์ Shulgi ตรัสถึงนคร Urbilum ภายหลังฝ่ายอัสซีเรียพิชิตเมืองนี้[9][10]

ในสหัสวรรษที่ 3 ก่อนคริสต์ศักราช อัรบีลมีอำนาจอิสระในพื้นที่ของตน โดยเมืองนี้ถูกพิชิตในสมัยของชาวกูที และตกไปเป็นของอัสซีเรียในช่วงปลายสหัสวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราช หลังจากนั้น เมืองนี้จึงอยู่ภายใต้มณฑลทางภูมิรัฐศาสตร์ของอัสซีเรียของหลายจักรวรรดิ เช่น จักรวรรดิมีเดีย, จักรวรรดิอะคีเมนิด (อัสซีเรียของอะคีเมนิด), จักรวรรดิมาเกโดนีอา, จักรวรรดิซิลูซิด, จักรวรรดิอาร์มีเนีย, จักรวรรดิพาร์เทีย, อัสซีเรียของโรมัน และจักรวรรดิซาเซเนียน และยังเป็นเมืองหลวงของรัฐบรรณาการAdiabeneในช่วงกลางศตวรรษที่ 2 ก่อนคริสต์ศักราชถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 2 ในสมัยโบราณ เทพารักษ์ประจำเมืองนี้คืออิชทาร์แห่งอาร์เบลา[11]

หลังการพิชิตจักรวรรดิเปอร์เซียโดยมุสลิม ภูมิภาคนี้ไม่ได้เป็นภูมิภาคเดี่ยวอีกต่อไป และในสมัยกลาง นครนี้อยุ่ภายใต้การปกครองของจักรวรรดิเซลจุคและออตโตมัน[12]

พิพิธภัณฑ์โบราณคดีของอัรบีลมีชุดสะสมสิ่งประดิษฐ์ก่อนอิสลามจำนวนมาก โดยเฉพาะศิลปะเมโสโปเตเมีย และเป็นศูนย์กลางสำหรับโครงการโบราณคดีในพื้นที่นี้[13] สภาการท่องเที่ยวอาหรับจัดให้นครนี้ได้รับสถานะเมืองหลวงการท่องเที่ยวอาหรับใน ค.ศ. 2014[14][15] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2014 ป้อมปราการอัรบีลได้รับการบรรจุลงในแหล่งมรดกโลก[16]

ศัพทมูลวิทยา

ชื่อโบราณของนครนี้ เป็นที่รู้จักกันในสมัยคลาสสิกว่า อาร์เบลา (กรีก: Ἄρβηλα, อักษรโรมัน: Arbēla) ซึ่งสืบจากภาษาเปอร์เซียเก่าว่า Arbairā และมาจากภาษาอัสซีเรียโบราณว่า Arbailu[17][18]

ประชากร

ประชากรส่วนใหญ่ในนครนี้เป็นชาวเคิร์ด และมีชนกลุ่มน้อยเป็นชาวเติร์กเมน อัสซีเรีย และอาหรับ[19][20][21]

ภูมิอากาศ

อัรบีลมีสภาพภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่มีฤดูร้อนที่ร้อน (การแบ่งเขตภูมิอากาศแบบเคิพเพิน Csa)

ข้อมูลภูมิอากาศของอัรบีล
เดือน ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ทั้งปี
อุณหภูมิสูงสุดที่เคยบันทึก °C (°F) 20
(68)
27
(81)
30
(86)
34
(93)
42
(108)
44
(111)
48
(118)
49
(120)
45
(113)
39
(102)
31
(88)
24
(75)
49
(120)
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย °C (°F) 12.4
(54.3)
14.2
(57.6)
18.1
(64.6)
24.0
(75.2)
31.5
(88.7)
38.1
(100.6)
42.0
(107.6)
41.9
(107.4)
37.9
(100.2)
30.7
(87.3)
21.2
(70.2)
14.4
(57.9)
27.2
(80.96)
อุณหภูมิเฉลี่ยแต่ละวัน °C (°F) 7.4
(45.3)
8.9
(48)
12.4
(54.3)
17.5
(63.5)
24.1
(75.4)
29.7
(85.5)
33.4
(92.1)
33.1
(91.6)
29.0
(84.2)
22.6
(72.7)
15.0
(59)
9.1
(48.4)
20.18
(68.33)
อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย °C (°F) 2.4
(36.3)
3.6
(38.5)
6.7
(44.1)
11.1
(52)
16.7
(62.1)
21.4
(70.5)
24.9
(76.8)
24.4
(75.9)
20.1
(68.2)
14.5
(58.1)
8.9
(48)
3.9
(39)
13.22
(55.79)
อุณหภูมิต่ำสุดที่เคยบันทึก °C (°F) −4
(25)
−6
(21)
−1
(30)
3
(37)
6
(43)
10
(50)
13
(55)
17
(63)
11
(52)
4
(39)
−2
(28)
−2
(28)
−6
(21)
ปริมาณฝน มม (นิ้ว) 111
(4.37)
97
(3.82)
89
(3.5)
69
(2.72)
26
(1.02)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
0
(0)
12
(0.47)
56
(2.2)
80
(3.15)
540
(21.26)
ความชื้นร้อยละ 74.5 70 65 58.5 41.5 28.5 25 27.5 30.5 43.5 60.5 75.5 50.04
วันที่มีฝนตกโดยเฉลี่ย 9 9 10 9 4 1 0 0 1 3 6 10 62
วันที่มีหิมะตกโดยเฉลี่ย 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1
แหล่งที่มา 1:
แหล่งที่มา 2: What's the Weather Like.org,[24] Erbilia[25]

อ้างอิง

  1. "ھەولێر". chawykurd.com. چاوی کورد. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-07-30. สืบค้นเมื่อ 2 December 2020.
  2. 2.0 2.1 "Population of Erbil in 2021 2022 - statistics".
  3. "أربيل". Aljazeera (ภาษาอาหรับ). สืบค้นเมื่อ 28 December 2019.
  4. "Search Entry". www.assyrianlanguages.org. สืบค้นเมื่อ 2021-05-26.
  5. Khan, Geoffrey (1999). A Grammar of Neo-Aramaic: The Dialect of the Jews of Arbel (ภาษาอังกฤษ). BRILL. p. 2. ISBN 978-90-04-30504-5. There are a number of variant forms of the name Arbel. The form Arbel, which is used throughout this book, is the Neo-Aramaic form of the name. The Arabic-speaking Jews of the town refer to it as Arbīl or Arwīl. In Classical Arabic sources it is known as Irbīl. The Kurds call it Hawler, which appears to have developed from the form Arbel by a series of metatheses of consonants. The name appears to be of non-Semitic origin. It is first found in cuneiform texts dating to the third millennium B.C., where it usually has the form Urbilum.
  6. "Hewlêr dixwaze Bexda paşekeftiya mûçeyan bide" (ภาษาเคิร์ด). สืบค้นเมื่อ 28 December 2019.
  7. Danilovich, Alex (2018-10-12). Federalism, Secession, and International Recognition Regime: Iraqi Kurdistan (ภาษาอังกฤษ). Routledge. ISBN 9780429827655.
  8. Novice, Karel (2008). "Research of the Arbil Citadel, Iraq, First Season". Památky Archaeological (XCIX): 259–302.
  9. Villard 2001
  10. Hamblin, William J. (2006). Warfare in the Ancient Near East to 1600 BC. Routledge. p. 111. ISBN 0-415-25589-9.
  11. Porter, Barbara Nevling, "Ishtar of Niniveh and her collaborator, Ishtar of Arbela, in the Reign of Assurbanipal", Iraq, vol. 66, pp. 41–44, 2004
  12. Georges Roux – Ancient Iraq
  13. 'Directorate Antiquities of Erbil's Guide' Brochure produced by General Directorate of Antiquities, KRG, Ministry of Tourism
  14. Erbil named 2014 Arab Tourism Capital เก็บถาวร 8 กรกฎาคม 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Retrieved 30 January 2014
  15. "Erbil: Kurdish City, Arab Capital", Rudaw. Retrieved 30 January 2014
  16. Centre, UNESCO World Heritage. "Erbil Citadel". UNESCO World Heritage Centre (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-10-28.
  17. Sourdel, D. (1978). "Irbil". ใน van Donzel, E.; Lewis, B.; Pellat, Ch. & Bosworth, C. E. (บ.ก.). The Encyclopaedia of Islam, Second Edition. Volume IV: Iran–Kha. Leiden: E. J. Brill. OCLC 758278456.
  18. Kessler, Karlheinz (2006). "Arbela". ใน Salazar, Christine F.; Landfester, Manfred; Gentry, Francis G. (บ.ก.). Brill's New Pauly. Brill Online.
  19. The Kurdish Population by the Kurdish Institute of Paris, 2017 estimate.
  20. "Iraqi Turkmen". Minority Rights Group International. 19 June 2015. สืบค้นเมื่อ 17 October 2020.
  21. Central Statistics Agency - Home Page. Archived from the original on July 16th 2017. on the Wayback Machine website.
  22. "Climate: Arbil – Climate graph, Temperature graph, Climate table". Climate-Data.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2013. สืบค้นเมื่อ 13 สิงหาคม 2013.
  23. "Irbil, Iraq Climate". My Forecast. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013.
  24. "Erbil climate info". What's the Weather Like.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ตุลาคม 2013. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2013.
  25. "Erbil Weather Forecast and Climate Information". Erbilia. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2013. สืบค้นเมื่อ 14 July 2013.

ข้อมูล

  • Sourdel, D. (2010), "Irbil", ใน Bearman, P.; Bianquis, Th.; Bosworth, C.E.; van Donzel, E.; Heinrichs, W.P. (บ.ก.), Encyclopaedia of Islam, Second Edition, Brill Online, OCLC 624382576
  • Grousset, René, The Empire of the Steppes, (Translated from the French by Naomi Walford), New Brunswick: Rutgers University Press (1970)
  • Villard, Pierre (2001), "Arbèles", ใน Joannès, Francis (บ.ก.), Dictionnaire de la civilisation mésopotamienne, Bouquins (ภาษาฝรั่งเศส), Paris: Robert Laffont, pp. 68–69, ISBN 978-2-221-09207-1
  • Woods, John E. (1977), "A note on the Mongol capture of Isfahān", Journal of Near Eastern Studies, 36 (1): 49–51, doi:10.1086/372531, ISSN 0022-2968, JSTOR 544126, S2CID 161867404

แหล่งข้อมูลอื่น

Strategi Solo vs Squad di Free Fire: Cara Menang Mudah!